Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

บทบรรณาธิการ เวบไซด์ www.pub-law.net สำหรับวันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม ถึงวันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม 2556 หัวข้อ วันพิพากษาคดีรถดับเพลิงของ ศ.ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือประเด็นใหม่ แต่ อาจารย์ นันทวัฒน์ ได้เขียนเรื่องนี้ และ นสพ มติชน ได้นำไปลง(คลิ๊ก) โดยนำไปจากบทบรรณาธิการ ตั้งแต่2 มกราคม พศ 2555 เท่าที่ทราบในแวดวงวิชาการ ก็คงจะมีแค่ อ นันทวัฒน์ และ คณะ นิติราษฎร์ ที่มีข้อเสนอในการ “จัดการ”กับปัญหาการทำรัฐประหารในประเทศไทยผ่าน

กระบวนการยุติธรรมผู้เขียนในฐานะที่เป็นคนไทย1คน  จึงอยากเขียนบทความนี้เพื่อแสดงความเห็นสั้นๆ

คดีรถและเรือดับเพลิงคดีหมายเลขดำที่ อม.5/2554  เป็นคดีทางการเมืองที่พัวพัน หลายพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ของ กรุงเทพมหานคร ไล่ตั้งแต่ อดีต ผู้ว่า กทม ที่ ชื่อ สมัคร สุนทรเวช สืบเนื่องมาถึง นาย อภิรักษ์ โกษะโยธิน และเกี่ยวพันกับการปฎิวัติรัฐประหาร 19กันยายน พศ 2549 เนื่องจาก คณะกรรมการ คตส ได้ถูกแต่งตั้ง โดย คณะรัฐประหาร (คมช แล้วแปลงร่างเป็น คปค) ได้มีความเห็นสั่งฟ้องดำเนินคดี กับนักการเมืองและข้าราชการ หลายท่าน เช่น นาย โภคิน พลกุล นาย วัฒนา เมืองสุข นาย ประชา มาลีนนท์ เป็นต้น จนปัจจุบันนี้ รถยนต์ และเรือดับเพลิงที่ได้ซื้อมา ก็ยังไม่มีใครกล้านำมาใช้งาน เพราะเกรงว่าจะผิดกฎหมายเพิ่มเติม

ประเด็นนี้ ได้มีการถกเถียงกันอีกครั้งในวง วิชาการ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พศ 2556 ในงานเสวนาวิชาการ ชื่อ “ หลัก นิติรัฐ นิติธรรม กับ การวางรากฐานประชาธิปไตย” ที่จัดโดยความร่วมมือระหว่าง IDS( Institue of Democratization Studies) และ มูลนิธิ KAS(Konrad-Adenauer-Stiftung e.V.) July 26th 2013, โรงแรม เชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท โดย นาย จาตุรนต์ ฉายแสง (ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง รมว ศึกษา) ได้ร่วมรับฟังและกล่าวสรุปในงานครั้งนี้

ศ ดร นันทวัฒน์ บรมานันท์ อภิปรายประเด็นโดยสรุปคร่าวๆโดยผู้เขียนว่า ศาลฎีกา มีโอกาสในการพิจารณาตัดสิน คดีนี้ โดยมีความเห็นว่า การยึดอำนาจ ทำรัฐประหาร โดย คมช เป็นการกระทำ ที่ เป็นกบฎ มีความผิดตาม กฎหมาย อาญา มาตรา 113 ดังนั้น การดำเนิคดีนี้ ผู้ฟ้องจึงไม่มีอำนาจฟ้องตามกฎหมาย และพิพากษายกฟ้อง เพื่อเป็นการไม่รับรองอำนาจรัฐประหาร

ในเรื่องนี้ แนวคำตัดสินของศาลฎีกาที่ผ่านมายึดหลัก ฎีกาเดิม ที่ 1662/2505 กล่าวโดยสรปว่า“เมื่อคณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจโดยสำเร็จหัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย” อ นันทวัฒน์ คาดหวังว่า นี่จะเป็นโอกาสอันดี ว่าศาลจะยืนยันตามหลักการเดิมหรือไม่

อดีต รองประธานศาลฎีกา นายสถิตย์ ไพเราะ ซึ่งเป็นผู้บรรยายร่วมได้ตอบโดยทันพลันว่า “ คือ อ นันทวัฒน์ผิดหวังแน่นอนครับ เพราะอย่างนี้ครับ ปืนมา กฎหมายเงียบครับ...ความคิดอันนี้นี้มีอยู่ตลอดแต่ว่ามันเป็นปัญหาอย่างนี้ครับ คือเกี่ยงกันอยู่ พอปืนมา กฎหมายเงียบ หมายความว่า ศาลก็ต้องปล่อย ต้องถามประชาชนว่าเขาจะเอาอย่างไร เพราะอำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลายเมื่อทหารแย่งอำนาจไปก็เป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะต้องแย่งคืน ขอประทานโทษนะครับ ไม่ใช่หน้าที่ของศาลที่จะไปแย่งช่วยประชาชน ”

(credit pitvfanpage ที่ youtube http://youtu.be/aQctQplP6LY 3.47นาที)

โดยสรุป ผู้เขียนมีความประสงค์เพียงเพื่อเป็นส่วนเล็กๆของสังคม ส่งเสียงถ่ายทอดความคิดของบุคคลในวงการกฎหมายในการพยายามหาหนทางหลุดพ้นจากวงจรปฎิวัติ ที่ดูอย่างไรก็ไม่สามารถตีความให้สอดคล้องกับ นิติรัฐ นิติธรรม และประชาธิปไตยได้ เพียงแต่ว่า การตอบคำถามของ อดีตผู้พิพากษา นาย สถิตย์ ไพเราะ(ในฐานะความคิดเห็นส่วนตัว) อาจจะเป็นการดูโลกอันเลวร้ายถ้าประชาชนฝากความหวังไว้ที่ศาลยุติธรรมหรือเป็นการดูโลกอันเป็นจริงที่ถ้าประชาชนชาวไทยเห็นคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยที่ทุกคนมี1คะแนนเสียงเท่ากันไม่ว่าจะมีสถานะทางสังคมเพศการนับถือศาสนาหรือการศึกษาอย่างไร นายสถิตย์ได้กระตุ้นให้เราทุกคนออกมาช่วยกันทุกวิถีทางที่จะทำลายรัฐประหาร ให้หมดไปจากเมืองไทย ที่ อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย!

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net