Skip to main content
sharethis

พระชนนี ซังเก โชเดน วังชุก แห่งภูฏาน กล่าวในการประชุมวันที่สามของการทบทวนปฏิญญาปักกิ่งว่า สันติภาพ ประชาธิปไตย และอิสรภาพทางเศรษฐกิจคือพื้นฐานสำคัญในการปกป้องสิทธิของผู้หญิง

พระชนนี ซังเก โชเดน วังชุก แห่งภูฏาน (Bhutan her majesty Sangay Choden Wangchuck ทรงกล่าวในการประชุมวันที่ของการทบทวนปฏิญญาปักกิ่ง ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ (UNCC) กรุงเทพมหานคร

9 พ.ย. 2557 - การประชุมวันที่สาม ของการทบทวนปฏิญญาปักกิ่ง (Asian and Pacific Conference on Gender Equity and Women'sEmpowerment: Beijing+20 Review )พระชนนี ซังเก โชเดน วังชุก แห่งภูฏาน (Bhutan her majesty Sangay Choden Wangchuck ทรงกล่าวในการประชุมว่า การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งไม่เพียงแค่ทางกายภาพ แต่ยังรวมถึงอคติทางเพศที่ขัดขวางโอกาสในการเข้าถึงทางเศรษฐกิจยังเปิดโอกาสให้ผู้หญิงและเด็กหญิงถูกละเมิดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงในบ้าน แน่นอนว่ามีผู้ชายที่ถูกล่วงละเมิดเช่นกัน แต่น่าเสียใจว่า ข้อเท็จจริงคือผู้กระทำความรุนแรงส่วนใหญ่คือผู้ชาย ซึ่งมีความรุนแรงหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การละเมิดทางกาย การละเมิดทางเพศในที่ทำงาน การต้องแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ฯลฯ

ความรุนแรงไม่ได้เป็นเรื่องขึ้นกับเพศ ไม่ได้ขึ้นกับความเป็นผู้ชาย แต่เป็นเรื่องที่เกิดจากการหล่อหลอมการรับรู้ ซึ่งถ้าหล่อหลอมการรับรู้ไปสู่ความรุนแรงได้ ก็ควรเรียนรู้ไปสู่การไม่ใช้ความรุนแรงได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือการการยอมรับเรื่องความเท่าเทียมกันทางเพศ เปลี่ยนรูปของความสัมพันธ์ระหว่างชาย-หญิง

ขณะเดียวกัน ผู้หญิงก็ต้องตระหนักในสิทธิของตนเอง ซึ่งสิ่งที่ต้องตระหนักคือ ความรุนแรงและอคติต่อเพศหญิงนั้นมาจากทั้งสถาบันทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา ขณะเดียวกันการสร้างความรู้ หรือตระหนักในสิทธิขงผู้หญิงนั้นไม่เพียงพอ ต้องเรียกร้องจากผู้นำให้แสดงออกเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหานี้

พระชนนีแห่งภูฏาน ทรงกล่าวว่าในภูฏาน มีการคณะกรรมการเพื่อผู้หญิงและเด็ก เพื่อปกป้องและส่งเสริมสิทธิของผู้หญิงและเด็ก และประเด็นความรุนแรงต่อผู้หญิง เป็นประเด็นหลักประเด็นหนึ่งในการทำงาน เพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้หญิง เพื่อให้พวกเขามีอิสระทางเศรษฐกิจ อันจะเป็นพื้นฐานในการปกป้องสิทธิด้านอื่นๆ ด้วย

ทรงกล่าวในช่วงท้ายของการปาฐกถาว่า ผู้หญิง เด็กหญิง สามารถที่จะร่วมมือกับผู้ชายเพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงได้ ร่วมไปกับประเด็นสันติภาพ และประชาธิปไตย ซึ่งจะรองรับสิทธิพื้นฐานของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

สำหรับการประชุม ปักกิ่ง+20 นั้นจัดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2538 โดยมีเป้าหมายส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและศํกยภาพของผู้หญิงทั่วโลก โดยมีปฏิญญาปักกิ่งที่ระบุถึงเป้าหมาย มาตรการและกลไก และมีการจัดประชุมเพื่อทบทวนความสำเร็จและสิ่งที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ทุกๆ 5 ปี โดยการจัดประชุมที่กรุงเทพฯครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3

000

นิทรรศการส่วนหนึ่ง จากการประชุมทบทวนปฏิญญาปักกิ่ง (Asian and Pacific Conference on Gender Equity and Women's Empowerment: Beijing+20 Review) จัดที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ (UNCC) กรุงเทพมหานคร

 

ส่วนหนึ่งจากนิทรรศการ Beijing+20 Review: 
12 เป้าหมายในการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพผู้หญิง

ในการประชุมทบทวนปฏิญญาปักกิ่ง (Asian and Pacific Conference on Gender Equity and Women's Empowerment: Beijing+20 Review) ซึ่งมีเป้าหมายส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและศักยภาพของผู้หญิงทั่วโลก และมีการจัดประชุมเพื่อทบทวนความสำเร็จและสิ่งที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ทุกๆ 5 ปี โดยการจัดประชุมที่กรุงเทพฯ ครั้งนี้ เป็นครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 17-21 พ.ย. นั้น

ในงานยังมีการจัดนิทรรศการ แสดงปฏิญญาปักกิ่งนั้น ซึ่งระบุ 12 ประเด็นเป้าหมายในการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของผู้หญิง ดังต่อไปนี้

1) ปัญหาความยากจน ซึ่งถึงปัจจุบันนี้ 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงในภูมิภาคยังคงอยู่ในภาวะยากจน และเผชิญกับการถูกบังคับให้ทำงานที่ไม่ได้รับค่าจ้าง หรือได้รับค่าข้างระดับต่ำ

2) ผู้หญิงและโอกาสด้านสาธารณสุข ซึ่งปัญหาความยากจน และโอกาสในการศึกษาที่ต่ำกว่าผู้ชาย ทำให้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ส่งผลให้โอกาสเข้าถึงบริการสาธารณสุขต่ำลงไปด้วย และส่งผลให้ผู้หญิงและเด็กหญิง

3) การเข้าถึงการศึกษาและการอบรม ซึ่งจากข้อมูลของยูเอ็นวีเมน มีผู้หญิงที่อ่านออกเขียนได้ เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงในบางประเทศในภูมิภาคนี้ และมีโอกาสในการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาต่ำกว่าเพศชาย

4) สิทธิทางเศรษฐกิจ เมื่อเทียบสัดส่วนของผู้ชายและผู้หญิงในเอเชียและแปซิฟิกได้รับโอกาสในการจ้างงาน ผู้หญิงได้รับโอกาสในการจ้างงานเพียงร้อยละ 62 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชาย และผู้หญิงได้รับค่าจ้างต่ำกว่าผู้ชาย โดยได้รับเพียง 70 - 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ชายเท่านั้น

5) ผู้หญิงในพื้นที่ขัดแย้งและสงคราม ซึ่งผู้หญิงในพื้นที่ขัดแย้งถูกล่วงละเมิดทางร่างกาย ทำร้าย บังคับใช้แรงงาน รวมไปถึงล่วงละเมิดทางเพศ และผู้หญิงเป็นเพียงเสียงส่วนน้อยในการมีส่วนร่วมในระดับนโยบายในการการแก้ปัญหา ทั้งระหว่างการเจรจา หลังเจรจา และแม้ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกจะเป็นภูมิภาคที่มีความขัดแย้งยาวนาน แต่กลับมีเพียง 6 ประเทศเท่านั้นที่มีนโยบายและแผนปฏิบัติในระดับชาติ ในประเด็นผู้หญิง สันติภาพ และความมั่นคง

7) ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กหญิง โดยกลุ่มผู้หญิงและเด็กหญิงเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของเหยื่อการค้ามนุษย์ ถูกปฏิเสธหรือมีความสามารถในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างจำกัด อันเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายสูงในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงอคติทางเพศต่อคดีทางเพศ ขณะที่มีตัวเลขว่า ในบางประเทศ ผู้หญิงระหว่างอายุ 15-49 ปี เคยตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงจากคนใกล้ตัว

8) ผู้หญิงในการมีส่วนร่วมตัดสินใจเชิงนโยบาย ในภูมิภาคนี้มีสัดส่วนผู้หญิงในสภาเฉลี่ยเพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น มีเพียงสามระเทศที่มีสัดส่วนผู้หญิงในสภาสูงกว่าสามสิบเปอร์เซ็นต์ และในภาคธุรกิจ มีผู้หญิงเป็นผู้บริหารระดับสูงเพียง 6 เปอร์เซ็นต์

9) ผู้หญิงกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งโอกาสจองผู้หญิงในการเข้าถึงทรัพยากรถูกจำกัดเพราะการเลือกปฏิบัติทางเพศ มีโอกาสน้อยในการเข้าถึงพลังงานสะอาด ขณะที่ผลการสำรวจพบด้วยว่า ผู้หญิงเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากภาวะความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ (Climate Change) มากกว่าผู้ชาย

10) ผู้หญิงกับสื่อ ในภูมิภาคนี้มีสื่อมวลชนหญิงเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ และผู้หญิงที่มีโอกาสเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรสื่อ มีไม่ถึง 1 ใน 5 ขณะที่ผลการสำรวจเนื้อหาพบว่าสื่อนั่นมีแนวโน้มในการส่งเสริมอคติทางเพศ มากกว่าที่จะตั้งคำถามท้าทาย ถึง 8 เท่า

11) เด็กผู้หญิง ในภูมิภาคนี้ อคติทางเพศ ทำให้ผู้หญิงขาดโอกาสการศึกษาหรือต้องออกจากโรงเรียน กว่าร้อยละ 40 ของเด็กผู้หญิงแต่งงานก่อนอายุ 18 ปี

12) สิทธิมนุษยชนของผู้หญิง โดยกลุ่มผู้หญิงและเด็กในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ เช่น การค้ามนุษย์ การบังคับให้ค้าบริการทางเพศ ฆาตกรรม ข่มขืน ทำร้ายร่างกาย ล่วงละเมิดทางเพศ และความรุนแรงในครัวเรือน ขณะที่โอกาสน้อยในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net