เครือข่ายปกป้องอันดามันฯ ขอบคุณสหรัฐ รับฟังปัญหาผลกระทบจากถ่านหิน

ตัวแทนเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ยื่นหนังสือขอบคุณประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ตระหนักถึงผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหิน และเผยแพร่งานวิจัยที่ทำให้ทั่วโลกเห็นถึงผลกรัทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

9 ก.ค. 2558 ตัวแทนเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินเดินทางไปสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐ อเมริกาประจำประเทศไทยยื่นหนังสือขอบคุณต่อประเทศสหรัฐอเมริกาที่เล็งเห็น พิษภัยของโรงไฟฟ้าถ่านหินและเผยแพร่งานวิจัยที่ทำให้ทั่วโลกเห็นถึงผลกระทบ ของโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และได้พูดคุยกับผู้แทนเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ทั้งนี้ ตัวแทนเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินได้สรุปผลการพูดคุยไว้ ดังนี้

00000

เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินขอขอบคุณสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทยและคุณทาห์รา โวส เจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อม, วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, และสุขภาพ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในฐานะผู้แทนของท่านเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ที่ให้โอกาสทางเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ได้เข้าพบและพูดคุยเรื่องนโยบายพลังงานและการท่องเที่ยว โดยชี้ชัดให้เห็นว่าประเทศสหรัฐอเมริกามีนโยบายในการลด ละ เลิก การใช้ถ่านหินและประเด็นหลักคือ นโยบายที่พยายามจะผลักดันให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนถึง 80% ในปี ค.ศ. 2030 และเพิ่มเป็น 100% ในปี ค.ศ. 2050

ทางสหรัฐอเมริกาเองก็ได้ติดตามนโยบายพลังงานของประเทศไทยอย่างใกล้ชิด และสนับสนุนอย่างเต็มที่ให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยและประเทศ แถบลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์

เป็นที่น่ายินดีว่าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยมีการติดตาม ข่าวแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (แผนพีดีพี 2015) ที่รัฐบาลเพิ่งอนุมัติและได้ติดตามข่าวโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเทียบ เรือถ่านหินกระบี่เช่นกัน ท่านได้ถามพวกเราว่า ที่คุณบอกว่าจะเปิดประมูลการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าในวันที่ 22 ก.ค.นี้ รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วใช่หรือไม่ เราตอบท่านว่า รายงานทั้งสองยังไม่ผ่านการอนุมัติ และกระบวนการดังกล่าวยังขาดธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ซึ่งท่านได้บอกเราว่าท่านได้ติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอดเช่นกัน

เราพูดคุยถึงเรื่องพื้นที่กระบี่แรมซ่าไซต์และกรณีที่ชาวบ้านส่งจดหมายไปยัง ท่านเลขาธิการแรมซ่าไซต์ และท่านอดีตเลขาฯ ก็ได้เดินทางมายังพื้นที่และพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ ซึ่งคำตอบของชาวบ้านในด้านการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและการใช้ประโยชน์อย่าง ยั่งยืนทำให้ท่านอดีตเลขาฯ ได้กล่าวชื่นชมในศักยภาพของชาวบ้านที่นี่ว่าสุดยอด พร้อมชื่นชมให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงทรัพย์ยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ ติดตามลงพื้นที่ด้วย

เราพูดคุยถึงการท่องเที่ยวแถบอันดามันและจำนวนนักท่องเที่ยวพลเมืองสหรัฐ เมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งมีจำนวนประมาณ 71,857 คนในจังหวัดกระบี่และอยู่ที่ประมาณ 258,792 คนที่จังหวัดภูเก็ต น่าดีใจที่ท่านเป็นคนหนึ่งที่รักและชื่นชอบกระบี่เช่นกัน เพราะท่านได้เดินทางมาท่องเที่ยวที่กระบี่ถึง 3 ครั้งแล้ว

ขอบคุณผู้แทนสถานทูตสหรัฐฯ ที่ร่วมปกป้องอันดามันจากถ่านหิน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท