‘ชาญวิทย์’ แจง ‘ชุดไทย’ ราชปะแตน-โจงกระเบน ลอกแบบมาจาก อังกฤษ-เขมร

เป็นช่วงที่มีกระแสในโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างมากกับการแต่งชุดที่ระบุว่าเป็น ‘ชุดไทย’ โดยมีการใส่ไปตามสถานที่ต่างๆ ล่าสุด(7 เม.ย.58)มีชายไทยใช้เฟซบุ๊ก Chaow Rohitchun โพสต์ภาพสวมชุดราชปะแตนและโจงกระเบน ขึ้นรถไฟที่ญี่ปุ่น โดยระบุด้วยว่า

"ช่วงนี้มี 2 ดราม่า คือเรื่องใส่ชุดไทยไปที่สาธารณะ กับมารยาทของคนไทย เวลาอยู่บนรถไฟในญี่ปุ่น งั้นขอเอา 2 เรื่องนี้มารวมกันหน่อยละกันนะ ใส่ชุดไทยไปขึ้นรถไฟในญี่ปุ่นอย่างสุภาพเรียบร้อยเลยละกัน >>> ดูไว้เป็นตัวอย่างนะ เป็นคนไทยไปเที่ยวที่ไหน ต้องทำแบบนี้ 555+"

ภาพดังกล่าวถูกแชร์ต่อในโซเชียลเน็ตเวิร์กอย่างมาก โดยล่าสุด ศ.ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Charnvit Ks Kasetsiri’ ชี้แจงที่มาของ ราชปะแตน-โจงกระเบน ว่า ลอกแบบมาจาก อังกฤษ-เขมร โดยระบุว่า Raja pattern and Chong kaben

ก. เสี้อราชปะแตนแบบนี้ รัชกาลที่ 5 ทรงลอกแบบมาจาก เจ้าอาณานิคม อังกฤษ ระบบ Raj ที่ปกครองอินเดีย/พม่า อยู่ เป็นเครื่องแบบของอมาตย์ แล้วทับศัพท์เป็นไทยๆว่า ราชปะแตน ครับ สรุป  ลอกมารัตนโกสินทร์ตอนกลาง สุโขทัย/อยุธยา/ธนบุรี ไม่มี ครับ

ข. โจงกระเบน เป็นการนุ่งผ้าแบบแขก ที่ขอมเขมรนำมาใช้ คำว่า โจง/chong เป็นคำเขมร แปลว่า ผูก คำว่า กะเบน/kaben เป็นคำเขมร แปลว่า หาง สรุป  ไทย ยืมมาทั้งคำศัพท์ และรูปแบบการนุ่ง  และน่าจะยืม ลอกเลียนมาใช้ แต่สมัยสุโขทัย และ อยุธยา แล้ว  ลาวชั้นสูง ก็ยืมไปใช้ด้วยเช่นกัน รวมทั้งเสื้อราชปะแตน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท