Skip to main content
sharethis

สปช. มีมติ 'ไม่เห็นชอบ' ร่างรัฐธรรมนูญ เห็นชอบ 105 เสียง ไม่เห็นชอบ 135 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง

6 ก.ย. 2558 เวลาประมาณ 11.00 น. นายเทียนฉาย กีระนันท์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้ประกาศผลการลงมติเห็นชอบไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ผลปรากฎว่า สปช. มีมติ 'ไม่เห็นชอบ' ร่างรัฐธรรมนูญ โดย สปช. ออกเสียง เห็นชอบ 105 เสียง ไม่เห็นชอบ 135 เสียง งดออกเสียง 7 เสียง จากนั้นนายเทียนฉายได้ปิดประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ 

ทั้งนี้ สปช. ถือว่าได้สิ้นสุดการทำหน้าที่ โดยนายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไม่เกิน 200 คน โดยตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว อ้างว่าทำหน้าที่สานต่อการปฏิรูป รวมทั้ง คสช. จะต้องแต่งตั้ง “คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ” ชุดใหม่ ประกอบด้วยประธาน 1 คน และกรรมการไม่เกิน 20 คน คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่นี้จะต้องร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีกรอบเวลา 180 วัน

การลงมติของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
 
๑. นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด – ไม่เห็นชอบ 
๒. นายกาศพล แก้วประพาฬ – ไม่เห็นชอบ 
๓. นายกิตติ โกสินสกุล – ไม่เห็นชอบ
๔. นางกัญญ์ฐญาณ์ ภู่สวาสดิ์ – เห็นชอบ
๕. นายกงกฤช หิรัญกิจ – เห็นชอบ
๖. นายกมล รอดคล้าย – ไม่เห็นชอบ 
๗. นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล – ไม่เห็นชอบ 
๘. นางกอบแก้ว จันทร์ดี – ไม่เห็นชอบ 
๙. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล – เห็นชอบ 
๑๐. นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ – เห็นชอบ 
๑๑. นายกิตติภณ ทุ่งกลาง – ไม่เห็นชอบ 
๑๒. นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๓. นางกูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี – (ไม่ขาน) (งดออกเสียง)
๑๔. นายเกริกไกร จีระแพทย์ – เห็นชอบ 
๑๕. นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง – ไม่เห็นชอบ 
๑๖. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส – ไม่เห็นชอบ 
๑๗. นายโกเมศ แดงทองดี – ไม่เห็นชอบ 
๑๘. นายโกวิทย์ ทรงคุณ – ไม่เห็นชอบ 
๑๙. นายโกวิท ศรีไพโรจน์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๐. นายไกรราศ แก้วดี – เห็นชอบ 
๒๑. นายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ – เห็นชอบ 
๒๒. นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์ – เห็นชอบ 
๒๓. พลตำรวจตรี ขจร สัยวัตร์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๔. พลอากาศเอก ขวัญชัย เอี่ยมรักษา – ไม่เห็นชอบ 
๒๕. นายเขมทัต สุคนธสิงห์ – เห็นชอบ 
๒๖. นายเข็มชัย ชุติวงศ์ – เห็นชอบ 
๒๗. พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร – ไม่เห็นชอบ 
๒๘. นายคณิศร ขุริรัง – ไม่เห็นชอบ 
๒๙. นายคำนูณ สิทธิสมาน – เห็นชอบ 
๓๐. นายคุรุจิต นาครทรรพ – ไม่เห็นชอบ 
๓๑. นายจรัส สุทธิกุลบุตร – เห็นชอบ 
๓๒. นายจรัส สุวรรณมาลา – เห็นชอบ 
๓๓. พันตำรวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา – ไม่เห็นชอบ 
๓๔. นายจรูญ จึงยิ่งเรืองรุ่ง – ไม่เห็นชอบ 
๓๕. พลเอก จิระ โกมุทพงศ์ – ไม่เห็นชอบ 
๓๖. พลเอก จิรพันธ์ เกษมศานติ์สุข – ไม่เห็นชอบ 
๓๗. พันตำรวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ – ไม่เห็นชอบ 
๓๘. ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ – ไม่เห็นชอบ 
๓๙. นายจีระรัตน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา – เห็นชอบ 
๔๐. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี – เห็นชอบ 
๔๑. นางจุรี วิจิตรวาทการ – เห็นชอบ 
๔๒. นายจิรวัฒน์ เวียงด้าน – ไม่เห็นชอบ 
๔๓. นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์ – ไม่เห็นชอบ 
๔๔. นายจุมพล รอดคำดี – เห็นชอบ 
๔๕. นายจุมพล สุขมั่น – เห็นชอบ
๔๖. นายเจน นำชัยศิริ ไม่เห็น
๔๗. นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ ไม่เห็นชอบ 
๔๘. พลอากาศเอก เจษฎา วิจารณ์ ไม่เห็นชอบ 
๔๙. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง – งดออกเสียง
๕๐. นายจำลอง โพธิ์สุข – ไม่เห็นชอบ 
๕๑. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน – ไม่เห็นชอบ 
๕๒. นายเฉลิมพล ประทีปะวณิช – ไม่เห็นชอบ 
๕๓. นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ – ไม่เห็นชอบ 
๕๔. นางชัชนาถ เทพธรานนท์ – เห็นชอบ 
๕๕. นายชัย ชิดชอบ – ไม่เห็นชอบ 
๕๖. นายชัยพร ทองประเสริฐ – ไม่เห็นชอบ 
๕๗. นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ – ไม่เห็นชอบ 
๕๘. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช – ไม่เห็นชอบ 
๕๙. นายชาลี เจริญสุข – เห็นชอบ 
๖๐. นายชาลี เอียดสกุล – ไม่เห็นชอบ
๖๑. นายชาลี ตั้งจีรวงษ์ – เห็นชอบ 
๖๒. พลเรือเอก ชาญชัย เจริญสุวรรณ – ไม่เห็นชอบ 
๖๓. นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ – เห็นชอบ 
๖๔. นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์ – เห็นชอบ 
๖๕. นายชิตชัย จิวะตุวินันท์ – ไม่เห็นชอบ 
๖๖. นายชูชัย ศุภวงศ์  - เห็นชอบ 
๖๗. นายชูชาติ อินสว่าง – เห็นชอบ 
๖๘. พลเอก ชูศิลป์ คุณาไทย – ไม่เห็นชอบ 
๖๙. นายเชิดชัย วงศ์เสรี – เห็นชอบ 
๗๐. นายเชื้อ ฮั่นจินดา – เห็นชอบ 
๗๑. นายฐิติ วุฑฒิโกวิทย์ – ไม่เห็นชอบ 
๗๒. พลโท ฐิติวัจน์ กำลังเอก – ไม่เห็นชอบ 
๗๓. นางฑิฆัมพร กองสอน – เห็นชอบ 
๗๔. นายณรงค์ พุทธิชีวิน – เห็นชอบ 
๗๕. นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร – เห็นชอบ 
๗๖. นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา – เห็นชอบ
๗๗. นายดิเรก ถึงฝั่ง – ไม่เห็นชอบ 
๗๘. นายดำรงค์ พิเดช – ไม่เห็นชอบ 
๗๙. นายดุสิต เครืองาม – เห็นชอบ 
๘๐. นายดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์ – ไม่เห็นชอบ 
๘๑. พลเอก เดชา ปุญญบาล – ไม่เห็นชอบ 
๘๒. นายเดชฤทธิ์ ปัญจะมูล – ไม่เห็นชอบ 
๘๓. นางตรึงใจ บูรณสมภพ – (เห็นชอบ)
๘๔. นางเตือนใจ สินธุวณิก – ไม่เห็นชอบ 
๘๕. นางถวิลวดี บุรีกุล – เห็นชอบ 
๘๖. นายถาวร เฉิดพันธุ์ – ไม่เห็นชอบ
๘๗. นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ – เห็นชอบ 
๘๘. นายทนงศักดิ์ ทวีทอง – เห็นชอบ 
๘๙. นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ – เห็นชอบ 
๙๐. นางสาวทัศนา บุญทอง – งดออกเสียง
๙๑. นางทิชา ณ นคร(ลาออก)  
๙๒. นายทิวา การกระสัง – ไม่เห็นชอบ 
๙๓. นายเทียนฉาย กีระนันทน์ – งดออกเสียง 
๙๔. นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษ – ไม่เห็นชอบ 
๙๕. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์ – ไม่เห็นชอบ 
๙๖. พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ – ไม่เห็นชอบ
๙๗. นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ – ไม่เห็นชอบ
๙๘. นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ – เห็นชอบ 
๙๙. นายธวัช สุวุฒิกุล – ไม่เห็นชอบ 
๑๐๐. นายธวัชชัย ยงกิตติกุล – เห็นชอบ 
๑๐๑. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร – ไม่เห็นชอบ 
๑๐๒. นายธวัชชัย อุ่ยพานิช – ไม่เห็นชอบ 
๑๐๓. นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ – เห็นชอบ 
๑๐๔. นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ – เห็นชอบ 
๑๐๕. นายธำรง อัศวสุธีรกุล – ไม่เห็นชอบ 
๑๐๖. พลโท นคร สุขประเสริฐ -  เห็นชอบ 
๑๐๗. นางนรีวรรณ จินตกานนท์ – เห็นชอบ 
๑๐๘. นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๐๙. พลโท นาวิน ดำริกาญจน์ – งดออกเสียง 
๑๑๐. นายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด – ไม่เห็นชอบ 
๑๑๑. นายนิคม มากรุ่งแจ้ง – ไม่เห็นชอบ 
๑๑๒. นายนิพนธ์ คำพา – เห็นชอบ 
๑๑๓. นายนิพนธ์ นาคสมภพ – ไม่เห็นชอบ 
๑๑๔. นายนิมิต สิทธิไตรย์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๑๕. นายนิรันดร์ พันทรกิจ – ไม่เห็นชอบ 
๑๑๖. นายนิอาแซ ซีอุเซ็ง – ไม่เห็นชอบ 
๑๑๗. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ – เห็นชอบ 
๑๑๘. นายนำชัย กฤษณาสกุล – ไม่เห็นชอบ 
๑๑๙. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ – เห็นชอบ 
๑๒๐. นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๒๑. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ – เห็นชอบ 
๑๒๒. นายบุญถิ่น มั่นเกษวิทย์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๒๓. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช – ไม่เห็นชอบ 
๑๒๔. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร – เห็นชอบ 
๑๒๕. นายประชา เตรัตน์ – เห็นชอบ 
๑๒๖. นายประทวน สุทธิอำนวยเดช – ไม่เห็นชอบ 
๑๒๗. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ – เห็นชอบ 
๑๒๘. นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด – เห็นชอบ 
๑๒๙. นางประภาภัทร นิยม – เห็นชอบ 
๑๓๐. นางประภาศรี สุฉันทบุตร – ไม่เห็นชอบ 
๑๓๑. นายประมนต์ สุธีวงศ์ – เห็นชอบ 
๑๓๒. นายประสาร มฤคพิทักษ์ – เห็นชอบ 
๑๓๓. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๓๔. พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๓๕. นายประเสริฐ ชิตพงศ์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๓๖. นายประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๓๗. นายปราโมทย์ ไม้กลัด – เห็นชอบ 
๑๓๘. นายปรีชา เถาทอง – เห็นชอบ 
๑๓๙. นายปรีชา บุตรศรี – ไม่เห็นชอบ 
๑๔๐. พลตำรวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ – ไม่เห็นชอบ 
๑๔๑. นายปิยะวัติ บุญ-หลง – เห็นชอบ 
๑๔๒. นายเปรื่อง จันดา – ไม่เห็นชอบ 
๑๔๓. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ – เห็นชอบ 
๑๔๔. นายพงศ์โพยม วาศภูติ – เห็นชอบ 
๑๔๕. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช – เห็นชอบ 
๑๔๖. นายพนา ทองมีอาคม – ไม่เห็นชอบ 
๑๔๗. นายพรชัย มุ่งเจริญพร – ไม่เห็นชอบ 
๑๔๘. นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๔๙. นางพรรณวีรินทร์ รัตนวานิช – ไม่เห็นชอบ 
๑๕๐. นางพรรณี จารุสมบัติ – เห็นชอบ 
๑๕๑. นายพรายพล คุ้มทรัพย์ – เห็นชอบ 
๑๕๒. นายพลเดช ปิ่นประทีป – เห็นชอบ 
๑๕๓. พลเอก พอพล มณีรินทร์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๕๔. พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป – เห็นชอบ 
๑๕๕. นางพันธุ์ทิพย์ สายสุนทร – เห็นชอบ 
๑๕๖. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา – เห็นชอบ 
๑๕๗. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม – เห็นชอบ 
๑๕๘. นายเพิ่มศักดิ์ เชื้อชาติ – ไม่เห็นชอบ 
๑๕๙. นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา – ไม่เห็นชอบ 
๑๖๐. นายไพบูลย์ นิติตะวัน – เห็นชอบ 
๑๖๑. นายไพบูลย์ นลินทรางกูร – เห็นชอบ 
๑๖๒. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น – ไม่เห็นชอบ 
๑๖๓. นาวาอากาศเอก ไพศาล จันทรพิทักษ์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๖๔. นางภัทรียา สุมะโน – ไม่เห็นชอบ 
๑๖๕. พลเอก ภูดิศ ทัตติยโชติ – ไม่เห็นชอบ 
๑๖๖. พลอากาศเอก มนัส รูปขจร – ไม่เห็นชอบ 
๑๖๗. นายมนู เลียวไพโรจน์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๖๘. นายมนูญ ศิริวรรณ – ไม่เห็นชอบ 
๑๖๙. นายมานิจ สุขสมจิตร – เห็นชอบ 
๑๗๐. นายมีชัย วีระไวทยะ – เห็นชอบ 
๑๗๑. พันตำรวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ – ไม่เห็นชอบ 
๑๗๒. พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา – ไม่เห็นชอบ 
๑๗๓. นางสาวรสนา โตสิตระกูล – เห็นชอบ 
๑๗๔. พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช – เห็นชอบ 
๑๗๕. นายวรรณชัย บุญบำรุง – เห็นชอบ 
๑๗๖. พลเอก วรวิทย์ พรรณสมัย – ไม่เห็นชอบ 
๑๗๗. นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา – ไม่เห็นชอบ 
๑๗๘. นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ – เห็นชอบ 
๑๗๙. พลเอก วัฒนา สรรพานิช – ไม่เห็นชอบ 
๑๘๐. นายวันชัย สอนสิริ – ไม่เห็นชอบ 
๑๘๑. นายวัลลภ พริ้งพงษ์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๘๒. นายวิชัย ด่านรุ่งโรจน์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๘๓. พลเอก วิชิต ยาทิพย์ – ไม่เห็นชอบ 
๑๘๔. นายวิทยา กุลสมบูรณ์ – เห็นชอบ 
๑๘๕. นายวินัย ดะห์ลัน – เห็นชอบ 
๑๘๖. นายวิบูลย์ คูหิรัญ – เห็นชอบ 
๑๘๗. นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ – เห็นชอบ 
๑๘๘. นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร – ไม่เห็นชอบ 
๑๘๙. นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร – เห็นชอบ 
๑๙๐. นายวีระศักดิ์ ภูครองหิน – ไม่เห็นชอบ 
๑๙๑. พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ – ไม่เห็นชอบ 
๑๙๒. นายวุฒิสาร ตันไชย – เห็นชอบ 
๑๙๓. นายไวกูณฑ์ ทองอร่าม – ไม่เห็นชอบ  
๑๙๔. นายศานิตย์ นาคสุขศรี – เห็นชอบ 
๑๙๕. นายศักรินทร์ ภูมิรัตน – เห็นชอบ 
๑๙๖. นายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์ (ใบแดง )
๑๙๗. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ – เห็นชอบ 
๑๙๘. นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา – ไม่เห็นชอบ 
๑๙๙. พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก – ไม่เห็นชอบ 
๒๐๐. นายศุภชัย ยาวะประภาษ – เห็นชอบ 
๒๐๑. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๐๒. นายสมเกียรติ ชอบผล – ไม่เห็นชอบ 
๒๐๓. นายสมเดช นิลพันธุ์ - ไม่เห็นชอบ 
๒๐๔. นายสมชัย ฤชุพันธ์ – เห็นชอบ 
๒๐๕. นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๐๖. นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา – เห็นชอบ 
๒๐๗. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ – ไม่เห็นชอบ 
๒๐๘. นายสยุมพร ลิ่มไทย – ไม่เห็นชอบ 
๒๐๙. นายสรณะ เทพเนาว์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๑๐. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ – เห็นชอบ 
๒๑๑. นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ – เห็นชอบ 
๒๑๒. นางสาวสารี อ๋องสมหวัง – เห็นชอบ 
๒๑๓. นายสิระ เจนจาคะ – เห็นชอบ 
๒๑๔. พันเอก สิรวิชญ์ นาคทอง – ไม่เห็นชอบ 
๒๑๕. นางสีลาภรณ์ บัวสาย – เห็นชอบ 
๒๑๖. นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ – ไม่เห็นชอบ 
๒๑๗. นางสุกัญญา สุดบรรทัด – เห็นชอบ 
๒๑๘. นายสุชาติ นวกวงษ์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๑๙. นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง – เห็นชอบ 
๒๒๐. นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม – เห็นชอบ 
๒๒๑. นายสุพร สุวรรณโชติ – ไม่เห็นชอบ 
๒๒๒. นางสาวสุภัทรา นาคะผิว – เห็นชอบ 
๒๒๓. พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๒๔. นายสุวัช สิงหพันธุ์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๒๕. นายสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ – เห็นชอบ 
๒๒๖. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ (ลาออก)
๒๒๗. นายเสรี สุวรรณภานนท์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๒๘. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ – เห็นชอบ 
๒๒๙. นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๓๐. นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ – ไม่เห็นชอบ 
๒๓๑. นายอนันตชัย คุณานันทกุล – ไม่เห็นชอบ 
๒๓๒. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล – เห็นชอบ 
๒๓๓. พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ – ไม่เห็นชอบ 
๒๓๔. นายอมร วาณิชวิวัฒน์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๓๕. นายอมรวิชช์ นาครทรรพ  - เห็นชอบ
๒๓๖. นางสาวอรพินท์ สพโชคชัย – เห็นชอบ 
๒๓๗. นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ – ไม่เห็นชอบ
๒๓๘. นายอลงกรณ์ พลบุตร – เห็นชอบ 
๒๓๙. นางสาวอ่อนอุษา ลำเลียงพล – เห็นชอบ 
๒๔๐. นางอัญชลี ชวนิชย์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๔๑. พลตำรวจโท อาจิณ โชติวงศ์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๔๒. พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย – ไม่เห็นชอบ 
๒๔๓. นายอำพล จินดาวัฒนะ – งดออกเสียง 
๒๔๔. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง – ไม่เห็นชอบ 
๒๔๕. นายอุดม ทุมโฆสิต – เห็นชอบ 
๒๔๖. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ – ไม่เห็นชอบ 
๒๔๗. นางอุบล หลิมสกุล – เห็นชอบ 
๒๔๘. พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ – งดออกเสียง 
๒๔๙. นายเอกราช ช่างเหลา – ไม่เห็นชอบ 
๒๕๐. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ – เห็นชอบ 
 
"คำนูณ" เผยเดาผลต่อประเทศไม่ออกหลัง สปช.คว่ำร่าง รธน.
 
มติชนออนไลน์รายงานว่านายคำนูณ สิทธิสมาน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยหลังการประกาศผลลงมติของสภาปฎิรูปแห่งชาติที่ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญว่า ไม่ทราบว่าจะส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทย หลังจากนี้จะมีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ 21 คนภายใน 30 วัน ทำการยกร่างภายใน 180 วัน และจะเข้าสู่ประชามติ 
 
เมื่อถามว่าหากมีการเสนอชื่อคกก.ครั้งต่อไป มองว่า คงไม่มีชื่อตัวเอง คกก.ยกร่างทั้ง 36 คน ได้ทำงานดีที่สุดแล้ว และยังไม่ผ่านโดยมารยาทน่าจะเป็นชุดใหม่ ให้มีความคิดใหม่ๆ
 
"ในฐานะอาสาทำงาน คกก.ยกร่างเกือบ 10 เดือนก็ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ถ้าหากยังไม่ดีพอในมุมสปช. แต่ก็มีเสียงเห็นชอบ 105 เสียงก็เป็นไปตามกติกา ผลงานของเรา 10 เดือนก็จบไป บ้านเมืองก็เดินหน้าต่อไป พี่น้องประชาชนก็คอยติดตามข่าวสารต่อไป" นายคำนูณ กล่าว
 
ด้านนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติคนที่ 1 เปิดเผยว่า อำนาจหลังจากนี้เป็นภารกิจของนายกรัฐมนตรีที่ต้องแต่งตั้งคกก.ใหม่ 21 คน และต้องตั้งสภาขับเคลื่อนปฏิรูป  ส่วนสภาขับเคลื่อนต้องทำตามรายงานเสนอให้เป็นรูปธรรมขึ้นมา 
 
เมื่อถามว่ามองว่าผลการลงมติจะส่งผลอย่างไรต่อสถานการณ์การเมือง นายสุรชัย กล่าวว่า คงไม่มีผลกระทบรุนแรงเนื่องจากเป็นกลไกที่กำหนดในรธน.ชั่วคราวที่ให้สปช. เป็นคนตัดสินใจ เมื่อไม่ผ่านก็ต้องทำงานกันต่อไป ในส่วนสนช.ต้องมีหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติก็ทำหน้าที่ไป ส่วนองค์กรใหม่อีก 2 องค์กรก็มีภารกิจตามรธน. ต้องฝากองค์กรใหม่ พิจารณาร่างรธน.ที่มี ดูจุดดี-จุดด้อยนำมาปรับต่อ เชื่อว่าจะเดินได้ต่อไป 
 
"บวรศักดิ์" แถลง เสียดายรธน.ถูกคว่ำ ปฏิรูปดีๆหายไป ยันไม่กลับมาเป็นคนร่างอีก
 
เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานว่านายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญแถลงภายหลัง สปช.ลงมติว่า ขอบคุณ พล.ร.อ.พระจุลย์ ตามประทีป พล.อ.เลิศรัตน์รัตนวานิช  พล.ท.นคร สุดประเสริฐสามนายทหารใหญ่ให้ความเห็นอบกับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งการทำงานทั้งหมดเป็นเรื่องการทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยความตั้งใจจริงใจ โดยเอาปัญหาบ้านเมืองเป็นตัวตั้งไม่ได้เอาปัญหาของตัวเราเองเป็นตัวตั้ง เอาประโยชน์ของประเทศเป็นตัวตั้งตามคำปฏิญาณต่อพระแก้วและพระสยามเทวาธิราช และมีความภูมิใจ ต่อไปทำหน้าที่ประชาชนคนไทย ไม่ใช่ในฐานะประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ
 
“ยืนยันผมจะไม่มีร่างรัฐธรรมนูญอีกต่อไปเสียดายที่สิ่งที่เขียนไว้ให้ประชาชนพลเมืองเป็นใหญ่ให้ความสำคัญชุมชน ผู้หญิงคนยากไร้ผู้ด้อยโอกาสก็หมดไป เสียดายเรื่องการปฏิรูปดีๆ ที่จะบัญญัติในรัฐธรรมนูญและพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปก็ไม่ได้บัญญัติไว้ สิ่งเหล่านี้จะถึงประชาชนโยตรงแต่ว่าน่าเห็นใจประชาชนไม่มีเสียงเสียงที่ดังอยู่ในสื่อเป็นเสียงที่ดังของนักการเมืองทั้งสิ้นในฐานะประชาชนติดตามเขาจะคิดถึงประชาชนขนาดไหน เป็นใหญ่ไหม ปฏิรูปเกิดขึ้นจริงหรือไม่ต้องจับตามอง”นายบวรศักดิ์ กล่าว
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า สปช.ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ เป็นเพราะมีการล็อบบี้กันอย่างหนักนายบวรศักดิ์ ตอบกลับว่า "คุณพูดเองนะ ผมไม่ขอพูด เรื่องมันผ่านไปแล้วก็ผ่านไปแล้ว” 
 
เมื่อถามว่าที่ระบุชื่อนายทหารสามคนที่รับร่างรัฐธรรมนูญที่รับร่างรัฐธรรมนูญนายบวรศักดิ์ กล่าวว่า “ก็ต้องขอบคุณพล.อ.สองคน พล.ร.อ.หนึ่งคนที่เห็นชอบท่านผู้อื่นท่านก็ต้องฟังผู้ใหญ่ของท่านก็เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติเข้าใจกันกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญคนหนึ่งยังงดออกเสียงเลยไม่เห็นเหรอ พล.อ.หมาดๆท่านต้องอยู่ในราชการต่อไป ท่านก็ต้องเป็นอย่างนั้น เป็นที่เข้าใจได้และต้องเห็นใจท่าน” เมื่อถามว่า แสดงว่ามีผู้ใหญ่กำกับมาลงมติ นายบวรศักดิ์กล่าวว่า “พูดเองสิ พวกคุณพูดเอง ผมไม่ได้พูดนะ”
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการเห็นชอบของ สปช. มีการตั้งข้อสังเกตจากกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ บางรายว่า การลงมติครั้งนี้มีนายทหาร 3 นายเท่านั้นที่เห็นชอบ คือ พล.ร.อ.พระจุลย์ ตามประทีป พล.อ.เลิศรัตน์รัตนวานิช  พล.ท.นคร สุดประเสริฐขณะที่นายทหารอีกประมาณ 30 คน และข้าราชการที่ยังอยู่ในราชการทุกคนต่างลงมติไม่เห็นชอบทั้งสิ้น
 
คณบดีเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต วิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยหลัง สปช. ไม่รับร่าง รธน.

ด้าน ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตได้เปิดเผยถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยหลังความชัดเจนเรื่องรัฐธรรมนูญและการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยและผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นชุดใหม่วงเงิน 1.3 แสนล้านบาทว่าโดยภาพรวมแล้วปัจจัยภายในน่าจะเป็นบวกต่อภาคบริโภค การลงทุน การท่องเที่ยวและการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุปสงค์ภายในมากขึ้น ความเชื่อมั่นดีขึ้น การที่สภาปฏิรูปแห่งชาติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญด้วยคะแนนเสียง 135 ต่อ 105 สะท้อนหลักการประชาธิปไตยได้หยั่งรากลึกในสังคมไทยพอสมควร เนื้อหาใด ๆ ก็ตามที่ไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยและยอมรับอำนาจการเลือกตั้งของประชาชนย่อมยากที่จะฝืนกระแสธารประชาธิปไตยได้ขณะเดียวกันการแก้ปัญหาและการจัดการรักษาความปลอดภัยหลังการก่อความรุนแรงสี่แยกราชประสงค์ทำให้ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวมีจำกัดและรายได้จากการท่องเที่ยวน่าจะกลับสู่ภาวะปกติได้ส่งผลบวกทางเศรษฐกิจ

ดร. อนุสรณ์ ได้กล่าวเพิ่มเติม ในฐานะรองประธานมูลนิธิปรีดี พนมยงค์และประธานมูลนิธิวีรชนประชาธิปไตยว่าการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญทำให้การเมืองไทยไม่ต้องไปเสี่ยงกับการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุนรัฐธรรมนูญและฝ่ายคัดค้านรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นร่างที่มีเนื้อหาหลายประเด็นที่อ่อนไหวและไม่เป็นประชาธิปไตย สิ่งนี้เป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจระยะสั้น การออกแบบให้รัฐบาลหลังการเลือกตั้งเข้มแข็งและมีที่มาเป็นประชาธิปไตยจะส่งผลดีทางเศรษฐกิจในระยะยาวปัจจัยบวกเรื่องรัฐธรรมนูญต่อเศรษฐกิจและการลงทุนไทยจะยังคงดำเนินต่อไปหากคณะร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่แก้ไขเนื้อหาที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับรัฐธรรมนูญ จะช่วยลดความขัดแย้งและการเผชิญหน้า เนื้อหารัฐธรรมนูญที่จะร่างกันใหม่นี้จะเป็นเครื่องพิสูจน์ผลการทำงานของคณะ คสช ว่ามุ่งสร้างประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ มั่นคง เข้มแข็งและสามารถสร้างความสมานฉันท์ปรองดองในระยะเปลี่ยนผ่านสำคัญได้หรือไม่และรับฟังกระแสเสียงประชาชนหรือ จะเดินซ้ำรอยผิดผลาดของคณะรัฐประหาร รสช. อันนำมาสู่ความรุนแรงนองเลือดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 
 
ส่วนผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นชุดใหม่วงเงิน 1.3 แสนล้านบาทน่าจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปีและช่วงต้นปีหน้าเป็นต้นไปโดยมาตรการเหล่านี้จะยังไม่ส่งผลอย่างมีนัยยสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในปี พ.ศ. 2558 มากนัก รวมทั้งขนาดของเม็ดเงินก็ยังเล็กเกินไป ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เม็ดเงิน 1.3 แสนล้านบาทจะมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหากมีการหมุนเวียนหลายรอบทำให้เกิดผลทวีคูณทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายภาครัฐ (Multiplier Effectof Government Spending) ขึ้นอยู่กับว่าผลทวีคูณมีค่ามากกว่าหนึ่งหรือไม่ หากมากกว่าหนึ่งจะเกิด Crowding-in effect กระตุ้นการบริโภคการลงทุนต่อเนื่อง หากเป็น 2-3 เท่าก็ยิ่งดี หากผลทวีคูณต่ำกว่าหนึ่งหรือใกล้ศูนย์จะเกิด Crowding-out effect การใช้จ่ายภาครัฐจะไปหักล้างโดยการลดลงของการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งคาดว่ากรณีดังกล่าวมีความเป็นไปได้น้อยเพราะสภาพคล่องสูงในระบบการเงิน กลไกกองทุนหมู่บ้านได้ถูกออกแบบให้กระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่าการใช้จ่ายผ่านระบบราชการอยู่แล้ว ในอีกด้านหนึ่ง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.3 แสนล้านบาทอันประกอบไปด้วย การอัดฉีดเม็ดเงินผ่านกองทุนหมู่บ้านวงเงิน 6 หมื่นล้านบาท โครงการลงทุนขนาดเล็กผ่านตำบลละห้าล้านบาท วงเงิน 36,275 ล้านบาท การเร่งรัดโครงการลงทุนขนาดเล็กไม่เกิน 1 ล้านบาท อาจจะให้ผลด้านบวกต่อมิติด้านความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจมากกว่ามิติด้านกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และช่วยบรรเทาเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า มาตรการเหล่านี้จะส่งผลดีต่อประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด เพราะมีประชาชนที่อยู่ใต้เส้นความยากจนมากที่สุด 3.4 ล้านคน (ประชาชนที่อยู่ใต้เส้นความยากจน Poverty Line ทั่วประเทศอยู่ที่ 8.7 ล้านคน) สัดส่วนคนจนเมื่อวัดด้านรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค ภาคอีสานก็สูงสุดมีสัดส่วนอยู่ที่ 18.11% ต่ำสุด คือ กรุงเทพฯอยู่ที่ 7.8%
 
ทางด้านปัจจัยภายนอก เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและภาวะวิกฤติฟองสบู่แตก ตลาดการเงินโลกอาจเผชิญความผันผวนมากขึ้นอีกจากการเทขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและสินทรัพย์ทางการเงินของธนาคารจีน ปัจจัยดังกล่าวจะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยโลกปรับตัวสูงขึ้นไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอ่อนแอ
 
ทุนสำรองระหว่างประเทศของจีนได้ปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงสองเดือนที่ผ่านมามากกว่า 150,000 ล้านดอลลาร์ จีนได้เทขายทรัพย์สินในรูปเงินดอลลาร์เพื่อประคองไม่ให้เงินหยวนอ่อนค่ารุนแรงเกินไป เงินหยวนยังคงอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วจากกระแสเงินไหลออกและการเทขายสินทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติ Citi Research มีการพยากรณ์ว่า ทุกๆการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 1% ของ GDP สหรัฐฯจะทำให้พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ US Treasury10 year เพิ่มขึ้น 0.15-0.35% หากจีนขายพันธบัตรสหรัฐฯมากกว่า 30% ของที่ถืออยู่ในทุนสำรอง จะกดดันให้ดอกเบี้ยระยะยาวของพันธบัตรสูงขึ้นรวดเร็วเกินไปส่งผลต่อความผันผวนปั่นป่วนของตลาดการเงินโลกได้ ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแต่ก็เป็นโอกาสการลงทุนสำหรับผู้ที่คาดการณ์ทิศทางตลาดได้อย่างถูกต้อง
 
ดร. อนุสรณ์ กล่าวสรุปว่า เมื่อตนประเมินปัจจัยต่าง ๆ ทั้งหมดทั้งปัจจัยบวกปัจจัยลบและปัจจัยเสี่ยงที่ยังมีความไม่แน่นอนจึงยังคงการคาดการณ์อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระดับต่ำกว่า 3% ในปีนี้ต่อไป และคาดหวังว่า สถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรัฐบาลสามารถเดินหน้าตามโรดแมฟ (แม้นอาจจะช้าไป 6 เดือนจากการที่ต้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แต่สามารถอธิบายได้ว่าเนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านสภาปฏิรูปแห่งชาติ) ที่ประกาศเอาไว้จะส่งผลดีต่อการลงทุนและการเจรจาการค้าระหว่างประเทศรวมทั้งการจัดทำเอฟทีเอต่าง ๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี 
 
ดร. อนุสรณ์ ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังว่า วิเคราะห์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดจะส่งผลต่อตัวแปรทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่มีผลต่อปัญหาหนี้สาธารณะของประเทศแม้นเป็นนโยบายประชานิยมเนื่องจากอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง บรรดามาตรการแจกเงินต่างหากที่ควรยกเลิก และ มาตรการเศรษฐกิจชุดใหม่ยังช่วยอุดจุดอ่อนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีความล่าช้าและยังมีการนำเข้าในสัดส่วนสูงจึงส่งผลกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นน้อยทว่าจะส่งผลดีในระยะยาวและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันในอนาคต 
 
เม็ดเงินเพียงแค่ 1.3 แสนล้านบาท เอาเฉพาะการขาดทุนของรัฐวิสาหกิจสองแห่ง การรถไฟแห่งประเทศไทย การบินไทย และความเสียหายทางการคลังจากมาตรการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร ก็เกิน 1.3 แสนล้านบาท ฉะนั้นเรื่องหนี้สาธารณะไม่ใช่ประเด็นปัญหา หนี้สาธารณะจะกลายเป็นปัญหาวิกฤติก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจไม่โตตามเป้าหมายมากกว่าหรือการก่อหนี้ที่ไม่อยู่ในกรอบวินัยทางการคลังและไม่เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องไม่ประมาทเพราะเราก็มีความเสี่ยงทางการคลังอยู่เนื่องจากเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้า การกู้เงินใหม่ภายใต้ พรก พิเศษต่างๆและงบชำระเงินต้นเงินกู้ ไม่มีกรอบกำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยโดยนักเศรษฐศาสตร์กระทรวงการคลัง (ดร. พิมพ์เพ็ญ ลัดพลี ดร. บุณฑรีก์โฆษิตานุฤทธิ์และคณะ) เพื่อให้มีการกำหนดกรอบเพิ่มเติม 
 
และตนในฐานะกรรมการ สบน. ขอสนับสนุนการทำงานของสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ให้เดินหน้ายุทธศาสตร์นโยบายและการบริหารจัดการหนี้สาธารณะเชิงรุก (Pro-active Public Debt Policy and Management) เพื่อไม่ให้ประเทศของเราต้องเผชิญหน้าชะตากรรมเดียวกับประเทศกรีซ ประเทศยุโรปบางประเทศและประเทศละตินอเมริกาบางประเทศที่มีระดับหนี้สินล้นพ้นตัวจนเข้าสู่ภาวะล้มละลาย 
 
นอกจากนี้ ประเด็นของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะมีผลต่อหนี้ครัวเรือน จากข้อมูลสถิติและงานวิจัย พบว่า จำนวนครัวเรือนที่เป็นหนี้ในระดับเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ราว 11.15 ล้านครัวเรือน (11,151,934 ถึง 12 ล้านครัวเรือน) มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 248,004 บาทในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้น 12% ในปี พ.ศ. 2555-2556 และเพิ่มขึ้น 13% ในปี พ.ศ. 2558 ระดับการเป็นหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ในระดับสูง การเป็นหนี้ในระดับสูงเป็นผลจากปัญหารายได้ไม่เพียงพอมากกว่าการใช้จ่ายเงินเกินตัวหรือไม่มีวินัยทางการเงินแต่ระยะหลังเป็นผลจากการกระตุ้นภาคการบริโภคแบบประชานิยม หากกองทุนหมู่บ้านและโครงการลงทุนขนาดเล็กก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียน การจ้างงาน การประกอบอาชีพ การยกระดับมูลค่าและคุณภาพสินค้าหรือบริการที่ผลิตจะทำให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนลดลงไม่ได้เพิ่มขึ้นหากเม็ดเงินเหล่านี้ไม่หมุนเวียน ไม่เป็น Revolving Credit หรือ ไม่เป็นสินเชื่อหมุนเวียนในชุมชน สินเชื่อส่วนใหญ่ใช้ไปเพื่อการบริโภคหรือการลงทุนที่ไม่ยั่งยืนหรือนำไปชำระหนี้เดิม จะทำให้ปัญหาหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นกว่าเดิม สรุปมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะการให้เข้าถึงสินเชื่อมาได้ง่ายขึ้นมากขึ้นจะไม่มีผลทำให้ระดับหนี้สาธารณะและระดับหนี้ครัวเรือนสูงขึ้นหากไม่มีการรั่วไหลออกจากระบบมากเกินไป 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net