Skip to main content
sharethis

เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน รวมตัวเรียกร้องรัฐ หยุดมัดมือชกแก้ประกาศ ‘พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม’ เอื้อโรงไฟฟ้าถ่านหิน และท่าเรือ ด้านปลัดกระทรวงทรัพยากรฯ เรียกตัวแทนเข้าคุยด้านใน ห้ามนักข่าวเข้าฟัง

ภาพจากเพฟซบุ๊กแฟนเพจ หยุดถ่านหินกระบี่

26 ม.ค. 2559 เมื่อเวลา 09.30 น. บริเวณหน้า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องต่อกรณี การพยายามแก้ไขถ้อยคำในประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่ง แวดล้อมกระบี่ฉบับใหม่ เพื่อเอื้อให้ กระทรวงพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้า ถ่านหินกระบี่ โดยได้มีการอ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เรื่อง ขอคืนพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมกระบี่

โดยแถลงการณ์ ระบุว่า 1.พื้นที่ปากแม่น้ำกระบี่มีความสำคัญยิ่งทั้งในระดับประเทศและระดับโลกโดย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ก.ค. พ.ศ.2543 เห็นชอบให้พื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วย พื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติในลำดับที่ 4 ของประเทศ เป็นลำดับที่ 1100 ของโลก มีเนื้อที่ประมาณ 133,120 ไร่ ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีต้องดำเนินการตามข้อกำหนดของอนุสัญญา และมีผลบังคับใช้ตามพันธกรณีอันเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความ สำคัญระหว่างประเทศ คือประเทศภาคีอนุสัญญาแรมซาร์ 

ทั้งนี้คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2552 ให้ความเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในการปกป้องคุ้ม ครองและรักษาพื้นที่ชุ่มน้ำ มิให้ผู้ใด หน่วยงานใด เข้าไปบุกรุก ทำลาย ทำให้เสียประโยชน์หรือกระทบต่อความเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ

2.พื้นที่ปากแม่น้ำกระบี่ได้รับความสำคัญโดยการประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 15 มี.ค. พ.ศ. 2550 เมื่อประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมแล้ว กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการกำหนดมาตรการเพื่อ รักษาไว้ซึ่งความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติแต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแต่กลับละเลยการประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและปล่อยให้ มีการแก้ไขข้อความเปิดทางให้การก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดขึ้นในพื้นที่ ดังกล่าว 

การตัดสินใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสาระของกฎหมายพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม จังหวัดกระบี่ โดยการยินยอมให้มีการสร้างท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหินในพื้นที่คุ้มครองสิ่ง แวดล้อม เป็นการกระทำซึ่งถือเป็นการละเมิดเจตนารมณ์อย่างร้ายแรงที่มีต่ออนุสัญญาว่า ด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ และกฎหมายคุ้มครองพื้นที่สิ่งแวดล้อม เพราะกิจการที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน และการขนส่งถ่านหินได้รับการพิสูจน์ในทางวิชาการและปฏิบัติจากจากทั่วโลกว่า เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์อย่างยิ่ง

3. เขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจังหวัดกระบี่ประกาศเมื่อ 17 มี.ค. พ.ศ. 2550 มีระยะเวลาการบังคับใช้ 5 ปีและสิ้นสุดลงเมื่อปี 2555 หลังจากนั้นมากระบวนการประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมไม่ได้รับการ ปฏิบัติ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการปล่อยให้เวลาล่วงเลยมาถึง 5 ปี เป็นช่วงเวลาที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพยายามทำงานมวลชนและการจัดทำ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม/การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ EIA/EHIA เพื่อนำไปสู่การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินโดยไม่ต้องคำนึงถึงพื้นที่คุ้มครองสิ่ง แวดล้อม และเมื่อปรากฎร่างพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำลังจะประกาศใช้ กลับปรากฎข้อความเปิดทางให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ 

มีข้อสังเกตว่าทั้งช่วงเวลาที่ไม่ประกาศและเนื้อหาการประกาศใหม่กลับสอด คล้องต้องกันเพื่อเอื้อให้เกิดการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินขึ้น คำถามคือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำลังคิดอะไรอยู่?

4. หากรัฐมนตรีและข้าราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ทำหน้าที่ ในการรักษาสิ่งแวดล้อมก็ขอให้พิจารณาตัวเองไปทำหน้าที่ในกระทรวงอื่น เพราะประเทศนี้ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่เหลือเฟือให้พวกคุณทำลายได้อีกต่อไป เจตนาอันส่อไปในทางทำลายสิ่งแวดล้อมนี้เราไม่สามารถรับได้และเราจะปกป้อง พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมจำนวนแสนกว่าไร่อย่างถึงที่สุด

5. เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินจึงขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมนำประกาศพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้โดยเร็วที่สุด และปราศจากข้อความที่เปิดโอกาสให้โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและอุตสาหกรรม อันตรายดำเนินการได้ในพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยทางผู้แทนเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินจะรอคำตอบที่กระทรวงฯ จนกว่าท่านรัฐมนตรีจะนำข้อเรียกร้องไปปฏิบัติ 

ทั้งนี้ข้อเรียกร้องดังกล่าวกระทรวงไม่ควรให้ประชาชนมาเรียกร้อง เพราะเป็นหน้าที่โดยตรงที่ต้องกระทำ และตอนนี้เรามาเรียกร้องขอให้ปฏิบัติหน้าที่หากยังไม่กระทำแสดงว่าส่อเจตนา ไปในทางไม่สุจริต ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

6. ทำไมความถูกต้องชอบธรรม ต้องแลกมาด้วยการต่อรอง เรียกร้อง ประท้วง ตลอดมา

ภาพจากเฟซบุ๊กแฟนเพจ ขบวนการประชาธิปไตยใหม่ New Democracy Movement - NDM

ต่อมาในเวลา 12.30 น.  เกษมสันต์ จิณณวาโส ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เข้าเจรจากับเครือข่ายฯ โดยระบุว่า เพิ่งทราบข้อเรียกร้องของทางเครือข่ายฯ เพราะเพิ่งได้รับหนังสือเมื่อวานนี้ ทั้งนี้ด้านเครื่อข่ายยืนยันว่าได้ได้ส่งหนังสือข้อเรียกร้องก่อนหน้านี้ไปแล้วตั้งเมื่อปีก่อน(2558)

หลังจากนั้นปลัดกระทรวงได้เชิญตัวแทนเครือข่ายเข้าไปเจรจาด้านในกระทรวง โดยห้ามนักข่าวเข้าไปทำข่าว

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net