Skip to main content
sharethis

สมาพันธ์สหภาพแรงงานสากลเผยผลการสำรวจ '2016 ITUC Global Rights Index' ระบุ 10 ประเทศยอดแย่สำหรับคนทำงานได้แก่ เบลารุส, จีน, โคลัมเบีย, กัมพูชา, กัวเตมาลา, อินเดีย, อิหร่าน, กาตาร์, ตุรกี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ส่วนไทยยังติดอันดับกลุ่มประเทศที่มี “การละเมิดสิทธิแรงงานอย่างเป็นระบบ” เหมือนปีที่แล้ว

จากรายงานการสำรวจ 2016 ITUC Global Rights Index ของสมาพันธ์สหภาพแรงงานสากล (International Trade Union Confederation – ITUC) ที่เผยแพร่เมื่อเดือน มิ.ย. 2559 ที่ผ่านมาซึ่งเป็นการสำรวจใน 141 ประเทศ ซึ่งพบว่า เบลารุส, จีน, โคลัมเบีย, กัมพูชา, กัวเตมาลา, อินเดีย, อิหร่าน, กาตาร์, ตุรกี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ติดอันดับประเทศที่เลวร้ายที่สุดสำหรับคนทำงาน โดย กัมพูชา, อินเดีย, อิหร่าน และตุรกี ถูกจัดอยู่ใน 10 อันดับนี้เป็นครั้งแรก

กัมพูชาได้ผ่านกฎหมายสหภาพแรงงานฉบับใหม่ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้กระทบต่อสิทธิการชุมนุมของสหภาพแรงงานโดยตรง รัฐสามารถแทรกแซงการทำงานของสหภาพแรงงานได้ง่ายขึ้นทั้งการระงับและยกเลิกสหภาพแรงงาน ส่วนส่วนที่อินเดียบ่อยครั้งตำรวจมักใช้ความรุนแรงต่อการชุมนุมประท้วงของแรงงาน, อิหร่านใช้โทษจำคุกในการควบคุมนักสหภาพแรงงานและนักกิจกรรมแรงงาน และที่ตุรกีผู้สื่อข่าวก็ถูกควบคุมด้านสิทธิเสรีภาพอย่างหนักรวมทั้งถูกโทษจำคุกเช่นเดียวกันภายใต้ข้ออ้าง "ความมั่นคงของชาติ"

10 ประเทศยอดแย่สำหรับคนทำงานได้แก่ เบลารุส, จีน, โคลัมเบีย, กัมพูชา, กัวเตมาลา, อินเดีย, อิหร่าน, กาตาร์, ตุรกี,  และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ที่มาภาพ: ITUC)

ความรุนแรงของการละเมิดสิทธิแรงงานจากระดับ +5 ถึง 1 (ที่มาภาพ: ITUC)

จากทั้ง 141 ประเทศที่ ITUC เก็บข้อมูล พบว่ากว่าสองในสามแรงงานไม่มีสิทธิในการนัดหยุดงานประท้วง และมากกว่าครึ่งปฏิเสธการมีส่วนร่วมในการเจรจาต่อรองของแรงงาน ที่หนักกว่านั้นยังมีการฆาตกรรมนักสหภาพแรงงานใน 11 ประเทศ ได้แก่ ชิลี, โคลอมเบีย, อียิปต์, เอล ซัลวาดอร์, กัวเตมาลา, ฮอนดูรัส, อิหร่าน, เม็กซิโก แอฟริกาใต้ และตุรกี อีกด้วย

ในดัชนีนี้ ITUC ได้จัดอันดับความรุนแรงของการละเมิดสิทธิแรงงานจากมากไปหาน้อยอีก 6 ระดับไล่ตั้งแต่รุนแรงมากไปหาน้อย คือตั้งแต่ +5 ถึง 1 สำหรับประเทศไทย ITUC จัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการละเมิดสิทธิแรงงานอย่างเป็นระบบ (ระดับความรุนแรงที่ 4) ซึ่งในกลุ่มนี้มี 30 ประเทศด้วยกัน

 

ที่มาเรียบเรียงจาก

ITUC Global Rights Index: Workers’ Rights Weakened in Most Regions, Worst Year on Record for Attacks on Free Speech and Democracy
http://www.ituc-csi.org/ituc-global-rights-index-workers

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

องค์กรแรงงานสากลเผย 10 ประเทศ ‘ยอดแย่’ ของ ‘คนทำงาน’ (ดัชนี 2015)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net