จอห์น เดรเปอร์: ปัญหาจากภายนอกที่นอกเหนือความเข้าใจของคนในสังคม และผลกระทบจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศ

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ก่อนที่ทุกคนจะเข้าใจเรื่องผลการดำเนินงานของประเทศไทยในแง่ของสิทธิมนุษยชน จนถึงขั้นพัฒนาตัวชี้วัดนโยบาย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจปัญหาอุปสรรคที่จะต้องเอาชนะให้ได้ซะก่อน ความจริงแล้วสถานการณ์ประเทศไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาที่ดูเหมือนจะใหญ่โตเป็นอย่างมาก และแนวความคิดที่เกี่ยวข้องก็มีขนาดใหญ่และได้รับการพูดคุยถกเถียงกันอย่างแพร่หลายในวงนักวิชาการที่อยู่ในสายนี้

ดังนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องอธิบายเพื่อลดความซับซ้อน นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นในการพัฒนาทฤษฎีที่เรียบง่ายเป็นคู่มือ ทฤษฎีหมายถึง อะไรในทางสังคมศาสตร์? ทฤษฎีคือสิ่งที่สามารถนำมาถกเถียงและอธิบายสถานการณ์ และหวังว่าจะสามารถเสนอทางออกได้ 'ในบางกรณีทฤษฎีก็อาจจะหมายถึงการคาดการณ์ แต่การคาดการณ์ที่ถูกต้องในทางสังคมศาสตร์มีความซับซ้อนสูง และรักษาวิวัฒนาการที่ก้าวหน้าของมนุษย์ และความคิดริเริ่มในโลกคอมพิวเตอร์[1]

หลักของทฤษฎีง่ายๆ สำหรับการอธิบายความเป็นเอกลักษณ์ของไทย บางครั้งเราเรียกว่า ลิทธิข้อยกเว้นพิเศษที่คนไทยมีเหนือชาติอื่น (Exceptionalism) อาจจะพบได้ในทางทฤษฎี ซึ่งจนถึงขณะนี้เราได้เห็นโดยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่มีการปฏิสัมพันธ์กันเป็นครั้งแรก เช่น คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้ “ค้นพบ” อเมริกา เป็นครั้งแรกในปี 2485 ผมจึงขอเรียกมันว่า “ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์” การมีปฏิสัมพันธ์กันครั้งแรกมักจะพบในรูปแบบทางมานุษยวิทยา และในปัจจุบันจะรวมถึง ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาพิธีสารต่างๆ เมื่อนักมานุษยวิทยาเข้ามาสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่ก่อนหน้านั้นไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับใครเลย เช่น คนเผ่าอเมซอนที่อาศัยอยู่ในป่าฝนอเมซอน

พูดโดยทั่วไปแล้ว การปฏิสัมพันธ์ คือ การติดต่อระหว่างวัฒนธรรมหนึ่งที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจหรืออำนาจทางทหารหรือกลุ่มของวัฒนธรรม (วัฒนธรรมฝ่ายเยือน หรือ Visiting Cultures - VC) และอีกวัฒนธรรมหนึ่งหรือกลุ่มของวัฒนธรรมที่เป็นฝ่ายเหย้า หรือฝ่ายเจ้าบ้าน ที่มีอธิปไตยทางวัฒนธรรมของตนเองอยู่แล้ว (Sovereign Entity Culture or SEC) และโดยทั่วไปอีกเช่นกัน ที่การปฏิสัมพันธ์นี้จะส่งผลกระทบเชิงลบในทันทีแก่วัฒนธรรมที่อ่อนแอกว่า ตัวอย่างเช่น จักรวรรดิวัฒนธรรมอเมริกาใต้ที่พ่ายแพ้ทางทหาร และพวกเขาก็ถูกบังคับให้เป็นทาสและใช้แรงงานในการสกัดเงินและทองในเหมือง หนึ่งในเหตุผลที่ใช้ในการลดคุณค่าของวัฒนธรรมอเมริกาใต้(ชาวแอซเท็กและชาวมายัน -Aztec, Mayan) ลงสู่ชนชั้นทาส คือการที่อธิบายว่าพวกเขา “ไม่เจริญ” เพราะพวกเขาปฏิบัติพิธีกรรมในการใช้มนุษย์บูชายัญ อย่างไรก็ตาม ในสารตราพระสันตะปาปา ได้มีกฤษฎีกาที่เรียกว่า  Sublimus Deus ในปี ค.ศ.1537 ซึ่งหมายถึงการยุติระบบทาส สมเด็จพระสันตะปาปาพอลที่ 3 ได้ระบุว่าประชาชนในอเมริกาใต้เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้เหตุผลด้วยจิตวิญญาณ ไม่สามารถหรือไม่ควรถูกกดขี่ และมีสิทธิในเสรีภาพและทรัพย์สิน ดังนั้น จุดมุ่งหมายหลัก คือการเปลี่ยนแปลงอธิปไตยทางวัฒนธรรมของพวกเขาเสียใหม่ ให้พวกเขานับถือศาสนาคริสต์ และนำพวกเขามาอยู่ในคริสตจักรโดยให้นักเผยแผ่พยายามทำให้ได้ ซึ่งวิธีการนี้ไม่ได้หยุดการทำลายอธิปไตยทางวัฒนธรรมและการถูกปกครองภายใต้รูปแบบอาณานิคมของอเมริกาใต้ แต่มันช่วยให้ลดระดับของความรุนแรงในความเป็นทาสและช่วยขยายการป้องกันระบบทาสได้ระดับหนึ่ง[2]

ผมตั้งใจที่จะเรียกสถานการณ์ปฏิสัมพันธ์นี้ในแง่ลบต่อ “ปัญหานอกบริบท[3] (OCPs), ของอธิปไตยทางวัฒนธรรม ซึ่งในความเป็นจริงอาจเกิดขึ้นในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น ความเป็นไปได้ของการล่าอาณานิคม คือปัญหานอกบริบทของกษัตริย์ไทยในศตวรรษที่ 19 ในขณะที่ในศตวรรษที่ 20 ปัญหานอกบริบทรวมถึงระบอบฟาสซิสต์และคอมมิวนิสต์ร่วมกับจักรวรรดินิยมใหม่อเมริกาเข้ามาด้วย ปัญหานอกบริบทจะสามารถดูหรืออธิบายได้จากความเป็นการเฉพาะเจาะจง มักจะเป็นเชิงสัญลักษณ์ เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของอธิปไตยทางวัฒนธรรม ที่ผมเรียกว่า “เหตุการณ์ที่มากเกินความจำเป็น หรือ Excession Events หรือ เรียกง่ายๆ ว่า “มากเกินความจำเป็น”หรือ Excessions แต่ปัญหานอกบริบทยังสามารถนำไปสู่การพัฒนาได้ บางอย่างออกแบบปัญหาขึ้นมาเพื่อให้ “โครงสร้างส่วนบน หรือsuperstructure ” ของอธิปไตยทางวัฒนธรรมยังคงอยู่ ผมจึงเรียกประเด็นเหล่านี้ว่าเป็น “การปฏิสัมพันธ์กับผีในกระดอง” หรือ จะเรียกสั้นๆ ว่า ปฏิสัมพันธ์กับผี ก็ได้ เพราะมันอาจจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่พึงประสงค์ (และค่อนข้างน่ากลัว) ที่เกิดจากการปฎิสัมพันธ์นั้น ในขณะเดียวกัน ก็มีการถ่ายโอนเทคโนโลยีและวัฒนธรรมที่อาจจะเป็นมุมบวกอยู่บ้าง ตารางต่อไปนี้ ซึ่งได้นำแง่คิดแบบตะวันตก (occidentalist) มาใช้อธิบาย (ยกเว้นเมาเซตุงและลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย) เพื่อที่จะสรุปทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นี้:

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตาราง: อธิปไตยทางวัฒนธรรมของไทย อธิบายได้ด้วยทฤษฎีปฏิสัมพันธ์

ยุคก่อนสันติอธิปไตยทางวัฒนธรรมของกลุ่มต่างๆในสยาม (Pax Siamensa)

(การกระจายอำนาจ, พหุนิยม, พุทธ (พิธีกรรมบริสุทธิ์ในนิกายเถรวาท)[4]] รูปแบบผสมระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์

กับแรงงานขัดหนี้-, การเป็นเมืองขึ้น-, และระบบเศรษฐกิจที่อิงกับตลาดขนาดใหญ่)  

ปัญหานอกบริบท(Outside Context Problems)

เหตุการณ์ที่มากเกินความจำเป็น (Excession Events)

 

การถ่ายโอนเทคโนโลยี(Technology Transfers)

การถ่ายโอนวัฒนธรรม(Culture Transfers)

ผลกระทบจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศ(Contact Ghosts in the Shell)

1) จักรวรรดินิยมอังกฤษ (Pax Brittanica), ค.ศ. 1815-1914

 

หัวข้อย่อย:

a) อำนาจนำและโครงสร้างความมั่นคงระหว่างประเทศ(ความไม่ต่อเนื่อง ชนิดที่ 3 ของ เฮลด์) [Held Disjuncture Type 3][5]

b) เศรษฐกิจโลก (ความไม่ต่อเนื่อง ชนิดที่ 5 ของ เฮลด์) [Held Disjuncture Type 5]

i) สงครามฝิ่นครั้งแรก (ค.ศ. 1839-1842) และการยึดครองฮ่องกง

ii) นโยบายปืนกลเรือและสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง ค.ศ. 1855

i)   แท่นพิมพ์

ii) เครื่องส่งโทรเลข

iii) ทางรถไฟ

iv) หนังสือพิมพ์

v) ดาราศาสตร์

vi) สุขอนามัย

i) ระบอบทุนนิยม

- กรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติ

 - เศรษฐกิจการเงิน

ii) การรวมศูนย์ผ่านแนวคิดการจัดองค์การตามทฤษฎีของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เรียกว่า โครงสร้างแบบ Weberian bureaucracy

iii) ชาตินิยมสยาม

iv) สัญญาสังคม (ประชากรsubject vs. พลเมืองcitizen)

v) ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

 

 

i) ลัทธิจักรวรรดินิยมสยาม

ii) ปัญหาความหนาแน่นของเมืองใหญ่

iii) ความเข้มข้นของรูปแบบการปกครอง[6]

- เครื่องแบบ

- รางวัล

iv) ประชาธิปไตยชนของชั้นนำ[7]

v) ระบบราชการที่เข้มงวด

- สถาบันของการทุจริตคอรัปชั่น

- คุณค่าของงานต่อจิตใจ

2) อาณานิคมฝรั่งเศสFrench colonialism (ปฏิบัติการสร้างความเจริญของ ค.ศ. 1884)[8]

 

ข้อย่อย:

a) อำนาจนำและโครงสร้างความมั่นคงระหว่างประเทศ [(ความไม่ต่อเนื่อง ชนิดที่ 3- Held Disjuncture Type 3]

i) 1864 การผนวกส่วนโคชิน-จีน (Cochinchina)

ii)) 1867 กัมพูเจียกลายเป็นดินแดนในอาณัติ

iii) 1893 ลาวถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฝรั่งเศส-อินโดจีน

-   เหตุการณ์ที่ปากน้ำ

iv) สงครามอินโดจีนครั้งที่ 1 (1946-1954)

i) แผนที่ภูมิกายา (การสำรวจ)

ii) ปฏิบัติการสยามอารยะ[9]

iii) กิจกรรมของนักสอนศาสนา (รวมถึงภารกิจของโปแตสแตนท์)

 iv) การปกครองระบอบสาธารณรัฐ

v) พลเมือง

vi) สังคมนิยมยูเปีย

i) ทฤษฎีการเหยียดหยามเชื้อชาติที่ด้อยกว่าสยาม (Siamese inferior race theory) – (ตัวอย่างเช่น การเรียกคนจีนว่า “ยิวตะวันออก”)

ii) ระบอบอาณานิคมในสยาม

- กลุ่มย่อยของชนพื้นเมือง

3) ระบอบฟาสซิสต์/จักรวรรดินิยมญี่ปุ่น (1933-1945)

 

Subtypes:

a) อำนาจนำและโครงสร้างความมั่นคงระหว่างประเทศ (ความไม่ต่อเนื่อง ชนิดที่ 3- Held Disjuncture Type 3]

i) สงครามโลกครั้งที่ 1 (สงครามเบ็ดเสร็จ)

ii) 1933 ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจ

iii) ระเบิดที่กัวนิกา(Bombing of Guernica - 1937)

iii) สงครามโลกครั้งที่ 2

-         ความล้มเหลวของสยาม (1941)

-         เพิร์ล ฮาร์เบอร์ (1941)

-         ความล้มเหลวของสิงคโปร์ (1942)

 

i) อุตสาหกรรมภิวัฒน์ (Indust-rialization)

ii) วิทยุ

iii) สื่อกระแสวงกว้าง

 

 

i) ลัทธิบูชาวีรบุรุษ

ii) บูชีโด (Bushido –ภารกิจการต่อสู้-martial duty)

iii) ตะวันออกนิยม(Orientalism)

 

i) นักชาตินิยมไทยไฮเปอร์เผด็จการเบ็ดเสร็จ (ระบอบฟาสซิสต์-fascism)

-   วาทกรรมการสูญเสียดินแดน[10]

- ทฤษฎีการต่อต้านชาติตะวันตก บนพื้นฐานการโฆษณาชวนเชื่อของญี่ปุ่น[11]

- วัฒนธรรม 12 (Cultural Mandates) (Some of; 1939-1942)

ii) สังคมทหารภิวัฒน์(Militarization of society)

-         ราชการ(Bureaucracy)

-         ชีวิตประจำวัน(Daily life)

-         การศึกษา(Education)

iii) จักรวรรดินิยมใหม่แบบก้าวหน้า(Advanced neo-imperialism)[12]

4) ระบอบคอมมิวนิสต์Communism

(มาร์กซิส-เลนินนิส-เหมาอิส คอมมิวนิสต์เอเชีย 1905-Present)[13]

 

Subtypes:

a) อำนาจนำและโครงสร้างความมั่นคงระหว่างประเทศ (ความไม่ต่อเนื่อง ชนิดที่-Held Disjuncture Type 3]

i) ปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution -1917)

ii) ปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน (Chinese Communist Revolution-1946-1949)

iii) สงครามเกาหลี (Korean War, 1950-1953)

iv) สงครามเวียดนาม และการล่มสลายของไซง่อน (Vietnam War and Fall of Saigon -1975)

v) เขมรแดง และทุ่งสังหาร (Khmer Rouge- 1968-1996,  and the Killing Fields)

 

i) ระบอบคอมมิวนิสต์(Commun-itarianism)

ii) สังคมนิยมวิทยาศาสตร์(Scientific socialism)

iii) สังคมนิยมพุทธ(Buddhist socialism)

i) รัฐตำรวจ (Police state)

ii) ความกลัวการต่อต้านจากชนบท (Fear of the rural rebellion)

iii) การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Massacre -October 1976)

5) จักรวรรษนิยมใหม่สหรัฐอเมริกา (กลุ่มสันติอเมริกัน (Pax Americana) -> โครงการศตวรรษใหม่อเมริกัน (Project for the New American Century, 1898-Present)

 

Subtypes:

a) อำนาจนำและโครงสร้างความมั่นคงระหว่างประเทศ (ความไม่ต่อเนื่อง ชนิดที่4 -Held Disjuncture Type 3]

 

b) National identity and the globalization of culture [Held Disjuncture Type 4]

i) สงครามระหว่างสเปน-อเมริกัน (Spanish-American War-1898)

ii) สงครามโลกครั้งที่ 2

- ระเบิดลงที่ฮิโรชิม่าและนางาสากิ (1945)

iii) สงครามเย็น (Cold War-1947-1991; ดูข้างบน)

iv) 1997 วิกฤตการเงิน

v) 2014 รายงานการค้ามนุษย์

 

i) ถนน

ii) สนามบิน

iii) ระบบชลประทาน

iv) ระบบการเงินระหว่างประเทศ

v) สื่อวงกว้าง

vi) ระบบการสื่อสารระหว่างประเทศ

 

i) การพัฒนาประชาธิปไตย

ii) ทฤษฎีการปกครองโดยเน้นหลักการใช้ผู้เชี่ยวชาญและวิชาเทคนิค(Technocracy)

iii) ระบบมหาวิทยาลัยภูมิภาค

iv) ประชาสังคม

v) สมัยใหม่นิยมModernism

vi) โลกาภิวัฒน์

vii) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

i) จักรวรรดินิยมก้าวหน้าขั้นสูง

- ปัญหาเมืองเอกนคร

ii) กองทัพอธิปไตย (Praetorianism)

iii) ความก้าวหน้าของรัฐตำรวจ (Advanced police state)

- รัฐที่มีระบบอีเลคทรอนิคเตือนภัยฉุกเฉิน(Emerging electronic surveillance state)

iv) ลัทธิอาณานิคมใหม่ (Neo-colonialism)

- ความก้าวหน้าชนกลุ่มน้อย เช่น ของชนพื้นเมือง (Advanced subordination of indigenous peoples)

vi) ลัทธิบริโภคนิยม(Consumerism)

vii) บรรษัทอธิปไตย(Corpor-atocracy)

6) ลัทธิหลังสมัยใหม่- Post-modernism (รวมถึง การล่มสลาย ทฤษฎีวิพากษ์ ลัทธิหลังสตรีนิยม ลัทธิหลังสมัยใหม่นิยม ลัทธิหลังโครงสร้างนิยมสิทธิชนกลุ่มน้อยที่มีอิสระในการปกครองตนเองและอื่นๆ   1900’s - Present)

 

Subtypes:

a) การตัดสินใจทางการเมืองของลัทธิการเมืองระหว่างประเทศ(International politicization of political decision making [Held Disjuncture Type 2]

 

b) International Law [(ความไม่ต่อเนื่อง ชนิดที่1-Held Disjuncture Type 1]

c) เศรษฐกิจโลก (The world Economy )(ความไม่ต่อเนื่อง ชนิดที่5-Held Disjuncture Type 5]

i) องค์การการค้าโลก (World Trade Organization)

- ความล้มเหลวของการเจรจารอบโดฮา (Failure of Doha Development Round-2001-2015)

ii) วิกฤติการเงิน ปี 2540

iii) องค์การสหประชาชาติ (สนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน-Human Rights Treaties)

- รายงานข้อตกลงสากลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิทธิทางวัฒนธรรม ปี 2558 (International Covenant on Economic, Social, and Cultural Rights Report)

iv) สหภาพยุโรป(European Union)

- บัตรเหลืองสำหรับผิดกฎหมาย ไม่มีรายงาน และไม่ปฏิบัติตามกฎการหาปลา  2558 (Yellow Card on Illegal, Unreported and Unregulated Fishing 2015)

v) ภาวะโลกร้อน (Global warming-2014[14]-Present)

i)อินเตอร์เน็ต

ii) สื่อสังคมออนไลน์(Social media)

i) พุทธแบบก้าวหน้า(Progressive Buddhism)

ii) ลัทธิสากลนิยม(Inter-nationalism)

iii) การเคลื่อนไหวขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGO movement)

iv) สังคมนิยมประชาธิปไตย (Democratic socialism) (‘ประชานิยม-populism’)

v) สิทธิมนุษยชนสากล (Universal human rights)

 

i) จักรวรรดินิยมผสมก้าวหน้า (Highly advanced quasi-imperialism)

ii) กองทัพอธิปไตยก้าวหน้า (Advanced praetorianism)[15]

iii) รัฐตำรวจก้าวหน้า (Advanced police state)

- รัฐระบบเตือนภัยอีเลคทรอนิค (Electronic surveillance state)[16]

iv) ลัทธิอาณานิคมใหม่(Neo-colonialism)

-ลัทธิเหยียดผิว-Racism / กีดกัน-Discrimination

- การค้ามนุษย์/ทาสHuman trafficking / Slavery

v) สงครามสี (Color wars (สังคมแบ่งขั้ว-polarisation of society)

vi) นักชาตินิยมเผด็จการเบ็ดเสร็จแห่งสหัสวรรษ (Millenarian hyper-nationalist totalitarianism (Ur-fascism)

 

หลังการปฏิสัมพันธ์อธิปไตยทางวัฒนธรรมของไทยในการเปลี่ยนผ่านที่สมดุล

(Post-Contact Thai Sovereign Entity Culture in Transitional Disequilibrium)

(ลัทธิจักรวรรษนิยมผสม (Quasi-Imperialistic),[17] ระบบราชการที่ฉ้อฉล? (Hyper-Bureaucratized), ลัทธิชาตินิยมรัฐชาติกองทัพอธิปไตยก้าวหน้า Hyper-Nationalistic Nation State with Advanced Praetorianism, รัฐตำรวจก้าวหน้า (Advanced Police State), เศรษฐกิจอาณานิคมใหม่ (Neo-Colonial Economy)

[หัวข้อย่อย: รัฐพุทธนิกายเถรวาทบริสุทธิ์สมัยใหม่ [Modern Theravadan Buddhist Ritual Purification State])

ทฤษฎีนี้เจตนาละเว้นการกล่าวโทษคนที่อยู่ในโครงสร้างปัญหา เพราะในขณะที่ทฤษฎีได้อธิบายถึงสาเหตุของปัญหาแต่มันจะไม่กล่าวโทษใครในระดับปัจเจก ไม่ว่าจะเป็นนักปฏิบัติการทางสังคมและนักการเมือง หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ในสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ตัวกลางดังกล่าวก็ยังเป็นที่รับรู้ว่าเป็นหนึ่งในปัญหาซึ่งมาจากภายนอกและนอกบริบทความเข้าใจของคนในสังคม ยกตัวอย่างเช่น มันควรจะได้รับการยอมรับว่าภารกิจการสร้างความทันสมัยของฝรั่งเศส (French Civilizing Mission) เป็นภารกิจที่ถูกสร้างขึ้นอย่างชัดเจนจากทฤษฎีของการแข่งขันที่อ่อนด้อยกว่าและโชคไม่ดีที่แนวคิดนี้ ได้ถูกนำมาใช้อย่างง่ายดาย ซึ่งผมเรียกมันว่า “รูปแบบการควบคุม” ซึ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ[18], เพื่อใช้บังคับควบคุมคนในประเทศ และเรียกได้ว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับประเทศไทย เป็นที่รับรู้และจดจำว่าทั้งฮิตเลอร์และมุสโสลินีเข้าสู่อำนาจโดยวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมายและในขณะนั้นสยามเองก็ได้รับเอาระบอบเผด็จการฟาสซิสต์มาใช้ ก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฮิตเลอร์สามารถที่จะพบกับนักการทูตจากตะวันตกได้โดยง่ายดายและมองว่าเป็นเรื่องธรรมดา นอกจากนี้การรับเอารูปแบบตำรวจและการควบคุมโดยรัฐมาใช้ในสังคมไทยมองว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นในช่วงสงครามเย็น ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอธิปไตยทางวัฒนธรรมของไทยที่รับหน้าที่ตอบสนองต่อผลกระทบจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศ เช่น ในความสัมพันธ์แบบพี่น้องกับสหรัฐอเมริกา ในข้อ 6 ภาวะหลังสมัยใหม่เป็นที่ยอมรับในทั้งสองด้าน ทั้งในด้านการพัฒนาและการทำให้ “ยุ่งยาก” ในหลายประเด็น[19] และด้านคำอธิบายเกี่ยวกับผลกระทบจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศก็ไม่ได้ให้ไว้อย่างชัดเจนในตารางเบื้องต้น

บทสรุป คือ การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบที่สุดโต่ง อาจให้ทางออกของการปฏิสัมพันธ์กับการปฏิสัมพันธ์กับจิตวิญญาณภายใต้เปลือกนอกแบบต่างๆ ผ่านแนวคิดต่างๆ เช่น แนวคิดสังคมประชาธิปไตย ซึ่งในขณะที่ประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปถึงจุดเริ่มต้นของทฤษฎีสังคมที่ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทยในขณะนั้น อย่างไรก็ตาม การสร้างทางออกของการปฏิสัมพันธ์คนส่วนใหญ่จะต้องมีการรับรู้ถึงการปรากฏของการปฏิสัมพันธ์กับจิตวิญญาณภายใต้เปลือก และจะต้องมุ่งมั่นที่จะหาทางออกผ่านการใช้เทคนิคต่างๆ (เช่น สมมติฐานด้านการปฏิสัมพันธ์ – Contact Hypothesis) ที่สอดคล้องกับหลักสังคมศาสตร์ ตัวอย่างเช่น สันติและความขัดแย้งศึกษา รวมถึง irenology การแก้ปัญหาความขัดแย้งในสถานการณ์จริงและทันเวลา

ในที่สุด หนึ่งในปัญหาหลักในการลดผลกระทบของการปฏิสัมพันธ์ฯ นี้ อาจจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น การบูรณาการระบบยุติธรรม (การพิจารณาโดยคณะลูกขุน ซึ่งยังไม่เคยมีในระบบการพิจารณาคดีในวัฒนธรรมไทย) และ “รัฐตำรวจ” มีปฏิสัมพันธ์กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (Royal Thai Police-RTP) หมายถึง มีความผิดปกติเกิดขึ้นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยกตัวอย่างเช่น กรณีการตรวจสอบการค้ามนุษย์ พยานที่คาดว่าจะใช้เวลาห้าปีที่ผ่านมาก่อนที่คดีจะถูกทำนำมาเป็นประเด็นของการเป็นทาส ให้มีการรับรู้ร่วมกันในเรื่องผลกระทบของการปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศ (น่าจะเป็นการใกล้เคียงกับกรณีนี้) เหตุการณ์นี้นำเสนอคำถามง่ายๆ เกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร เพื่อเพิ่มจำนวนของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการเข้ากับการฝึกอบรมในความเป็นมืออาชีพร่วมกับองค์กรตำรวจจากต่างประเทศเช่น หน่วยงานเอฟบีไอของสหรัฐอเมริกา

ในกรณีเช่นนี้ อธิปไตยทางวัฒนธรรม (ประเทศไทย) อาจต้องการที่จะใช้นวัตกรรม เช่น การนำวิธีการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุนมาใช้กับการพิจารณาคดีที่ไม่มีความซับซ้อนก่อน การพิจารณาโดยคณะลูกขุนนั้นมีอยู่ในหลายรูปแบบ รวมทั้งในการรวมกันของผู้พิพากษามืออาชีพ ผู้พิพากษาสมทบ และคณะลูกขุน หากระบบคณะลูกขุนได้นำมาทดลองในประเทศไทย เป็นตัวแทนทางสถิติบนพื้นฐานของหลักการให้ประชาชนกำหนดอนาคตตนเอง และมีความเป็นอิสระ หมายถึงผู้พิพากษาสมทบและคณะลูกขุนในกรณีดังกล่าว ควรจะมีสัดส่วนตัวแทนโดยผู้มีส่วนได้เสียได้จากผลกระทบดังกล่าว[20] ในกรณีนี้ คณะลูกขุนอาจจะเลือกจากชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ลี้ภัยชาวพม่าที่ไม่ใช่เหยื่อการค้ามนุษย์ และคนเชื้อสายพม่าสัญชาติไทย รวมถึงการเชิญผู้พิพากษารับเชิญจากพม่าและมาเลเซียมาร่วมพิจารณา (แม้ว่าจะไม่ได้เป็นประธาน) เพื่อให้มุมมองด้านผลกระทบข้ามพรมแดน การพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุนมีให้เห็นในหลายๆ วัฒนธรรม เพราะเป็นประเด็นพื้นฐานในแง่ของการปลูกฝังสำนึกความเป็นพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม ในสังคมที่ใช้ระบบอุปถัมภ์สูง เช่น ประเทศไทย การพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุนจะต้องมีระบบการป้องกันอย่างเข้มงวดให้แก่คณะลูกขุนเช่นเดียวกับการคุ้มครองพยาน ยังคงความร่วมมือในการทดลองต่างๆ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอธิปไตยทางวัฒนธรรม โดยการสร้างนวัตกรรมในตัวเองและเปิดโอกาสให้กลุ่มอื่นๆ จากต่างวัฒนธรรม (เช่น คนจากต่างวัฒนธรรมที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย) ให้ได้มีส่วนร่วมในความพยายามดังกล่าว หลังจากนั้น สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นกรณีพิเศษ

ปัจฉิมลิขิต

1) ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ หมายถึง การถูกมองในมุมการเกิดบูรณาการกับ และอาจจะเป็นส่วนขยายของ ศูนย์นโยบายนโยบายการเฉพาะกิจด้านความไม่แน่นอนทางการเมืองสากล ของ PITF เฟส V รูปแบบการวิเคราะห์ระบบสังคม เวอร์ชั่นเผยแพร่สู่สาธารณะจากเว็บไซท์ศูนย์สำหรับระบบสันติภาพ ดูได้ที่นี่ คำอธิบายดูได้จากรูปภาพข้างล่างนี้:

รูปที่ 1: รูปแบบประยุกต์ของระบบสังคมสมัยใหม่ที่ซับซ้อน

 

ในสาระสำคัญ โมเดลนี้ให้ภาพรวมของ “ระบบปฏิบัติการ” ของอธิปไตยทางวัฒนธรรม (ความไม่แน่นอนของสังคมการเมืองและโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือ - Transient Socio-Political and Economic Structure’ or TSPES) เวอร์ชั่นที่แตกต่างกันซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับผลกระทบสะสมของปัญหาจากนอกระบบ เหตุการณ์ที่มากเกินความจำเป็น การถ่ายโอนเทคโนโลยี การโอนวัฒนธรรม และผลกระทบจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศ เช่นเดียวกับการพัฒนาอธิปไตยชนพื้นเมือง (ISECDs) เช่น ความสัมพันธ์ไทพี่น้อง (พี่ชาย น้องชาย) กับวัฒนธรรมฝ่ายเยือนอย่างเช่นสหรัฐ ผลกระทบจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศ ซึ่งผลกระทบจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศเป็นผลมาจากทั้งระบบปฏิบัติการของอธิปไตยทางวัฒนธรรมและเป็นที่ประจักษ์ถึงความซับซ้อนในวิธีการที่ปัจเจกบุคคลและกลุ่มต่างๆ ปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยภายนอก  อธิบายให้เห็นรูปธรรม การวิเคราะห์ และการแสดงออกเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผลกระทบสะสมของปัญหาจากนอกบริบท และผลกระทบจากการปฏิสัมพันธ์ฯ ให้แม่นยำ ชัดเจน และทำให้ผู้คนได้เข้าใจกันอย่างกว้างขวาง จะช่วยให้พวกเขามีอิสระในการกำหนดอนาคตของตนเองและการเลือกตัวแทน ในด้านองค์ประกอบเชิงรูปธรรมของอธิปไตยทางวัฒนธรรม เป็นเรื่องของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ รวมทั้ง แม่น้ำ ภูเขา และเมือง ซึ่งสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงได้ เช่น การชลประทาน การทำเหมืองแร่ และการขยายตัวของเมือง

2) ผมตระหนักดีว่าผมเองมาจากวัฒนธรรมอื่น แต่ผมได้รับเอาหลักการวัฒนธรรมไทยผ่านการแต่งงานกับหญิงไทย-ลาว และมีลูกที่มีเชื้อสายไทย-ลาว-อังกฤษด้วยกันสามคน เช่นเดียวกับการรับเอาหลักการทางพระพุทธศาสนาแบบก้าวหน้ามาเป็นแนวทางหรือปรัชญาในการดำรงชีวิต นอกจากนี้ความคิดของคานท์ “กฎหมายสากล” (Cosmopolitan Laws)-(การต้อนรับระบบสากล ประชาธิปไตยของอธิปไตยทางวัฒนธรรมในบริบทของสถานการณ์การปฏิสัมพันธ์ฯ) ควรใช้เป็นหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยและชาวต่างชาติใด ๆ ที่แสดงความคิดเห็นในพื้นที่สาธารณะในประเทศไทย (ตาม Jürgen Habermas) ไม่ว่าจะเป็น ในภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย

3) ในฐานะที่ผมมาจากอื่น อาจจะมีคนถามว่าผม “เสียใจ” กับผลของการปฏิสัมพันธ์ฯจากปัญหานอกบริบทฯที่นำมาโดยการปฏิสัมพันธ์กับจักรวรรดินิยมอังกฤษหรือไม่ อย่างที่ผมได้กล่าวไว้เบื้องต้น ไม่มีการกล่าวโทษใครเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์กับต่างประเทศทั้งนั้น เพราะว่าในขณะนั้น ไทยไม่ได้มีกำแพงที่แข็งแกร่งในการป้องกันตนเองจากการแทรกแซงจากภายนอกที่มีความแข็งแกร่งทั้งทางเศรษฐกิจและทางการทหาร เช่น ไม่มีคำสั่งจากเบื้องบน แม้ว่าจักรวรรดินิยมใหม่สหรัฐอเมริกาจะนำเสนอปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอเมริกันที่พิเศษเหนือกว่าชาติอื่น ในขณะที่ฝ่ายหลังสมัยพูดถึงความซับซ้อนของปัญหา แต่อย่างไรก็ตาม ก็เป็นไปได้สำหรับวัฒนธรรมฝ่ายเยือนที่เป็นรัฐ-ชาติต้องมีการแสดงความเสียใจอย่างเป็นทางการต่ออธิปไตยทางวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น ในกรณีของการสังหารหมู่ทาส หรือการล่าอาณานิคม และกรณีเยอรมนีได้แสดงคำขอโทษอย่างเป็นทางการต่อกรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่กระบวนการนี้ก็มีความซับซ้อนมากเช่น ในกรณีของญี่ปุ่นและสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยส่วนตัว ผมจะแสดงความเสียใจในแง่ของการมีความเห็นอกเห็นใจและความเมตตาต่อคนไทยที่ต้องเผชิญกับผลกระทบของการปฏิสัมพันธ์ ที่มาจากกลุ่มสันติอังกฤษ (Pax Brittanica) ดังนั้น ผมจึงอยากจะใช้โอกาสนี้ในการกล่าวขอโทษและแสดงความเสียใจกับจักรวรรดินิยมสยาม สำหรับความรุนแรงที่มากขึ้นเกี่ยวกับปัญหาในเมืองหลัก ภาพของระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยชนชั้นนำ และระบบราชการที่แข็งกร้าว

4) ผมจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากมีการเสนอแนะหรือแสดงความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นในทางวิชาการหรือแบบอื่นๆ เกี่ยวกับเรื่องการทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นี้ กรุณาติดต่อผมได้ที่ johndr@kku.ac.th



[1] ตัวอย่างเช่น the US Office of the Director of National Intelligence’s Intelligence Advanced Research Projects Activity (IARPA) Aggregate Contingent Estimation Programme (ACE) บวกกับคอมพิวเตอร์โปรแกรม Soft Artificial Intelligence ร่วมกับมนุษย์ “พยากรณ์” เพื่อทำนายเหตุการณ์ในอนาคต และมันฟังดูเหมือนนิยายวิทยาศาสตร์ แสดงว่าคุณอาจจะเดาถูก – Isaac Asimov’s Foundation ซีรี่ ที่ได้รับความนิยม psychohistory ที่เป็นความสามารถในการใช้หลักคณิตศาสตร์ทำนายการเคลื่อนไหวทางสังคม ในกรณีที่มีการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่

[2] แต่น่าเสียดายที่วัฒนธรรมแอฟริกันถูกเอาทำลายเพื่อให้เป็นทาส โดยพวกตะวันตก เพราะพวกเขาถูกมองว่าเป็นชนชาติที่ไร้ 'อารยะ' เมื่อใช้มาตรฐานอารยะแบบตะวันตกที่วัดโดยตึกรามบ้านช่องใหญ่โต ถึงแม้ว่าชนเผ่า Aztecs และ Mayansที่เรา เห็นได้ชัดว่ามีความสามารถในการก่อสร้าง และที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมแอฟริกัน ที่พวกตะวันตกไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย

[3] ผมกำลังจงใจยืมภาษาจากนวนิยายแนววิทยาศาสตร์ในซีรี่ชุดวัฒนธรรมของ Iain M. Banks มาใช้ นโยบายต่างประเทศเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ได้รับการกล่าวถึงในงานเขียน เช่น Brown, C (2001) 'สถานการณ์พิเศษ: การแทรกแซงโดยเสรีนิยมยูโทเปียแห่งสหัสวรรษ - Millennium – Journal of International Studies, 30 (3): 625–626

[4] ตามงานของ Streckfuss, D.  (2011). Truth on trial on Thailand. New York: Routledge, pp. 77-80.

[5] ตามงานของ Held, D. (1995). Democracy and the global order: From the modern state to cosmopolitan governance. Stanford, CA: Stabford University Press, pp.99-140.

[6] ดู Jackson, P.A. (2004). The Thai regime of images. Sojourn: Journal of Social Issues in Southeast Asia, 19, 181-218.

[7] ซึ่งหมายความว่าความเชื่อที่ว่าบางคะแนนเสียงของประชาชนบางส่วนมีมูลค่ามากกว่าคะแนนโหวตของประชาชนกลุ่มอื่น ๆ และสามารถตรวจสอบกลับไปปรัชญาของ JS Mill.

[8] ใน French, the Mission Civilisatrice.

[9] ดู ตัวอย่าง Winichakul, T. (2000). The quest for 'Siwilai': A geographical discourse of Civilizational Thinking in the late 19th and early 20th century Siam. Journal of Asian Studies, 59(3).

[10] ดู ตัวอย่าง, Winichakul, T. Siam (2015). Mapped: A History of the Geo-body of a Nation. Hawai’i:  University of Hawaii Press.

[11] ดู ตัวอย่าง the discussions of Nai Khong and Nai Man in Strate, S. (2015). The lost territories: Thailand’s history of national humiliation. Hawai’i: University of Hawai’i Press.

[12] มันเป็นจักรวรรษนิยมทั้งในแง่ของการแสดงออกภายใต้อธิปไตย และวิธีการในการบริหารจัดการผู้คน ซึ่งอาจะจะเรียกว่า อำนาจนำของวัฒนธรรมไทยด้วยก็ได้ ตามทฤษฎีของแอนโตนีโอ แกรมชี่ (Gramsci)

[13] รัฐไทย หมายถึง (ประมาณ) ปี 1958-1988 เมื่อการเสี่ยงใน “มหาเกมส์” ของสงครามเย็น เป็นเหมือน “ช่วงเวลาที่ไม่ปกติ” ที่ภาษาของระบบท้องถิ่นที่จะอธิบาย ปัญหานอกบริบท และองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง (ด้วยตัวความหมาย) กับเหตุการณ์ฉุกเฉินภายในรัฐ ทฤษฎีช่วงเวลาที่ไม่ปกติในอธิปไตยทางวัฒนธรรมของไทย หมายถึง มาตรา 36 ของกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับองค์กรศาลทหาร เช่น “เมื่อมีการต่อสู้ หรือในช่วงเวลาที่มีการประกาศกฎอัยการศึก” และมันก็ค่อนข้างจะก้าวหน้า ดูเพิ่มเติมได้ที่ Streckfuss, D. (2011). Truth on trial on Thailand. New York: Routledge.

[14] วันที่ในที่นี้อ้างถึงในรายงานครั้งที่ 5 ของ IPCC Report.

[15] ดูตัวอย่าง Montesano, M. (2015). Praetorianism and “the People” in Late-Bhumibol Thailand. Singapore: Seatide. Available from: http://www.seatide.eu/download.php?filename=SEATIDE%20Online%20paper%2010.%20Praetorianism%20and%20%20the%20People%20%20in%20Late-Bhumibol%20Thailand_Micheal%20J.%20Montesano.pdf

[16] ดูเพิ่มเติม Laungaramsri, P. (2015a) Mass surveillance and the militarization of cyber space in post-coup Thailand. Paper prepared for conference on “Human Rights and Every Day Governance”, Harvard University, 6 March and (2015b) Surveillance by the masses and the rise of the right wing movement in Thailand. Paper prepared for “Thailand Update Conference”, Columbia University, 1 May.

[17] “จินตนาการจักรวรรษนิยม” ไทย อ้างถึงใน Denes, A. (2006). Recovering Khmer ethnic identity from the Thai national past: An ethnography of the localism movement in Surin Province. PhD dissertation, Cornell University.

[18] นี่เป็นความตั้งใจที่จะอ้งถึงหนัง the Star Trek episode Patterns of Force - https://en.wikipedia.org/wiki/Patterns_of_Force_%28Star_Trek:_The_Original_Series%29

[19] For Wicked Problem and Social Mess theory, see https://en.wikipedia.org/wiki/Wicked_problem#Social_mess

[20] ดูเพิ่มเติม Held, D. (1995). Democracy and the global order: From the modern state to cosmopolitan governance. Stanford, CA: Stabford University Press, p.206.

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท