Skip to main content
sharethis
17 ม.ค. 2558 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นกับเกี่ยวกับการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,121 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 13 - 16 มกราคม 2558 
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ ต้องการสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane ซึ่งกำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการให้บริการของรถโดยสารสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ 
 
การให้บริการของรถแท็กซี่มิเตอร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เคยถูกแท็กซี่มิเตอร์ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร ร้อยละ 71.7 ไม่เคย ร้อยละ 17.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 11.0 และไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่ามิเตอร์ของรถแท็กซี่มิเตอร์ ร้อยละ 74.2  เห็นด้วย ร้อยละ 16.7  ไม่แน่ใจ ร้อยละ 9.1
 
พบปัญหาจากการใช้บริการของรถแท็กซี่มิเตอร์มากที่สุดคือ ไม่จอดรับผู้โดยสาร/ปฏิเสธผู้โดยสาร ร้อยละ 34.1 อันดับสองคือการขับพาอ้อมขับในเส้นทางไกลขึ้น ร้อยละ 17.6 อันดับสาม ขับรถเร็ว/ผิดกฎจราจร ร้อยละ 11.6 อันดับสี่ บอกว่าต้องเติมแก๊ส ร้อยละ 9.2 อันดับห้า เรียกเก็บค่าโดยสารเกินอัตรา ร้อยละ 7.4
 
อยากให้แท็กซี่มิเตอร์มีการปรับปรุงในเรื่องมารยาทของคนขับแท็กซี่มิเตอร์มากที่สุด ร้อยละ55.4 สภาพรถยนต์แท็กซี่มิเตอร์ ร้อยละ 32.3 การแต่งกายของคนขับแท็กซี่มิเตอร์ ร้อยละ 11.7 
การให้บริการของรถโดยสารประจำทาง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ พบปัญหาจากการให้บริการของรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครมากที่สุดคือ การจอดรถโดยสารประจำทางไม่ตรงป้ายรถโดยสารประจำทาง ร้อยละ 18.0 อันดับสองคือมารยาทของพนักงานขับรถโดยสารประจำทาง ร้อยละ 16.1 อันดับสามคือรถโดยสารประจำทางจอดกลางถนนให้ผู้โดยสารลง ร้อยละ 15.7 อันดับสี่คือมารยาทของพนักงานเก็บค่าโดยสาร ร้อยละ 13.7 อันดับห้าคือขับรถเร็ว/ผิดกฎจราจรร้อยละ 11.3 
 
อยากให้รถโดยสารประจำทาง มีการปรับปรุงในเรื่องมารยาทของคนขับและพนักงานเก็บค่าโดยสาร มากที่สุด ร้อยละ 42.4 สภาพรถโดยสารประจำทางร้อยละ 30.5 เปลี่ยนรถโดยสารประจำทางเป็นรถปรับอากาศ ร้อยละ 19.3 มีระบบติดตามเพื่อให้การเดินรถตรงเวลา ร้อยละ 7.5
 
การให้บริการของรถไฟฟ้า BTS และ BRT กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ พบปัญหาจากการใช้บริการของรถไฟฟ้า BTS และ BRT อันดับหนึ่งคือการแย่งกันขึ้นรถไฟฟ้าของผู้โดยสาร ร้อยละ 27.5 อันดับสองคือ การยืนขวางประตูทางเข้าออกรถไฟฟ้าร้อยละ 19.3 อันดับสามคือมารยาทของผู้โดยสาร ร้อยละ 16.3 อันดับสี่คือการขึ้นลงบันไดเลื่อนไม่ชิดขวาของคนที่ยืน ร้อยละ 15.3 และอันดับห้าคือการใช้งานโทรศัพท์มือถือของผู้โดยสาร ร้อยละ 10.7
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net