Skip to main content
sharethis

คลิปการบรรยาย "ศาสนาผีกับการเมือง" โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ โดยระหว่างบรรยาย มีการบรรเลงปี่พาทย์ประกอบจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การบรรเลงปี่พาทย์เพลง "เสมอผี" โดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างการอภิปรายหัวข้อ ศาสนากับการเมือง โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ

 

 

21 ก.พ. 2558 – ในการบรรยายสาธารณะ “ศาสนากับการเมือง ชาตินี้เราคงแยกกันไม่ได้” จัดโดยกลุ่มสภาหน้าโดม ที่ห้อง ศศ.107 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น ช่วงแรกเป็นการบรรยายหัวข้อ “ศาสนาผีกับการเมือง” โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ นักเขียนด้านประวัติศาสตร์-โบราณคดี และศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ โดยการบรรยายของสุจิตต์ จะเป็นการบรรยายพร้อมด้วยการรบรรเลงปี่พาทย์จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีรายละเอียดดังนี้

000

สุจิตต์ เริ่มด้วยการนำเสนอเกี่ยวกับศาสนาผี ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมในสุวรรณภูมิว่า ศาสนา-การเมือง เป็นพลังผลักดันสังคมเคลื่อนไหวในยุคอดีต แต่ยุคปัจจุบัน พลังผลักดันสังคมเคลื่อนไหว คือ เศรษฐกิจ-การเมือง

ศาสนาผี เป็นศาสนาเก่าแก่ที่สุดในโลก คนทั้งโลกนับถือศาสนาผีก่อนศาสนาอื่นๆ ซึ่งมีขึ้นยุคหลังๆ (ศาสนา หมายถึง ระบบความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง, ผี หมายถึง อำนาจเหนือธรรมชาติ) ในไทยนับถือศาสนาไทย มีนักปราชญ์ร่วมสมัยเคยอธิบายว่าหมายถึง ศาสนาผีที่เคลือบด้วยพราหมณ์กับพุทธเฉพาะไม่ขัดกับหลักผี คนไทยโดยทั่วไปคิดว่าตนนับถือศาสนาพุทธ แต่ในบ้านและในวัดมีศาลผี, ศาลพระภูมิ แล้วทรงเจ้าเข้าผีมากกว่าอย่างอื่น

หมอผี เป็นผู้มีพลังพิเศษสามารถสื่อสารติดต่อได้ดีกับผี ซึ่งเป็นอำนาจเหนือธรรมชาติ หมอ เป็นคำดั้งเดิม แปลว่า ผู้ชำนาญ หรือผู้เชี่ยวชาญ บางทีเรียกหมอผีว่า หมอขวัญ เพราะเป็นผู้รู้ทำขวัญหรือสู่ขวัญให้คืนสู่ร่างคนได้ด้วย ครั้นหลังรับศาสนาจากอินเดีย จึงเรียกหมอผีและหมอขวัญว่า หมอพร

หัวหน้าเผ่า คือผู้หญิงที่เป็นหมอผี หรือหัวหน้าพิธีกรรม ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยทางการเมืองแรกสุด และเก่าสุด ขณะเดียวกันก็ต้องสืบเนื่องความเป็นผู้นาทางพิธีกรรมด้วย เพื่อความมั่งคั่ง และมั่นคงทางพืชพันธุ์ธัญญาหารของชุมชน หัวหน้าเผ่าและเครือญาติ คือ กลุ่มคนที่ควบคุมเข้าถึงความมั่งคั่งและอำนาจ ขณะเดียวกันก็กีดกันคนส่วนใหญ่ในชุมชนชาติพันธุ์ออกไปจากความมั่งคั่ง และอำนาจนั้น

ผู้หญิงในยุคแรกเริ่มได้รับยกย่องเป็นใหญ่ เรียกเจ้าแม่ หรือหมอผี หรือหัวหน้าพิธีกรรม โดยมีผู้ชายเป็นบ่าวไพร่บริวาร เห็นได้จากผี เข้าสิงร่างทรงที่เป็นหญิงเท่านั้น ดังพิธีเข้าทรง ผีมด (เขมร), ผีเม็ง (มอญ), ผีฟ้า (ลาว) ผีไม่ลงทรงร่างผู้ชาย

ชุมชนดั้งเดิมดึกดาบรรพ์นับถือศาสนาผี มีลานกลางบ้านเป็นที่ฝังศพตระกูลหมอผีหัวหน้าเผ่า และเป็นบริเวณทำพิธีกรรมเลี้ยงผีบรรพชน ลานกลางบ้านเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นศูนย์กลางของหน่วยทางการเมืองการปกครองยุคดึกดำบรรพ์ เชื่อกันว่าเป็นที่สิงสู่ของหมู่ขวัญบรรพชน ซึ่งจะรวมพลังกันปกป้องคุ้มครองเผ่าพันธุ์ให้พ้นโรคภัย

ดังนั้น จึงพบโครงกระดูกและสิ่งของมีค่าฝังอยู่ใต้ดินทับซ้อนกันหลายยุคหลายสมัยเท่าที่เคยมีคนอยู่อาศัยสืบเนื่องถึงยุคหลังๆ เช่น บ้านเชียง จ. อุดรธานี เมื่อรับศาสนาจากอินเดียมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองการปกครอง ก็สร้างสถูปเจดีย์ครอบสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เช่น วัดชมชื่น (จ.สุโขทัย) และปราสาทพิมาย (จ.นครราชสีมา)

ศาสนาจากอินเดีย หัวหน้าเผ่าพันธุ์ รับศาสนาจากอินเดียทั้งพราหมณ์และพุทธ เป็นเครื่องมือทางการเมืองการปกครอง จนบ้านเมืองเติบโตเป็นรัฐต่างๆ ที่มีชื่อ รู้จักทั่วไป เช่น ฟูนัน, ทวารวดี, ศรีวิชัย, ฯลฯ ด้วยการอ้างกฎแห่งกรรมว่าคนดีผู้มีบุญย่อมมีอำนาจวาสนาเหนือกว่า คนอื่น เพื่อหัวหน้าเผ่าพันธุ์และเครือญาติเข้าถึงความมั่งคั่งและอำนาจ โดยกีดกันคนส่วนใหญ่ของชุมชนชาติพันธุ์ออกไปจากความมั่งคั่งและอำนาจนั้น สมดังที่นักวิชาการหลายท่านเคยอธิบายความจริงข้อนี้ไว้แล้ว

ไทยถูกหล่อหลอมให้เลื่อมใสศรัทธาว่าศาสนาไม่อยู่ในการเมือง และเมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่ถึงสุวรรณภูมิ คนพื้นเมืองก็พากันน้อมรับนับถืออย่างสงบราบรื่นร่มเย็นเป็นสุข แต่ตามหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี และที่พบร่องรอยในนิทานตำนาน เช่น มหาวงศ์ (พงศาวดารลังกา) ล้วนสอดคล้องกันทั้งของลังกาและของไทยว่าการค้ากับการเมืองชักนำศาสนาจากอินเดียมาถึงสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ แล้วปะทะกับการต่อต้านของคนพื้นเมืองที่นับถือศาสนาผีอย่างเหนียวแน่นมาก่อน

แสดงว่ามีปัญหาระหว่างศาสนาผีกับศาสนาพราหมณ์และพุทธ เพื่อช่วงชิงความเชื่อหรือศรัทธาสวามิภักดิ์ ดังมีบอกเป็นวรรณกรรมสัญลักษณ์ไว้ในตำนานพื้นเมือง ว่าพระพุทธเจ้าปราบนาคให้นับถือพระพุทธศาสนา (นาค หมายถึงคนพื้นเมืองดั้งเดิม ที่มีระบบความเชื่อในศาสนาผีเป็นของตนเองมาก่อน คือลัทธิบูชางูหรือนาค)

เมื่อศาสนาจากอินเดียซึ่งเป็นระบบความเชื่ออีกอย่างหนึ่งแพร่หลายเข้ามา ก็ต้องปะทะหรือขัดแย้งกับระบบความเชื่อดั้งเดิมที่มีมาก่อนแล้ว หลักฐานในหนังสืออุรังคธาตุ หรือตำนานพระธาตุพนม จ. นครพนม มีนิทานเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงดินแดนลุ่มน้าโขงก็พบกับบรรดานาคที่มีอิทธิฤทธิ์ควบคุมพื้นที่อยู่ และไม่ยอมอ่อนน้อมนมัสการ แถมยังกระทำอวดอภินิหารข่มขู่ ทำให้พระพุทธองค์ต้องทรงแสดงปาฏิหาริย์ปราบนาค

ในที่สุดบรรดานาคทั้งหลายก็นอบน้อมเข้าหาพระศาสดา มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา แล้วทูลขอรอยพระบาทไว้สักการบูชา ทั้งหมดนี้เป็นสัญลักษณ์ความขัดแย้งรุนแรงของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบริเวณสุวรรณภูมิ

คนพื้นเมืองบนเกาะชวา ก่อนอารยธรรมอินเดียแผ่เข้าไป ล้วนนับถือศาสนาผีมีหลากหลายเหมือนคนกลุ่มอื่นๆในอาเซียนโบราณ เมื่อพ่อค้าหรือนักเสี่ยงโชคผจญภัยจากอินเดียยกกองเรือถึงเกาะชวา ราวหลัง พ.ศ. 1000 โดยเชิญพระพิฆเนศเป็นเทวรูปสาคัญประจำเรือเพื่อขจัดอุปสรรคระหว่างเดินทาง จากนั้นก็ปราบปรามคนพื้นเมืองให้อยู่ในอำนาจจนสำเร็จ ซึ่งต้องฆ่าคนพื้นเมืองจานวนไม่น้อย

พระพิฆเนศนั่งทับหัวกะโหลก หมายถึง เทวดาชมพูทวีปมีอำนาจเหนือคนพื้นเมือง แล้วมีอำนาจเหนือผีทั้งปวงบนเกาะชวา พระพิฆเนศเป็นบรมครูของศิลปินร้องรำทำเพลงและวาดปั้น เป็นสิ่งที่ไทยสร้างใหม่สมัยรัชกาลที่ 6 แต่ไม่มีความเชื่ออย่างนี้ในอินเดียและชวา

หลังรับศาสนาจากอินเดีย บรรดาหัวหน้าเผ่าพื้นเมือง เปลี่ยนจากหญิงเป็นชายผู้นำทางศาสนาตามแบบแผนการเมืองการปกครองจากอินเดียด้วย เห็นได้จากชื่อตำแหน่งหัวหน้าเผ่าถูกเปลี่ยนเป็นบาลี-สันสกฤต ที่ได้จากชื่อศักดิ์สิทธิ์ในอินเดีย เช่น พรหม หรือ พรหมเทพ ซึ่งมีในเอกสารของชาวยุโรปที่บันทึกคำบอกเล่าจากคัมภีร์เก่าของราชสานักอยุธยา เป็นกษัตริย์ หรือราชาองค์แรก

ในโองการแช่งน้ำเรียกพระพรหม มหาเทพในศาสนาพรามหณ์ ด้วยคำพื้นเมืองว่า ขุนแผน ที่กลายมาจากคำว่า “แถน” เท่ากับเป็นร่องรอยว่าหลังรับศาสนาจากอินเดียได้ปรับเปลี่ยนหมอผี เป็นพระราชา

หัวหน้าเผ่าบางชุมชนจะเปลี่ยนเป็นผู้ชาย เพราะริบอำนาจจากผู้หญิง และบางชุมชนอาจแยกเป็นคนละคนกันระหว่างหัวหน้าเผ่ากับหมอผี เฉพาะหมอผีจะเปลี่ยนเป็นนักบวชในศาสนาพราหมณ์และพุทธ

ต่อไปข้างหน้าหมอผีจะได้ชื่อใหม่เป็นทางการด้วยภาษาศักดิ์สิทธิ์จากอินเดียว่า พระครู, โหราธิบดี, โหราจารย์, ศาสตราจารย์, นักวิชาการ ฯลฯ

นักบวช เป็นเครื่องมือทางการเมืองให้หัวหน้าเผ่า บางทีนักบวชทำงานการเมืองด้วยตนเอง ตัวอย่าง ยาคูขี้หอม แห่งรัฐจัมปาสัก ในลาว เดิมเป็นพระครูโพนสะเม็ก ยอดแก้ว อยู่เวียงจัน แล้วนำพาเชื้อวงศ์เวียงจันกับญาติโยมที่เลื่อมใส โยกย้ายไปตั้งบ้านเรือนแห่งใหม่ที่จัมปาสัก ในที่สุดก็สถาปนาเป็นรัฐจัมปาสัก

นางนาค เป็นผีบรรพชนเพศหญิงในตำนานและนิทานของผู้คนบนสุวรรณภูมิในอุษาคเนย์ ได้นามนางนาคเมื่อหลังรับศาสนาจากอินเดีย

เขมร มีนางนาคเป็นเจ้าแม่คุ้มครองอาณาจักรกัมพูชา, มอญ มีนางนาคเป็นเจ้าแม่คุ้มครองอาณาจักรหงสาวดี, ลาว มีนางนาคเป็นเจ้าแม่พิทักษ์แม่น้าโขง หล่อเลี้ยงอาณาจักรหลวงพระบางและเวียงจัน

ยุคอยุธยา มีพิธีกรรมอยู่ในกฎมณเฑียรบาลว่าพระเจ้าแผ่นดินต้องร่วมเพศ (บรรทม) กับนางนาคในนาม “แม่หยั่วพระพี่” เพื่อความมั่งคั่งและมั่นคงของอาณาจักร

นาค หมายถึง คนพื้นเมืองเปลือยเปล่าสัญลักษณ์ของบรรพชนคนสุวรรณภูมิ เพศหญิง คำว่า นาค ไม่ใช่ตระกูลภาษาไทย-ลาว แต่มีรากมาจากภาษาตระกูลอินโด-ยูโรเปียน แปลว่า เปลือย, แก้ผ้า คานี้มีแพร่หลายในหมู่ชนชาวชมพูทวีปตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์

ชาวสุวรรณภูมิ ราว 2,500 ปีมาแล้ว นุ่งห่มใบไม้ เช่น ใบมะพร้าว ฯลฯ ถ้าจะมีผ้านุ่งบ้างก็เป็นผืนเล็กๆ แคบๆ เช่น เตี่ยว ใช้ปิดหุ้มรัดอวัยวะเพศเท่านั้น

เมื่อชาวชมพูทวีปเดินทางมาค้าขายแลกเปลี่ยนกับกลุ่มชนชาวสุวรรณภูมิที่ยังล้าหลังทางเทคโนโลยีทอผ้า จึงพบว่าไม่มีผ้าผืนใหญ่ใช้นุ่งและห่มเหมือนชาวชมพูทวีป ก็เรียกชาวสุวรรณภูมิอย่างเหยียดหยามดูถูกด้วยถ้อยคำของตนว่า นาค หมายความว่า คนเปลือย, คนแก้ผ้า

ต่อมาชักชวนคนฝูงนั้นให้เลื่อมใสพุทธศาสนา เมื่อจะบรรพชาเป็นภิกษุจึงเรียกบวชนาค หมายถึงบวชคนพื้นเมืองเปลือยเปล่าป่าเถื่อนไม่นุ่งผ้า, ไม่ห่มผ้า

พิธีบวชนาคไม่มีในพระไตรปิฎก จึงไม่มีในอินเดีย, ลังกา มีแต่ที่สุวรรณภูมิ

ผีบรรพชน มี 2 ระดับ คือ ผีประจำครอบครัววงศ์ตระกูล เรียก ผีเรือน (หมายถึงเรือนอยู่อาศัยเป็นหลังๆ) และผีประจำชุมชนเรียก ผีบ้าน (คาดว่าบ้านสมัยแรกๆ หมายถึงหมู่บ้าน มีเรือนหลายหลัง)

ส่วนผีที่สิงอยู่ในเครื่องมือทำมาหากิน มีชื่อเรียกตามเครื่องมือนั้นๆ เช่น ผีนางด้ง (หมายถึงผีสิงในกระด้งฝัดข้าว) ผีครก ผีสาก (หมายถึงผีสิงในครกและสากตำข้าว) เป็นต้น

หัวหน้าเผ่าต้องทำพิธีเลี้ยงผีบรรพชนตามฤดูกาลที่กาหนด เพื่อขอความมั่งคั่งและมั่นคงให้คนในชุมชน ถ้าไม่ทำก็ผิดผี ต้องขับไล่หัวหน้าเผ่าออกนอกชุมชน เลี้ยงผี เป็นประเพณีของคนชุมชนดั้งเดิมดึกดาบรรพ์ไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ที่มีอยู่ก่อนรับศาสนาและสงกรานต์จากอินเดีย เป็นกิจกรรมเรียกรวมๆ กว้างๆ ว่าประเพณีหลังการเก็บเกี่ยวในฤดูการผลิตเก่า เพื่อเตรียมตัวรับฤดูการเพาะปลูกใหม่ที่จะมาถึงในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า โดยเฉลี่ยแล้วชาวบ้านจะเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหาร ซึ่งได้ผลิตผลสมบูรณ์ราวเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

ต่อจากนี้ไปเป็นช่วงว่าง ตั้งแต่ราวเดือนมีนาคม-เมษายน ที่ชาวบ้านส่วนมากจะมีกิจกรรมทั้งส่วนตัวและส่วนรวม เพราะมีข้าวปลาอาหารที่เก็บเกี่ยวกักตุนไว้แล้วในยุ้งฉาง

กิจกรรมต่างๆ เช่น ทาศพที่ฝังเก็บศพไว้ตั้งแต่ปีก่อน ฯลฯ แต่ที่สาคัญคือเลี้ยงผีบรรพชนประจำปี ตลอดจนซ่อมแซมปรับปรุงเครื่องมือทำมาหากิน ทำนาทำไร่ทำประมง เช่น ไถ คราด กระบุง ตะกร้า กระด้ง ลอบ ไซ ครก สาก ฯลฯ

หมอผีหัวหน้าเผ่าต้องทำพิธีกรรมเป็นงานการเมืองสำคัญ เพื่อขอฝนและขอความอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี เรียกประเพณี 12 เดือน เพราะชาวบ้านดั้งเดิมทำนาไร่โดยพึ่งพาธรรมชาติ อยู่ในเขตมรสุม มีฝนตกตามฤดูกาล ซึ่งไม่แน่นอน จึงต้องมีพิธีเลี้ยงผีวิงวอนร้องขอความมั่งคั่งและมั่นคงตลอดปี ดังนี้

เดือนอ้าย ขึ้นฤดูกาลใหม่ ต้องทำพิธีเลี้ยงผีทำขวัญขอขมาน้ำและดินที่บันดาลให้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารไว้กินและใช้ตลอดปี

เดือนยี่, เดือนสาม เก็บเกี่ยวพืชพันธุ์เสร็จแล้วต้องมีพิธีทำขวัญต่างๆ เช่น ขวัญข้าว, ขวัญลานนวดข้าว, ขวัญยุ้งเก็บข้าว, ขวัญวัวควาย, ขวัญเกวียนเข็นข้าว, ฯลฯ

เดือนสี่, เดือนห้า เลี้ยงผี ทำขวัญ เครื่องมือทำมาหากิน เช่น ผีครก, ผีสาก, ผีสุ่ม, ผีลิงลม, ผีนางด้ง, ฯลฯ (เมื่อรับสงกรานต์จากอินเดียแล้ว ผนวกเรียกประเพณีสงกรานต์)

เดือนหก, เดือนเจ็ด เลี้ยงผี เลี้ยงขวัญ ขอฝน แรกนาขวัญ คือ เลี้ยงขวัญก่อนทำนา

เดือนแปด, เดือนเก้า, เดือนสิบ สู่ขวัญทำนาและสู่ขวัญข้าวออกรวง

เดือนสิบเอ็ด, เดือนสิบสอง สู่ขวัญขอขมาให้น้ำลดเพื่อเกี่ยวข้าวในนาน้ำท่วม

เพลงดนตรี ที่สาคัญอย่างยิ่ง คือ ดนตรีทำขวัญซึ่งเกี่ยวข้องกับอำนาจเหนือธรรมชาติ มีในพิธีเลี้ยงผี เครื่องดนตรี เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจของหัวหน้าเผ่าหมอผีผู้หญิง เพราะแรกสุดหมอผีต้องใช้เครื่องดนตรีสื่อสารติดต่อกับผี เพื่อขอความมั่งคั่งและมั่นคงของชุมชน หมายความว่านักดนตรีกลุ่มแรกสุดต้องเป็นหญิงร่างทรงของผีบรรพชน เพราะสื่อสารได้กับผี

ประเพณีชาวจ้วง กวางสี ถ้าไม่มีหญิงตีกลองไม้ก็อนุโลมให้ชายแต่งหญิงตีแทน เท่ากับหลอกผี

ยุคเก่าสุด คือ กลองไม้

ยุคต่อมา คือ ฆ้องสัมฤทธิ์ (เรียกทั่วไปสมัยหลังว่ากลองทองมโหระทึก)

เครื่องดนตรีเป็นสมบัติร่วมกันของชุมชน อยู่ในความดูแลของหมอผีหัวหน้าเผ่า เพราะต้องใช้เทคโนโลยีสูง และใช้กำลังคนมากในการผลิตเครื่องดนตรี ทำคนเดียวไม่ได้ จึงไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของปัจเจกบุคคล

สมัยต่อมา ฆ้องสัมฤทธิ์ ป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ มีในนิทานตำนานเรื่องขุนบรม และเรื่องท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ที่มอบฆ้องพานให้ลูกชายสืบอำนาจ

เครื่องดนตรีมีกำเนิดแรกสุดในพิธีกรรมทำเสียงศักดิสิทธิ์ สื่อสารกับอำนาจเหนือธรรมชาติ (คือ ผี) เพื่อความอยู่รอดของคนในชุมชน (ไม่ได้มีเพื่อความบันเทิงเริงรมย์อย่างทุกวันนี้) คนยุคแรกเริ่มดั้งเดิมไม่เล่นเครื่องดนตรีในชีวิตประจำวัน เล่นเฉพาะสถานการณ์พิเศษ เช่น พิธีเลี้ยงผี

ภาษาศักดิ์สิทธิ์จากเครื่องดนตรี เพลงดนตรี เป็นภาษาพิเศษ ใช้สื่อสารกับผี

ผี ไม่ใช่คน จึงไม่ใช้ภาษาคนพูดกับผีที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ (ถ้าใช้ภาษาคนเหมือนที่คนพูดกันในชีวิตประจำวัน แล้วผีจะมีฤทธิ์ศักดิ์สิทธิ์อะไร?) แต่มีภาษาศักดิ์สิทธิ์ที่ทำขึ้นโดยเครื่องมือศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเรียกภายหลังว่าเครื่องดนตรี สำหรับทำเสียงเลียนแบบภาษาพูดของคนที่เป็นคำคล้องจอง

ดนตรี สื่อสารกับผีซึ่งมีอำนาจเหนือธรรมชาติ หมายถึงเครื่องดนตรีทำเสียงเลียนแบบคำพูดของคน ที่วิงวอนร้องขอขมาผีให้ช่วยบันดาลความอุดมสมบูรณ์เรื่องข้าวปลาอาหารแก่ชุมชนชาติพันธุ์ของตน จะได้ไม่อดอยากล้มตาย คนยุคแรกๆแสวงหาอาหารไปตามยถากรรมธรรมชาติ เพราะไม่รู้จักเพาะปลูกหรือสะสมอาหาร แม้เมื่อรู้จักเพาะปลูกกับเลี้ยงสัตว์แล้วก็เป็นไปอย่างพึ่งพาธรรมชาติตามยถากรรม โดยไม่มีหลักประกันว่าจะได้ผล ดังนั้นคนจึงต้องวิงวอนร้องขอขมาอำนาจเหนือธรรมชาติ เพื่อขจัดอุปสรรคและบันดาลให้ได้สิ่งที่ต้องการ

คำวิงวอนร้องขอขมาของคนยุคแรกๆ เป็นคาสั้นๆ ห้วนๆ นานเข้าก็ยาวขึ้นจนเป็นคำคล้องจองอย่างง่ายๆ แล้วกลายเป็นทำนอง ดนตรียุคแรกๆ เลียนแบบคำคล้องจอง ก็เป็นทำนองสั้นๆ ง่ายๆ ทำซ้าไปซ้ำมา จนกว่าจะพอใจ

ทำขวัญ เป็นพิธีกรรมสำคัญในศาสนาผี อันเป็นระบบความเชื่อดั้งเดิมดึกดาบรรพ์ ต้องมีทุกครั้งที่มีเหตุดีและเหตุร้าย

ตามปกติขนบของวงดนตรีไทย โดยเฉพาะวงปี่พาทย์ ไม่ว่าจะบรรเลงเพลงเรื่องหรือเพลงชุดใดๆ ที่เกี่ยวกับพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์จะต้องบรรเลงเพลงสาธุการเป็นเพลงแรก เพราะเป็นเพลงสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา

มีแต่เพลงชุดทำขวัญชุดเดียวเท่านั้นไม่เริ่มด้วยเพลงสาธุการ แต่เริ่มด้วยเพลงนางนาคเป็นเพลงแรก ซึ่งเกี่ยวข้องกับผีบรรพชนเป็นหญิง ที่ยังสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

ทำขวัญ (บางท้องถิ่นเรียกสู่ขวัญ เรียกขวัญ เลี้ยงขวัญ) เป็นพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนทุกขั้นตอน เพราะขวัญเป็นศูนย์รวมของทุกอย่าง ดังนั้นงานพิธีกรรมทุกอย่างต้องเริ่มที่ทำขวัญ (ไม่เว้นแม้กระทั่งงานศพ)

ขวัญ คือ อำนาจเหนือธรรมชาติ หรือผีส่วนที่ไม่เป็นตัวตน ซึ่งมีพลังมหาศาลบันดาลให้เกิดสิ่งดีและไม่ดี

คนจะวิงวอนร้องขอขมาเพื่อให้ได้และไม่ได้สิ่งใดๆ ก็เริ่มต้นที่ทำขวัญ สู่ขวัญ เรียกขวัญ เลี้ยงขวัญ เช่น ประเพณี 12 เดือน เพื่อการทำมาหากิน

เพลงนางนาคใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาผี (ไม่เป็นทั้งพุทธทั้งพราหมณ์) เกี่ยวกับผีบรรพชนซึ่งเป็นหญิง นางนาค เป็นชื่อทำนองเพลงประโคมสำหรับปี่พาทย์ (ไม่มีร้อง) ขนาดสั้นๆ เรียกกันทั่วไปว่า เพลงนางนาค ใช้ประโคมในพิธีเวียนเทียนทำขวัญ เช่น ทำขวัญแต่งงาน, ทำขวัญนาค ในฤดูบวชนาค

สมัยแรกๆ ประโคมเพลงนางนาคซ้ำไปซ้ำมาเพลงเดียว จนกว่าจะเสร็จพิธีที่มีคนร่วมพิธีไม่มาก ครั้นสังคมขยายตัว มีผู้ร่วมพิธีมากขึ้น จาเป็นต้องประโคมเพลงนานมาก จะทำซ้ำไปซ้ำมาเพลงเดียวก็เบื่อ เลยเพิ่มเพลงอื่นลีลาเดียวกันให้ต่อเนื่อง เรียก “เพลงเรื่องทำขวัญ” แต่ข้อกำหนดสาคัญมีอย่างเดียวคือต้องเริ่มเพลงแรกด้วยนางนาค

เพลงมโหรีชุดทำขวัญ ยุคอยุธยา ใช้ในพิธีแต่งงานซึ่งเป็นไปตามประเพณีดั้งเดิม ดึกดำบรรพ์ที่ต้องเริ่มพิธีทุกอย่างด้วยทำขวัญ แล้วพิธีอื่นๆ ตามมาทีหลัง พิธีทำขวัญทุกอย่างต้องขึ้นต้นด้วยเพลงนางนาค สัญลักษณ์ผีบรรพชน เชิญมาอวยชัยให้พร เท่ากับสืบเนื่องความเชื่อผู้หญิงเป็นใหญ่ในพิธีกรรมยุคแรกเริ่ม

เพลงมโหรี เป็นเพลงสังวาสของผู้ดีคนชั้นสูงยุคอยุธยา แล้วอาจต่อเนื่องมา ถึงยุคธนบุรี, รัตนโกสินทร์ และไม่ใช่ของสามัญชนชาวบ้าน แต่ชาวบ้านสามัญชนสมัยหลังๆ อาจจาไปทาก็ได้

คำร้องเพลงมโหรีชุดทำขวัญ มี 72 บท เป็นของเก่าที่ทาสืบมาแต่ยุคอยุธยา คัดจากหนังสือประชุมบทมโหรี สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ สภานายกหอสมุดสำหรับพระนคร โปรดให้รวบรวมบทมโหรีนี้เมื่อ พ.ศ. 2460 รวบรวมพิมพ์ครั้งแรก จำหน่ายในงานฤดูหนาว สวนจิตรลดา พ.ศ. 2463

จะคัดตัวอย่างบางบทมาดังนี้

๏ เจ้าเอยนางนาค เจ้าคิดแต่เท่านั้นแล้ว

เจ้าปักปิ่นแก้ว แล้วเจ้ามาแซมดอกไม้ไหว

จำปาสองหูห้อย สร้อยสังวาลแลมาลัย

ชมพูผ้าสไบ เจ้าห้อยสองบ่าสง่างาม

๏ เจ้าเอยเทียนทอง ปิดเข้าที่หน้าแท่นทอง

ทำขวัญเจ้าทั้งสอง ให้เจ้าอยู่ดีกินดี

ให้อยู่จนเฒ่าชรา ให้เจ้าเป็นมหาเศรษฐี

อายุยืนได้ร้อยปี เลี้ยงพระบิดามารดา

 

มีคำร้องว่า “เจ้าเอยเทียนทอง” เทียนทองตรงนี้เป็นสัญลักษณ์อวัยวะเพศชาย มีร่องรอยบอกในนิทานของกัมพูชาว่าทำขึ้นในพิธีแต่งงาน

เพลงแม่สี ผีบรรพชน แม่สี คือผีบรรพชนของคนลุ่มน้าเจ้าพระยา (เรียกอีกชื่อว่า นางนาค) เป็นคำจากภาษาเขมร ว่าแม่สรี เม, แม แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ หรือหัวหน้า และ สฺรี (อ่านว่า เซฺร็ย) กลายจาก สฺตฺรี (อ่านว่า เสฺตฺร็ย) แปลว่า ผู้หญิง

โดยทั่วไปมักเขียนแม่สี เป็นแม่ศรี เพราะเข้าใจคลาดเคลื่อนว่ามาจากคำบาลี-สันสกฤต แต่ไม่ใช่

เข้าทรงแม่สี เป็นการละเล่นสาคัญที่สุดของพิธีเลี้ยงผีบรรพชนช่วงหลังเก็บเกี่ยว เช่น สงกรานต์ เริ่มด้วยเชิญแม่สีผีบรรพชนมาลงทรงหญิงคนหนึ่งมีผ้าปิดตา (เข้าทรง) แล้วร่ายรำทำท่าต่างจากอาการปกติในชีวิตประจำวัน โดยมีชาวบ้านร่วมร้องเพลงและปรบมือเข้าจังหวะพร้อมกัน บางทีมีเคาะโกร่ง, เกราะ, กรับ (กระบอกไม้ไผ่ขนาดต่างกัน) คำร้องได้จากความทรงจำของชาวบ้านแต่ก่อนมีหลายสำนวน ดังนี้

๏ แม่สีเอย แม่สีสาวสะ

ยกมือไหว้พระ ว่าจะมีคนชม

ขนคิ้วเจ้าต่อ ขนคอเจ้ากลม

ชักผ้าปิดนม ชมแม่สีเอย

๏ แม่สีเอย แม่สีสาวสด

ใส่แหวนมรกต ใส่แล้วผัดหน้า

ดอกไม้ห้อยหู สีชมพูห้อยบ่า

น้าอบชุบผ้า ห่มเวลาเย็นเอย

๏ แม่สีเอย แม่สีสาคร

นมยานหน้าอ่อน ผัวร้างเจ้าไว้

กระดิกช้างน้อย เป็นทองคาเปลว

เชิญมาเร็วเร็ว เถิดแม่ทองสีเอย

๏ แม่สีเอย แม่สีสาคร

นมยานหน้าอ่อน ผัวมาร้างเจ้าไว้

สักสองสามปี ว่าจะมีผัวใหม่

แค้นอกแค้นใจ เจ้าแม่สีเอย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net