คว่ำบาตรลงโทษรัสเซีย..แล้วไง?

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

มาตรการคว่ำบาตรครั้งแรกของประธานาธิบดีบารัค โอบามา เกี่ยวกับสถานการณ์การแทรกแซงของรัสเซีย กรณีไครเมีย ที่กล่าวว่า "รัสเซียจะจ่ายแพง" โดยสหรัฐอเมริกาสามารถอายัดทรัพย์สินในต่างประเทศของบริษัทรัสเซียโดยการจำกัดการติดต่อระบบการเงินกับธนาคารของรัสเซีย ระงับการออกวีซ่า และห้ามบริษัทสหรัฐฯและองค์กรต่างๆมาทำงานในประเทศรัสเซีย และหากมีธุรกิจใดที่ยังคงดำเนินการค้าผ่านนายหน้าหรือคนกลางก็จะปรับบริษัทดังกล่าวทันที  มาตรการคว่ำบาตรแบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในปี2009  รัสเซียได้หยุดการนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐฯ  เนื่องจากการระบาดของไข้หวัดหมู ซึ่งฟาร์มในสหรัฐฯได้พิสูจน์ให้ผู้สื่อข่าวชาวรัสเซียคล้อยตามว่า โรคระบาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่มีไข้หวัดหมู และถ้ามีก็ไม่เป็นอันตราย ถ้าวุฒิสมาชิกพยายามที่จะจำกัดการค้าก็จะต้องอธิบายให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรรวมถึงการแบกรับภาวะขาดทุนจากการลงโทษของรัสเซีย สถานการณ์ที่เกิดขึ้นกลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจเพราะสหรัฐฯสูญเสียคู่ค้าที่สำคัญที่สุด

เนื่องจากรัสเซียนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯอันดับ 14 และเป็นผู้ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯอันดับที่ 30ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศซึ่งคิดเป็นมูลค่า11 พันล้านเหรียญสหรัฐและนำเข้า17พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าที่น้อยอยู่เมื่อเปรียบเทียบการนำเข้าสินค้าจากจีนประมาณ 53พันล้านเหรียญสหรัฐฯและส่งออกสินค้าไปตลาดจีนคิดเป็น35.6พันล้านเหรียญสหรัฐฯ   แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือในกลุ่มของสินค้าการเกษตรประมาณ500ล้านเหรียญสหรัฐฯ นั้นรัสเซียสามารถที่จะพึ่งพาประเทศบราซิล อาร์เจนติน่า ซึ่งอยู่ในฐานะผู้ส่งออกอาหารและสินค้าเกษตร รวมถึงการมีเทคโนโลยี่ที่มุ่งเน้นสำหรับรัสเซียซึ่งง่ายมากที่รัสเซียจะเปลี่ยนผู้ขายจากสหรัฐฯเป็นยุโรปหรือแคนาดา อย่างเช่น สุกรที่สามารถซื้อจากไทยก็ได้ 

สหรัฐฯอาจหยุดการจัดหาอุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูงในอุตสาหกรรมทหารซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับรัสเซีย แต่คำถามที่เกิดขึ้นก็คือชาวอเมริกันไม่ต้องการที่จะขายสินค้าของพวกเขา และพวกเขาจะขายได้อีกหรือไม่หากไม่ใช่รัสเซีย อีกประการหนึ่งก็คือการหายไปของผู้ซื้อขนาดใหญ่ อย่างเช่นรัสเซียซึ่งจะส่งผลต่อผู้ผลิตจากสหรัฐฯโดยตรง  นอกจากนั้นทางด้านอุตสาหกรรมการทหาร รัสเซียถือเป็นผู้ผลิตจรวดที่มีประสิทธิภาพที่สุดและดีกว่าชาวอเมริกัน ซึ่งยากที่จะหาใครมาแทนที่ ขณะเดียวกันก็ไม่ง่ายเลยที่จะลงโทษกับธนาคารและบริษัทของรัสเซียในตลาดต่างประเทศ เพราะธุรกิจเหล่านี้มีมูลค่ารวมกันประมาณ 732 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นั่นหมายความว่า ถ้าหยุดติดต่อกับธนาคารแล้วบอกว่าดี  ผู้กู้ในรัสเซียก็ไม่จำเป็นต้องชำระหนี้คืนให้กับธนาคารตะวันตก ซึ่งดูเหมือนว่ามันไม่น่าจะมีความสุข อย่างเช่น กาซพรอมและโรสแนฟท์ที่ได้ขอเครดิตจากมอร์แกน สแตนเลย์ และธนาคารแห่งอเมริกา (รวม 20 พันล้านดอลลาร์) ซึ่งหากบริษัทบอกว่าจะไม่จ่ายเงิน ธนาคารก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับงบดุลและส่งผลต่อเงินที่จะปล่อยให้กับลูกค้าเขาที่เป็นบริษัทอเมริกัน... แน่นอนว่าเรื่องงบประมาณ สหรัฐฯใจกว้างที่จะช่วยเหลือธนาคาร แต่วิธีการอย่างไรที่จะอธิบายให้กับผู้เสียภาษี? นอกจากนั้นสินทรัพย์เงินตราต่างประเทศรัสเซียซึ่งมีสัดส่วนเป็นอันดับ5ของโลก หากโดนมาตรการคว่ำบาตรก็จะสามารถเปลี่ยนจากเงินดอลล่าห์มาเป็นเงินหยวน จะเห็นได้ในอนาคตว่าอัตราการแลกเปลี่ยนเงินดอลล่าห์เป็นอย่างไร หากมีการออมเงินอยู่กับประเทศสหรัฐฯ และจะมีคำถามมากมายตามมาว่าเงินดอลล่าห์มีราคาต่ำลง เป็นความยากที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับการลงโทษยุโรปสำหรับรัสเซีย

สหภาพยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าหลักในบัญชีการค้า ครึ่งหนึ่งของผลประกอบการด้านการค้าต่างประเทศนั้นมาจากรัสเซีย และในที่ประชุมสุดยอดสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา อียูก็ไม่เอาด้วยกับมาตรการคว่ำบาตร เพราะ1ใน3ของพลังงานที่ยุโรปได้รับนั้นมาจากรัสเซีย และหากสหภาพยุโรปตัดสินใจที่จะอนุมัติมาตรการคว่ำบาตร ก็จะเป็นเหตุผลที่น่าเศร้าที่สุด เนื่องจากน้ำมัน และก๊าซในรัสเซียไม่ได้ใช้เพื่อเป็นแหล่งพลังงานสำหรับภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับอุตสาหกรรมเคมีในยุโรป ซึ่งมีจีนที่เป็นคู่แข่งสำคัญกับสำหรับยุโรป และถ้าเป็นเช่นนั้นยุโรปจะสูญเสียตำแหน่งของตนเองในตลาดโลกให้แก่จีนอย่างแน่นอน และอาจจะทำให้ภาวะเศรษฐกิจในยุโรปเกิดการถดถอยอย่างแน่นอนเพราะความก้าวหน้าของโครงการก่อสร้างระบบท่อไปยังประเทศจีนนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณการส่งออกพลังงานไปตะวันตก หากมีการส่งออกพลังงานในปริมาณที่น้อยก็จะทำให้การก่อสร้างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความล้มเหลวที่สมบูรณ์ของอุปทานภายนอกแก่อียู คือ การที่รัสเซียกลายเป็นตลาดการบริโภครถยนต์ที่มาจากตะวันตก อีกทั้งในภาคการค้าปลีกและสินค้าอุปโภคบริโภครัสเซียคือผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป นอกจากนั้นสหรัฐฯและอียูยังนิยมมาลงทุนที่รัสเซียเพราะแรงงานมีทักษะการทำงานที่สูงและมีราคาถูก อย่างเช่น โฟล์คสวาเก้นฟอร์ด เรโนลต์  ได้ลงทุน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐในการผลิตรถยนต์ที่รัสเซีย หรือบริษัท เป๊ปซี่  ยูนิลีเวอร์ พรอกเกอร์และแกมเบอร์ โบอิ้ง  ดูเหมือนว่างานนี้ปูตินน่าจะสอบผ่านภายใต้ประเทศจีนที่เข้ามารับผลประโยชน์ในความขัดแย้งที่มาจากแหลมไครเมียซึ่งรัสเซียสามารถซื้อสินค้าจากจีนได้เกือบทุกอย่าง
 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท