TCIJ: สำรวจประเด็น ‘ผู้หญิง’ ในพื้นที่การเมือง สถานะเศรษฐกิจและเหยื่อความรุนแรง

28 มี.ค. 2559 เว็บไซต์ TCIJ รายงานว่าช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี และวันสตรีสากล 8 มี.ค. มักมีการเปิดเผยตัวเลขข้อมูลต่าง ๆ อันแสดงถึงความเหลื่อมล้ำของชายและหญิง ซึ่งแม้แนวโน้มข้อมูลจะดูมีปัญหาน้อยลง ในหลายพื้นที่ผู้หญิงมีการศึกษาดี กว่าผู้ชาย และอำนาจการจับจ่ายใช้สอยมีเพิ่มมากขึ้น  แต่โดยภาพรวมแล้วผู้หญิงยังคงมีสถานะตามหลังผู้ชาย ทั้งการมีส่วนร่วมทางการเมือง ตลาดแรงงาน และการกระทำรุนแรงต่อผู้หญิง
 
ในประเทศไทย มีข้อมูลสถิติและดัชนีต่าง ๆ ที่บ่งชี้ว่าผู้หญิงไทยแซงหน้าผู้ชายไปในหลายด้านแล้ว เช่น ประเด็นเรื่องการศึกษาพื้นฐาน พบว่าส่วนใหญ่ผู้หญิงมีการศึกษาสูงกว่าชาย โดยอัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงในเมืองมีสูงกว่าร้อยละ 100 และร้อยละ 90 ในพื้นที่ชนบท ข้อมูลนี้คล้ายคลึงกันในระดับโลก หากแต่เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายไทย ก็ยังมีตัวชี้วัดในอีกหลายประเด็นที่แสดงให้เห็นว่าสิทธิและโอกาสของผู้หญิงยังคงตามหลังผู้ชายอยู่นั่นเอง อย่างเช่นประเด็นช่องว่างรายได้ชายหญิง ที่มีการประเมินว่าอีก 70 ปี ผู้หญิงจึงจะมีรายได้เฉลี่ยจากการทำงานเท่ากับผู้ชาย
 
TCIJ ได้ประมวลประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ อันได้แก่ ผู้หญิงกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ผู้หญิงกับเศรษฐกิจ และความรุนแรงต่อผู้หญิง ไว้เป็นข้อพิสูจน์ร่วมกัน
 
ผู้หญิงกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
 
ข้อมูลจาก International Parliamentary Union ที่เปิดเผยในปี 2558 ระบุว่าสัดส่วนของผู้หญิงที่อยู่ในรัฐสภาทั่วโลกคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 22.1 ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดทั่วโลก โดยเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อปี 2548 ซึ่งมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 11.3 โดยในปัจจุบัน (ปี 2559) สวีเดนเป็นประเทศที่มีมีผู้หญิงนั่งในรัฐสภาสูงที่สุดถึงร้อยละ 44 และมี 16 ประเทศที่มีผู้นำประเทศและผู้นำรัฐบาล (นับเฉพาะตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรี) ที่เป็นผู้หญิง ได้แก่ 1) เยอรมัน มี Angela Merkel ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2) ไลบีเรีย มี Ellen Johnson-Sirleaf ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 3) บราซิล มี Dilma Vana Linhares Rousseff ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 4) ประเทศโคโซโว มี Atifete Jahjaga ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 5) บังกลาเทศ มี Sheikh Hasina Wajed ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 6) เกาหลีใต้ มี Park Geun-hye ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 7) สาธารณรัฐเซิร์ปสกา มี Željka Cvijanović  ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8) นอร์เวย์ มี Erna Solberg ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 9) ชิลี มี Michelle Bachelet ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 10) มอลตา มี Marie-Louise Coleiro Preca ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 11) Kolinda Grabar-Kitarović  ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 12) นามิเบีย มี Saara Kuugongelwa-Amadhila ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 13) มอริเชียส มี Ameenah Gurib-Fakim 14) เนปาล มี Bidhya Devi Bhandari ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 15) โปแลนด์ มี Beata Szydło ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ 16) สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ มี Hilda Heine ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
 
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท