สหภาพแรงงานไทยเรยอน ไม่เคยแพ้...

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

"ในที่สุด สร.ไทยเรย่อนก็พ่ายแพ้ เพราะไม่เน้นแรงงานสัมพันธ์" จากปากประธานสภาแรงงานฯ คนหนึ่งที่เมาแล้วพ่นออกมาพร้อมกลิ่นแอลกอฮอล์และควันบุหรี่ และบางคนที่ไม่เคยไปเหยียบที่ชุมนุม แต่ดันสรุปว่า สร.ไทยเรย่อนพ่ายแพ้ อยากบอกผ่านเพจนี้ว่า คนที่พูดเยี่ยงนี้ ไปตักขี้ในส้วมกินซะ เผื่อยังจะได้กากใยไปสร้างสมองดีๆ ขึ้นมาสัก1% คนพวกนี้ฟังแต่พวกราชการแล้วคล้อยตาม เอามาว่ากันเพื่อบั่นทอน ดิฉันถือว่าคนเหล่านี้ เป็นเครื่องมือนายจ้าง ไม่ใช่นักสหภาพแรงงานที่แท้จริง

..การต่อสู้ ไม่ว่าจะแพ้หรือชนะ เรื่องการสูญเสียนั้นมีอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ฉะนั้นการสูญเสียที่เกิดขึ้น ไม่ได้หมายความว่าศึกนั้นแพ้หรือชนะ ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานไทยเรย่อนมีมากถึง 36 ข้อใหญ่ หรือมากกว่า 100 ข้อย่อย ข้อตกลงที่ตกลงโดยรวมที่ได้ก็เป็นที่น่าพึงพอใจของสมาชิก ยกเว้นโบนัส ซึ่งเรื่องโบนัสก็เป็นเรื่องที่อธิบายได้

ดังนี้ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าโบนัสของไทยเรย่อนไม่เคยมีในข้อตกลงสภาพการจ้าง(โบนัสถูกเจรจานอกรอบเมื่อใกล้สิ้นปีของทุกปีที่ผ่านมา ดังนั้นโบนัสขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของฝ่ายนายจ้างเพียงฝ่ายเดียว พูดฟังง่ายๆ คือถ้านายจ้างไม่ให้โบนัสสักบาท นายจ้างก็สามารถกระทำได้ จะเห็นได้ว่าช่วงหลัง คนงานมีการกดดันอย่างหนักในการเจรจาโบนัส แม้มวลสมาชิกจะเข้มแข็งกดดันจนได้โบนัสซึ่งเป็นตัวเลขที่พึงพอใจ แต่การกดดันดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่ล่อแหลมต่อการกระทำผิดต่อกฎหมาย) ฉะนั้นนั่นหมายถึงว่า ก่อนหน้านี้ในข้อตกลงสภาพการจ้างโบนัสเป็นศูนย์ สหภาพแรงงานฯ จึงบรรจุไว้ในข้อเรียกร้องเพื่อหวังให้โบนัสถูกเขียนบันทึกไว้ในข้อตกลงสภาพการจ้างซึ่งด้วยวิธีนี้ นายจ้างไม่สามารถเบี้ยวการได้จ่ายโบนัสได้ เมื่อนายจ้างถูกเรียกร้องให้กำหนดไว้ แน่ล่ะข้อตกลงสภาพการจ้างจึงเป็นการการันตีไว้ที่ขั้นต่ำ โดยที่นายจ้างไม่กล้าให้เป็นตัวเลขเดิม เพราะคราวนี้ถ้าไม่จ่ายโบนัสตามที่ระบุ นั่นหมายถึงอาจติดคุกได้เลย จึงให้ไว้เป็นขั้นต่ำ และจะมีการเพิ่มโบนัสให้คนงานอีกตามผลกำไรที่ถูกระบุไว้ตามข้อตกลง จากที่เล่ามาคงเห็นภาพรวมของการได้มาซึ่งการเรียกร้อง

ส่วนบางคำที่หลายคนพูดว่า "ได้ ไม่คุ้มเสีย" คงต้องแยกออกจากคำว่าแพ้หรือชนะ ขอตั้งคำถามเช่นนี้ว่า การนัดหยุดงาน 4 เดือน ทำให้เงินกองทุนนัดหยุดงานหมดไปราวๆ 18 ล้านบาทนั้น หมดไปกับอะไร? กับใคร? ถ้าคำตอบคือส่วนใหญ่หมดไปกับการจ่ายเป็นค่าบรรเทาความเดือดร้อนของมวลสมาชิกช่วงชุมนุม เราจะต้องเสียดายไปใย เมื่อวัตถุประสงค์ของกองทุนก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเก็บกันมาเพื่ออะไร

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เมื่อสู้แล้ว หัวใจคุณได้อะไร คุณเห็นอะไร คุณจะปรับปรุงการต่อสู้ในอนาคตอย่างไร และมีแผนอะไรต่อไป คุณได้เรียนรู้อะไร สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่มีค่าซึ่งได้มานอกเหนือจากข้อตกลงสภาพการจ้าง สำหรับการต่อสู้ของพี่น้องคนงานทุกๆ ที่ สามารถวิจารณ์ได้ แต่ไม่ใช่การเย้ยหยัน เพราะมันคงเป็นสิ่งไม่สร้างสรรค์ วันนี้เพียงแค่อยากบอกผู้ที่เย้ยหยันว่า สร.พวกคุณ สภาฯ พวกคุณ ต่อให้มีเงินมากกว่า สร.ไทยเรยอน ก็ขอให้สู้ได้เหนียวแน่น ได้สักครึ่งหนึ่งของพี่น้อง สร.ไทยเรย่อน เถอะ จะกราบงามๆ

 

หมายเหตุ : สำหรับข้อพิพาทแรงงานของบริษัท ไทยเรยอน จำกัด (มหาชน) กับสหภาพแรงงานไทยเรยอนนั้น ได้เกิดขึ้นมาจนทางสหภาพได้นัดหยุดงานมาแล้ว 4 เดือน  มีการเจรจากันรวม 49 ครั้ง จึงสามารถตกลงกันได้เมื่อ เดือน ม.ค. ที่ผ่านมา (อ่านเพิ่มเติม : ไกล่เกลี่ย 'ไทยเรยอน' ยุติบริษัทตกลงจ่ายโบนัส)

ข้อเขียนของศรีไพรนี้เผยแพร่ครั้งแรกในเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Sriprai Nonsee’ เมื่อวันที่ 23 ต.ค.57

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท