นักเศรษฐศาสตร์ชี้หาก รธน. ไม่ยึดหลักประชาธิปไตยอาจเกิดวิกฤตรอบใหม่

ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิตนักเศรษฐศาสตร์ ชี้หากรัฐธรรมนูญไม่ยึดหลักการประชาธิปไตยอาจทำให้เกิดวิกฤตการณ์การเมืองรอบใหม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศได้ 
 
4 มิ.ย. 2559 ผศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิตได้เปิดเผยว่ารัฐธรรมนูญหากไม่ยึดหลักการประชาธิปไตยอาจทำให้เกิดวิกฤตการณ์การเมืองรอบใหม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปประเทศได้ ในทุกสังคมที่เข้าสู่ระยะเปลี่ยนผ่านสำคัญจำเป็นต้องมีการปฏิรูปประเทศอย่างรอบด้านอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นอาจเผชิญวิกฤตการณ์ความรุนแรงในสังคมได้ อย่างไรก็ตาม ภารกิจการปฏิรูปประเทศเป็นภารกิจที่ต้องใช้เวลายาวนานจึงบรรลุเป้าหมาย กระบวนการปฎิรูปจำเป็นต้องเปิดให้เกิดการมีส่วนร่วมจากประชาชนทุกภาคส่วนอย่างเต็มที่และควรเป็นกระบวนการที่ยึดถือหลักการประชาธิปไตย นอกจากนี้ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย เนื้อหา ของการปฏิรูปควรอยู่ฐานของการศึกษาวิจัยอย่างลึกซึ้ง มิใช่ทำไปตามกระแสหรือคิดกันเองในกลุ่มผู้นำกลุ่มเล็กๆ 
 
ผศ.ดร. อนุสรณ์ เปิดเผยอีกว่า ทางฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ได้ให้ทุนสนับสนุนประเด็นเกี่ยวกับการปฏิรูปด้านต่างๆ โดยมีผลงานวิจัยล่าสุด เรื่อง โครงการวิจัยทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองต่อการปฏิรูปประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่านโดย ผู้ช่วยศาสตรจารย์ดร.พลเรือตรี วิโรจน์พิมานมาศสุริยา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิตผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีจำนวน 654 คน คิดเป็นร้อยละ 59.5 มีอายุระหว่าง 18 - 30 ปี มีจำนวนทั้งสิ้น 371 คน คิดเป็น ร้อยละ 33.7 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวนทั้งสิ้น 317 คน คิดเป็นร้อยละ 28.8 ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 536 คน คิดเป็นร้อยละ 48.7 อาชีพเป็นพนักงานบริษัท / ห้างร้านเอกชนจำนวน 339 คน คิดเป็นร้อยละ 30.8 และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000 บาท หรือน้อยกว่า จำนวน 497 คน คิดเป็นร้อยละ 45.2 
 
จากการสัมภาษณ์พรรคการเมือง จำนวน 8 พรรค เป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ 1 พรรค พรรคการเมืองขนาดกลาง 4 พรรคและพรรคการเมืองขนาดเล็ก 3 พรรค โดยนโยบาย/อุดมการณ์ของพรรคการเมือง ส่วนใหญ่มุ่งสู่การปกครองที่เป็นระบอบประชาธิปไตย ต้องการการเมืองที่เป็นของภาคประชาชนโดยแท้จริงประชาชนมีความสามัคคีปรองดอง และขจัดความขัดแย้ง เน้นการต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น และพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมไทยควบคู่กับจิตใจ รวมถึงการสร้างความเจริญ ความสุขให้ประชาชนทุกภาคส่วน ส่งเสริมการกระจายอำนาจและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม รวมทั้งพัฒนาคุณธรรมและสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในสังคม โดยการต่อต้านการเผด็จการทุกรูปแบบ
 
ความคาดหวังต่อการปฏิรูปประเทศไทย (อยากได้อะไรมากที่สุด) พบว่าประชาชนมีคาดหวังให้ได้ 1) นักการเมืองที่ดี มีคุณธรรม ไม่ทุจริตคอรัปชั่น คิดเป็นร้อยละ 33.3 2) การเมืองไทยดีและเศรษฐกิจเจริญขึ้น คิดเป็นร้อยละ 28.5 3) ได้รัฐบาลที่ดี-มีหลักธรรมาภิบาล คิดเป็นร้อยละ 18.0 และ 4) ประชาชนปรองดอง-มีสมานฉันท์ คิดเป็นร้อยละ 17.5 พรรคการเมืองส่วนใหญ่ คาดหวังให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด จริงจัง รวมทั้งการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาการศึกษา และคืนอำนาจให้ประชาชนในการเลือกตั้ง รวมถึง ต้องการให้รัฐบาลเข้าใจปัญหาพื้นฐานของสังคมอย่างลึกซึ้ง เพื่อจะได้กำหนดนโยบายในการแก้ปัญหาให้สังคมอย่างถูกต้อง โดยทำคู่ขนานไปกับการพัฒนาให้ประชาชนมีความรู้ มีการศึกษาและมีคุณธรรม 
 
โดย ผลงานวิจัยล่าสุดยังพบอีกว่า ปัญหาของประเทศไทยที่ต้องการให้ปฏิรูปโดยด่วนพบว่าประชาชน ต้องการให้ปฏิรูปมากที่สุดคือ 1) การทุจริตคอรัปชั่น คิดเป็นร้อยละ 44.3 2) ระบบเศรษฐกิจและปากท้องประชาชน คิดเป็นร้อยละ 33.2 3) ระบบการศึกษา คิดเป็นร้อยละ 9.1 4) ระบบราชการ คิดเป็นร้อยละ 6.7 และ 5) การเมืองและวิธีการเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 4.8 พรรคการเมืองส่วนใหญ่ต้องการให้ แก้ปัญหา การป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังพัฒนาการศึกษา ให้มีความรู้ประชาธิปไตยที่แท้จริง และสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ของคนในประเทศ การปฏิรูปต้องกระทำควบคู่ไปกับ การสนองตอบต่อปัญหาของประชาชนและให้การศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพสังคมที่แท้จริง ก็สามารถทำให้ขับเคลื่อนปัญหาทุกอย่างไปได้ 
 
ผลวิจัยล่าสุดยังบ่งชี้อีกว่า พลังอำนาจของชาติที่สนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทยพบว่าประชาชนคิดเห็นว่า พลังอำนาจแห่งชาติที่สนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย โดยภาพรวม ยอมรับอยู่ในระดับมาก ( = 3.71) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน สูงสุดคือพลังอำนาจทางทหารรองลงมาคือพลังอำนาจทางสังคม และ พลังอำนาจทางการเมือง ( = 3.92,3.68 และ 3.54 ตามลำดับ)พรรคการเมืองส่วนใหญ่ มีความเห็นว่าพลังอำนาจที่สำคัญแท้จริงต้องมาจากประชาชน หรือพลังอำนาจทางสังคมส่วนพลังอำนาจทางทหารเพื่อป้องกันประเทศ รวมทั้งพลังอำนาจทางเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อการปฏิรูปประเทศให้เจริญก้าวหน้าด้วย 
 
ทัศนคติต่อการปฏิรูปประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน พบว่า ประชาชน มีทัศนคติเชิงบวก ( = 2.43) ส่วนการปฏิรูปประเทศในประเด็นต่างๆ ยังนำไปสู่การปฏิบัติได้ยาก และควรให้เป็นหนทางที่เป็นประชาธิปไตยความคาดหวังต่อการปฏิรูปประเทศไทยพบว่า ประชาชนคาดหวังต่อการปฏิรูปประเทศไทย โดยภาพรวมเห็นด้วย อยู่ในระดับมาก ( = 3.92)เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับคือ การปฏิรูปการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นความเป็นประชาธิปไตยการปฏิรูปเศรษฐกิจและปากท้องประชาชน การปฏิรูปการเมืองการปฏิรูประบบราชการและการกระจายอำนาจ การปฏิรูปการศึกษา การร่างรัฐธรรมนูญ การยุติความขัดแย้ง และสร้างความปรองดอง ( = 4.08, 4.05, 4.03, 4.00, 3.96, 3.89, 3.78 และ 3.57 ตามลำดับ)
 
ผลงานวิจัยของ ดร. วิโรจน์ ยังบ่งชี้ว่า พรรคการเมืองส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นต่อการปฏิรูปประเทศไทยด้านต่างๆ ดังนี้การร่างรัฐธรรมนูญควรต้องร่างให้เป็นสากล เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ สร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นความเป็นประชาธิปไตยควรสร้างประชาธิปไตยให้เป็นวัฒนธรรม และคืนอำนาจให้กับประชาชนประชาธิปไตยเป็นของประชาชน การยุติความขัดแย้งและสร้างความปรองดอง การปฏิวัติ รัฐประหารยังไม่สามารถสร้างความปรองดองได้ การปฏิรูปการเมืองยังไม่มีการปฏิรูปการเมืองให้เกิดขึ้น การบังคับใช้กฎหมายต้องเข้มแข็งพอ และต้องมีการตรวจสอบการเข้าสู่อำนาจ การปฏิรูปการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น รัฐบาลทหารมีอำนาจ ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ปฏิรูปเศรษฐกิจและปากท้องประชาชน การแก้ปัญหาเศรษฐกิจควรให้เน้นการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง การปฏิรูปการศึกษา การศึกษาของประเทศล้มเหลว รัฐยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้การปฏิรูประบบราชการและการกระจายอำนาจควรเน้นให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และการกระจายอำนาจต้องชัดเจน 
 
ผลการทดสอบสมมติฐานผู้วิจัยพบว่า
 
1) ภูมิหลังประชากรประชาชนผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน ทัศนคติของประชาชนต่อการปฏิรูปประเทศไทยไม่ต่างกัน ยกเว้นภูมิลำเนาต่างกัน ทัศนคติของประชาชนต่อการปฏิรูปประเทศไทยต่างกัน
2) พลังอำนาจแห่งชาติที่สนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทยกับทัศนคติของประชาชนต่อการปฏิรูปประเทศไทย มีความสัมพันธ์กัน ในระดับปานกลาง ในทิศทางเดียวกันโดยเฉพาะพลังอำนาจทางทหาร คือมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางสูงสุด รองลงมาคือพลังอำนาจทางสังคม ในระดับปานกลาง และ พลังอำนาจทางการเมือง อยู่ในระดับน้อย 
 
ข้อเสนอแนะที่ปรากฏในงานวิจัย โครงการวิจัยทัศนคติของประชาชนและพรรคการเมืองต่อการปฏิรูปประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่านโดย ผู้ช่วยศาสตรจารย์ดร.พลเรือตรี วิโรจน์พิมานมาศสุริยา วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิตผลการวิจัย มีดังต่อไปนี้ 
 
1) ขอให้ รัฐบาลรับฟังและคำนึงถึงความคาดหวังสูงสุดของประชาชนและพรรคการเมือง
2) ขอให้รัฐบาลทหารของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เร่งแก้ไขปัญหาและปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นอย่างหนักและจริงจัง 
3) ขอให้พรรคการเมือง ร่วมมือกับรัฐบาล ในการปฏิรูปประเทศไทยตามแนวทางที่กำหนด
4) ขอให้รัฐบาลทหารใช้โอกาสนี้ที่มีพลังอำนาจทางทหาร และบริหารประเทศชาติแล้วจะต้องปฏิรูปประเทศชาติให้เกิดประโยชน์แก่แผ่นดินอย่างจริงจัง เด็ดขาด และเข้มแข็งตามที่ประชาชนคาดหวัง
5) ขอให้รัฐบาลและคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ รับฟังและจัดทำความคาดหวังการปฏิรูปด้านต่างๆให้สนองตอบการพัฒนาประเทศได้เป็นจริง
6) การจัดทำรัฐธรรมนูญ รัฐบาลควรต้องยึดหลักประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท