สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 12 - 18 ก.พ. 2556

ศาลสั่งให้แกนนำสหภาพจีเอ็ม 13 คน ออกนอกพื้นที่บริษัท

บริษัทเจนเนอรัลฯ ตั้งโต๊ะเจรจาล้มเหลว แกนนำ และพนักงานไม่ยอมเจรจาและรับเงื่อนไข พร้อมประณามชายชุดดำ ล็อกตัวนักข่าว แย่งกล้อง บังคับลบภาพ และสร้างความหวาดกลัว ทำลายขวัญพนักงาน ด้านแกนนำสหภาพแรงงาน 13 คน ศาลสั่งห้ามเข้าพื้นที่ของบริษัทฯ พนักงานนับพันคนรวมพลังเปลี่ยนกะกลางวัน กลางคืนชุมนุม เตรียมเสบียงอาหารต่อสู้ม้วนเดียวจบ
      
จากกรณีที่ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีความขัดแย้งกับพนักงานในเรื่องที่มีการกำหนดระเบียบการปฏิบัติงานของ พนักงานสายการผลิต ให้บรรจุวันเสาร์ ซึ่งเป็นหยุดของพนักงาน และเป็นวันที่ได้โอที ให้เป็นวันทำงานตามปกติ ซึ่งบริษัทฯ และสหภาพแรงงานไม่สามารถตกลงกันได้ จนเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 บริษัทฯ ได้มีคำสั่งให้พนักงานสมาชิกสหภาพแรงงานหยุดงาน ทำให้พนักงานฝ่ายผลิต รวมกับสมาชิกสหภาพแรงงานต้องหยุดงาน ทั้งนี้ ทำให้พนักงานได้ทยอยกันมาสมัครเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานมากขึ้น และพร้อมที่จะร่วมการต่อสู้เรียกร้องสิทธิ         
      
ล่าสุด วันนี้ (12 ก.พ.56) บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขออำนาจให้ศาลจังหวัดระยองสั่ง ตามคดีหมายเลขดำที่ 217/2556 ให้ นายสุริยา โพธิ์ชัยเลิศ นายอัศวุฒิ สินทวี นายชัยวัฒน์ วงษ์สุวรรณ์ นายสุชาติ เป็นวงศ์ นายอนุรักษ์ สุพร นายธวัชชัย เชยพร นายธีรศักดิ์ กองก่อ นายบำเพ็ญ บุญเสริฐ นายรังสรรค์ วงศ์ศรีแก้ว น.ส.จีรนันท์ อ่อนฤทธิ์ นางสุมามาลย์ สอนสี น.ส.นิภา เพียรทำดี น.ส.ทองม้วน ทองลาด ไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ของบริษัทฯ อย่างเด็ดขาด        
      
นายสุริยา โพธิ์ชัยเลิศ ประธานสหภาพแรงงานของบริษัทฯ เปิดเผยว่า ขณะนี้พวกตนพร้อมคณะรวม 13 คน ไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่ของบริษัทฯ ได้ แต่ก็มีการประสานการปฏิบัติการตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงในการรวมคนจำนวนมาก โดยปราศจากอาวุธ และสุรา อีกทั้งให้ทุกคนอยู่อย่างสงบ ไม่มีการตอบโต้เจ้าหน้าที่ หรือชายชุดดำที่ทางบริษัทฯ ได้ว่าจ้างมาเพื่อข่มขวัญพนักงานที่ร่วมชุมนุมจำนวนมาก ซึ่งจากการชุมชุมครั้งนี้ บริษัทฯ ได้ประกาศหยุดงานสายงานการผลิตต่อเนื่องถึง 3 วัน โดยจ่ายค่าแรงให้แก่พนักงานที่ไม่เป็นธรรม จ่ายค่าแรงให้แต่เพียงพนักงานที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานเท่า นั้น        
      
ในวันนี้ทางบริษัทฯ ได้ส่งตัวแทนมาตั้งโต๊ะเจรจากับสหภาพแรงงาน โดยมีตัวแทนของการนิคมอุตสาหกรรม อีสเทิร์น ซีบอร์ด แรงงานจังหวัดระยอง และตัวแทนสหภาพแรงงาน โดยทางบริษัทฯ ได้ขอให้ยุติการชุมนุมก่อนจึงจะมีการเจรจากัน แต่ทางสหภาพไม่ยอมรับกติกานี้ และได้มีการพูดถึงชายชุดดำหลายสิบคนที่มีอาวุธประจำกายเข้ามาสร้างความหวาด กลัวนั้น ทางบริษัทฯ ยอมรับว่ามีจริง โดยบริษัทฯ รักษาความปลอดภัยเป็นว่าจ้างมา โดยมีคนมีสีอยู่ด้วย        
      
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้พนักงานจำนวนมากได้เดินทางเข้ามาร่วมการชุมนุมตลอดเวลา พร้อมมีผู้บริหารภายในบริษัทฯ เอง นำเงิน และเสบียงแอบมาช่วยผู้ชุมนุมจำนวนมาก ซึ่งภายในคืนนี้ (12 ก.พ.) มีข่าวว่าจะมีการสลายการชุมนุมด้วยการใช้รถน้ำฉีด ทำให้พนักงานที่หยุดงานทยอยกันเข้ามาเป็นกำแพงมนุษย์ พร้อมที่จะต่อสู้ถ้าทางบริษัทฯ กระทำความรุนแรงต่อพนักงานก่อน และพร้อมจะปักหลักต่อสู้จนถึงที่สุด อีกทั้งมีการเพิ่มระดับการต่อสู้ การป้องกันการสลายม็อบ เพราะศาลได้สั่งห้ามบุคคลใด หรือกลุ่มใดเข้ารื้อ ทำลายสถานที่ชุมนุมในยามวิกาล        
      
ด้านนายวีโจ้ วาร์จี ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์ สื่อสารผลิตภัณฑ์ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวว่า สหภาพแรงงาน และสมาชิกฯ ได้มีการบุกรุก และเข้าครอบครองพื้นที่ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ โดยปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของศาลจังหวัดระยองที่สั่งให้กลุ่มสหภาพออก จากพื้นที่ที่เป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ        
      
พร้อมกันนี้ ทางบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขอยืนยันว่า ทางเราไม่ได้มีการพกพาอาวุธแต่อย่างใด โดยมีหลักฐานทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว สำหรับชายชุดดำที่ปรากฏในข่าวเป็นหนึ่งในทีมงานรักษาความปลอดภัยของบริษัทฯ โดยได้อยู่ประจำพื้นที่เพื่อรักษาความปลอดภัยให้แก่ทั้งสองฝ่าย         
      
อย่างไรก็ตาม ในการตั้งโต๊ะเจรจาในวันนี้ ทางบริษัทฯ พร้อมที่จะเจรจาและรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่าย แต่ทางสหภาพแรงงานไม่ยอมส่งตัวแทนมาเจรจา ส่วนวันหยุดงานนั้น ทางบริษัทยังไม่ยืนยันเพราะยังไม่ทราบอนาคตว่าการเจรจา หรือเหตุการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร คงต้องขอดูเหตุการณ์วันต่อวันไปก่อน

ส่วนเรื่องการกระทำที่ไม่ดีต่อสื่อมวลชนนั้น ทางบริษัทฯ ต้องขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์ชุลมุนจึงไม่ทราบว่าใครเป็นใคร และขอยืนยันว่าจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก          

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 12-2-2556)

จี้ ก.แรงงานแจงเร่งแก้พ.ร.บ.ประกันสังคม เพิ่มสิทธิผู้ประกันตน ห่วงรื้อทั้งฉบับใช้เวลานาน ผู้ประกันตนเดือดร้อน

นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และประธานกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม เป็นประธานการประชุมรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..)พ.ศ....โดยได้มีนายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และนายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการร่วมชี้แจงให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว

นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนทางกระทรวงฯก็ต้องเร่งดำเนินการ เพราะหากรอปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคมทั้งฉบับในคราวเดียวอาจใช้เวลานาน 2 ปี ก็ไม่แน่ชัดว่าจะแล้วเสร็จ ดังนั้นความจำเป็นของผู้ประกันตนจึงต้องมาก่อน เพราะการแก้ไขกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนบางกรณีจึงต้องเร่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงในบางมาตรา หากจะแก้ไขกฎหมายทั้งหมดคงไม่ทันการณ์

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า โดยหลักการยังเห็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในรายละเอียดอาจจะมีจุดอ่อนอยู่บ้าง ซึ่งคิดว่ายังมีเวลาได้หารือกันต่อไป แต่ตรงจุดนี้จำเป็นต้องเดินหน้าต่อ เนื่องจากประเด็นเรื่องประกันสังคมนั้นส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากถึง 11 ล้านคน และยังไม่มีใครตอบได้ว่ารูปแบบใดจึงจะดีที่สุด จึงจำเป็นต้องเดินหน้าต่อ แต่ถ้าทำแล้วเกิดความเสี่ยงก็ไม่ทำ เพราะเราเอาเงินคนอื่นมาลงทุน ในจุดเริ่มต้นตรงนี้จึงพยายามจะทำอะไรให้เสี่ยงน้อยที่สุดเพื่อประโยชน์ของ ผู้ประกันตนและประชาชนทุกคน ทั้งนี้หากพิจารณาในหลักการตามที่ประชุมให้ข้อสังเกตุไว้ยังไม่ได้เห็นว่ามี ขัดแย้งกันทั้งหมด ยังมีความเห็นตรงกันกันว่าอยากให้ผู้มีรายได้มีส่วนร่วมจ่าย โดยกระทรวงแรงงานจะรับไปพัฒนาต่อ นอกจากนี้กระทรวงฯก็กำลังขยายสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา39 เพื่อพัฒนาระบบประกันสังคมให้ดีขึ้น สำหรับแนวทางการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน นั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบนโยบายให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทัน สมัย ยิ่งขึ้น หากคปก.มีข้อเสนอที่ดีสามารถเสนอมาได้และทางเรายินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติม

นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการ สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ประเด็นสำคัญในการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม คือ การปรับปรุงแก้ไขเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน เช่น การขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างส่วนราชการ รวมถึงลูกจ้างองค์กรท้องถิ่น การแก้ไขประเด็นมาตรา 40 ในบทนิยามให้ครอบคลุมถึงแรงงานที่ไม่อยู่ในสถานประกอบการ เรื่องบำนาญชราภาพ เรื่องการประสบภัยพิบัติของผู้ประกันตน กรณีลูกจ้างหรือผู้ประกันตนเสียชีวิตและไม่มีทายาทพี่น้องสามารถรับผล ประโยชน์แทนได้ การเปลี่ยนนิยามเรื่องทุพพลภาพให้ครอบคลุมการสูญเสียอวัยวะ นอกจากนั้น ยังแก้ไขเรื่องการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ และยังขยายเรื่องสิทธิในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนจากหนึ่งปีเป็นสองปี หากเกินสองปี เลขาธิการฯมีอำนาจขยายให้ได้หากมีเหตุผล นอกจากนี้ ยังระบุให้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับไม่อยู่ในการบังคับคดีของเจ้าหนี้ด้วย ด้านการบริหารได้เพิ่มคุณสมบัติคณะกรรมการประกันสังคม เพื่อให้คณะกรรมการบริหารงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แก้ไขส่วนเงื่อนไขการเสียสิทธิ เนื่องจากเรื่องหลักๆ ที่เร่งด่วน คือเจ็บป่วยและเสียชีวิต

นายโกวิท กล่าวว่า ประเด็นตามมาตรา 55 เราได้ปรึกษากับกฤษฎีกาแล้วเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะกลุ่มผู้ได้รับความคุ้มครองจะหมดในอีกห้าถึงหกปี ส่วนนิยามการว่างงาน ที่มีสาเหตุมาจากการลาออกที่ถูกบังคับ ซึ่งมีปัญหาการตีความในทางกฎหมายว่าเป็นการลาออกนั้น เมื่อพิจารณาแล้ว การเลิกจ้างโดยการลาออก เจตนารมณ์ในการเลิกจ้างคือ ไม่ประสงค์จะทำงาน ซึ่งเห็นว่าควรคุ้มครองผู้ประกันตนส่วนนี้ด้วย ทั้งนี้ ต้องมีการตรวจสอบเป็นกรณีไป โดยในทางปฏิบัติให้กรมสวัสดิการฯ เข้ามาดูแล และพิจารณา ว่าเข้ากรณีถูกบีบบังคับให้ลาออกหรือลาออกโดยความสมัครใจแท้จริง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขร่างพ.ร.บ.ในส่วนนี้ก็ยังต้องไปว่ากันในชั้นกรรมาธิการอีกครั้ง หนึ่ง ว่าจะมีการปรับแก้อย่างไร

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า จากการศึกษาการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมอาจจะเป็นแนวคิดในการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าก่อน แต่การดำเนินการแก้ไขปัญหาตามงานวิจัยที่มีอาจมีข้อจำกัดหลายประการเช่น สภาวะสังคม เป็นต้น ขณะที่ประเด็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานที่ถูกจัดส่งไปต่างประเทศ ได้มีการพูดคุยกันตลอด เช่น อิสราเอล ไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งสำนักงานประกันสังคมก็ไม่ได้ปล่อยผ่านไปแต่อย่างใด ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลง(MUO) ของประเทศไทยกับประเทศนั้นๆด้วย

“ปัญหาเรื่องการลงทุน ที่สำนักงานบริหารการลงทุน สามารถไปลงทุนในภาคเอกชน ซึ่งอาจจะทำให้รัฐกลายเป็นรัฐวิสาหกิจหากถือหุ้นเกิน 50%นั้น ปัญหานี้ก็น่าเป็นห่วง แต่การลงทุนจะต้องศึกษาให้รอบด้านก่อนการลงทุนจริง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทำนองนี้ที่อาจจะเกิดขึ้น และจะหารือกับกลต.ในประเด็นดังกล่าว” นายจีรศักดิ์ กล่าว

ดร.วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม กล่าวว่า มีข้อสังเกต 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1. บทนิยามคำว่า “ลูกจ้าง” นั้น ยังไม่ครอบคลุมของลูกจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน กรณีที่นายจ้างเป็นบุคคลธรรมดาและประกอบธุรกิจซึ่งมิได้มีลักษณะเพื่อหากำไร ควรระบุให้คุ้มครองด้วยด้วย 2. เงินสมทบตามมาตรา 55 ยังมีความไม่เสมอภาคปรากฏอยู่ เนื่องจากลูกจ้างที่เข้ามาก่อนที่จะมีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.นี้ได้ประโยชน์ เพียงกลุ่มเดียว 3. เรื่องการว่างงานนั้น ไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้รอครบ 7 วันจึงจะมีสิทธิรับเงินทดแทน เนื่องจากความเดือดร้อนเกิดขึ้นทันทีนับแต่ว่างงานแล้ว และไม่ได้คำนึงถึงภาระของผู้ว่างงานว่าได้รับความเดือดร้อนมากน้อยเพียงใด

(สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย, 13-2-2556)

จี้ ก.แรงงานแจงเร่งแก้พ.ร.บ.ประกันสังคม เพิ่มสิทธิผู้ประกันตน ห่วงรื้อทั้งฉบับใช้เวลานาน ผู้ประกันตนเดือดร้อน

นางสุนี ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และประธานกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม เป็นประธานการประชุมรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..)พ.ศ....โดยได้มีนายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และนายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการร่วมชี้แจงให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว

นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนทางกระทรวงฯก็ต้องเร่งดำเนินการ เพราะหากรอปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคมทั้งฉบับในคราวเดียวอาจใช้เวลานาน 2 ปี ก็ไม่แน่ชัดว่าจะแล้วเสร็จ ดังนั้นความจำเป็นของผู้ประกันตนจึงต้องมาก่อน เพราะการแก้ไขกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนบางกรณีจึงต้องเร่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงในบางมาตรา หากจะแก้ไขกฎหมายทั้งหมดคงไม่ทันการณ์

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า โดยหลักการยังเห็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในรายละเอียดอาจจะมีจุดอ่อนอยู่บ้าง ซึ่งคิดว่ายังมีเวลาได้หารือกันต่อไป แต่ตรงจุดนี้จำเป็นต้องเดินหน้าต่อ เนื่องจากประเด็นเรื่องประกันสังคมนั้นส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากถึง 11 ล้านคน และยังไม่มีใครตอบได้ว่ารูปแบบใดจึงจะดีที่สุด จึงจำเป็นต้องเดินหน้าต่อ แต่ถ้าทำแล้วเกิดความเสี่ยงก็ไม่ทำ เพราะเราเอาเงินคนอื่นมาลงทุน ในจุดเริ่มต้นตรงนี้จึงพยายามจะทำอะไรให้เสี่ยงน้อยที่สุดเพื่อประโยชน์ของ ผู้ประกันตนและประชาชนทุกคน ทั้งนี้หากพิจารณาในหลักการตามที่ประชุมให้ข้อสังเกตุไว้ยังไม่ได้เห็นว่ามี ขัดแย้งกันทั้งหมด ยังมีความเห็นตรงกันกันว่าอยากให้ผู้มีรายได้มีส่วนร่วมจ่าย โดยกระทรวงแรงงานจะรับไปพัฒนาต่อ นอกจากนี้กระทรวงฯก็กำลังขยายสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา39 เพื่อพัฒนาระบบประกันสังคมให้ดีขึ้น สำหรับแนวทางการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน นั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบนโยบายให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทัน สมัย ยิ่งขึ้น หากคปก.มีข้อเสนอที่ดีสามารถเสนอมาได้และทางเรายินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติม

นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการ สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ประเด็นสำคัญในการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม คือ การปรับปรุงแก้ไขเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน เช่น การขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างส่วนราชการ รวมถึงลูกจ้างองค์กรท้องถิ่น การแก้ไขประเด็นมาตรา 40 ในบทนิยามให้ครอบคลุมถึงแรงงานที่ไม่อยู่ในสถานประกอบการ เรื่องบำนาญชราภาพ เรื่องการประสบภัยพิบัติของผู้ประกันตน กรณีลูกจ้างหรือผู้ประกันตนเสียชีวิตและไม่มีทายาทพี่น้องสามารถรับผล ประโยชน์แทนได้ การเปลี่ยนนิยามเรื่องทุพพลภาพให้ครอบคลุมการสูญเสียอวัยวะ นอกจากนั้น ยังแก้ไขเรื่องการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ และยังขยายเรื่องสิทธิในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนจากหนึ่งปีเป็นสองปี หากเกินสองปี เลขาธิการฯมีอำนาจขยายให้ได้หากมีเหตุผล นอกจากนี้ ยังระบุให้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับไม่อยู่ในการบังคับคดีของเจ้าหนี้ด้วย ด้านการบริหารได้เพิ่มคุณสมบัติคณะกรรมการประกันสังคม เพื่อให้คณะกรรมการบริหารงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แก้ไขส่วนเงื่อนไขการเสียสิทธิ เนื่องจากเรื่องหลักๆ ที่เร่งด่วน คือเจ็บป่วยและเสียชีวิต

นายโกวิท กล่าวว่า ประเด็นตามมาตรา 55 เราได้ปรึกษากับกฤษฎีกาแล้วเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะกลุ่มผู้ได้รับความคุ้มครองจะหมดในอีกห้าถึงหกปี ส่วนนิยามการว่างงาน ที่มีสาเหตุมาจากการลาออกที่ถูกบังคับ ซึ่งมีปัญหาการตีความในทางกฎหมายว่าเป็นการลาออกนั้น เมื่อพิจารณาแล้ว การเลิกจ้างโดยการลาออก เจตนารมณ์ในการเลิกจ้างคือ ไม่ประสงค์จะทำงาน ซึ่งเห็นว่าควรคุ้มครองผู้ประกันตนส่วนนี้ด้วย ทั้งนี้ ต้องมีการตรวจสอบเป็นกรณีไป โดยในทางปฏิบัติให้กรมสวัสดิการฯ เข้ามาดูแล และพิจารณา ว่าเข้ากรณีถูกบีบบังคับให้ลาออกหรือลาออกโดยความสมัครใจแท้จริง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขร่างพ.ร.บ.ในส่วนนี้ก็ยังต้องไปว่ากันในชั้นกรรมาธิการอีกครั้ง หนึ่ง ว่าจะมีการปรับแก้อย่างไร

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า จากการศึกษาการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมอาจจะเป็นแนวคิดในการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าก่อน แต่การดำเนินการแก้ไขปัญหาตามงานวิจัยที่มีอาจมีข้อจำกัดหลายประการเช่น สภาวะสังคม เป็นต้น ขณะที่ประเด็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานที่ถูกจัดส่งไปต่างประเทศ ได้มีการพูดคุยกันตลอด เช่น อิสราเอล ไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งสำนักงานประกันสังคมก็ไม่ได้ปล่อยผ่านไปแต่อย่างใด ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลง(MUO) ของประเทศไทยกับประเทศนั้นๆด้วย

“ปัญหาเรื่องการลงทุน ที่สำนักงานบริหารการลงทุน สามารถไปลงทุนในภาคเอกชน ซึ่งอาจจะทำให้รัฐกลายเป็นรัฐวิสาหกิจหากถือหุ้นเกิน 50%นั้น ปัญหานี้ก็น่าเป็นห่วง แต่การลงทุนจะต้องศึกษาให้รอบด้านก่อนการลงทุนจริง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทำนองนี้ที่อาจจะเกิดขึ้น และจะหารือกับกลต.ในประเด็นดังกล่าว” นายจีรศักดิ์ กล่าว

ดร.วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม กล่าวว่า มีข้อสังเกต 3 ประเด็นสำคัญ คือ 1. บทนิยามคำว่า “ลูกจ้าง” นั้น ยังไม่ครอบคลุมของลูกจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน กรณีที่นายจ้างเป็นบุคคลธรรมดาและประกอบธุรกิจซึ่งมิได้มีลักษณะเพื่อหากำไร ควรระบุให้คุ้มครองด้วยด้วย 2. เงินสมทบตามมาตรา 55 ยังมีความไม่เสมอภาคปรากฏอยู่ เนื่องจากลูกจ้างที่เข้ามาก่อนที่จะมีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.นี้ได้ประโยชน์ เพียงกลุ่มเดียว 3. เรื่องการว่างงานนั้น ไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้รอครบ 7 วันจึงจะมีสิทธิรับเงินทดแทน เนื่องจากความเดือดร้อนเกิดขึ้นทันทีนับแต่ว่างงานแล้ว และไม่ได้คำนึงถึงภาระของผู้ว่างงานว่าได้รับความเดือดร้อนมากน้อยเพียงใด

(สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย, 13-2-2556)

ก.แรงงานเตรียมถกคกก.ระดับชาติ เล็งขยายความคุ้มครองสู่กลุ่มแรงงานนอกระบบ

นายปกรณ์ อมรชีวิน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน โดย กสร.มีนโยบายขยายความคุ้มครองแรงงานไปยังแรงงานนอกระบบ ในหลายๆ ด้าน เพื่อให้มีหลักประกันเช่นเดียวกัน หรืออย่างน้อยก็ใกล้เคียงกับแรงงานในระบบ เพราะแรงงานทั้ง 2 แบบนี้ มีความแตกต่างกันอยู่ในด้านความชัดเจน หรือสถานภาพความเป็นนายจ้างกับลูกจ้างที่แรงงานในระบบจะมีความชัดเจนกว่า

อธิบดี กสร. กล่าวต่อไปว่า กรอบของการขยายความคุ้มครองแรงงานนอกระบบนั้น มีเรื่องหลักๆ 3 ด้าน คือ?1) เงื่อนไขของสัญญาจ้าง ระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง ต้องมีความเป็นธรรม เพราะที่ผ่านมาฝ่ายว่าจ้างมักจะเป็นคนออกแบบเงื่อนไขเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นจึงต้องหาหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้เพื่อไม่ให้เกิดการเอาเปรียบกัน

2) ความเป็นธรรมด้านรายได้ ซึ่ง กสร.กำลังศึกษาอยู่ว่างานแต่ละประเภทควรจะได้รับค่าจ้างเป็นเงินเท่าไหร่ ขณะที่แรงงานในระบบมีกฎหมายคุ้มครองขณะนี้ให้มีจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทแล้ว และ 3)ความมั่นคงในชีวิตโดยมองไปที่หลักประกันสัขภาพ และด้านต่างๆ เช่นเดียวกับกองทุนประกันสังคมของแรงงานในระบบ ไม่ว่าจะเป็นกรณีเจ็บป่วย ชราภาพ ทุพพลภาพ เสียชีวิต เป็นต้น

นายปกรณ์กล่าวด้วยว่า แนวนโยบายดังกล่าวนี้กำลังอยู่ในขบวนการทำงาน ซึ่งมีคณะทำงานระดับชาติ คือ คณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติซึ่งมี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานตามมติครม.ที่เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้เมื่อวัน ที่ 21 ส.ค. 2555 โดยมีกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องถึง 9 กระทรวง หน่วยงานย่อยๆ อีกกว่า 20 หน่วยงาน ตลอดจนภาคีเครือข่ายภาคประชาชน และเครือข่ายแรงงานนอกระบบ มาทำงานร่วมกัน โดยมีกระทรวงแรงงานเป็นหน่วยงานหลัก และมีกำหนดประชุมคณะกรรมการในวันที่ 14 ก.พ. 2556 นี้

ด้านนายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ นักวิชาการด้านสิทธิแรงงาน มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน กล่าวว่า การจัดระบบในเรื่องนี้ ค่อนข้างมีความซับซ้อนมากกว่าแรงงานแบบในระบบ ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานในระบบมีนายจ้างที่ชัดเจน มีรายได้ และสถานที่ทำงานชัดเจน แต่แรงงานนอกระบบมีปัจจัยอื่นๆที่จะต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วยในการจัดการให้ ความคุ้มครองด้านต่างๆ เช่น ปัญหาของรายได้ที่ไม่สม่ำเสมอเหมือนกับแรงงานในระบบ เช่นปกติจะทำไร่ แต่บางวันไปรับจ้างก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านปัจจัยการผลิต ปัญหาด้านการตลาด และปัญหาหนี้สิน

นายบัณฑิตย์กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา มีองค์กรที่บุกเบิกด้านนี้มาหลายปี แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เพราะปัญหามีความซับซ้อน อีกทั้งแต่ละพื้นที่ มีสภาพปัญหาที่แตกต่างกัน

สำหรับอาชีพอิสระ ที่เป็นแรงงานนอกระบบในแต่ละจังหวัดนั้น มีความแตกต่างกันไป โดยคณะทำงานจะเสนอให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพในแต่ละพื้นที่ เพื่อทำงานและเก็บรวบรวมข้อมูลนำเสนอคณะกรรมการระดับชาติ โดยขณะนี้มีจังหวัดนำร่องที่ทำการตั้งกลุ่มอาชีพของแรงงานนอกระบบแล้วจำนวน 13 จังหวัด

แบ่งเป็นภาคเหนือ 5 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงรายลำพูน น่าน พะเยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัดคือ ขอนแก่น สกลนคร ภาคกลาง 3 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ราชบุรี และภาคใต้ 3 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง

“แรงงานในระบบกับนอกระบบมีความแตกต่างกัน เช่น การจ่ายเงินสมทบต่างๆ ต้องเป็นไปแบบสมัครใจ และต้องมีความต่อเนื่อง จึงต้องสนับสนุนให้เครือข่ายบอกกับแรงงานนอกระบบให้เข้าใจและเข้ามาสู่ระบบ การจัดการนี้ให้มากที่สุด ต่างจากแรงงานในระบบที่ถึงเวลาก็หักเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกสิ้น เดือนได้เลย” นักวิชาการแรงงานกล่าว

สำหรับอาชีพอิสระของแรงงานนอกระบบที่เห็นค่อนข้างชัดเจนในกรุงเทพมหานคร คือ กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่รถตู้ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รับจ้างตัดเสื้อผ้า คนค้าขายหาบเร่แผงลอย คนเก็บขยะ ของเก่า แต่จังหวัดอื่นๆ ก็มีอาชีพที่แตกต่างกันไป ซึ่งกลุ่มอาชีพที่ตั้งขึ้นใน 13 จังหวัดนำร่องดังกล่าว จะต้องช่วยกันนำเสนอข้อมูลต่างๆ ให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาวางแผนต่อไป

ต้องรอดูต่อไปว่ากระทรวงแรงงานจะดำเนินการเรื่องนี้ได้สำเร็จเมื่อไหร่ ส่วนคนที่ได้ประโยชน์คือผู้ใช้แรงงานทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในระบบสถานประกอบการ

(แนวหน้า, 13-2-2556)

สหภาพการท่าเรือขู่หยุดงานล่วงเวลา 15 ก.พ.

นายจเร หมีดนุ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 15 ก.พ.นี้ สหภาพฯ นัดประชุมวิสามัญสหภาพแรงงานฯ ในวาระที่ค้างอยู่จากการประชุมวันที่ 29 ม.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลให้พนักงานกทท. ในส่วนของพนักงานขนส่งขนถ่ายเรือ และพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเรือเข้า-ออก หลายร้อยคนยกเลิกการทำงานล่วงเวลาในวันดังกล่าว ซึ่งอาจส่งผลต่อการทำงานขนถ่าย และนำเรือเข้าออกมีปัญหาล่าช้า

สาเหตุที่สหภาพฯ ยกเลิกทำงานล่วงเวลา เนื่องจากมีผู้บริหารบางคน ไม่ดำเนินการตามมติคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ที่ให้กทท.ประนีประนอมการฟ้องร้องเรียกเงินชดเชยค่าล่วงเวลาจากพนักงาน อย่างไรก็ตาม สหภาพฯ อาจยกเลิกการประชุมดังกล่าวหากกระทรวงคมนาคมมีแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งจะมีการแจ้งมายังสหภาพฯ ในวันที่ 14 ก.พ. นี้

"คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากกรรมการ กทท. และตัวแทนจากพนักงานได้ประชุมร่วมกันในวันที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา มีมติร่วมกันให้ประนีประนอมฟ้องร้องพนักงาน แต่เมื่อปฏิบัติจริง ยังมีผู้บริหารกทท.บางคน มีพฤติกรรมคัดค้านมติดังกล่าว โดยให้ดำเนินการการฟ้องร้องให้ถึงที่สุด ซึ่งขัดกับหลักการ จึงเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ต้องเรียกประชุมวิสามัญในวาระที่เหลืออีกครั้ง เชื่อว่าจะทำให้การให้บริการมีปัญหาบ้าง เพราะพนักงานที่มาส่วนใหญ่ เป็นพนักงานระดับปฏิบัติงานบริเวณท่าเรือ แต่สหภาพฯ ก็ได้โทรศัพท์ไปแจ้งเอเย่นต์เรือหลายแห่งแล้วว่า จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ทางเอเย่นต์ก็บอกว่า รับทราบ ส่วนต่อไปจะมีการแนวทางการเรียกร้องอะไรหรือไม่นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับผลการประชุมวันที่ 15 ก.พ. นี้"นายจเร กล่าว

ด้านเรือตรีวิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการ กทท. กล่าวว่า การที่สหภาพฯจะจัดประชุมวิสามัญสามารถดำเนินการได้ และต้องแจ้งกำหนดเวลา และสถานที่ประชุมมายังฝ่ายบริหารด้วย ส่วนเรื่องการยกเลิกทำงานล่วงเวลานั้น พนักงานมีสิทธิที่จะทำงานล่วงเวลาหรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารมั่นใจว่าการประชุมของสหภาพฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการในท่าเรือกรุงเทพ

"พนักงานท่าเรือมีประมาณ 3,800 คน เป็นสมาชิกสหภาพฯ ประมาณ 1,400 คน และมีสมาชิกสหภาพฯบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกทำงานล่วงเวลา ดังนั้นการที่จะมีพนักงานบางส่วนยกเลิกทำงานล่วงเวลา ก็เชื่อว่าจะมีพนักงานอีกส่วนที่พร้อมทำงานแทน ซึ่งมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการแน่นอน"เรือตรีวิโรจน์ กล่าว

(กรุงเทพธุรกิจ, 13-2-2556)

ความต้องการแรงงานเดือน ม.ค. วูบ 19% ทั้งหมวดพนักงานขาย ธุรการ และช่างฝีมือ

กรมการจัดหางาน เปิดเผยรายงานสถานการณ์การว่างงาน การเลิกจ้าง และความต้องการแรงงาน ประจำเดือน ม.ค. พบว่า มีสถานประกอบการแจ้งตำแหน่งงานว่างมายังกรมการจัดหางาน 1.1 แสนอัตรา ลดลง 2.69 หมื่นอัตรา หรือ 19.57% เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. 2555

หมวดอาชีพที่มีความต้องการแรงงานลดลง ได้แก่ พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด ลดจาก 2.5 หมื่นอัตรา เหลือ 1.5 หมื่นอัตรา หรือ 40.73% ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน จาก 1 หมื่นอัตรา เหลือ 7,182 อัตรา หรือ 34.46%

ความต้องการแรงงานผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่างๆ ลดลงจาก 1.1 หมื่นอัตรา เหลือ 7,426 อัตรา หรือลดลง 32.72% อาชีพงานพื้นฐาน จาก 5.3 หมื่นอัตรา เหลือ 4.5 หมื่นอัตรา ลดลง 15.58% และเสมียนเจ้าหน้าที่ จาก 1.7 หมื่นอัตรา เหลือ 1.5 หมื่นอัตรา ลดลง 7.31%

กรมการจัดหางานวิเคราะห์ว่า ผู้ว่างงานเดือน ม.ค. จะอยู่ราวๆ 3.5 แสนคน หรือ 0.9% เพิ่มขึ้น 1.5 แสนคน จากเดือน ธ.ค. 2555 เนื่องจากโครงสร้างการมีงานทำของแรงงานยังอยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งช่วงต้นปีเป็นช่วงนอกฤดูกาลเกษตร ทำให้มีผู้ว่างงานจากภาคเกษตรเพิ่มขึ้น

(โพสต์ทูเดย์, 14-2-2556)

รมว.แรงงานเผยลูกจ้างตกงานจากการปรับค่าแรง 300 บาทแล้ว 495 คน

กรุงเทพฯ14 ก.พ. - รมว.แรงงาน เผยตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้มีลูกจ้างตกงานจากผลกระทบการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทแล้ว 495 คน

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์การเลิกจ้าง เนื่องจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันนี้ (14 ก.พ.) พบว่า มีสถานประกอบการเลิกจ้าง 41 แห่ง ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 1,874 คน ในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างเป็นวันละ 300 บาท 495 คน นอกจากนี้ มีสถานประกอบการเสี่ยงเลิกจ้างเพิ่มอีก 24 แห่ง รวมลูกจ้าง 3,901 คน

ส่วนตัวเลขจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 จนถึงวันนี้ มีแรงงานที่เป็นผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนว่างงาน เพื่อขอสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานแล้วกว่า 52,000 คน ส่วนใหญ่เป็นการลาออกเอง มีเพียงกว่า 4,000 คนเท่านั้นที่ถูกเลิกจ้าง ทั้งนี้ ผู้ที่ถูกเลิกจ้างมีสิทธิได้รับเงินประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินเดือนงวดสุดท้าย เป็นเวลา 6 เดือน ส่วนผู้ที่ลาออกเองจะได้รับในอัตราร้อยละ 30 เป็นเวลา 3 เดือน

(สำนักข่าวไทย, 14-2-2556)

บริษัท GM ไม่สนสหภาพฯ เดินหน้าเปิดเดินเครื่องผลิตรถยนต์

เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 56 ที่ผ่านมา ASTV ผู้จัดการออนไลน์รายงานว่าหลังบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กำหนดระเบียบการปฏิบัติงานของพนักงานสายการผลิต ให้บรรจุวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดของพนักงาน และเป็นวันที่ได้โอที ให้เป็นวันทำงานตามปกติ แต่สหภาพแรงงานฯ ไม่เห็นด้วย และไม่สามารถตกลงกันได้
      
จนเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 บริษัทฯ ได้มีคำสั่งให้พนักงานสมาชิกสหภาพแรงงานหยุดงาน พร้อมขออำนาจศาลห้าม 13 แกนนำสหภาพฯ เข้ามาในพื้นที่ของบริษัทฯ อย่างเด็ดขาด ทำให้พนักงานในเครื่อสภาพ และพนักงานอื่นๆ ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงได้ทยอยกันมาสมัครเข้าร่วมอยู่ในสภาพแรงงานเพิ่มขึ้น และพร้อมที่จะเดินหน้าเรียกร้องสิทธิ โดยไม่ขอเข้าไปทำงานนั้น โดยมีการนัดเจรจาโต๊ะกลมกันวันนี้เพื่อหาข้อยุติ
      
ล่าสุดวันนี้ (14 ก.พ.56 ) นายวีโจ้ วาร์จีส ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายประชาสัมพันธ์ สื่อสารผลิตภัณฑ์ บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่า วันนี้ ทางบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส ได้เริ่มดำเนินการผลิตที่ศูนย์การผลิต จังหวัดระยอง อีกครั้งในวันนี้ หลังจากเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว มีการนัดหยุดงานของสมาชิกสหภาพฯ โดยนับตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา จีเอ็ม ได้ประเมินความปลอดภัยและสวัสดิภาพของพนักงานและทรัพย์สินของบริษัท เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับมาเริ่มต้นการผลิตอีกครั้ง
      
ในระหว่างนี้ เจนเนอรัล มอเตอร์ส ยังคงเดินหน้าส่งมอบยานยนต์ให้แก่ผู้แทนจำหน่ายของเราเพื่อรองรับการสั่งจอง ของลูกค้าตามกำหนดการปกติ โดยทางบริษัทฯ มีความมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบรถให้ตรงตามกรอบเวลาที่วางไว้ และสอดคล้องกับแผนกำหนดการส่งมอบรถของเรา

โดยใน วันนี้ พนักงานประมาณ 3,100 คน ได้เข้ามารายงานตัว เพื่อทำงานตามปกติที่ศูนย์การผลิต จังหวัดระยอง บริษัทฯ และพนักงานเริ่มปฏิบัติงานอีกครั้งภายใต้ความปลอดภัยและความมุ่งมั่นในการ รักษามาตรฐานคุณภาพสูงสุดของจีเอ็ม ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ การบริการ และการส่งมอบรถให้แก่ลูกค้าตรงตามเวลาที่กำหนด
      
ด้านสหภาพฯ นั้นทางบริษัท หวังว่าจะสามารถเริ่มการเจรจาตามกฎหมายและเป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้องกับ สหภาพฯ ได้อีกครั้งในพรุ่งนี้ คือ วันที่ 15 ก.พ.2556 เพื่อหาข้อตกลงและผลสำเร็จร่วมกันกับสหภาพฯ อย่างมีเหตุผลและเป็นธรรมในทุกประเด็น เนื่องจากวันนี้ที่มีการนัดเจรจากันนั้น ยังไม่สามารถตกลงกันได้
      
ด้านนายสุริยา โพธิ์ชัยเลิศ ประธานสหภาพแรงงานฯ ฯ กล่าวว่า วันนี้บริษัทฯ ได้นำหมายศาล จังหวัดชลบุรี มาปิดไว้บริเวณที่ประท้วงของพนักงาน แต่หมายนี้ไม่มีผู้ใดเซ็นต์รับทราบแต่อย่างใด เพราะมีการขออำนาจศาลให้สั่งไม่ให้แกนนำ สหภาพฯเพิ่ม อีก 2 คน เข้าพื้นที่บริษัทฯ รวมทั้งหมดเป็น 15 คน และเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท
      
ถึงแม้ว่าทางบริษัทฯ เปิดโอกาสให้พนักงานที่ต้องการเข้าไปทำงานลงชื่อในวัน วาเลนไทน์ ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะสมาชิกสหภาพแรงงานยังยืนยันไม่ยอมรับระเบียบปฏิบัติใหม่ จึงไม่มีใครเข้าไปลงชื่อเพื่อทำงาน และยืนยันว่าจะต่อสู้ให้ถึงที่สุด เพราะศาลสั่งเพียง 15 คน ที่ไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ของบริษัท ฯ พนักงานคนอื่น ๆ อีกประมาณ 2, 000 คน ก็ยังสามารถผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่ในเวลากลางวัน ประมาณ 1,200 คน กลางคืนประมาณ 800 คน
      
ในวันที่ 15 ก.พ. 56 ทางแกนนำทั้ง 15 คน ต้องเดินทางไปศาล แต่บริษัทฯก็ขอ การนัดเจรจากับแกนนำ ทั้งที่รู้ว่าต้องไปศาล เพื่อจะเป็นข้ออ้างตลอดว่าแกนนำสหภาพไม่ยอมยอมมาเจรจา เท่ากับสร้างความกดดันให้แกนนำ และสมาชิกอย่างมาก ถ้าบริษัทฯมีความจริงใจ ยอมรับกติกาต่อกัน ก็จะไม่มีปัญหายืดเยื้อมาถึงทุกวันนี้ ทางบริษัทฯจะเสียหายอย่างมาก ในเรื่องของความเชื่อถือ ถึงแม้ว่าวันนี้ จะเปิดทำงานสายการผลิตเป็นวันแรกก็ตาม แต่ก็ทำได้เพียงกลางวันเท่านั้น กะกลางคืนไม่มีพนักงานทำงาน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 14-2-2556)

เบรกหนังสือสั่งการจ่ายโบนัส "กฤษฎีกา"ชี้ไม่มีผลทางกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1 แจ้งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย ว่าผลการพิจารณาการจ่ายเงินโบนัสขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า อปท.ยังไม่มีระเบียบรองรับ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้ อปท.จ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่น สำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นกรณีพิเศษ อปท.จึงไม่อาจตั้งจ่ายได้นั้น จากการตรวจสอบสาระสำคัญในการวินิจฉัยดังกล่าวพบว่า หากกระทรวงมหาดไทยเห็นสมควรให้ อปท.จ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นกรณีพิเศษได้ กระทรวงมหาดไทยต้องออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยเพื่อกำหนดให้เงินประโยชน์ตอบ แทนอื่นสำหรับพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นกรณีพิเศษเป็นรายจ่ายของ อปท.โดยในการออกระเบียบดังกล่าวกระทรวงมหาดไทยสามารถกำหนดเงื่อนไขไว้ได้ตาม ที่เห็นสมควร เช่น การกำหนดห้ามนำเงินสะสมมาจ่ายเป็นเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับพนักงานส่วน ท้องถิ่นเป็นกรณีพิเศษ และเมื่อกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (กถ.) และคณะกรรมการอื่นๆ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นฯ จึงจะเป็นผู้กำหนดวิธีการจ่ายเงินประโยชน์ตอบแทนอื่นสำหรับพนักงานส่วนท้อง ถิ่นเป็นกรณีพิเศษ และเมื่อกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบดังกล่าวแล้วจะให้มีผลใช้บังคับย้อนหลัง หรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับความจำเป็นซึ่งกระทรวงมหาดไทยต้องเป็นผู้พิจารณา

 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกายังตั้งข้อสังเกตเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของกระทรวง มหาดไทยว่า โดยที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ในมาตรา 282 ว่า "การกำกับดูแล อปท.ต้องทำเท่าที่จำเป็นและมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบของ อปท. ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ..." ดังนั้น การดำเนินการต่างๆ กระทรวงมหาดไทยจึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ในเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องออกเป็นระเบียบ กระทรวงมหาดไทยจำเป็นต้องออกเป็นระเบียบจะอาศัยแต่เพียงอำนาจในฐานะที่เป็น ผู้กำกับดูแลเพื่อออกหนังสือสั่งการให้ อปท.ปฏิบัติตามมิได้ เพราะหนังสือสั่งการไม่มีผลทางกฎหมาย ผูกพันหรือคุ้มครอง อปท.ในการปฏิบัติตามหนังสือสั่งการนั้น

(มติชน, 14-2-2556)

เร่งแก้ กม.เพิ่มสิทธิ์ให้แก่ผู้ประกันตน

ผู้สื่อข่าวรายงานมาว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาที่สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ได้มีการประชุมรับฟังความเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่...) พ.ศ....ซึ่งมีนางสุนี  ไชยรส รองประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมาย และประธานกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม เป็นประธานการประชุม โดยมีนายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และนายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการร่วมชี้แจงให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว

นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนทางกระทรวงฯก็ต้องเร่งดำเนินการ เพราะหากรอปรับปรุงแก้ไขพ.ร.บ.ประกันสังคมทั้งฉบับในคราวเดียวอาจใช้เวลานาน 2 ปี ก็ไม่แน่ชัดว่าจะแล้วเสร็จ ดังนั้นความจำเป็นของผู้ประกันตนจึงต้องมาก่อน เพราะการแก้ไขกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนบางกรณีจึงต้องเร่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงในบางมาตรา หากจะแก้ไขกฎหมายทั้งหมดคงไม่ทันการณ์

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า โดยหลักการยังเห็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในรายละเอียดอาจจะมีจุดอ่อนอยู่บ้าง ซึ่งคิดว่ายังมีเวลาได้หารือกันต่อไป แต่ตรงจุดนี้จำเป็นต้องเดินหน้าต่อ เนื่องจากประเด็นเรื่องประกันสังคมนั้นส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากถึง 11 ล้านคน และยังไม่มีใครตอบได้ว่ารูปแบบใดจึงจะดีที่สุด จึงจำเป็นต้องเดินหน้าต่อ  แต่ถ้าทำแล้วเกิดความเสี่ยงก็ไม่ทำ เพราะเราเอาเงินคนอื่นมาลงทุน ในจุดเริ่มต้นตรงนี้จึงพยายามจะทำอะไรให้เสี่ยงน้อยที่สุดเพื่อประโยชน์ของ ผู้ประกันตนและประชาชนทุกคน ทั้งนี้หากพิจารณาในหลักการตามที่ประชุมให้ข้อสังเกตุไว้ยังไม่ได้เห็นว่ามี ขัดแย้งกันทั้งหมด ยังมีความเห็นตรงกันกันว่าอยากให้ผู้มีรายได้มีส่วนร่วมจ่าย โดยกระทรวงแรงงานจะรับไปพัฒนาต่อ นอกจากนี้กระทรวงฯก็กำลังขยายสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา39 เพื่อพัฒนาระบบประกันสังคมให้ดีขึ้น สำหรับแนวทางการปฏิรูปกฎหมายด้านแรงงาน นั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้มอบนโยบายให้ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทัน สมัย ยิ่งขึ้น หากคปก.มีข้อเสนอที่ดีสามารถเสนอมาได้และทางเรายินดีให้ข้อมูลเพิ่มเติม

นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้อำนวยการกองนิติการ สำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ประเด็นสำคัญในการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคม คือ การปรับปรุงแก้ไขเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วน เช่น การขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างส่วนราชการ รวมถึงลูกจ้างองค์กรท้องถิ่น การแก้ไขประเด็นมาตรา 40 ในบทนิยามให้ครอบคลุมถึงแรงงานที่ไม่อยู่ในสถานประกอบการ เรื่องบำนาญชราภาพ เรื่องการประสบภัยพิบัติของผู้ประกันตน  กรณีลูกจ้างหรือผู้ประกันตนเสียชีวิตและไม่มีทายาทพี่น้องสามารถรับผล ประโยชน์แทนได้ การเปลี่ยนนิยามเรื่องทุพพลภาพให้ครอบคลุมการสูญเสียอวัยวะ นอกจากนั้น ยังแก้ไขเรื่องการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ และยังขยายเรื่องสิทธิในการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนจากหนึ่งปีเป็นสองปี หากเกินสองปี เลขาธิการฯมีอำนาจขยายให้ได้หากมีเหตุผล นอกจากนี้ ยังระบุให้สิทธิประโยชน์ที่ได้รับไม่อยู่ในการบังคับคดีของเจ้าหนี้ด้วย ด้านการบริหารได้เพิ่มคุณสมบัติคณะกรรมการประกันสังคม เพื่อให้คณะกรรมการบริหารงานมีคุณภาพยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แก้ไขส่วนเงื่อนไขการเสียสิทธิ เนื่องจากเรื่องหลักๆ ที่เร่งด่วน คือเจ็บป่วยและเสียชีวิต

นายโกวิท กล่าวว่า  ประเด็นตามมาตรา 55 เราได้ปรึกษากับกฤษฎีกาแล้วเห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะกลุ่มผู้ได้รับความคุ้มครองจะหมดในอีกห้าถึงหกปี ส่วนนิยามการว่างงาน ที่มีสาเหตุมาจากการลาออกที่ถูกบังคับ ซึ่งมีปัญหาการตีความในทางกฎหมายว่าเป็นการลาออกนั้น เมื่อพิจารณาแล้ว การเลิกจ้างโดยการลาออก เจตนารมณ์ในการเลิกจ้างคือ ไม่ประสงค์จะทำงาน ซึ่งเห็นว่าควรคุ้มครองผู้ประกันตนส่วนนี้ด้วย ทั้งนี้  ต้องมีการตรวจสอบเป็นกรณีไป โดยในทางปฏิบัติให้กรมสวัสดิการฯ เข้ามาดูแล และพิจารณา ว่าเข้ากรณีถูกบีบบังคับให้ลาออกหรือลาออกโดยความสมัครใจแท้จริง อย่างไรก็ตาม การแก้ไขร่างพ.ร.บ.ในส่วนนี้ก็ยังต้องไปว่ากันในชั้นกรรมาธิการอีกครั้ง หนึ่ง ว่าจะมีการปรับแก้อย่างไร

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า จากการศึกษาการแก้ไขร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมอาจจะเป็นแนวคิดในการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้าก่อน แต่การดำเนินการแก้ไขปัญหาตามงานวิจัยที่มีอาจมีข้อจำกัดหลายประการเช่น สภาวะสังคม เป็นต้น  ขณะที่ประเด็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานที่ถูกจัดส่งไปต่างประเทศ ได้มีการพูดคุยกันตลอด เช่น อิสราเอล ไต้หวัน  เป็นต้น ซึ่งสำนักงานประกันสังคมก็ไม่ได้ปล่อยผ่านไปแต่อย่างใด ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลง(MUO) ของประเทศไทยกับประเทศนั้นๆด้วย

“ปัญหาเรื่องการลงทุน ที่สำนักงานบริหารการลงทุน สามารถไปลงทุนในภาคเอกชน ซึ่งอาจจะทำให้รัฐกลายเป็นรัฐวิสาหกิจหากถือหุ้นเกิน 50%นั้น ปัญหานี้ก็น่าเป็นห่วง แต่การลงทุนจะต้องศึกษาให้รอบด้านก่อนการลงทุนจริง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทำนองนี้ที่อาจจะเกิดขึ้น และจะหารือกับกลต.ในประเด็นดังกล่าว” นายจีรศักดิ์ กล่าว
 
ดร.วิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม กรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านสวัสดิการสังคม กล่าวว่า มีข้อสังเกต  3 ประเด็นสำคัญ คือ 1. บทนิยามคำว่า “ลูกจ้าง” นั้น ยังไม่ครอบคลุมของลูกจ้างผู้รับงานไปทำที่บ้าน กรณีที่นายจ้างเป็นบุคคลธรรมดาและประกอบธุรกิจซึ่งมิได้มีลักษณะเพื่อหากำไร ควรระบุให้คุ้มครองด้วยด้วย 2. เงินสมทบตามมาตรา 55 ยังมีความไม่เสมอภาคปรากฏอยู่ เนื่องจากลูกจ้างที่เข้ามาก่อนที่จะมีการแก้ไขร่างพ.ร.บ.นี้ได้ประโยชน์ เพียงกลุ่มเดียว 3. เรื่องการว่างงานนั้น ไม่เห็นด้วยที่กำหนดให้รอครบ 7 วันจึงจะมีสิทธิรับเงินทดแทน เนื่องจากความเดือดร้อนเกิดขึ้นทันทีนับแต่ว่างงานแล้ว และไม่ได้คำนึงถึงภาระของผู้ว่างงานว่าได้รับความเดือดร้อนมากน้อยเพียงใด

(เดลินิวส์, 17-2-2556)

“อภิสิทธิ์” แนะรัฐบาลเร่งหามาตรการแก้ปัญหาผลกระทบค่าแรง 300 บาท

17 ก.พ. 56 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พรรคประชาธิปัตย์จัดเวทีเสวนาสาธารณะเปิดหูเปิดตาประชาชนเรื่องค่าแรง 300 บาท ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของแรงงาน ผู้ประกอบการและคนไทย ณ ลานพระแม่ธรณี

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ได้พยายามผลักดันพัฒนาทักษะของแรงงานเพื่อให้มี รายได้มากขึ้น และพรรคการเมืองคู่แข่งได้นำกรณีนี้มาเป็นนโยบายหาเสียง แต่เป็นการปรับรายได้แบบมีเงื่อนไข ส่งผลกระทบตามมามากมาย เช่น การหลบเลี่ยงกฎหมาย มีแรงงานถูกเลิกจ้าง ทั้งนี้ รัฐบาลจะมองสถานการณ์เฉพาะหน้าไม่ได้ แต่ต้องมองถึงอนาคต สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องคือ เมื่อเกิดผลกระทบ รัฐบาลมีหน้าที่หามาตรการรองรับและแก้ปัญหา ขณะเดียวกันต้องพิจารณาว่าในอนาคตเรื่องการปรับขึ้นค่าแรงควรเป็นเรื่องที่ ทางการเมืองเป็นผู้กำหนดอีกหรือไม่

ด้านนางวิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานท์ฉันแรงงานไทย กล่าวว่า นโยบาย 300 บาทของรัฐบาลกำลังมีปัญหากระทบกับแรงงาน ทั้งเรื่องไม่ได้ค่าแรงตามที่รัฐกำหนดจริง ปัญหาค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นตามการปรับค่าแรง รวมถึงปัญหาแรงงานถูกเลิกจ้าง เพราะผู้ประกอบการไม่สามารถแบกรับภาระได้จึงปิดกิจการ ปัญหาเหล่านี้รัฐบาลมีหน้าที่ต้องหามาตรการที่ชัดเจนมารองรับและให้การช่วย เหลือทั้งในเบื้องต้นและระยะยาว นอกจากนี้รัฐบาลต้องเร่งหามาตรการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและเพิ่มมาตรการ ช่วยเหลือให้ชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานไทยดีขึ้น และมีรายได้เพียงพอเลี้ยงดูครอบครัว

(สำนักข่าวไทย, 17-2-2556)

"เผดิมชัย"ปัดโรงงานโอ่งราชบุรีปิดตัว ไม่เกี่ยวขึ้นค่าจ้าง 300 บาท

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่กระทรวงแรงงาน นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่โรงงานผลิตโอ่งใน จ.ราชบุรี ต้องปิดกิจการ เนื่องจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานแรงงานจังหวัดราชบุรีว่า โรงงานทำโอ่งได้หยุดกิจการชั่วคราวทั้งหมด 2 แห่ง มีแรงงานจำนวน 7 คน โดยสาเหตุที่หยุดกิจการไม่ได้เกิดจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท แต่เป็นเพราะโรงงานไม่มียอดสั่งซื้อ (ออเดอร์) สินค้าจากต่างประเทศ รวมทั้งตลาดภายในประเทศมีจำนวนจำกัด และค่าวัตถุดิบมีราคาแพง ทำให้บริษัทขาดทุนจึงต้องปิดกิจการ ทั้งนี้ ปัจจุบันโรงงานโอ่งใน จ.ราชบุรี มี 31 แห่ง มีแรงงานประมาณ 500 กว่าคน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าและกะเหรี่ยง ทำให้การแข่งขันสูง เพราะโรงงานที่ปิดตัวไปเป็นโรงงานขนาดเล็ก ไม่สามารถแข่งขันกับโรงงานขนาดใหญ่ได้ นอกจากนี้ ยังมีโรงงานโอ่งที่หยุดกิจการชั่วคราว 2 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม จำนวน 1 แห่ง มีลูกจ้าง 10 คน และมีโรงงานที่มีแนวโน้มที่จะหยุดกิจการในเดือนมีนาคม จำนวน 1 แห่ง มีลูกจ้าง 6 คน

นายเผดิมชัยกล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่แรงงานจังหวัดทั่วประเทศประสานขอข้อมูลจาก พาณิชย์จังหวัดที่มีสถานประกอบการไปยื่นจดทะเบียนเปิดกิจการ เพื่อเป็นการรายงานข้อมูลที่รอบด้าน ให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยในส่วนการแก้ปัญหาโรงงานโอ่งขนาดเล็กนั้นมองว่า เมื่อไม่มีออเดอร์เข้ามา ทางโรงงานควรร่วมกับสถานประกอบการขนาดใหญ่ในการรับงาน เพื่อให้ดำเนินธุรกิจต่อไปได้

(มติชนออนไลน์, 18-2-2556)

ผ.อ.การท่าเรือยื่นใบลาออกแล้ว หลังโดนสหภาพฯท่าเรือประท้วงขับไล่

วันที่ 18 ก.พ. ที่ประชุมคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นประธานในที่ประชุมเพื่อหารือกรณีสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่ง ประเทศไทย ชุมนุมประท้วงขับไล่ เรือตรีวิโรจน์ จงชาณสิทโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือ

โดยสหภาพแรงงานการท่าเรือฯได้ออกมาเรียกร้องให้ผู้อำนวยการการท่าเรือลา ออกหลังจากที่เกิดปัญหาบริหารงานผิดพลาด ใช้อำนาจในทางที่มิชอบ ทำให้เกิดความขัดแย้งในองค์กร

ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการหารือ เรือตรีวิโรจน์ จงชาณสิทโธ ได้ตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่งโดยมีพล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง มีมติเห็นชอบกับการลาออกและมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนเป็นต้นไป

พร้อมแต่งตั้ง ร.อ.อิทธิชัย สุพรรณกุล รองผู้อำนวยการ สายบริหารทรัพยากรบุคคลและการเงิน ทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการการท่าเรือ

ทั้งนี้หลังจากเสร็จสิ้นการหารือและเรือตรีวิโรจน์ได้ลาออกตามคำเรียกร้อง สหภาพแรงงานก็กลับเข้าทำงานตามปกติ

(สปริงนิวส์, 18-2-2556)

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท