Skip to main content
sharethis

 

สัญญาณเตือนเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน เมื่อช่วงฤดูร้อนปีนี้ที่พีคถึง 7 ครั้ง เกิดคำถามว่าอนาคตพลังงานไทยต้องฝากความหวังไว้กับการ ‘ประหยัดไฟฟ้า’ และ ‘ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน’ กระนั้นหรือ ?  TCIJ สืบพบมาตรการใช้ไฟอย่างมีประสิทธิภาพที่เรียกว่า TOU หรือ 'อัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วง  เวลาของการใช้ (Time of Use Rate) ผลศึกษาของ สนพ. ชี้ชัดไทยเคยใช้ได้ผลมาแล้ว ลดรายจ่ายค่าไฟของประชาชนและสามารถลดพีคโหลดลงได้ มากกว่าการรณรงค์ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 แต่การไฟฟ้าฯ กลับไม่เผยแพร่ อะไรคือข้อเท็จจริงที่อยู่เบื้องหลัง ?

พีค 7 ครั้งช่วงฤดูร้อน 2559

ช่วงฤดูร้อนของทุกปี (ปลายเดือนมีนาคม – พฤษภาคม) ประเทศไทยมักจะเกิด ‘พีค’ (Peak) หรือ ‘การใช้ไฟฟ้าสูงสุด’ ซึ่งพบว่าทุก ๆ ปี ปริมาณของพีคนี้จะเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยเมื่อปีที่แล้วเกิดพีคสูงสุดอยู่ที่ 27,346 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2558 ส่วนในปี 2559 นี้ พีคได้ทะลุไปถึง 29,618.8 เมกะวัตต์ และการเกิดพีคก็มีถึง 7 ครั้ง ดังต่อไปนี้

ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2559 เวลา 20.21 น. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 27,639.3 เมกะวัตต์ ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 31.1 องศาเซลเซียส ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2559 เวลา 14.17 น. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุด28,35 1.7 เมกะวัตต์ ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 36.6 อาศาเซลเซียส ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2559 เวลา 14.53 น. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 28,475.3 เมกะวัตต์ ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 36.6 องศาเซลเซียส ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2559 เวลา 14.13 น. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 29,004.6 เมกะวัตต์ ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 38.1 องศาเซลเซียส ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2559 เวลา 14.33 น. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 29,249.4 เมกะวัตต์ ทำลายตัวเลขการที่อุณหภูมิเฉลี่ย 38 องศาเซลเซียส ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2559 เวลา 14.23 น. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 29,403.7 เมกะวัตต์ ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 37.8 องศาเซลเซียส และ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2559 เวลา 22.28 น. ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 29,618.8 เมกะวัตต์ ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 33 องศาเซลเซียส ทำลายตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่ 29,600.8 เมกะวัตต์ เมื่อเวลา 14.12 น. ของวันเดียวกัน (11 พ.ค.) ซึ่งนับเป็นการทำลายตัวเลขพีคครั้งที่ 7 ของ ปี 2559 เป็นรอบที่ 2 (การนับการใช้ไฟฟ้าสูงสุดหรือพีคของแต่ละวันจะมีเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ดังนั้นการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของวันที่ 11 พ.ค. 2559 ที่มี 2 ครั้งนั้น จึงนับพีคที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 22.28 น. เป็นพีคครั้งที่ 7 ของปี 2559)

การเกิดพีคขึ้นถึง 7 ครั้งในปีนี้ สาเหตุสำคัญมาจากการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และบริการ และบ้านอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงวันทำงานปกติ รวมทั้งปัจจัยด้านอุณหภูมิที่ร้อนอบอ้าวต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนเปิดแอร์ พัดลม ทั้งในภาคที่อยู่อาศัย, อาคารสำนักงาน และโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ความน่าสนใจของสถิติพีคในปีนี้ ก็คือมีพีคในช่วงเวลากลางคืนถึง 2 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2559 และวันที่ 11 พ.ค. 2559 ทั้งนี้โดยปกติแล้วความต้องการไฟฟ้าสูงสุดเฉลี่ยอยู่ในช่วงเวลา 14.00 - 15.00 น. นอกจากนี้การเกิดพีคที่เกือบ 30,000 เมกะวัตต์ นั้นก็ถือเป็นสัญญาณเตือนในเรื่องของความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าในบ้านเราในอนาคตอันใกล้นี้

อัตราค่าไฟฟ้า TOU ประชาชนได้-การไฟฟ้าเสีย ?

นอกจากผู้เกี่ยวข้องกับประเด็นพลังงานแล้ว คนไทยโดยทั่วไปแทบจะไม่รู้จัก 'อัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ ‘ (Time of Use Rate) หรือ อัตราค่าไฟฟ้า TOU ซึ่งถือว่าเป็นอีกมาตรการสำคัญที่สามารถลดพีคได้ รวมทั้งผู้ใช้ไฟสามารถประหยัดรายจ่ายค่าไฟฟ้า หลายฝ่ายได้ตั้งข้อสงสัยต่อการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายทั้งสอง คือ ‘การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)’ และ ‘การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)’ ที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรงว่า ทำไมไม่ประชาสัมพันธ์รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปเลือกใช้อัตราค่าไฟฟ้า TOU ให้แพร่หลายกว่าที่ควรจะเป็น  จึงมีคำถามคาใจว่าหากประชาชนใช้อัตราค่าไฟฟ้า TOU มากขึ้น การไฟฟ้าฯ เกรงจะกระทบต่อผลกำไรของตนหรืออย่างไร

 

 

(อ่านต่อรายงานนี้จนจบที่: ค่าไฟฟ้าอัตราTOU ลดวิกฤตช่วงพีคได้ ทำไมการไฟฟ้าฯ ซ่อนไว้ใต้พรม ?)

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net