เผยเด็กเป็นเหยื่อภัยพิบัติครึ่งหนึ่งจาก 4.4 พันล้านคน

เปิดข้อมูล 20 ปีมีผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกกว่า 4.4 พันล้านคน ครึ่งหนึ่งเป็นเด็กที่ไม่สามารถเอาตัวรอดได้ เสนอ ชุมชม โรงเรียน ครอบครัว ให้ความรู้เด็กเข้าใจภัยพิบัติเพื่อเรียนรู้วิธีในการเอาตัวรอด 
 
 
6 ก.พ. 2559 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สภากาชาดไทย และ FamilyMart ได้ร่วมกันจัดพิธีเปิดนิทรรศการนวัตกรรมลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและพิธีมอบรางวัลการประกวดเรียงความเรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระดับประเทศ ซึ่งนอกจากจะมีการจัดแสดงนิทรรศการตัวอย่างนวัตกรรมลดความเสี่ยงภัยพิบัติจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กๆ แล้ว ยังมีการเสวนาที่น่าสนใจในหัวข้อ “บทบาทของเด็กกับการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ” โดยมีวิทยากรจากสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภาชาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตัวแทนจากองค์กร Save the Children ตัวแทนนักวิชาการด้านภัยพิบัติ ตัวแทนคุณครูและเด็กเข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้ด้วย
 
น.ส.จารุรินทร์ พลหินกอง ผู้ประสานงานโครงการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ จาก Save the Children กล่าวว่า จากคำแถลงการณ์ของนายบัน คีมูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานั้นมีผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทั่วโลกราว 4.4 พันล้านคน ซึ่งครึ่งหนึ่งของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถิติดังกล่าวเป็นเด็ก ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกหน่วยงานที่จะต้องป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับเด็ก ๆต่อไปในอนาคตให้ได้ โดยหนึ่งในทางแก้ไขปัญหาคือการติดอาวุธความรู้ให้กับเด็กได้เรียนรู้และเข้าใจถึงลักษณะของภัยพิบัติแต่ละชนิด ให้เด็กสามารถประเมินความเสี่ยงของการเกิดภัยพิบัติในพื้นที่ของตนได้ และที่สำคัญคือให้เด็กได้เรียนรู้วิธีในการเอาตัวรอดจากภัยพิบัติต่างๆ ได้ ซึ่ง Save the Children ได้ดำเนินงานในการสร้างความรู้ให้กับเด็กๆ ในเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ในช่วงของการฟื้นฟูจากเหตุการณ์สึนามิ ซึ่งในครั้งนั้นเราได้ดำเนินงานจัดทำหนังสือ “กระต่ายตื่นตัว” จนถึง “ตุ่นน้อยตื่นตัว” ในทุกวันนี้ โดยดึงทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความรู้กับเด็ก และสร้างแผนในการรับมือกับภัยพิบัติให้กับเด็ก ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนได้
 
ผู้ประสานงานโครงการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ Save the Children กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สิ่งที่สำคัญในการทำงานเรื่องนี้คือผู้ใหญ่จะต้องเปลี่ยนแนวคิดและทัศนคติเรื่องเด็กกับภัยพิบัติใหม่ เพราะยังมีผู้ใหญ่จำนวนมากที่ยังมีความเชื่อว่าไม่มีความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องให้ความรู้กับเด็กในเรื่องนี้ และมองว่าเด็กคือกลุ่มเปราะบางที่ผู้ใหญ่ต้องให้ความช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว การที่ผู้ใหญ่มองว่าไม่จำเป็นต้องให้ความรู้กับเด็กนั้นจึงเป็นเหมือนช่องว่างเล็กๆ แต่มีผลอันยิ่งใหญ่ที่จะทำให้เด็กๆ ไม่เข้าใจว่าเขาจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเกิดภัยพิบัติและทำให้เด็กไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นมา 
 
“สิ่งที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ทำได้คือเราต้องสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เข้ามามีบทบาทในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติได้ด้วยตัวเขาเอง ให้เขาได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจบางอย่างร่วมกับชุมชน ครอบครัว และโรงเรียน โดยในระดับครอบครัว พ่อแม่ควรที่จะสอนให้เด็กๆ เรียนรู้เรื่องภัยพิบัติจากสิ่งต่างๆ ใกล้ตัว หรือแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติให้ลูกได้รับทราบพร้อมทั้งสอนวิธีในการเอาตัวรอดหากเกิดภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ให้กับลูกๆ ด้วย ในส่วนของโรงเรียนก็ควรปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีความเชื่อมโยงกับการเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติ อาทิ การปรับการคิดคำนวณในวิชาคณิตศาสตร์เป็นช่วงเวลาของความเร็วของน้ำที่จะเข้าท่วมหมู่บ้าน ซึ่งในส่วนของกระบวนการศึกษานั้น ก่อนหน้านี้ Save the Children ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และองค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนลได้จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการเรียนรู้เรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศขึ้นมา ซึ่งโรงเรียนใดที่สนใจสามารถนำคู่มือเล่มนี้ไปปรับใช้กับการเรียนการสอนในโรงเรียนของตนเองได้ เราเชื่อว่าถ้าเด็กๆ มีการเตรียมพร้อมรับที่ดีเขาจะช่วยเหลือตัวเองได้มากยิ่งขึ้นและลดการสูญเสียชีวิตของเด็กลงได้ด้วย เพราะเมื่อเด็กๆ เข้าใจสาเหตุและรูปแบบของการเกิดภัยพิบัติแล้ว เขาก็สามารถที่จะเอาตัวรอดได้และสามารถที่จะช่วยครอบครัว ชุมชน โรงเรียนของเขาให้รอดจากภัยพิบัติได้ด้วยเช่นกัน” น.ส.จารุรินทร์กล่าว
 
ด้านรศ. ดร. สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่า ภัยธรรมชาติในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศจะมีความรุนแรงน้อยกว่า แต่หากมองเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะมาจากปัจจัยในเรื่องของการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับภัยธรรมชาตินั้นๆมากน้อยขนาดไหน เพราะแม้ว่าภัยธรรมชาติจะมีความรุนแรงน้อย แต่ถ้าไม่มีการเตรียมความพร้อมใดๆ ผลกระทบและความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มีมาก เช่น เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งถือว่าภัยที่ไม่สามารถจัดการได้แต่เตรียมความพร้อมรับมือได้ เช่น การออกแบบโครงสร้างของอาคารบ้านเรือนให้ทนต่อการสั่นไหวของแผ่นดิน
 
รศ. ดร. สุทธิศักดิ์ ระบุว่า ในส่วนของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็กเมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้นนั้น มองได้ 2 ด้าน คือด้านที่ดี และไม่ดี ด้านไม่ดี ขึ้นอยู่กับครอบครัวของเด็กว่าจะฟื้นตัวได้เร็วมากน้อยแค่ไหนจากเหตุภัยพิบัติ แต่ถ้าเหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นต้องย้ายหมู่บ้าน เด็กจะได้รับผลกระทบเรื่องการศึกษาอย่างมาก เพราะนั่นหมายถึงการย้ายโรงเรียน เช่นที่เกิดขึ้นที่บ้านน้ำเค็ม ในสมัยที่เกิดสึนามิ
 
“ในมิติที่ผมมองเด็กๆจะได้รับผลกระทบไม่ต่างอะไรไปจากผู้ใหญ่เท่าใดนัก แต่เด็กๆเหล่านี้จะมีประสบการณ์ที่เขาได้เจอโดยตรง เขาสามารถชี้จุดเกิดเหตุต่างๆได้ ถ้าเราใช้ประโยชน์ตรงนี้เข้าไปให้ความรู้ วิธีการเอาตัวรอด ให้เขาสามารถจัดการตัวเองได้ ไม่ให้ตัวเองต้องเป็นภาระ เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ซึ่งเชื่อมั่นว่าเด็กๆเหล่านี้มีศักยภาพ”
 
นักวิชาการด้านแผ่นดินไหว ระบุด้วยว่า สิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองและเด็ก ควรจะทำร่วมกันเพื่อเป็นการป้องกันภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ สำรวจว่าพื้นที่ที่ตนเองอยู่อาศัยมีภัยประจำถิ่นคืออะไร ความสามารถในการรับมือภัยพิบัติมีมากน้อยขนาดไหน และผู้ปกครองและเด็กจะต้องซักซ้อมแผนร่วมกันว่าหากเกิดภัยพิบัติขึ้นจะทำอย่างไร
 
“การนัดแนะเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องตกลงกันว่าถ้าเกิดภัยพิบัติ พ่ออยู่บ้าน ลูกอยู่โรงเรียน น้ำป่าไหลหลากมาจะเจอกันที่ไหน แต่จากการวิจัยพบว่าที่โรงเรียนเป็นที่ที่ปลอดภัยที่สุดเมื่อเกิดภัยพิบัติ ดังนั้นผู้ปกครองควรที่จะไปหาลูกที่โรงเรียน”
 
นอกจากนี้ รศ. ดร. สุทธิศักดิ์ ยังได้กล่าวถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่ประเทศไต้หวันว่า กรณีล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นที่ประเทศไต้หวันเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า โครงสร้างวิศวกรรมมีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้เราได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวมากหรือน้อย ซึ่งเมืองไถหนานของไต้หวันที่เกิดแผ่นดินไหวนั้นเป็นเมืองเก่าอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ไม่ได้รองรับภัยแผ่นดินไหว ซึ่งในกรณีของประเทศไทยอาคารกว่า 90 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท