Skip to main content
sharethis

การประกาศหยุดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยหลายแห่งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับการ นัดหยุดงานของแกนนำคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" หรือ กปปส. ที่มีสุเทพ เทือกสุบรรณเป็นเลขาธิการ ส่งผลให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางของบทบาทของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะต่อการแสดงท่าทีทางการเมืองท่ามกลางความขัดแย้งอย่างรุนแรงในขณะนี้

จริงๆ แล้วในท่ามกลางความขัดแย้งนั้น ในแวดวงอุดมศึกษา ทั้งตัวมหาวิทยาลัยเอง คณาจารย์และนักศึกษาควรจะมีบทบาทอย่างไร เพื่อหาทางออกให้กับปัญหานี้ ซึ่งต่อไปนี้เป็นมุมมองของนักวิชาการและนักศึกษาส่วนหนึ่ง ต่อบทบาทของมหาวิทยาลัย คณาจารย์และนักศึกษาท่ามกลางความขัดแย้ง

“มหาวิทยาลัยต้องสร้างพื้นที่กลางแก้ไขความขัดแย้ง”

อาจารย์วศิน สุวรรณรัตน์

คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (ม.อ.หาดใหญ่)

บทบาทของมหาวิทยาลัยท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองนั้น ทั้งคณะอาจารย์หรือมหาวิทยาลัยเอง ควรสร้างพื้นที่กลางเพื่อให้ทุกคนทุกฝ่ายร่วมแสดงความคิดเห็น พื้นที่นี้ไม่ควรจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง คนที่อยู่ในพื้นที่กลางก็ต้องมีความเป็นกลางด้วย

อย่างล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา คณะนิติศาสตร์ได้ จัดงาน นิติศาสตร์เสวนาเห็นต่างร่วมทางได้ ในหัวข้อประเทศไทยไปทางไหนดี ซึ่งได้เชิญนักวิชาการหลายคนมาร่วมเสนา รวมทั้งนักศึกษาที่สนับสนุนฝ่ายต่างๆมาร่วมเสวนาด้วย โดยเปิดโอกาสให้ร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดกันอย่างเสรี

สำหรับผมเอง ในท่ามกลางความขัดแย้งนั้น ก็มีส่วนร่วมในการเสนอแนะวิธีคิด ให้ความรู้ท่ามกลางความวุ่นวายสับสนของการเมืองที่ไม่รู้จะจบเมื่อไหร่ แต่เป็นการให้ความคิด ซึ่งต้องอยู่ในกรอบของนักวิชาการ ส่วนใครจะฟังหรือไม่นั้น ก็ไม่สามารถบังคับใครได้

ส่วน บทบาทของนักศึกษานั้น มหาวิทยาลัยไม่ได้บังคับว่า นักศึกษาจะต้องเลือกอยู่ข้างใดข้างหนึ่ง มหาวิทยาลัยให้เสรีภาพทางความคิดแก่นักศึกษา

“ต้องให้เสรีภาพแก่ทุกฝ่าย”

เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

“บทบาท ของมหาวิทยาลัยท่ามกลางความขัดแย้ง ควรเป็นพื้นที่กลางหรือเป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมหาวิทยาลัยไม่ควรมีท่าทีเลือกข้างและไม่ควรนำมหาวิทยาลัยนำไปสู่ความขัด แย้งเสียเอง

ด้วยปณิธานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แห่งนี้ด้วยประโยคที่ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง” การ ตื่นตัวทางการเมืองของมหาวิทยาลัยถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อยสำหรับ สังคมการเมืองที่อยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องการการมีส่วนร่วมทางการเมืองจากทุกภาคส่วนของสังคม

ต้อง ถือว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้ทำหน้าที่ตามหลักประชาธิปไตย แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังคือ มหาวิทยาลัยต้องไม่ต้องเป็นกองเชียร์ของฝ่ายการเมือง แต่ต้องทำหน้าที่ให้เสรีภาพทางความคิดแก่ทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ศาสนา และความเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกัน ควรมีพื้นที่มากเพียงพอให้แก่คนที่เห็นต่าง ตราบเท่าที่เราใช้สติปัญญามาเป็นเครื่องมือในการถกเถียง โดยไม่ใช้ความรุนแรง

สำหรับ การคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอยครั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้มีบทบาทเป็นแนวหน้าออกมาต่อต้านการกระทำของฝ่ายการเมืองที่ ไม่ได้ให้เกียรติแก่เจ้าของอำนาจก็คือประชาชน

 การ ลุกขึ้นมาเป็นปากเป็นเสียงให้แก่สังคมครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นและ มีความกล้าหาญยิ่ง แต่ประเด็นการคัดค้านยังวนกับวาทกรรมทางการเมือง ที่มหาวิทยาลัยติดกับและใช้ตรรกะเดียวกันของฝ่ายการเมืองฝ่ายค้าน เช่น ต่อต้านคนโกง ต่อต้านคอรัปชั่น ซึ่งก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ถึงขั้นผู้คนยอมไม่ได้ ดังที่เราได้เห็นผู้คนจำนวนมากออกมาคัดค้านและต่อต้าน

แต่ อีกด้านหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้ที่ไม่ค่อยได้กล่าวถึงก็คือ กลุ่มประชาชนที่ตกอยู่ในคดีนักโทษการเมือง ดูเหมือนว่าพวกเขาถูกลืมไปจากการต่อต้านครั้งนี้ของมหาวิทยาลัย ประเด็นคนเล็กคนน้อยที่ต้องตกอยู่ในคุก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มเสื้อเหลือง ที่ต้องการกฎหมายนิรโทษกรรมอย่างเร่งด่วน  มากกว่านักการเมืองที่เล่นเกมการเมืองจนทำลายความชอบธรรมของตนเอง

ขณะเดียวกัน การกระทำในนามของม.อ. ก็ถูกตั้งคำถามมากขึ้น จากนิสิตนักศึกษาของเราเอง แต่ก็ไม่มีคำตอบอะไรจากมหาวิทยาลัย”

 

 

“ให้ความรู้แล้วนักศึกษาตัดสินใจเอง”

อับดุลการีม อัสมะแอ

คณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี (ชื่อใหม่ของมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา)

มหา วิทยาลัยฟาฏอนีไม่ได้รับผลกระทบโดยจากการชุมชนทางการเมืองของคณะกรรมการ ประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์อันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)

คิด ว่ามหาวิทยาลัยควรเป็นสถาบันให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องวิชาการแก่นักศึกษา เช่น เรื่องการเมืองการปกครอง ซึ่งเมื่อนักศึกษามีความรู้และเข้าใจเรื่องนี้แล้วจะมีความคิดเห็นอย่างไรก็ เป็นเรื่องของนักศึกษา

ส่วน นักวิชาการควรแสดงความคิดเห็นควรบนหลักฐานของความบริสุทธิ์ทางวิชาการและ ความคิดอิสระ เพราะองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครองกว้างมาก ส่วนใครจะสนับสนุนฝ่ายใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน

คิด ว่าการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยต้องมาจากประชาชนที่มีความรู้ในเรื่องการเมือง การปกครองในระดับหนึ่ง และเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นกลุ่มประชาชนที่มีส่วนสำคัญที่ให้พรรคการเมือง พรรคใดพรรคหนึ่ง ได้รับชัยชนะจากการเลือกทุกครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากถูกใจเรื่องของนโยบายของพรรคการเมืองนั้น

ที่ผ่านมาการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยตั้งแต่ปี 2479 เป็น ต้นมา เป็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจระหว่างชั้นชนนำของประเทศเท่านั้น ทำให้ที่ผ่านมามีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองเฉพาะชนชั้นนำของประเทศเท่านั้น โดยไม่ได้มาจากประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลงที่มาจากประชาชน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น ไม่ได้มาจากชนชั้นของประเทศ

ส่วนข้อเสนอของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.ที่ เสนอให้ตั้งสภาประชาชน คิดว่าไม่ได้แตกต่างกับสภาผู้แทนราษฎรเพราะผู้แทนราษฎรก็มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชน แต่เห็นด้วยกับนักวิชาการหลายคนที่เสนอให้ตั้งสภาประชาชน แต่ต้องแก้รัฐธรรมนูญเสียก่อน

 

เสียงจากนักศึกษา ม.อ.ปัตตานี

ส่วนในมุมมองของนักศึกษา ม.อ.วิทยาเขตปัตตานี ก็มีความเห็นที่หลากหลายเช่นกัน ดังนี้

 

 

9ปีไฟใต้ มหาวิทยาลัยไม่เคยแสดงท่าทีใดๆ”

อาร์ฟาน วัฒนะ คณะรัฐศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี

ไม่ เห็นด้วยที่ผู้มีอำนาจของมหาวิทยาลัยใช้ชื่อมหาวิทยาลัยไปแสดงจุดยืนฝักฝ่าย ทางการเมือง เพราะเท่ากับเป็นการใช้อำนาจครอบงำทุกคนในมหาวิทยาลัย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ทุกคนไม่ได้มีความเห็นแบบเดียวกันทั้งหมด ย่อมมีคนที่คิดต่างออกไปบ้าง ผู้อำนาจสูงสุดของมหาวิทยาลัยควรมีความเป็นกลางในการแสดงออกทางการเมือง และควรเปิดพื้นที่ให้กับคนที่คิดต่างด้วย ไม่ใช่การปฏิบัติแบบเหมารวมเช่นนี้

ตลอดระยะเวลา 9 ปี ของความรุนแรงจากสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนใต้ ม.อ.ปัตตานี ไม่เคยแสดงท่าทีแบบนี้ แม้บางเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับนักศึกษาของม.อ.ปัตตานีด้วยก็ตาม ตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2555 ที่ผ่านมา มีนักศึกษาชั้นปี 1 คนหนึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับตัวไปแทนพี่ชายของตัวเองที่หายตัวไปจากบ้าน ทางมหาวิทยาลัยก็ไม่ดำเนินการอะไรต่อกรณีนี้

เพราะ ฉะนั้นเห็นได้ชัดว่า การงดการเรียนการสอนครั้งนี้ไม่เพียงแค่ต้องการแสดงท่าทีต่อสถานการณ์ทางการ เมืองแล้ว แต่มีนัยยะการเมืองส่วนตัวแอบแฝงด้วย ส่วนอาจารย์บางคนก็ยังสอนตามปกติ เป็นการทวนคำสั่งของมหาวิทยาลัยซึ่งแสดงว่าภายในมหาวิทยาลัยไม่ได้มีเอกภาพ ทางความคิด

 

“ต้องให้สิทธิเสรีภาพทางความคิด ไม่บังคับ”

อิบรอฮิม กีละ คณะวิทยาการสื่อสาร ม.อ.ปัตตานี

“บทบาท ที่ผมควรทำ คือแสดงความคิดเห็นด้วยตรรกะของตัวเอง การไปร่วมประท้วงเพราะถูกอาจารย์บังคับนั้น ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และอาจนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงยิ่งขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นบทบาทอาจารย์ก็ควรเป็นผู้ให้ความรู้แก่นักศึกษา การบังคับนักศึกษาให้ไปร่วมประท้วง เป็นบทบาทที่ผิด

ส่วน บทบาทของมหาวิทยาลัยนั้น ควรให้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา ไม่ใช่จะปิดการเรียนการสอนก็ปิดเลยโดยที่นักศึกษาไม่ทันตั้งตัว และไม่เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าควรจะปิดดีหรือไม่ดี

ส่วน ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้น มหาวิทยาลัยควรเปิดพื้นที่กว้างในการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษา โดยไม่มีภาวะกดดัน อย่างตัวเช่น มีอาจารย์ท่านหนึ่งบังคับนักศึกษาพร้อมทั้งเช็คชื่อให้คะแนนคนที่ไปร่วม ประท้วงด้วยซึ่ง การกระทำเช่นนี้ ถือว่าเป็นการบังคับและกดดันนักศึกษา ทำให้นักศึกษาไม่สามารถที่จะแสดงความคิดเห็นที่แท้จริงของตัวเองได้ แต่ที่ไปร่วมประท้วงเพราะถูกอาจารย์บังคับ

 

“ต้องเข้าใจสถานการณ์และเป็นกลาง”

นัสรี จะมะจี คณะรัฐศาสตร์ สมาชิกสภาแตออ ม.อ.ปัตตานี

ท่าม กลางความขัดแย้งนักศึกษาควรมีจุดยืนเป็นของตนเอง ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การจัดงานเสวนาต่างๆ ก็เพื่อให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์ได้ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไปกับการมีส่วน ร่วมทางการเมือง เช่นปัจจุบันที่มีนักศึกษา ม.อ.หลากหลายกลุ่มเข้าร่วมต่อต้านพ.ร.บ.นิโทษกรรม แต่เมื่อถามถึงที่มาที่ไปและเหตุผลของการเข้าร่วมชุมนุมประท้วง กลับตอบตัวเองและคนอื่นไม่ได้เท่าที่ควร ดังนั้นก่อนที่จะมีส่วนร่วมทางการเมืองหรืออะไรก็แล้วควรศึกษาและทำความเข้า ใจก่อนตัดสินใจ

ใน ส่วนของคณาจารย์ควรที่ยืนในที่ๆเป็นกลาง ไม่ควรเอนเอียงไปในด้านใดด้านหนึ่ง เพราะอาจเป็นการชักนำนักศึกษาให้เข้าข้างฝ่ายที่คณาจารย์เห็นด้วย ความคิดทางการเมืองควรเป็นความคิดของคนแต่ละคนที่จะต้องคิดได้เองว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ไม่ใช่มาจากบุคคลที่ 2 หรือ 3

ไม่เห็นด้วยกับการงดการเรียนการสอนของ ม.อ.ทั้ง 5 วิทยาเขต แต่ควรงดสอนเฉพาะบางวิทยาเขตที่เกิดการเรียกร้องของคนในมหาวิทยาลัย เช่นที่วิทยาเขตหาดใหญ่ เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการให้งดการเรียนการสอนเพื่อเข้าร่วมประท้วงหรือ มีส่วนร่วมทางการเมือง

 

 

“ต้องให้นักศึกษามีส่วนร่วมตัดสินใจ”

ญาดา ช่วยชำแนก นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์

เมื่อ เกิดความขัดแย้งใดๆ มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาต้องมีความเป็นกลางทางวิชาการ ควรให้ความรู้ต่างๆ ให้นักศึกษาสามารถคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร

มหาวิทยาลัย ควรทำประชามติเพื่อรู้เสียงส่วนใหญ่ก่อนตัดสินใจแสดงจุดยืนทางการเมืองใน ชื่อมหาวิทยาลัย ที่จริงมีองค์การนักศึกษา มีสภานักศึกษา น่าจะเป็นช่องทางเพื่อถามถึงความคิดเห็นของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้ แต่มหาวิทยาลัยไม่ได้ถามนักศึกษาเลย เป็นมติของคณะผู้บริหารเท่านั้น ไม่ใช่มติของนักศึกษาด้วย

อาจารย์ ผู้สอนไม่ควรใช้นักศึกษาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ไม่ว่าจะมีความคิดเห็นทางการเมืองอย่างไรก็ไม่ควรให้นักศึกษาต้องเกี่ยวข้อง ด้วย ควรเปิดใจกว้างให้นักศึกษาสามารถแสดงความเห็นต่างได้

 

“ระวัง นักศึกษาอาจขยายความขัดแย้งเสียเอง”

ดันย้าล อับดุลเลาะ ตะวันออกกลางศึกษา ม.อ.ปัตตานี

มหาวิทยาลัย ไม่ควรงดการเรียนการสอนเพื่อแสดงท่าทีต่อความขัดแย้งทางการเมือง เพราะเป็นสถาบันการศึกษาไม่ใช่สถาบันการเมือง หากต้องการแสดงออกทางการเมืองก็ควรสู้ด้วยความรู้หลักวิชาการ เพื่อหาทางออกร่วมกันหรือมีการจัดกิจกรรมแทรกระหว่างการเรียน

หาก อาจารย์ท่านใดต้องการแสดงออกทางการเมืองแบบฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็ควรแสดงออกอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ไม่ควรใช้พื้นที่วิชาเรียนของนักศึกษา

การปฏิบัติครั้งนี้ของคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเท่ากับเป็นการพยายามควบคุมนักศึกษาให้เห็นกับการฝักฝ่ายทางการเมืองของตน

นัก ศึกษาเองก็ควรเสพข่าวสารอย่างหลากหลายเพื่อให้รู้เท่าทัน และขอให้มีสติในการโพสต์ แชร์ และกดไลค์ข้อมูลในโซเชียลมีเดียด้วย เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจขยายวงเพิ่มขึ้นได้



ที่มา: http://www.deepsouthwatch.org/dsj/5026

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net