TCIJ: เทียบส่วนต่าง 'มอไซค์วิน vs แกร็บไบค์' เพราะสัมปทานเสื้อ 2 หมื่นถึง 5 แสน?

รายงานพิเศษจาก TCIJ สำรวจ ' ซุ้ม-เสื้อวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง' พบส่วนต่างเป็นเหตุดึงค่าโดยสารสูงเกินจริง บางวินราคาสูงถึงครึ่งล้าน ระบุค่าโดยสารที่แพงเพราะบวกราคาเสื้อวิน ขณะที่บริการเรียกรถออนไลน์ถูกกว่า เพราะคิดจากราคาจริงตามระยะทาง นักวิชาการแนะรัฐเปิดแข่งขัน เพื่อประโยชน์ผู้บริโภค
 
16 พ.ค. 2559 เว็บไซต์ ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง (TCIJ) รายงานว่าจากกรณีผู้โดยสารรายหนึ่ง เรียกบริการจักรยานยนต์รับจ้างผ่านแอพลิเคชั่น (application) ทับที่บริการของวินจักรยานยนต์รับจ้างประจำเขต หรือวินมอเตอร์ไซค์ จนเป็นเหตุให้เกิดการปะทะคารมยื้อแย่งกุญแจรถ เนื่องจากวินประจำเขตไม่พอใจที่ถูกแย่งผู้โดยสาร โดยให้เหตุผลว่าหากจะเรียกบริการผ่านแอพลิเคชั่น ให้เรียกใช้ในเขตที่ไม่มีวินประจำเขต
 
ข้อขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการรถรับจ้างผ่านช่องทางออนไลน์ กับผู้ให้บริการเดิม ไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นแต่อย่างไร ราวเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คนขับแท็กซี่และจักรยานยนต์สามล้อกว่าพันคนในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย รวมตัวปิดสายถนนสายหลักประท้วง อูเบอร์ (Uber) และแอพลิเคชั่น เรียกรถออนไลน์อื่นๆ พร้อมให้เหตุผลว่าบริการออนไลน์เหล่านี้เข้ามาแย่งลูกค้าและทำให้พวกเขาเสียรายได้เป็นจำนวนมาก เพราะรถรับจ้างเหล่านี้เสนอค่าบริการที่ถูกกว่า เช่นเดียวกับที่กรุงโบโกต้า ประเทศโคลอมเบีย คนขับแท็กซี่หลายร้อยคน รวมตัวปิดถนนประท้วงอูเบอร์ ด้วยเหตุผลว่า บริการดังกล่าวทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมกับพวกเขา และย้อนไปราวเดือนมกราคมที่ผ่านมา ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คนขับแท็กซี่หลายร้อยคนรวมตัวปิดถนนประท้วงอูเบอร์ โดยระบุว่า บริการดังกล่าวทำให้พวกเขาเสียรายได้ไปถึงร้อยละ 30
 
ในประเทศไทย แม้ข้อขัดแย้งระว่างผู้ให้บริการแท็กซี่ หรือวินมอเตอร์ไซค์ กับ บริการเรียกรถออนไลน์ผ่านแอพลิเคชั่นต่างๆ จะยังไม่รุนแรงและลุกลามจนถึงขั้นปิดถนนประท้วงอย่างในต่างประเทศ  แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการเกิดขึ้นของธุรกิจแอพลิเคชั่นเรียกรถออนไลน์เหล่านี้  ย่อมสร้างความไม่พอใจต่อผู้ให้บริการเดิม โดยเฉพาะเมื่อผู้ให้ บริการหน้าใหม่เสนอบริการที่สะดวกกว่า ราคาถูกกว่า  ปัจจุบันในประเทศไทย มีบริการแอพลิเคชั่นเรียกรถออนไลน์โดยประมาณทั้งสิ้น  4 ผู้ให้บริการ  ได้แก่ Easy Taxi, Grab Taxi, Uber  และ Lyft 
 
Grab Bike คือหนึ่งในบริการเรียกรถผ่านแอพลิเชั่นบนมือถือ ประเภทจักรยานยนต์รับจ้าง ซึ่งในประเทศไทยยังถือเป็นผู้ให้บริการเพียงรายดียว หลักการใช้งานโดยทั่วไปไม่ต่างกับบริการเรียกรถออนไลน์ประเภทต่างๆ  ผู้ใช้บริการจำเป็นต้องมีโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟน ที่รองรับแอพลิเคชั่นดังกล่าว
 
หนึ่งในจุดเด่นที่ผู้รับบริการส่วนใหญ่สะท้อนกับ TCIJ คือ ราคาค่าโดยสาร ที่ถูกกว่ามอเตอร์ไซดค์วินในอัตราเกือบครึ่งหนึ่ง โดยค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 10 บาท และคิดเพิ่มจากระยะทางบริการในอัตรากิโลเมตรละ 5 บาท  ทั้งนี้จากการลงพื้นที่สำรวจเปรียบเทียบราคาระหว่าง Grab Bike และวินมอเตอร์ไซค์ประจำเขต  TCIJ พบว่าราคาต่างกันถึงครึ่งต่อครึ่ง
 
 
ค่าบริการที่ถูกกว่ากันราวกับตั้งใจตัดราคา นำมาสู่คำถามที่ว่า เช่นนั้นแล้วค่าโดยสารที่จ่ายให้กับมอเตอร์ไซค์วิน ในความเป็นจริงสามารถปรับราคาลงได้ แล้วอะไรคือปัญหาหรือส่วนต่างที่ทำให้ราคามอเตอร์ไซค์วินสูงขึ้น
 
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท