Skip to main content
sharethis

ลิงวีดีโอ : https://www.youtube.com/watch?v=x9aguZ4Y74Q

 

สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี (PerMAS) จัดงานเวทีสาธารณะ “เยาวชนกับความอยุติธรรมที่ได้รับจากสงครามปาตานี” ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพแกนนำองค์กรเยาวชนเพื่อสันติภาพ ณ ห้องประชุมศรีวังสา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2558 ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนา ประมาณ 200 คน ซึ่งมาจากเยาวชน นักศึกษา และเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นต้น

บูคอรี ลาเต๊ะ รองประธาน สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี และประธาน กิจกรรมเวทีสาธารณะเยาวชนกับความอยุติธรรมที่ได้รับจากสงครามปาตานี ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพเยาวชนเพื่อสันติภาพ กล่าวว่า “การที่ทุกคนได้ทำงานเพื่อสังคมในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งนั้น สิ่งที่ควรตระหนัก คือ

หาจุดร่วม แล้วจูงมือไปด้วยกันถึงแม้ว่าจะเป็นองค์กร หรือบุคคลใดก็แล้วแต่ ทุกคนจะต้องมาช่วยกันในการสร้างบ้านเมืองร่วมกันอย่างเข้มแข็ง” บูคอรี กล่าว

อาฟิส ยะโกะ นักศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และผู้เข้าร่วมงาน กล่าวว่า “นักศึกษาคือส่วนหนึ่งของการสร้างสันติภาพ วันนี้ที่มาร่วมงานก็เพื่อที่จะร่วมกันแสดงความคิดเห็นกับองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสันติภาพ” อาฟิส กล่าว

เรืองรวี พิชัยกุล ผู้ประสานงานโครงการอวุโส มูลนิธิเอเชีย และผู้สนับสนุนโครงการ กล่าวว่า “เยาวชนในทุกประเทศ เป็นตัวจักร เป็นตัวเคลื่อน และเป็นหัวหอกในการนำการเปลี่ยนแปลงทุกประเทศ เพราะว่า พวกเขามีวิชาความรู้ เขาเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ พวกเขาสามารถสื่อสารได้หลายภาษา รวมทั้งภาษาถิ่น และที่สำคัญ พวกเขาเป็นตัวกลางสามารถที่จะสื่อสารกับผู้คนในชุมชนและนอกชุมชน รวมทั้งคู่ความขัดแย้ง พวกเขาก็สามารถสื่อสารได้” เรืองรวี กล่าว

เรืองรวี กล่าวต่อว่า “ถ้าหากไม่มีนักสื่อสารที่เป็นเยาวชนเหล่านี้ ก็จะทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่รู้จะคุยกันอย่างไร แท้จริงแล้ว พวกเขาคือตัวกลางที่มีสำคัญมาก ซึ่งเปรียบเสมือน “สะพาน” ถ้าจะข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง ไม่มีสะพานก็ไม่สามารถข้ามไปได้

ฉะนั้น มันจะต้องมีสะพาน บทบาทที่สำคัญของพวกเขา คือ สะพาน เพื่อที่จะเชื่อมกันระหว่างผู้ที่เห็นต่างทั้งสองฝ่ายและชาวบ้าน ซึ่งบุคคลเหล่านั้นก็คือ  พ่อ แม่ พี่สาว น้องสาว ที่เป็นคนในชุมชน ผู้นำในชุมชน ผู้นำศาสนา และครูบาอาจารย์ พวกเขานั้นมีบทบาทที่เรียกว่าเป็นเงื่อนไขที่สมบูรณ์แบบ เป็นคนกลางในการขับเคลื่อน สิ่งเหล่านี้คือความสำคัญของเยาวชนอย่างแท้จริง” เรืองรวี กล่าว

สุไฮมี ดูละสะ ประธาน สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี กล่าวว่า เรื่องสิทธิ เรื่องมนุษยธรรมในพื้นที่โดยรวมเราเคยประสบพบเจอ แต่พบเจออย่างไรบ้างก็ควรมาร่วมแชร์กัน เพราะเงื่อนไขความอยุติธรรมมันยังมีอยู่ แล้วที่มีอยู่มันเป็นอย่างไรบ้าง

 

 

เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2558 : http://goo.gl/L6mpBp

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net