Skip to main content
sharethis
47.47% ระบุเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าจะได้ผลอาจช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน 34.30% ยังไม่แน่ใจว่านายกคนกลางจะทำให้การเมืองไทยดีขึ้นหรือไม่ 
 
28 มี.ค. 2557 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์รายงานว่าจากกระแสข่าวว่าจะมีการเสนอให้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลางขึ้นมา เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเดินหน้าต่อไปได้นั้น ทั้งนี้มีการเปิดโผรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้นั่งเก้าอี้นายกฯ คนกลาง โดยนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ออกมาอ้างว่ามีรายชื่อของนายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกฯคนกลางด้วย เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน “สวนดุสิตโพลล์” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,118 คน ระหว่างวันที่ 26-28 มีนาคม 2557  สรุปผลได้ ดังนี้
  
1.  ประชาชนคิดอย่างไร? กับกระแสข่าว “นายกฯคนกลาง”อันดับ 1 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าจะได้ผล อาจช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน 47.47%อันดับ 2 นายกฯควรมาจากการเลือกตั้ง เคารพการตัดสินใจของประชาชน 22.90%อันดับ 3 อาจเป็นเพียงข่าวลือ หรือต้องการสร้างกระแสทางการเมือง 12.12%อันดับ 4 ยังไม่รู้รายละเอียดข้อเท็จจริง ไม่รู้หลักเกณฑ์ในการพิจารณานายกฯคนกลาง   9.43%อันดับ 5 น่าจะเป็นไปได้ยาก อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น    8.08%             
 
2. จากสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนคิดว่าจำเป็นหรือไม่? ที่จะมี “นายกฯคนกลาง”อันดับ 1 จำเป็น 36.23% เพราะ อาจช่วยให้สถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย ประเทศชาติเดินหน้าต่อไปได้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าจะได้ผล ฯลฯอันดับ 2 ไม่แน่ใจ  32.85  % เพราะ ต้องดูก่อนว่าใครจะเข้ามาเป็นนายกฯคนกลาง สถานการณ์บ้านเมืองมีความขัดแย้งมานานแก้ไขได้ยาก ฯลฯอันดับ 3 ไม่จำเป็น 30.92% เพราะ ถึงจะมีนายกฯกลางบ้านเมืองก็ยังคงวุ่นวาย ต่างฝ่ายต่างเห็นแก่ผลประโยชน์ นายกฯควรมาจากการเลือกตั้ง ฯลฯ
  
3.  ใคร? ควรจะเป็น “นายกฯคนกลาง”อันดับ 1 อานันท์  ปันยารชุน 40.55%อันดับ 2 พลากร  สุวรรณรัฐ 37.01%อันดับ 3 อาสา  สารสิน 35.43%อันดับ 4 พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา 35.04%     
 
4.  ถ้ามี “นายกฯคนกลาง” จะทำให้การเมืองไทยดีขึ้นหรือไม่? อันดับ 1 ไม่แน่ใจ 34.30% เพราะ ยังไม่รู้ว่านายกฯคนกลางจะเป็นใคร และจะได้รับการยอมรับหรือไม่ ไม่มีข้อมูลมากพอ ฯลฯ อันดับ 2 ดีขึ้น 27.05%  เพราะ อาจช่วยให้สถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลาย มีผู้นำที่เป็นกลาง ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ ฯลฯอันดับ 3 เหมือนเดิม 24.40%  เพราะ นักการเมืองยังคงเห็นแก่อำนาจและผลประโยชน์ ความขัดแย้งมีมานานไม่น่าจะแก้ไขได้ ฯลฯอันดับ 4 แย่ลง 14.25% เพราะ คนบางกลุ่มอาจไม่ยอมรับ ต่อต้าน คัดค้าน เคลื่อนไหว ไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ฯลฯ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net