Skip to main content
sharethis




ภาพจากเพจ Banrasdr

 

20 ก.ค.2559 เครือข่ายประชาสังคมและนักวิชาการจากหลายสถาบัน ในนาม “เครือข่ายกลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย” รวบรวมรายชื่อจากเครือข่ายต่างๆ รวมทั้งพรรคการเมืองหาจุดร่วมเพื่อเรียกร้องการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่โปร่งใส เปิดพื้นที่แสดงความเห็น และที่สำคัญต้องมีการบอกให้ชัดเจนว่าหากประชามติไม่ผ่านจะดำเนินการอย่างไรต่อไป นอกจากนี้เครือข่ายยังมีการออกคำแถลงฉบับที่ 2 ด้วย (อ่านคำแถลงฉบับแรก)

โดยมีผู้สนับสนุนลงนามในคำแถลง 117 คน กับอีก 17 องค์กร นอกจากนี้ยังเปิดให้ประชาชนทั่วไปที่เห็นด้วยกับหลักการสามารถลงชื่อสนับสนุนผ่าน change.org ในข้อเรียกร้อง “ประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่ชอบธรรม เป็นที่ยอมรับครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งในเนื้อหาและกระบวนการ” ด้วย

คำแถลงฉบับที่ 2 ระบุดังนี้

1. ให้ความเคารพในสิทธิอันชอบธรรมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยต้องเปิดให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยได้ถกแถลงด้วยข้อมูลที่ ถูกต้อง ครบถ้วนและรอบด้าน เอื้อให้มีพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยสำหรับทุกฝ่ายเพื่อการแสดงความเห็นอย่างสร้างสรรค์

2. จำเป็นต้องมีการเสนอทางเลือกที่ชัดเจนให้กับประชาชน ในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ว่ามีกระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรต่อไป

3. ในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติควรมีกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มาจากฉันทามติผ่านกลไกที่ทุกกลุ่มทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการออกแบบกระบวนการและกำหนดหลักการสำคัญในรัฐธรรมนูญเพื่อให้การเปลี่ยนผ่านกลับสู่ความเป็นประชาธิปไตยเป็นไปตามกรอบเวลาที่มีการประกาศไว้ใน roadmap สู่การเลือกตั้งและตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว

4. หากหลักการตามข้อเรียกร้อง ข้อ 1 – ข้อ 3 ที่กล่าวมาข้างต้นเกิดขึ้นจริง ทุกกลุ่มทุกฝ่ายควรยอมรับ ในผลของการทำประชามติโดยร่วมกันส่งเสริมให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในสังคม

5. รัฐธรรมนูญที่จะได้มานั้นควรมีหลักการสำคัญ อาทิการคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิของ ประชาชนในด้านต่างๆ ที่ไม่ถดถอยไปจากเดิม การตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจอธิปไตยของ กลไกทางการเมืองที่มีความสมดุล การกำหนดให้มีการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรม การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่มีความพร้อมในการจัดการตนเอง การกำหนดมาตรการในการป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น และมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งไม่ให้ขยายผลไปสู่การใช้ความรุนแรง รวมทั้งมีบทบัญญัติที่เอื้อให้สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยไม่ยากเกินไป เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์และ ความเปลี่ยนแปลงของสังคมตามความจำเป็นและตามกรอบของกฎหมาย

“ถ้าวันที่ 7 สิงหาคมไม่สามารถทำให้มั่นใจได้ว่า การลงประชามติมีความหมาย ประชาชนรับรู้ข้อมูลมากพอ เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากพอ จึงขอเสนอให้เลื่อนการทำประชามติ เลื่อนจนกว่าจะเกิดความมั่นใจได้ว่า มีประชาธิปไตยในกระบวนการของการลงประชามติ ถึงจะทำให้คะแนนเสียง ความเห็นของประชาชนมีความหมาย เพราะไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็นเพียงพิธีกรรม ไม่มีประโยชน์ แล้วจะนำไปสู่ความขัดแย้งหลังการลงประชาติ หรือหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ” นายอนุสรณ์ ธรรมใจ หนึ่งในผู้ร่วมแถลงข่าวกล่าวถึงข้อเสนอส่วนตัว

ด้าน นายนรชิต สิงหเสนี โฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า กรธ.ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเข้าร่วมเวทีดีเบตผ่านสถานทีโทรทัศน์ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จัดขึ้นหรือไม่ และยังไม่ได้รับเชิญอย่างเป็นทางการจาก กกต.ซึ่งคาดว่าจะมีการพิจารณาในที่ประชุมวันศุกร์นี้

 

รายนามองค์กรที่ลงนามสนับสนุนคำแถลง

1. สภาองค์กรชุมชน ต.ทะนง อ.โพทะเล จ.พิจิตร
2. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
3. สมัชชาองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม
4. คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา’35
5. ขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (We Move)
6. ศูนย์ประสานงานเยาวชนสังคมนิยมประชาธิปไตย (YPD)
7. เครือข่ายคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น ประจวบคีรีขันธ์ระนอง
8. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองจังหวัดพังงา
9. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองจังหวัดอุบลราชธานี
10. เครือข่ายชาวเลอันดามัน
11. กลุ่มรักษ์เชียงของ
12. เครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง-ล้านนา
13. เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต
14. เครือข่ายประชาสังคมนราธิวาส
15. มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
16. มูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย (PNET)
17. มูลนิธิสันติภาพและวัฒนธรรม

รายนามบุคคลที่ลงนามสนับสนุนคำแถลง

1. ศ. สุริชัย หวันแก้ว ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. รศ.ดร. ชยันต์วรรธนะภูติ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. รศ.ดร. โคทม อารียา
4. ศ.ดร. สุรชาติบำรุงสุข อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. รศ.ดร. วิชัย กาญจนสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
6. รศ.ดร. ณฐพงศ์จิตรนิรัตน์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
7. นายสมชาย หอมลออ อดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
8. นพ. นิรันดร์พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
9. นายชำนาญ จันทร์เรือง เครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง
10. นายประพจน์ศรีเทศ กรรมการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
11. สมณะดาวดิน ปฐวัตโต นักบวชสันติอโศก
12. นายณรงค์จันทร์เรือง นักวิชาการ
13. นายณรงค์ชื่นชม สื่อมวลชนอาวุโส
14. นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา
15. นายไพโรจน์พลเพชร นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และอดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
16. นายประสาร มฤคพิทักษ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา
17. นายศศิน เฉลิมลาภ นักวิชาการอิสระ
18. ดร. เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
19. ดร. สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะ เครือข่ายเพื่อนตะวันออก วาระเปลี่ยนตะวันออก
20. ผศ.ดร. อนุสรณ์ธรรมใจ อดีตผู้บริหารสถาบันการเงินและอดีตกรรมการธนาคาร แห่งประเทศไทย
21. ผศ.นพ.พรเลิศ ฉัตรแก้ว คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22. รศ.ดร. กนกวรรณ มะโนรมย์ คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
23. ดร. กิตติลิ่มสกุล นักวิจัยอาวุโส มหาวิทยาลัยไซตามะ
24. นางสุนีไชยรส นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน
25. นายสมเกียรติบุญชู อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
26. ผศ.ดร. นฤมล ทับจุมพล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
27. รศ.ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
28. ดร. บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการ สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคม และสิ่งแวดล้อม (GSEI)
29. ดร. เอกพันธุ์ปิณฑวณิช รักษาการแทนผู้อำนวยการ สถาบันสิทธิมนุษยชนและ สันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
30. ผศ.ดร. ภูมิมูลศิลป์ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
31. นายสุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง สถาบันสร้างอนาคตไทย
32. นายสุณัย ผาสุข นักวิชาการด้านสิทธิมนุษยชน
33. นายมนต์ชีพ ศิวะสินางกูร ศิลปิน
34. นายดวงฤทธิ์บุนนาค สถาปนิก
35. นายสุหฤท สยามวาลา
36. นายประธาน ธีระธาดา บรรณาธิการบริหารนิตยสาร art4D
37. นายวิชญ์พิมพ์กาญจนพงศ์
38. นายฟูอาดี้พิศสุวรรณ
39. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช (ช้างใหญ่) อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติสื่อมวลชนอิสระ
40. ดร. กฤษฎา บุญชัย รองเลขาธิการ สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา
41. นายวชิระ รักษพันธุ์
42. นายนพปฎล ปิติวงษ์
43. นายภานุภณ ภูสินพิโรดม
44. นางสาวอาภาภรณ์แสวงพรรค
45. นางสาวพรสุรีย์พันธุ์เรือง
46. นายสุรินทร์ไชยชุมศักดิ์
47. นายสาธิต ชีวประเสริฐ
48. นายวิทย์ประทักษ์ใจ นักวิชาการ
49. นายกุลวิชญ์สำแดงเดช สื่อมวลชน
50. นางสาวฐิตินบ โกมลนิมิ
51. นางสาวกรรณิการ์กิจติเวชกุล กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)
52. นายขดดะรีบินเซ็น ประธานสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนจังหวัดชายแดนภาคใต้
53. นายอนันทชัย วงศ์พยัคฆ์ เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทย จ.ระนอง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์
54. น.ส.มาซีเต๊าะ หมันหล๊ะ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
55. นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตนายกรัฐมนตรี
56. นายบัญญัติบรรทัดฐาน อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
57. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
58. นายเกียรติสิทธีอมร
59. นายไกรศักดิ์ชุณหะวัณ
60. ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
61. นายธนา ชีรวินิจ
62. นายสาธิต ปิตุเตชะ
63. ดร. รัชดา ธนาดิเรก
64. นายสมศักดิ์ปริศนานันทกุล
65. นายนิกร จำนง
66. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี
67. พล.ต.ท. วิโรจน์เปาอินทร์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
68. นายวันมูหะมัดนอร์มะทา อดีตประธานรัฐสภา
69. รศ.ดร. โภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา
70. ดร. ปลอดประสพ สุรัสวดี
71. นายภูมิธรรม เวชยชัย
72. คุณหญิงสุดารัตน์เกยุราพันธุ์
73. นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา
74. นายจาตุรนต์ฉายแสง
75. รศ. ชูศักดิ์ศิรินิล
76. นายสุรพงษ์โตวิจักษณ์ชัยกุล
77. ศ. พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ
78. นายวัฒนา เมืองสุข
79. น.อ.อนุดิษฐ์นาครทรรพ
80. นายสุรนันทน์เวชชาชีวะ
81. ดร. ภูวนิดา คุนผลิน
82. นายนัจมุดดีน อูมา
83. ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต
84. นายนิติรัตน์ทรัพย์สมบูรณ์ กรรมการกลุ่มเพื่อนประชาชน
85. นายวสันต์สิทธิเขตต์ ศิลปิน
86. นางสาววรรณพร ฉิมบรรจง ผู้อำนวยการ Rebel Art Space
87. นางปรีดา คงแป้น มูลนิธิชุมชนไท
88. นายไมตรีจงไกรจักร์ เครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิ
89. นางสมศรีหาญอนันทสุข
90. นายธาตรี ฝากตัว
91. นายบำเพ็ญ กุลดิลกชัย
92. นางสาววิไลลักษณ์หวังธนาโชติ
93. นางพะเยาว์อัคฮาด
94. ดร. ธนพฤกษ์ชามะรัตน์ อาจารย์สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
95. นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ประธานสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ(สคส.)
96. นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน และเลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย
97. นายสมบูรณ์คำแหง เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนา เอกชนภาคใต้
98. นางภรภัทร พิมพา ผู้อำนวยการ สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม ฯ (สคส)
99. นายบุญยืน วงศ์สงวน โครงการปฏิรูปการเกษตรและพัฒนาชนบท
100.นายณัฐวุฒิอุปปะ ศูนย์เสริมสร้างองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม
101.นายประสิทธิ์บึงมุม ผู้อำนวยการสถาบันรักษ์ถิ่นกำแพงเพชร
102.นายมานพ สนิท กรรมการสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม ฯ (สคส.)
103.นายอนัน จันทราภิรมย์ เครือข่ายประชาคมฅนกำแพง
104.นายเอกชัย อิสระทะ เครือข่ายพิทักษ์สิทธิชุมชนเขาคูหา อ.รัตภูมิจ.สงขลา
105.นายธนาเทพ วันบญ นายกสมาคมนักวิทยุชุมชนเพื่อประชาสังคมจังหวัดพิจิตร
106.นายดิชฐ์พิเชษ สุวรรณโพธิ์ นายกสมาคมเครือข่ายกองทัพสีเขียวด้วยชีวิตพอเพียง
107.นายประวีณ จุลภักดี ประธานมูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต
108.นายอกนิษฐ์ป้องภัย ศูนย์ส่งเสริมศักยภาพประชาชนนครราชสีมา
109.นายกฤษณะเดช โสสุทธิ ประธานคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคม จังหวัดเลย
110.นายธนูแนบเนียร องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ อันดามัน
111.นายรณชัย ชัยนิวัฒนา สถาบันสร้างเสริมการจัดการทรัพยากรชุมชน
112.นายไชยา กวีวัฒนะ
113.นายชาญยุทธ เทพา
114.นายสมชาย กระจ่างแสง
115.นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ชมรมแพทย์ชนบท
116.นายนิมิตร เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์
117.นายพฤ โอ่โดเชา ประชาชนเพื่อการปฏิรูปภาคเหนือ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net