Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ท่ามกลางวิกฤติกาลทางการเมืองที่เกิดความวุ่นวายและปานปลายไปจนถึงมีผู้เสียชีวิตเพราะเหตุปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ชุมชุมของกลุ่ม กปปส สิ่งที่มวลมหาคนไทยทั้งประเทศต้องการมากที่สุดในเวลานี้ คือ การหาทางออกให้กับทุกฝ่ายโดยไม่ให้เกิดความรุนแรงในรูปแบบต่างๆขึ้นในประเทศอีก

ทางออกเดียวที่เป็นผลดีกับทุกฝ่ายและหลีกเลี่ยงจากความรุนแรงได้ดีที่สุด คือ “การพูดคุยเจรจา” แล้วนำข้อเสนอของทุกฝ่ายไปสู่ “การปฏิรูป”  

แน่นอนว่าจะไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ตามที่ตนต้องการทั้งหมดและทุกฝ่ายจะต้องเดินหน้าหาจุดร่วมที่พอจะไปด้วยกันได้ โดยสถาบันใดสถาบันหนึ่งจะต้องทำหน้าที่ประสานงานให้เกิดการพูดคุยเจรจา เพื่อหาทางออกให้กับทุกฝ่าย
มองไปรอบตัว ว่าสถาบันใดในสังคมที่เหมาะสมกับบทบาทดังกล่าว โดยที่ทุกฝ่ายในสังคมให้การยอมรับและเชื่อมั่นว่าจะเป็นคนกลางในวง “เจรจา”

ที่ผ่านมาหลายภาคส่วนในสังคมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการเจรจา ดังปรากฏในสื่อต่างๆ เช่น กองทัพ และ 7 องค์กรภาคธุรกิจ ซึ่งรัฐบาลเองก็ตอบรับด้วยการร่างกรอบการปฏิรูปเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติ

แต่ดูเหมือนจะไม่ได้ผลเท่าที่ควรเนื่องจาก กลุ่ม กปปส โดยการนำของ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่ค่อยไว้ใจเจ้าภาพเจ้าภาพมักนักประกอบกับกลุ่ม กปปส เองก็คงก็คงมองว่า ข้อเสนอของตนคงไม่ได้รับการยอมรับในวงเจรจา
เวลาเด็กทะเลาะกันแล้วเพื่อนมาห้ามมักจะไม่ค่อยได้ผล ต้องให้คนที่เด็กเคารพนับถือ เช่น พ่อ แม่ ครู มาห้ามจึงจะยอมหยุด ฉันใดก็ฉันนั้น

ในสถานการณ์ที่สถาบันสำคัญๆในสังคมถูกทำลายความน่าเชื่อถือด้วยข้อหา “เลือกข้าง”  ในความเข้าใจของผู้เขียนแล้ว ผู้เขียนมองว่าสถาบันที่เปรียบเหมือน ผู้หลักผู้ใหญ่ในครอบครัวที่เป็นเหมือน หลักเป็นฐานให้กับลูกหลานในยามที่เกิดความระสับระสั่นในสังคม คือ สถาบันศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ ที่มีรากฐานทาง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม ควบคู่กับสังคมไทยมาช้านาน

แต่เหตุใดในยามวิกฤติบ้านเมืองเช่นนี้ เราไม่เคยเป็นแม้แถลงการณ์ประณามความรุนแรง จากมหาเถรสมาคมซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของคณะสงฆ์เข้ามามีบทบาทกับการจัดการความขัดแย้งทางการเมือง

แม้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้บัญญัติหน้าที่ของศาสนาด้านการเมืองเอาไว้ก็ตามแต่เมื่อสังคมไทยไม่ค่อยมีสำนึกร่วมกับรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ไม่เช่นนั้นคงไม่ถูกฉีกทิ้งฉีกขวางมาแล้วถึง 17 ฉบับ แม้แต่ฉบับปัจจุบันจะถูกฉีกหรือไม่ยังไม่มีใครมั่นใจได้ แม้จะไม่ใช่วิธีการทางกฎหมายแต่ก็เป็นวิธีการทางวัฒนธรรมในนามของความเป็นไทย (อย่างที่ชอบอ้างกัน)
ในอดีตพระสงฆ์ที่มีบทบาทสำคัญกับการแก้ไขปัญหาและช่วยคลี่คลายปัญหาทางการเมืองต่างๆเช่น สมเด็จพระพุทธจารย์ (โต พรมรังสี) ดังที่ผู้สนใจประวัติศาสตร์บ้านเมืองทราบดี แน่นอนว่า สถานการณ์และปัจจัยแวดล้อมต่างย่อมเปลี่ยนไปตามยุคสมัย

ในทัศนะของผู้เขียนมองว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ศาสนาพุทธในฐานปัจจัยแวดล้อมทางการเมืองสูญเสียพลังขับเคลื่อนในการเสนอตัวเป็นกลางในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในวิกฤติบ้านเมืองที่ผ่านมา อาจมาจากหลายสาเหตุแต่ผู้เขียนจะยกประเด็นสำคัญมาให้ผู้อ่านช่วยขบคิดและถกเถียงกันดังต่อไปนี้

ศาสนาในฐานะอุดมการณ์รัฐ

นับแต่อดีตที่ผ่านมาชนชั้นปกครองไทยได้ใช้อุดมการณ์ศาสนาพุทธเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างอำนาจและประกอบความชอบธรรมในกับกลุ่มตนมาโดยตลอด โดยวิธีการผูกขาดการตีความชุดคำสอนทางศาสนาเฉพาะคำสอนในหมวดเกี่ยวกับ “กรรม” ชนชั้นปกครองพยายามปลูกฝั่งความเชื่อในลักษณะว่า คนจะจน จะรวย จะสูง จะต่ำ และจะเป็นผู้ปกครองหรือถูกปกครอง ล้วนถูกกำหนดแล้วจาก “กรรม” ในอดีตชาติ ซึ่งการปลูกฝั่งในลักษณะดังกล่าวทำให้ประชาชนในยุคหนึ่งจำนนต่อ “กรรม” และยกเรื่องบ้านเมืองให้เป็นเรื่องของเจ้าคนในคน ซึ่งผลจากการปลูกฝั่งดังกล่าวทำให้ต้นกล้าแห่งประชาธิปไตยในสังคมไทยขาดการเจริญเติบโต ทั้งๆที่ อายุอานามก็ปาเข้าไปแล้ว 80 ปี ดังเห็นได้จากวาทะกรรมของชนชั้นที่ได้เปรียบในสังคมที่ว่า   หนึ่งคนหนึ่งเสียใช้ไม่ได้กับสังคมไทย , คนชนบทไม่มีความรู้เรื่องประชาธิปไตย , เสียงของคนต่างจังหวัดมีคุณภาพไม่เท่าเสียงของคนกรุงเทพ ,ถ้ากุลีมีเสียงเท่าบัณฑิตจะเรียนเป็นบัณฑิตให้เหนื่อยทำไม


การแช่แข็งคณะสงฆ์ผ่านโครงสร้างการบริหาร

นับตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยกร่างและประกาศพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 เพื่อให้สอดคล้องกับการปกครองบ้านเมืองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จตามที่ตนนิยมนั้น การบริหารงานคณะสงฆ์ก็ตกอยู่ในมือของกรรมมหาเถรสมาคมซึ่งเป็นเพียงกลุ่มบุคคลหนึ่งในองค์กรสงฆ์เท่านั้น ลักษณะการจัดโครงสร้างการบริหารโดยคนกลุ่มเดียวตามแบบ “อนาธิปไตย” ส่งผลให้สถาบันสงฆ์ในสังคมไทยขาดพลังในการขับเคลื่อนทางสังคมและการนำระบบสมณศักดิ์มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบให้กับพระสงฆ์ ทำให้พระสงฆ์เบนความสนใจจากงานเพื่อสังคมไปสู่การแสวงหาสมณศักดิ์ซึ่งเป็นที่มาของ ลาภสักการะและอำนาจในวงการสงฆ์

ดังเหตุที่กล่าวมาทำให้คณะสงฆ์โดยการนำของมหาเถรสมาคมขาดพลังและบารมีในการขับเคลื่อนสังคมในด้านต่างๆซึ่งไม่ตอบสนองต่อความต้องการของของสังคม ในการเป็นตัวกลางประสานให้เกิดการพูดคุยในยามบ้านเมืองแตกแยกดังเช่นในปัจจุบัน

ไม่ว่า กปปส  รัฐบาล หรือภาคส่วนใดจะปฏิรูปไปในทิศทางและในเรื่องใดก็แล้วแต่

ฝากปฏิรูป องค์กรสงฆ์ ด้วยครับ

 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net