Skip to main content
sharethis

รัฐบาลลาวทำพิธีเปิดการสร้างเขื่อนดอนสะโฮง เชื่อมั่นสร้างผลประโยชน์ให้ประเทศและชุมชน ด้านภาคประชาชนประเทศริมโขงหวั่นปิดการเดินทางของปลาตามฤดูวางไข่ เวียดนาม-กัมพูชา ยังกังวลผลกระทบข้ามพรมแดน

ภาพบริเวณที่ก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง แฟ้มภาพประชาไท มี.ค. 2557

6 ม.ค. 2559 หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทมส์ รายงานว่าลาวได้ก้าวมาถึงหมุดหมายสำคัญของการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ เขื่อนดอนสะโฮง (Don Sahong Dam) โดยมีการทำพิธีเปิดการก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮงแล้ว ที่บ้านหางสะดำ ในบริเวณสีพันดอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก ในพื้นที่ภาคใต้ของลาวติดชายแดนกัมพูชา และระบุว่าองค์ประกอบหลักของโครงการคือเขื่อนชั่วคราว (cofferdam) ควรจะเริ่มก่อสร้างภายใน 1 เดือน

รายงานข่าวจากเวียงจันทน์ไทมส์ซึ่งเป็นสื่อของรัฐบาลลาวระบุว่าพิธีเปิดดัง กล่าวเป็นการเน้นย้ำว่าโครงการจะดำเนินไปตามที่วางแผนไว้ นายวีระพง วีระวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่กล่าวในพิธีเปิดว่าโครงการดัง กล่าวมีความสำคัญต่อการพัฒนาภาคพลังงานของลาวและไฟฟ้าที่ผลิตจะขับ เคลื่อนการพัฒนาในภาคใต้ของลาว "โครงการเขื่อนไม่เพียงแต่สร้างประโยชน์ให้แก่การพัฒนาประเทศและช่วยขจัด ความยากจนเท่านั้นแต่ยังสร้างประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมแก่ชุมชนท้องถิ่น ในภูมิภาคด้วย" รัฐมนตรีช่วยฯ กล่าว

เวียงจันทน์ไทมส์รายงานอีกว่า ดร.บุญทอง ดีวิไซ เจ้าแขวงจำปาสัก กล่าวว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในแขวง พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตชนบทห่างไกลและชาวบ้านประสบความยากลำบากในการเดิน ทางซึ่งต้องใช้เรือในการสัญจร แต่หากเขื่อนสร้างเสร็จสมบูรณ์ก็จะสามารถใช้ถนนและสะพานได้

รายงานข่าวระบุว่าโครงการเขื่อนดอนสะโฮงขนาด 260 เมกกะวัตต์ สัญญาสัมปทาน 25 ปี และวางแผนที่จะผลิตไฟฟ้าได้ 2,000 GWh ต่อปี โดยคาดว่าจะเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปี พศ.2562 โดยในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาบริษัทสัญชามาเลเซีย Mega First ได้ลงนามสัญญากับการไฟฟ้าของลาวในการก่อสร้างและดำเนินโครงการ โดยรัฐบาลลาวถือหุ้นในโครงการนี้ 20 เปอร์เซนต์

ภาพจาก mymekong.org

ทั้งนี้ มีรายงานว่า โครงการเขื่อนดอนสะโฮง เป็นเขื่อนแห่งที่ 2 ที่จะก่อสร้างบนแม่น้ำโขงตอนล่าง (แห่งแรกคือเขื่อนไซยะบุรี) ตามข้อตกลงแม่น้ำโขง พศ.2538 ได้มีการจัดกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้า (PNPCA) สำหรับสมาชิก 4 ประเทศ ซึ่งที่ผ่านมา เวียดนามและกัมพูชา ได้แสดงความกังวลใจอย่างยิ่งต่อผลกระทบข้ามพรมแดนที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากเขื่อนดอนสะโฮงไม่มีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน แม้ว่าเขื่อนจะตั้งอยู่ห่างจากพรมแดนกัมพูชาที่ จ.สตึงเตรง เพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น

ทางรัฐบาลเวียดนามซึ่งได้มีท่าทีไม่เห้นด้วยกับเขื่อนดอนสะโฮงมาตลอด ก็ได้จัดทำการศึกษาผลกระทบต่อพื้นที่ปากแม่น้ำ (Delta Study) และอยู่ระหว่างการศึกษา

ข้อกังวลหลักต่อเขื่อนดอนสะโฮงคือผลกระทบจากการปิดกั้น "ฮูสะโฮง" เส้นทางอพยพของพันธุ์ปลาธรรมชาติ ที่ว่ายมาจากทะเลสาบเขมรและแม่น้ำโขงตอนล่างผ่านพื้นที่สีพันดอนสู่ตอนบนของ ลุ่มน้ำเพื่อวางไข่ขยายพันธุ์ รายงานข่าวของเว็บไซต์ข่าวเดอะดิโพลแมตอ้างอิงข้อมูลวิจัยล่าสุดของคณะ กรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ซึ่งพบว่า การประมงแม่น้ำโขงมีมูลค่าถึง 603,500 ล้านบาท/ปี (17,000 ล้านดอลล่าร์) จากปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้สูงถึง 4.4 ล้านตัน/ปี               

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net