ความท้าทายของรัฐบาลใหม่พม่าด้านสันติภาพและสิทธิมนุษยชน ท่ามกลางความหลากหลาย

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

 

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์พระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

วันที่ 11 พฤษจิกายน 2558 สำนักข่าวเดอะการ์เดี้ยน รายงานว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งทั่วไปของเมียนมาร์อย่างเป็นทางการในเบื้องต้นแล้ว กกต.สามารถประกาศผลการนับคะแนนเสร็จแล้ว 17 เขต ในนครย่างกุ้ง พบว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย(เอ็นแอลดี)ของนางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ชนะการเลือกตั้งถึง 16 ที่นั่ง มี 12 เขตที่พรรคเอ็นแอลดีได้รับชัยชนะอย่างขาดลอย http://news.mthai.com/hot-news/world-news/468465.html

ไม่ว่าใครจะชนะเลือกตั้งหรือจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ความท้าทายมีแน่นอนโดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ชาติพันธ์และศาสนาของผู้คนในพม่า

ความเป็นจริงรัฐธรรมนูญใหม่ก่อนการเลือกตั้งพม่าให้สิทธิด้านเชื้อชาติ ชาติพันธ์ที่มีอยู่อย่างหลากหลายมากกว่าอดีต แต่ในทางปฏิบัติพบว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีการกีดกันมุสลิมหรือไม่พิจารณามุสลิมถึงแม้เชื้อชาติตนเองลงสมัครรับเลือกตั้ง

หากศึกษาไทม์ไลน์การเคลื่อนไหวหลังมีการปฏิรูปการเมืองในพม่าปี 2554 พบว่า กลุ่มชาวพุทธชาตินิยมผุดขึ้นโดยมีผู้นำพระสงฆ์จัดตั้งองค์กรที่ชื่อ 'มะบ๊ะต๊ะ' (Ma Ba Tha) หรือ 'องค์กรปกป้องเชื้อชาติและศาสนา' ที่ผลักดันกฎหมาย 4 ฉบับซึ่งชวนให้เกิดข้อถกเถียงในเรื่องการกีดกันศาสนาอื่นและการลิดรอนสิทธิมนุษยชน

นอกจากนี้ พวกเขายังชักจูงไม่ให้คนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือ 'เอ็นแอลดี' (NLD) ของอองซานซูจีผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยในพม่า โดยกล่าวหาว่าพรรคของซูจีเป็นมิตรกับชาวมุสลิมมากเกินไป อีกทั้งกลุ่มมะบ๊ะต๊ะยังร่วมมือกับพรรคของเผด็จการทหารถ้าหากพวกเขาส่งเสริมสิ่งที่เป็นผลประโยชน์ต่อศาสนาพุทธ เพราะเมื่อศาสนาพุทธถูกใช้เพื่ออ้างความชอบธรรมในอำนาจทางการเมือง ก็จะมีการกีดกันศาสนาอื่นหรือคนเชื้อชาติอื่นอย่างเป็นระบบ เช่นในการเลือกตั้งของพม่าครั้งล่าสุดที่ผู้สมัคร 88 คนที่ถูกประกาศว่าขาดคุณสมบัติในการลงสมัครส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม

ความย้อนแย้งในตัวเองของแนวคิดการทำให้พระสงฆ์ไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งใน ในแง่หนึ่งมันกลายเป็นการทำให้ศาสนาพุทธมีอภิสิทธิ์ในพม่า

อีกแง่หนึ่งมันกลายเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของพระและแม่ชี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า พวกพระจะไม่มีอิทธิพลทางการเมือง เช่นการที่กลุ่มพระสงฆ์ร่วมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยก่อนหน้านี้ เป็นเพราะพวกเขาเห็นโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและสามารถแผ่ขยายอิทธิพลทางการเมืองแบบไม่เป็นทางการได้ ทำให้พวกเขายังรักษาอำนาจทางศาสนาเอาไว้ได้โดยไม่ถูกทำให้ "แปดเปื้อน" จากกิจกรรมทางการเมือง (โปรดดูเพิ่มใน http://www.prachatai.com/journal/2015/11/62353)

ในอดีตพบว่าหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนสากลชี้ว่า รัฐบาลพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงยา และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ อย่างรุนแรง

หน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนหลายแห่ง เช่น Fortify Rights ชี้ว่าพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงยา และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ อย่างรุนแรง จนเกิดการย้ายถิ่นฐานของคนนับแสนคนเพื่อหนีความรุนแรง

รายงานระบุว่า นายทหารระดับสูงสามคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงต่อชาวกะเหรี่ยง และหนึ่งในนั้นคือ พลตรี Ko Ko ที่กำลังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกิจการภายในของคณะรัฐบาลพม่า

ทางการพม่าตอบโต้กับรายงานฉบับดังกล่าวโดยตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นกลางและความถูกต้องของข้อมูลที่นำเสนอ แม้ว่าจะถูกตอบโต้กลับมาเช่นนี้ ตัวแทนคณะทำงานของฮาร์วาร์ดกล่าวว่า ยังมีสัญญาณที่ดีที่ทางการพม่ายอมรับฟังข้อมูล (โปรดดูเพิ่มใน http://www.voathai.com/content/asean-myanmar-ro-6nov14/2511520.html)

ภาพอดีตฝังใจคนในพม่าและทั่วโลกพบว่ารัฐบาลพม่าเคยละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย เช่น

การยึดที่ดิน

มีรายงานว่ารัฐบาลพม่าได้ให้ทหารประจำการในเมืองมูเจ ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือของรัฐฉานเข้าทำการยึดที่ทำกินชาวบ้าน เพื่อนำที่ดินผืนดังกล่าวไปใช้ปลูกถั่วเพื่อการวิจัย การยึดที่ดินของชาวบ้านในครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะทหารพม่าได้ยึดที่ดินของชาวบ้านมาตั้งแต่ต้นปี 2550 โดยไม่มีการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ชาวบ้านแต่อย่างใด หรือบางครั้งถ้ามีการจ่ายเงินก็จ่ายให้ในจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ของที่ดินที่ถูกยึดไป ชาวบ้านที่ถูกยึดที่ดินต้องเปลี่ยนอาชีพไปทำงานรับจ้างเป็นจำนวนมาก

ต่อมาทหารพม่าได้ยึดที่ดินของชาวบ้านทางภาคตะวันตกของรัฐคะฉิ่น เพื่อไปให้บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในพม่าทำการเพาะปลูกวิจัยพืช ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทยูซานาได้รวบรวมที่ดินบริเวณหุบเขาหู่กองจำนวนกว่า 2,500 ไร่เพื่อดำเนินโครงการการพัฒนาพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยได้รับความช่วยเหลือจากกองทัพพม่าในการช่วยดำเนินการยึดที่ดินของชาวบ้านมาให้ทางบริษัทดำเนินโครงการ ชาวบ้านที่ถูกยึดที่ดินไม่ได้รับค่าชดเชยแม้แต่น้อยและได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะไม่มีที่ดินทำเกษตรกรรม

การบังคับใช้แรงงาน

มีรายงานว่าชาวบ้านไทยใหญ่จากภาคกลางของรัฐฉานต่างพากันอพยพมายังชายแดนไทยด้านอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ไม่ขาดสาย เนื่องจากถูกทหารพม่าบังคับใช้แรงงานจนไม่มีเวลาทำงานให้กับครอบครัวตนเอง

กองทหารพม่าได้บังคับชาวบ้านในเมืองมอญ 154 คน ให้ทำงานสร้างถนนใหม่ระหว่าง โท ดอ และ ยิน โอ เซียน ถนนใหม่นี้ได้ตัดเข้าไปในไร่ของชาวบ้าน และทำลายไร่ไปมากกว่า 500 เอเคอร์ ถนนสายนี้จะเชื่อมกับศูนย์บัญชาการของ LIB599 ที่ โท ดอ และ LIB 590 ที่ยิน เซียน

ชาวบ้านทั้ง 154 คนที่ถูกบังคับใช้แรงงานนั้น มาจากหมู่บ้านเมยือง โอ 15 คน มาจากหมู่บ้านออง ชาน 59 คน มาจากหมู่บ้าน พอ พิ เดอ 90 คน พวกเขายังถูกบังคับให้ตัดไม้และไม้ไผ่และขนไม้เหล่านี้ไปยังที่ค่ายทหารพม่า ถูกบังคับให้สร้างคอกสัตว์ และทำความสะอาดสวนของกองทหารพม่า นอกจากนั้นกองทหารพม่ายังได้บีบเอาเงินจากชาวบ้าน โดยการบังคับราคา โก่งราคาสินค้าและยังบังคับให้ชาวบ้านซื้อสินค้าจากพวกเขา

ต่อมาชาวบ้านจาก 6 หมู่บ้านประมาณ 500 คน ได้ถูกทหารพม่าเกณฑ์บังคับใช้แรงงานเพื่อสร้างฐานที่มั่นแห่งหนึ่งในจังหวัดทงกู่ รัฐกะเหรี่ยง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ชาวบ้านในพื้นที่กล่าวว่าถึงแม้ฐานที่มั่นใหม่นี้จะสร้างเสร็จแล้วก็ตาม แต่ทางทหารพม่าก็ยังคงบังคับใช้แรงงานอย่างต่อเนื่อง

การข่มขืน

มีรายงานว่าพบเด็กนักเรียนหญิงชาวคะฉิ่น 4 คนถูกข่มขืนจากทหารพม่าในรัฐคะฉิ่นทางตอนบนของประเทศ โดยเหยื่อทั้ง 4 คนเป็นเด็กนักเรียนในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในหมู่บ้านตุ๊กตาง (Dukdang) ซึ่งเด็กสาวทั้งหมดมีอายุตั้งแต่ 14-16 ปี โดยถูกข่มขืนจากทหารพม่าราว 7 คน ซึ่งตั้งฐานที่มั่นอยู่ในหมู่บ้านมุงลาง ชิดี (Munglang Shidi) ห่างจากเมืองปูเตาไปราว 2 กิโลเมตร

หลังจากข่มขืนเสร็จทหารพม่านำตัวเด็กสาวทั้งหมดไปขังไว้ในคุกที่อยู่ภายในกองทัพ

ปัจจุบันพบว่าเด็กหญิงทั้งสี่ได้กลับเข้าไปเรียนหนังสืออีกครั้ง พร้อมกับยังไม่มีการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังในพม่า ต่อมาภายหลัง แม่ของเด็กสาวคนหนึ่งที่ถูกข่มขืนทราบเรื่อง ทำให้ได้รับผลกระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง ส่งผลให้ป่วยและตายในเวลาต่อมา

สันนิบาตสตรีรัฐชิน (Women’s League of Chinland - WLC) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิทธิสตรีภาคประชาชนในรัฐชิน ประเทศพม่า ได้เปิดเผยรายงานที่มีชื่อว่า “รัฐที่ไม่ปลอดภัย” (Unsafe State) ซึ่งแสดงหลักฐานว่ารัฐบาลทหารพม่าสนับสนุนการข่มขืน โดยผลการศึกษารายงานว่าในรอบ 5 ปี กองทัพพม่าภายในรัฐชินได้ข่มขืนผู้หญิงอย่างน้อย 38 คน โดยเกือบครึ่งหนึ่งเป็นการข่มขืนหมู่และอย่างน้อย 1 ใน 3 เกิดขึ้นโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐบาล เหยื่อบางคนหลังจากถูกข่มขืนจะถูกทรมานและถูกสังหาร

การบังคับให้โยกย้ายออกจากถิ่นฐานเดิม

มีรายงานว่าทหารพม่าจากกองพันทหารราบเบาที่ 225 ประจำเมืองโต๋น พร้อมด้วยกองกำลังว้าแดง UWSA จากหน่วย 171 ของเหว่ยเซียะกัง ประมาณ 90 นาย ได้ทำการข่มขู่ขับไล่ชาวบ้านให้ย้ายออกจากหมู่บ้านที่อยู่ทางทิศตะวันตกเส้นทางบ้านนากองมู–เมืองโต๋น ในรัฐฉาน ตรงข้ามชายแดนไทยด้านบ้านหนองอุก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยอ้างว่าชาวบ้านปลูกฝิ่น ซึ่งความจริงชาวบ้านกลุ่มนี้ได้ยึดอาชีพดังกล่าวมานานแล้วและทหารพม่าและว้าก็รู้ดี แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มชาวบ้านคาดว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุที่พวกเขาไม่ชำระภาษีการปลูกฝิ่นที่ยังไม่ถึงฤดูเก็บเกี่ยว หรือไม่ก็ทหารพม่าและว้าแดงอาจต้องการยึดพื้นที่ปลูกฝิ่น

เนื่องจากพื้นที่ที่ใช้ปลูกฝิ่นอยู่ออกผลผลิตดี ชาวบ้านที่ถูกขับไล่และอพยพมาส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าลีซู ปะโอ จากบ้านห้วยจอง บ้านห้วยวัด บ้านหมอกข้าวแตก บ้านเมืองแฮ และบ้านนาพยอง ซึ่งมีทั้งเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ คนแก่รวมกว่า 40 คน รวม 13 ครอบครัว ชาวบ้านกลุ่มนี้ได้เดินทางหลบหนีมายังชายแดนไทยด้านดอยสันจุ๊ ตรงข้ามตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

จากข้อเท็จจริงที่รัฐบาลพม่ากระทำต่อชาวพม่าซึ่งโดยส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อยบีบคั้นให้ชนกลุ่มน้อยดังกล่าวต้องย้ายถิ่นที่อยู่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วอพยพมาอยู่ในประเทศไทย

จากการกระทำที่ไม่เคารพสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลพม่าส่งผลให้ผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวพม่าหลั่งไหลเข้ามาในไทยอย่างไม่ขาดสาย จึงเป็นหน้าที่ของประเทศไทยที่จะต้องรับภาระในการจัดการกับชนกลุ่มน้อย (โดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน)ท่ามกลางการจับตามองขององค์กรสิทธิมนุษยชนจากประเทศต่างๆ (อ้างอิง http://www.localtalk2004.com/V2005/detail.php?file=1&code=a1_14122007_01)

การผดุงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชนจะนำสู่กระบวนการสันติภาพของรัฐบาลใหม่พม่า มีสาระสำคัญดังนี้

1.การดำเนินการในทางปฏิบัติ กระบวนการสันติภาพที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ จะมีความสำคัญต่อการสร้างชาติ สร้างประเทศ

2.การสานต่อในทางปฏิบัติของคณะกรรมการดำเนินงาน 3 คณะ ประกอบด้วย  (1) คณะกรรมการกลางสร้างสันติภาพแห่งรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประธาน มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย (2) คณะกรรมการทำงานสร้างสันติภาพแห่งรัฐ มีหน้าที่แปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ (3) ศูนย์สันติภาพพม่า มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงานในการสร้างสันติภาพเป็นการดำเนินการร่วมกันของบุคคล/องค์กร ที่มาจากหน่วยงานรัฐ, ตัวแทนชนกลุ่มน้อย, องค์กรภาคประชาสังคม, นักกฎหมาย, นักวิชาการ และ อื่น ๆ โดยได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล  (โปรดดู http://www.deepsouthwatch.org/node/7765)

ดังนั้น การขับเคลื่อนสิ่งท้าทายเหล่านี้เพื่อนำสู่กระบวนการสันติภาพและแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน จะเป็นงานท้าทายรัฐบาลใหม่พม่านอกจากการบริหารประเทศด้านอื่นๆ และอาจเป็นข้อพิพาทที่พม่าจะต้องตอบประเด็นเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่จะมีการประชุมสุดยอดระดับภูมิภาคอาเซียนครั้งต่อไป

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท