ศาล 'ลับ' สหรัฐฯ ปฏิเสธไม่ได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลสอดแนมประชาชน

อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลสืบราชการลับต่างประเทศ (Foreign Intelligence Surveillance Court) ได้กล่าวแสดงความไม่พอใจในเรื่องความน่าเชื่อถือของรายงานเปิดโปงซึ่งกล่าวหาว่าศาลร่วมมือกับฝ่ายบริหารสอดแนมข้อมูลประชาชน

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2013 เว็บไซต์วอชิงตันโพสท์กล่าวถึงกรณีที่สมาชิกผู้พิพากษาของสหรัฐฯ แสดงความไม่พอใจจากการที่ตนถูกหาว่ามีบทบาทเป็นศาลพิเศษที่ขออนุญาตให้มีโครงการสอดแนมลับๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยพวกเขาแสดงความไม่พอใจในจุดที่ว่าฝ่ายตุลาการของพวกเขาได้ร่วมมือกับฝ่ายบริหาร

หลังจากที่มีการเปิดโปงรายงานลับฉบับร่างปี 2009 ของสภาความมั่งคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NSA) ที่มีการกล่าวถึงการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้พิพากษาและองค์กร NSA ในการขออนุญาตเปิดโครงการสอดแนมที่มาจากความริเริ่มของรัฐบาลขอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช

คอลลีน โคลลาร์-โคเทลลี ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นของสหรัฐฯ อดีตหัวหน้าผู้พิพากษาศาลสืบราชการลับต่างประเทศ (Foreign Intelligence Surveillance Court) ได้กล่าวแสดงความไม่พอใจในเรื่องความน่าเชื่อถือของรายงานและการที่ศาลไม่สามารถอธิบายการตัดสินใจของพวกเขาได้

ตามความเห็นของโคลลาร์-โคเทลลี แล้ว ร่างรายงานดังกล่าวมีการละเลยในส่วนสำคัญและมีความผิดพลาดในบางจุด โดยเฉพาะเรื่องท่าทีของตัวเขาในฐานะผู้พิพากษาของ FISC และการปฏิสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร

ร่างรายงานลับดังกล่าวเป็นหนึ่งในเอกสารที่เอ็ดเวิร์ด สโนวเดน อดีตคนทำงานร่วมกับ NSA นำมาเผยแพร่ จนทำให้เกิดการถกเถียงกันขึ้นในเรื่องสิทธิความเป็นส่วนตัวและเรื่องความมั่นคง โดยเอกสารดังกล่าวระบุว่าศาลสืบราชการลับฯ ได้ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการตั้งโครงการสอดแนมเพื่อเก็บข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งโครงการนี้ถูกตั้งโดยจอร์จ ดับเบิลยู บุช ซึ่งเป็น ปธน.สมัยนั้น โดยที่ไม่มีมติรับรองจากรัฐสภาหรือจากศาล และต่อมาในปี 2004 โครงการนี้ก็ถูกยุบหลังจากที่คนในกระทรวงยุติธรรมต่อต้านและขู่ว่าจะลาออกเพราะคิดว่าโครงการนี้ขัดต่อกฏหมาย

ในรายงานระบุว่ามี "การให้ความร่วมมือ" ระหว่างศาล, NSA และกระทรวงยุติธรรมที่กล่าวถึงในเอกสารหมายถึงการพยายามตั้งเจ้าหน้าที่ภายใต้กฏหมายสืบราชการลับต่างประเทศปี 1978 (Foreign Intelligence Surveillance Act) ซึ่งเป็นกฏหมายที่ตั้งขึ้นมาแทนกฏหมายปี 1960s-1970s ที่ถูกนำมาใช้อย่างผิดๆ ซึ่งโคลเทลลีปฏิเสธว่ามันเป็นกระบวนการ "วินิจฉัย" ไม่ใช่การ "ให้ความร่วมมือ"

Washington Post ระบุว่าศาลสหรัฐฯ ทำงานใกล้ชิดกับระฐบาลมากเกินไปทำให้เกิดการพิจารณาแบบ "ฝ่ายเดียว" หมายความว่าศาลไม่ได้ทำหน้าที่แบบศาลโดยทั่วไปคือการมีคู่พิพาททางกฏหมายแล้วศาลเป็นตัวกลางในการคัดสิน แต่กลายเป็นว่าเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ทำคดีให้กับองค์กรของรัฐที่ต้องการใบอนุญาตในการสอดแนมประชาชนในสหรัฐฯ โดยไม่มีใครเป็นผู้ว่าความให้ฝ่ายผู้ถูกสอดแนมหรือบริษัทที่ถูกสั่งให้วางเครือข่ายสำหรับการสอดแนมข้อมูลลูกค้าของตน

โคเทลลีไม่ต้องการแสดงความเห็นในเรื่องนี้ไปมากกว่านี้โดยอ้างว่ามีบางเรื่องในร่างรายงานเป็นเรื่องที่ควรปิดเป็นความลับ ซึ่งทางรัฐบาลเองก็ปฏิเสธจะแสดงความเห็นในเรื่องนี้เช่นกัน ทำให้เรื่องที่ศาลอนุญาตให้มีโครงการสอดแนมยังคงมีความคุลมเครือ

เจ้าหน้าที่รัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งทำงานใกล้ชิดกับศาลกล่าวว่า ศาลเป็นองค์กรกลางที่ไม่มีส่วนร่วมหรือเป็นผู้รับใช้รัฐบาล แต่ข้อมูลที่ถูกเปิดโปงออกมาทำให้ประชาชนสงสัยว่าเหตุใดศาลถึงสนับสนุนโครงการนี้

Washington Post เปิดเผยว่าก่อนหน้านี้ศาลสหรัฐฯ ก็เคยให้อนุญาตการดักฟังโทรศัพท์และการสอดส่องความเคลื่อนไหวของผู้ต้องสงสัยว่าเป็นอาชญากร และหลังเกิดเหตุการณ์ก่อการร้ายวันที่ 11 ก.ย. 2001 ก้มีโครงการขยายการเก็บข้อมูลอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์โดยอำนาจของประธานาธิบดี ซึ่งปราศจากมติจากสภาหรือการรับรองจากศาลสืบราชการลับ

รายงานดังกล่าวระบุว่าเมื่อเดือน พ.ค. 2004 NSA ได้กล่าวสรุปเรื่องโครงการให้โคลลาร์-โคเทลลี ฟัง นอกจากนี้โคเทลลียังได้เข้าพบกับผู้อำนวยการของ NSA พลโท ไมเคิล วึ. เฮย์เดน ในช่วงฤดูร้อนของปี 2004 เพื่อหารือในประเด็นเดียวกัน

เฮย์เดนให้สัมภาษณ์ว่า พวกเขาทำงานกันอย่างมืออาชีพ พวกเขาพยายามอธิบายกับโคเทลลีว่าพวกเขาทำอะไรและต้องการทำอะไรบ้าง มีช่องว่างตรงไหนต้องอุดบ้าง และให้โคเทลลีเป็นผู้ตัดสินตามแต่ความเหมาะสมเพื่อให้มีความสมดุลระหว่างเรื่องความมั่นคงและเสรีภาพ

เฮย์เดน ปฏิเสธอีกว่าโคเทลลีไม่ได้ทำงานร่วมกับพวกเขา พวกเขาแค่นำเสนอสิ่งที่คิดว่าเหมาะสมและตอบสนองข้อกังวลของโตเทลลี และมีการปรับเปลี่ยนในเชิงเทคนิคเพื่อลดจำนวนเป้าหมายของข้อมูลการสื่อสารของประชาชนสหรัฐฯ

ในวันที่ 14 ก.ค. 2004 ศาลสืบราชการลับได้อนุมัติให้ NSA สามารถเก็ข้อมูลได้เป็นครั้งแรกภายใต้ขอกำหนดของกฏหมายการสืบราชการลับที่เรียกว่า "ระบบการตรวจสอบการใช้งานโทรศัพท์ ทั้งเข้าและออก" (PRTT) ทำให้มีการสร้างสิ่งที่เป็นเหมือนตู้นิรภัยดิจิตอลสำหรับเก็บ "นิยามข้อมูล" หรือข้อมูลที่มีกล่าวถึงรายละเอียดของข้อมูลเช่น ผู้รับผู้ส่งข้อมูลเป็นใคร

ในวันที่ 24 พ.ค. 2006 โคเทลลีก็ได้เซ็นลงนามคำสั่งอนุญาตให้มีการเก็บนิยามข้อมูลจากบริษัทโทรศัพท์ของสหรัฐฯ ภายใต้จ้อกำหนดมาตรา 215 ของกฏหมายการสืบราชการลับ

โดยภายใต้ขอกำหนด PRTT กระทรวงยุติธรรมและ NSA มีหน้าที่ "ร่วมกันออกแบบโปรแกรมใช้งาน เตรียมการประกาศ และตอบสนองต่อคำถามจากที่ปรึกษาจากศาล"

ในปี 2007 ศาลยังได้ตกลงอนุญาตให้รัฐบาลเก็บข้อมูลเนื้อหาอีเมลล์และโทรศัพท์ที่เข้าสู่และออกจากสหรัฐฯ เมื่อมีความเป็นไปได้ว่าผู้ติดต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเป็นสมาชิกของ อัล-เคด้า หรือกลุ่มก่อการร้าย และโครงการนี้เองเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันในนามโครงการปริซึ่ม (PRISM)

แต่โคเทลลีก็ไม่ได้เอื้อต่อ NSA ไปเสียทั้งหมด บางครั้งเธอก็คิดว่า NSA ทำการล้ำเส้นเกินไป เช่นในปี 2004 โคเทลลีสั่งยุบโครงการสอดแนมชั่วคราวเมื่อพบว่า NSA มีความล้มเหลวในด้านสำคัญ คือการที่ NSA ไม่ได้แบ่งแยกข้อมูลที่ได้มาจากการไม่มีหมายค้น และอาจนำข้อมูลมาใช้ขอหมายค้นจากศาลซึ่งเป็นเรื่องต้องห้าม และในปี 2005 ปัญหาดังกล่าวก็เกิดขึ้นอีกครั้งทำให้โคเทลลีต้องเตือนรัฐบาลว่าพวกเขาต้องแก้ปัญหาเหล่านี้มิเช่นนั้นจะไม่ได้รับหมายค้นจากศาล

โรเบิร์ต แอล. ดิทซ์ อดีตที่ปรึกษา NSA ในสมัยของเฮย์เดน กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวพิสูจน์ให้เห็นว่า ศาลไม่ได้ให้อนุญาตรัฐบาลเสมอไปเช่นที่ถูกวิจารณ์ และเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมก็ให้ความเห็นว่ารัฐบาลควรเปิดเผยผลสรุปความเห็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องในประเด็นนี้เพื่อทำให้ผู้ที่รู้สึกไม่พอใจหลังจากรับรู้เรื่องจากการเปิดโปงสงบลง

"ในบรรยากาศเช่นนี้ คุณควรเอนเอียงไปทางการเปิดเผยความลับมากกว่าที่ควรจะเป็น คุณอาจสามารถหาข้อสรุปที่ฟังดูมีเหตุผลซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนชาวอเมริกันได้"

เรียบเรียงจาก

Secret-court judges upset at portrayal of ‘collaboration’ with government, Washington Post, 30-06-2013
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท