บุญยืน สุขใหม่: อุปสรรคการเข้าถึง ‘กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง’

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
บทความโดย บุญยืน สุขใหม่ ผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก อธิบายถึงอุปสรรคการเข้าถึง “กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง”  ในบรรยากาศสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ที่มีการเลิกจ้างเกิดขึ้นแทบนับไม่ถ้วนในขณะนี้

 

 
 
ภาพพนักงานแคนาดอลรับกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
 
จากปัญหาเศรษฐกิจเริ่มถดถอยตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา และคาดว่าน่าจะเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นในปี 2558 ปัญหาของพี่น้องผู้ใช้แรงงานก็ยังคงตกอยู่ในวังวนเดิม คือ “นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย” แต่ก่อนที่จะมาถึงจุดที่จะเลิกจ้างนั้นก็จะมีสัญญานเตือนภัยมาก่อน โดยสังเกตุได้ง่ายๆ จากการที่นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างไม่ตรงเวลา หรือจ่ายค่าจ้างไม่ครบจำนวน และเมื่อผ่านไป ก็จจะไม่จ่ายค่าจ้างอีกเลย และนำไปสู่การเลิกจ้างหรือปิดกิจการหนี ปัญหาเหล่านี้มีให้เห็นเป็นประจำต่อเนื่องมาทุกครั้งที่มีปัญเศรษฐกิจทั้งในหรือต่างประเทศตกต่ำ
 
และในวันนี้เหตุการณ์เช่นเดียวกันก็ได้เริ่มเกิดขึ้นกับลูกจ้างเหมาค่าแรงและลูกจ้างประจำในหลายสถานประกอบการณ์ โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือธุรกิจขนาดเล็ก ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเหล่านี้มากที่สุดในอันดับต้นๆ ก็คงหนีไม่พ้นลูกจ้างระบบเหมาค่าแรง ซึ่งมักตกเป็นผู้ถูกกระทำอยู่ตลอดเวลา ได้เริ่มมีการยกเลิกสัญญาจ้างลูกจ้างเหมาค่าแรง หรือไม่มอบหมายงานให้ทำและส่งตัวพนักงานคืนให้กับบริษัทเหมาค่าแรงต้นสังกัด โดยไม่มีการจ่ายเงินช่วยเหลือหรือค่าชดเชยใดๆ ส่วนในสถานประกอบการที่มีการจ้างแรงงานโดยตรงก็เริ่มที่จะเปิดโครงการสมัครใจลาออก โดยบริษัทตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฏหมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าห่วงว่าอนาคตแรงงานไทยจะมีความมั่นคงได้อย่างไร
 
ส่วนอันดับรองลงมาก็จะเป็นบริษัทที่อยู่นอกเขตนิคมอุตสาหกรรมที่เจ้าหน้าที่รัฐไมสนใจที่จะติดตามดูแล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่มีนักลงทุนเป็นชาวไทยเชื้อสายจีน,ชาวจีน,ชาวใต้หวัน รวมถึงชาวเกาหลี แต่ก็มีเช่นกันที่เป็นนักลงทุนจากญี่ปุ่น, ยุโรปหรืออเมริกา แต่ส่วนใหญ่นักลงทุนในกลุ่มหลังจะเป็นการเปลี่ยนแปลงนิติบุคคลเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี หรือเพื่อต้องการทำลายสหภาพแรงงานจะมากกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานนั้น การแก้ไขหรือเข้ามาเยียวยาของภาครัฐในการที่จะบังคับให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏหมายนั้น มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนและล่าช้ามาก และประกอบกับพนักงานโดยส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองที่มี และไม่รู้ว่าจะดำเนินการอย่างไรเมื่อถูกละเมิดสิทธิ์
 
ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับลูกจ้าง บริษัท แคนาดอลไพพ์ จำกัด และบริษัท แคนาดอลเอเซีย จำกัด เหตุเกิดเมื่อเดือนกรกฏาคม 2557 นายจ้างทั้งสองบริษัทฯ ออกประกาศขอเลื่อนการจ่ายค่าจ้างพนักงานกว่า 400 คน เรื่อยมาจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2557 รวม 5 เดือน และต่อมาได้ออกประกาศเลิกจ้างพนักงานทั้งสองบริษัท จำนวน 130 คน โดยหนังสือแจ้งการเลิกจ้าง บริษัทอ้างว่าจะจ่ายค่าชดเชยตามกฏหมายทุกประการ แต่จนถึงปัจจุบัน เวลาผ่านไปกว่าครึ่งปี ค่าจ้างค้างจ่ายกว่า 5 เดือน และค่าชดเชยตามกฏหมายยังไม่มีใครได้รับแต่อย่างใด “คนงานเหล่านั้นเขามีชีวิตอยู่ได้อย่างไร” ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เลวร้ายสำหรับครอบครัวของลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบ และเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่งว่าจะแก้ไขปัญหาต่างๆ หรือมีกลไกที่จะบังคับใช้กฎหมายอย่างไรเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
 
เนื่องจากในปัจจุบันลูกจ้าง บริษัท แคนาดอลไพพ์ จำกัด และบริษัท แคนาดอลเอเซีย จำกัด ที่นายจ้างยังคงค้างจ่ายค่าจ้างในเดือนกรกฏาคม และสิงหาคม เป็นเงินกว่า 13 ล้านบาท และหลังจากนั้นได้มีการเลิกจ้างพนักงานกว่า 130 คน และคงค้างจ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยเช่นเดิมและพนักงานตรวจแรงงาได้มีคำสั่งให้จ่ายให้กับลูกจ้างที่ยื่นคำร้อง จำนวน 48 คน เป็นเงินกว่า 15 ล้านบาท รวมเป็นเงินค้างชำระให้กับลูกจ้างรวมกว่า 28 ล้านบาท และยังมีพนักงานอีกมากกว่าครึ่งหนึ่งมิได้ไปใช้สิทธิ์ตามกฎหมาย เพราะเห็นว่าถึงจะร้องเรียนไปกับหน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดปัญหาก็ยังไม่คงได้รับการแก้ไข ปัจจุบันลูกจ้างที่ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานจังหวัดระยองชุดแรกได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างคนละ 18,000 บาท ซึ่งรวมเป็นเงินที่ลูกจ้างทั้งหมดได้รับเป็นเงินเพียงประมาณ 200,000 บาท ซึ่งมันเป็นสิ่งที่แตกต่างกันมากมายนักเมื่อเทียบกับจำจวนเงินที่นายจ้างยังคงค้างจ่าย จึงมชคำถามเกิดขึ้นกับพนักงานทุกว่า “จะทำอย่างไรจะได้รับเงินในส่วนที่นายจ้างยังคงค้างจ่ายให้กับพวกเขา” เขาเหล่านี้จะไปเรียกร้องหาความยุติธรรมได้จากที่ใด เพราะเขาเหล่านี้ได้ไปร้องเรียนไว้กับทุกหน่วยงานแล้วตั้งแต่ระดับจังหวัด กระทรวงแรงงาน ทำเนียบรัฐบาล แต่ปัญหายังคงไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด และในขณะนี้บริษัททั้งสองก็ได้มีประกาศเลิกจ้างพนักงานทุกวันอย่างต่อเนื่อง
 
ปัญหาการไม่จ่ายค่าจ้าง หรือปิดงานเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย นั้นรัฐมีแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างไร เพราะที่ผ่านมาทุกครั้งที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเรามักมีการวิพากวิจารณ์ เกี่ยวกับปัญหานี้มาโดยตลอดแต่ภาครัฐเองก็ยังคงไม่ปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการช่วยเหลือหรือเยียวยาลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบเหล่านั้นอย่างจริงจังเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่เป็นอยู่ เพราะปัญหาการจะเข้าถึงสิทธิ์ที่จะได้รับการเยียวยาจากหน่วยงานของรัฐนั้นมีขั้นตอนที่ล่าช้าและอุปสรรคมากมาย และเงินที่รัฐช่วยเหลือ “ในนามกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง” นั้นเป็นเงินที่จำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ที่จะได้รับตามกฏหมาย
 
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างคืออะไร
 
กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีลักษณะการบริหารงานโดยคณะกรรมการ เป็นไตรภาคีจำนวน 15 คน ประกอบด้วยปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างฝ่ายละห้าคน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมีกลุ่มงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง สานักคุ้มครองแรงงาน ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ ดาเนินงานต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารกองทุน
 
คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
 
มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายในการบริหารและการจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง รวมทั้งกาหนดระเบียบต่างๆ ในการดาเนินงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ กาหนดให้เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีวัตถุประสงค์ ในบื้องต้น เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของลูกจ้าง กรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย หรือเงินสงเคราะห์ในกรณีอื่นนอกจากค่าชดเชย เช่น ค่าจ้างค้างจ่าย ฯลฯ
 
ลูกจ้างจะเข้าถึงสิทธิ์ในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้อย่างไร
 
ที่ผ่านมานั้นปัญหาการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมายต่างๆ นั้นลูกจ้างมักจะขาดความรู้ความเข้าใจ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเองก็ไม่เคยชี้แจงสิทธิ์ให้กับลูกจ้างได้ทราบ จึงเป็นปัญหาสำคัญอีกอันหนึ่งที่มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ
 
หลักเกณ์การจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
การจ่ายเงินสงเคราะห์และอัตราที่จ่าย
 
กรณีอื่นนอกจากค่าชดเชย
กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
1.เงื่อนไขการจ่าย
  • นายจ้างไม่สามารถจ่ายเลินอื่น เช่น ค่าจ้างฯลฯ
  • พนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินดังกล่าวแล้ว และนายจ้างมิได้นำคดีไปสู่ศาลเพื่อเพิกถอนคำสั่ง และคำสั่งเป็นที่สุด (พ้นระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง)
  • ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนมายื่นขอรับเงินสงเคราะห์
  • ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
  • คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมีการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติเดือนละหนึ่งครั้ง(ปัจจุบันในวันพุธสัปดาห์ที่สามของทุกเดือน)
2.อัตราเงินที่จ่าย
  • ไม่เกิน 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับตามกฏหมาย
*** อัตราได้รับตามความเป็นจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 18,000 บาท
 
  1. เงื่อนไขการจ่าย
  • นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย
  • พนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชย และนายจ้างมิได้นำคดีไปสู่ศาลเพื่อเพิกถอนคำสั่ง และคำสั่งเป็นที่สุด (พ้นระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง)
  • ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อนมายื่นขอรับเงินสงเคราะห์
  • ผู้ว่าราชการมีอำนาจอนุมัติสั่งจ่ายภายใน 7 วันทำการนับจากวันรับคำร้อง
  1. อัตราเงินที่จะจ่าย
  • อายุงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิ์ได้รับ 30 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับตามกฏหมาย
*** อัตราได้รับตามความเป็นจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
  • อายุงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับ 60 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับตามกฏหมาย
*** อัตราได้รับตามความเป็นจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 18,000 บาท
  • อายุงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับ 90 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ์ได้รับตามกฏหมาย
*** อัตราได้รับตามความเป็นจริงแต่สูงสุดไม่เกิน 27,000 บาท
 
 
** ลูกจ้างผู้มีสิทธิ์จะต้องยื่นคำรับเงินสงเคราะห์ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่ง ม.124
*** หากลูกจ้างไม่มารับภายใน 60 วัน ให้ถือว่าละสิทธิ์ในการรับเงินสงเคราะห์เป็นอันระงับไป
 
 
 
หมายเหตุ
คณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง (ฝ่ายละ 5 คน) ชุดปัจจุบัน ได้แก่
ฝ่ายนายจ้าง นายชโรธร จตุทิพย์สมพล  นายอรรถยุทธ ลียะวณิช  นายเกษม มหัทธนทวี
นายรุจน์ทัย  รักราชการ  นายสรวุฒิ เจียรธนะกานนท์
ฝ่ายลูกจ้าง นางพรหมพร บุราคร  นางสาวสายทอง  สุปะมา  นายรุ่งโรจน์  ราชนาคา
นายสมชาย มูฮัมหมัด  นายสมโภชน์ อ้นชัยยะ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท