Skip to main content
sharethis

ที่มา: โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน

 

ไอลอว์สรุปเนื้อหาและประวัติการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง และ พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ในช่วงการชุมนุมทางการเมืองของสังคมไทย ซึ่งแม้เนื้อหาบางส่วนจะขัดกับรัฐธรรมนูญ แต่ก็มีการใช้จนกลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว

 

เนื้อหาโดยย่อ

 

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551

  • พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นกฎหมายจัดตั้งและเป็นที่มาของอำนาจของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) โดยให้เป็นองค์กรที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (มาตรา 5) ตามปกติแล้วมีหน้าที่ติดตามตรวจสอบสถานการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคง เสริมการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย (มาตรา 7)
     
  • ในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แต่ยังไม่มีความจำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มว่าจะอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งอยู่ในอำนาจของหน่วยงานหลายหน่วย ให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจมอบหมายให้กอ.รมน. เป็นผู้รับผิดชอบในการป้องกัน ปราบปรามเหตุการณ์ดังกล่าว (มาตรา 15)
     
  • ผู้อำนวยการ กอ.รมน. โดย ความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนด ห้ามเข้าไปในบริเวณพื้นที่ อาคาร หรือสถานที่ที่กำหนด ห้ามออกนอกเคหสถาน ห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ให้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ (มาตรา 18)
     
  • ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งหรือการกระทำตามกฎหมายนี้ไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม (มาตรา 23)
     

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

  • นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ระยะเวลาครั้งละไม่เกินสามเดือน ในกรณีเร่งด่วนนายรัฐมนตรีคนเดียวมีอำนาจประกาศไปก่อน แล้วมาขอความเห็นชอบภายหลังได้ (มาตรา 5)
     
  • เมื่อประกาศแล้ว อำนาจหน้าที่ของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ให้โอนมาเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี (มาตรา 7)
     
  • นายกรัฐมนตรี มีอำนาจออกข้อกำหนดเพื่อ ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานในเวลาที่กำหนด ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย ทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือหรือสื่ออื่นใด ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเกิดความไม่สงบ ห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือยานพาหนะที่กำหนด ห้ามใช้อาคารหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ หรืออพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนด (มาตรา 9)
     
  • ในกรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย หรือใช้กำลังประทุษร้าย กระทบต่อความมั่นคง นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่เพิ่มเติมขึ้น สามารถจับกุมบุคคลใดที่ต้องสงสัย ออกคำสั่งเรียกบุคคลใดมาให้ข้อมูล ออกคำสั่งยึดอาวุธ หรือสินค้าใดๆที่ต้องสงสัย ออกคำสั่งตรวจค้น รื้อ ทำลายอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ตรวจสอบจดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ ยับยั้งการสื่อสารใดๆ ห้ามผู้ใดเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ ฯลฯ (มาตรา 11)
     
  • สามารถควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยไว้ได้ไม่เกินเจ็ดวัน (มาตรา 12) (ในกรณีปกติกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ควบคุมตัวได้ไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง)
     
  • ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งหรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ ไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง (มาตรา 16)
     
  • เจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา และทางวินัย หากเป็นการกระทำที่สุจริตและไม่เกินสมควรแก่เหตุ (มาตรา 17)

 

ประวัติการบังคับใช้


พ.ร.บ.ความมั่นคง

ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 ในยุคที่ พล.อ.สุ รยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ประกาศใช้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ประกาศเขตพื้นที่ที่ปรากฏเหตุการณ์อัน กระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรและมอบอำนาจให้กอ.รมน. ควบคุมดูแลทั้งหมด 5 ครั้ง

 

ครั้งที่1

ใน ยุครัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราช อาณาจักร ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและทะเลอาณาเขต 5 กิโลเมตรรอบจังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 10 – 24 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเป็นช่วงเวลาการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจา

 

ครั้งที่ 2

ในยุค รัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราช อาณาจักร ในพื้นที่เขตดุสิต ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม ถึง 1 กันยายน 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงจะทำการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่

 

ครั้งที่ 3

ใน ยุครัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราช อาณาจักร ในพื้นที่เขตดุสิต เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงจะทำการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่

 

ครั้งที่ 4

ใน ยุครัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราช อาณาจักร ในพื้นที่หลายอำเภอในจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 12 ถึง 27 ตุลาคม 2552 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กำลังจะมีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

ครั้งที่ 5

ใน ยุครัฐบาลนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราช อาณาจักร ในพื้นที่เขตดุสิต ระหว่างวันที่ 15-25 ตุลาคม 2552 ซึ่ง เป็นช่วงเวลาที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงจะทำการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ในกรุงเทพ มหานครขณะที่มีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอยู่ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

ครั้งที่ 6

ใน ยุครัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเริ่มประกาศบังคับใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในในเขตกรุงเทพฯ และหลายจังหวัดใกล้เคียง ตั้งแต่วันที่ 11 - 23 มี.ค. 2553 และตั้งศูนย์อำนวยการรักษาความสงบ (ศอ.รส.) การประกาศนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงที่คาดว่า จะมีขึ้นในวันที่ 14 มี.ค. 53 จากนั้นมีการประกาศขยายเวลาต่ออายุ พ.ร.บ.ความมั่นคงต่อไปอีก 7 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 - 30 มี.ค. 2553 ในเขตกรุงเทพฯ และบางอำเภอในจังหวัดปริมณฑล ถัดจากนั้น ก็มีการขยายเวลาประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงต่อ ตั้งแต่วันที่ 2 - 5 เม.ย. 53 ด้วยเหตุผลเรื่องความสะดวกในการดูแลความปลอดภัยการประชุมผู้นำประเทศในลุ่ม น้ำโขง โดยระหว่างนั้น เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ศอ.รส. ก็ได้ออกประกาศห้ามเข้าออกบริเวณที่ชุมนุมละแวกราชประสงค์ จากนั้นคณะรัฐมนตรีมีการประชุมในวันที่ 7 เม.ย. ประกาศจะต่ออายุพ.ร.บ.ความมั่นคงออกไปจนถึงวันที่ 20 เม.ย. ก่อนที่คืนวันเดียวกันนั้นรัฐบาลจะตัดสินใจประกาศพ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินแทน

 

ครั้งที่ 7

ใน ยุคที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีประกาศพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราช อาณาจักร ในพื้นที่เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต ระหว่างวันที่ 22-30 พฤศจิกายน 2555 จากกรณีที่จะมีการจัดการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม "แช่แข็งนักการเมือง" บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล

 

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2548 ในยุคที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลเคยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดนี้ออกข้อกำหนดเพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งหมด 5 ครั้ง ดังนี้

 

ครั้งที่ 1

ในยุคที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เพียง 4 วัน หลังประกาศใช้พระราชกำหนด รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาต่อมาอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน

 

ครั้งที่ 2

ในยุคที่นายสมัคร สุนทรเวชเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2551 รัฐบาล ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในสถานการณ์ที่ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปะทะกับผู้ ชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ บริเวณถนนราชดำเนิน

 

ครั้งที่ 3

ในยุคที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 รัฐบาล ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ในสถานการณ์ที่ผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยบุกยึดสนามบิน และสถานที่ราชการเพื่อขับไล่รัฐบาล

 

ครั้งที่ 4

ในยุคที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2552 รัฐบาล ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่จังหวัดชลบุรี ในสถานการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงบุกเข้าไปในบริเวณที่มีการจัดการ ประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

 

ครั้งที่ 5

ในยุคที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2552 รัฐบาล ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกุรงเทพมหานครและหลายจังหวัด ใกล้เคียง ในสถานการณ์ที่กลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงปิดถนนในกรุงเทพมหานครเพื่อขับไล่รัฐบาล

 

ครั้งที่ 6

ใน ยุคที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ในสถานการณ์ที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ สะพานผ่านฟ้าและแยกราชประสงค์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพฯและ หลายจังหวัด และตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ขึ้น แล้วประกาศให้การชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมาย หลังจากนั้นในวันที่ 10 เมษายน 2553 เกิดการปะทะกันรุนแรงขึ้นที่สะพานผ่านฟ้า และถัดมาในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 รัฐบาลสั่งสลายการชุมนุม (กระชับพื้นที่ / ขอพื้นที่คืน) ทั้งยังประกาศเคอร์ฟิวเวลากลางคืนต่อเนื่องกัน 10 คืน และถือเป็นการประกาศเคอร์ฟิวเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี ปัจจุบัน พื้นที่กรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดยังอยู่ภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (ข้อมูลล่าสุดวันที่ 2 กรกฎาคม 2553)

 

 

อ่านรายละเอียดได้ที่ http://ilaw.or.th/node/273

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net