กลุ่มนักวิชาการไทยศึกษาแถลงจากซิดนีย์ ประณามความรุนแรงการสังหาร “ไม้หนึ่ง”

พร้อมเรียกร้องทางการไทยต้องสอบสวนและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษโดยเร็ว ชี้การฆ่า “ไม้หนึ่ง” เป็นสัญญานของวิกฤติการณ์การเมืองไทยที่ย่ำแย่ลงอย่างชัดเจน

24 เม.ย. 2557 นักวิชาการที่เข้าร่วมการประชุมวิชาการไทยศึกษาที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ประจำปี 2557 ทั้งไทยและเทศ อาทิ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ธงชัย วินิจจะกูล, ไทเรลล์ ฮาเบอร์คอร์น ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ต่อกรณีการสังหาร “ไม้หนึ่ง ก. กุนที” หรือนายกมล ดวงผาสุก กวีและนักเคลื่อนไหวเสื้อแดงโดยเรียกร้องให้ทางการไทยสอบสวนกรณีดังกล่าวและนำผู้กระทำผิดมาลงโทษโดยเร็ว 
 
แถลงการณ์ดังกล่าว ซึ่งมีนักวิชาการด้านไทยศึกษาร่วมลงชื่อราว 30 คน ประณามความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อไม้หนึ่ง และชี้ว่า การสังหารดังกล่าวน่าจะเป็นเพราะกิจกรรมทางการเมืองของเขา ที่มีบทบาทชัดเจนในการวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คล้ายกันกับความพยายามสังหารสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ประวัติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ในวันที่ 12 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งมีคนร้ายใช้อาวุธสงครามยิงเข้าบ้านและรถของเขา 
 

บรรยากาศการอ่านแถลงการณ์และบทกวี

 
“ในขณะที่ผู้กระทำผิดและแรงจูงใจในการกระทำดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน ความตายของเขาเป็นโศกนาฎกรรมต่อขบวนการประชาธิปไตย และการลุกขึ้นมาของผู้ถูกเอาเปรียบในสังคม” แถลงการณ์ระบุ
 
“การเสียชีวิตของเขาแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงที่ระบาดอยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน แต่ถูกทำให้รุนแรงขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาจากความขัดแย้งทางการเมือง ไม่ว่าเขาเคยทำสิ่งใด ความรุนแรงติดอาวุธที่เอาชีวิตเขาไปจำต้องถูกประณาม” 
 
0000
 
Statement of Scholars at the 12th International Thai Studies Conference on the Assassination of Maineung K. Kunthee

Sydney,
 
24 April 2014


 
Maineung K. Kunthee (Kamol Duangphasuk), a prominent red shirt poet and activist, was assassinated by two men on motorcycles in broad daylight at approximately 2 pm on 23 April 2014. Since the 2006 coup, Maineung has been a frequent and visible poet at anti-coup, red shirt, and other political events. His poems provided a powerful account of injustice and inspired many others to see and act to end injustice. Along with Suda Rangkupan, Maineung was one of the leaders of the Patinya Na San, or the Declaration of Street Justice group which holds public seminars on issues of political prisoners and access to justice for those targeted under Article 112.
 
While the perpetrators and their motivation are still under investigation, his death is a tragedy to the democratic movement and the rise of the disadvantaged in Thai society. Significantly, his death brought to the fore violence plaguing Thai society for a long time but aggravated over the past few years in the wake of the political conflict. Regardless of what he did, armed violence that has taken his life must not be tolerated but condemned.    
 
Maineung was likely to be targeted and killed due to his ideas and his involvement in political activities. He was an outspoken critic of Article 112, and in this current climate, to critique the excessive and unjust use of the law is itself enough to garner the accusation of disloyalty. His assassination recalls the targeted assassinations of farmer, worker, and student activists in 1975 and 1976, assassinations which remain unsolved up until the present moment. Similar to the attempted assassination of Professor Somsak Jeamteerasakul during the day on 12 February 2014 by unidentified men on motorcycles, the assassination of Maineung K. Kunthee signals the grave political crisis now evident in Thailand.
 
We, the undersigned scholars attending the 12th International Thai Studies Conference at the University of Sydney, are very much concerned about the death of Maineung. We call on the authority in charge to pay serious attention to the case and to swiftly act to bring the perpetrators to justice. We also urge the Thai public to be aware of how Thai society is plagued with violence and join us in stopping it and condemning those who did it regardless of their motivations.    
 
รายนามผู้ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์
 

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว มหาวิทยาลัยมหิดล
ชลิตา บัณฑุวงศ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อนุสรณ์ อุณโณ มหาวิทยาธรรมศาสตร์
วันรัก สุวรรณวัฒนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธนาวิ โชติประดิษฐ์ University of London
เอกสุดา สิงห์ลำพอง University of Sussex
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Simon Creak Kyoto University
Preedee Hongsaton Australian National University
Karin Zackari
Chris Baker
ธงชัย วินิจจะกูล
Tyrell Haberkorn Australian National University
เกศินี จิรวณิชชากร
ยุกติ มุกดาวิจิตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Pongphisoot Busbarat
จักกริช สังขมณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุรินทร์ อ้นพรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อัจฉรา รักยุติธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
เสาวนีย์ อเล็กซานเดอร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Jackie Poonsawat
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Arusa Panyakotkaew มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Rebecca Iszatt University of Leeds 
Vanessa Lamb York University 
อานันท์ กาญจนพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Sarah Bishoop Australian National University
Peter Vandergeest York University
ธร ปิติดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Patwaran Bunditvatidkul UNSW
Choladda Noodaew มหาวิทยาลัยศิลปากร
เนตรดาว เถาถวิล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
วัฒนา สุกัณศีล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กังวาฬ ฟองแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทับทิม ทับทิม
ศิริจิต สุนันต๊ะ มหาวิทยาลัยมหิดล
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท