Skip to main content
sharethis

สมคิด เลิศไพฑูรย์ ระบุ สนช. มีความเห็นสองทางจากกรณีคำถามพ่วง เมื่อ ส.ว. สามารถโหวตเลือกนายกฯ ได้ จะสามารถเสนอชื่อผู้ชิงตำแหน่งนายกฯ ได้หรือไม่ ชี้ รอคุยร่วม กรธ. พรุ่งนี้ เผยสุดท้ายอยู่ที่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

ภาพจากเว็บข่าวรัฐสภา

18 ส.ค. 2559 สมคิด เลิศไพฑูรย์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแ­ห่งชาติ (­สนช­.) กล่าวว่า ขณะนี้ภายใน สนช. มีความเห็นไม่ตรงกันในกรณีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับประเด็นคำถามพ่วงประชามติ ที่เปิดทางให้ ส.ว. เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ โดย สนช. ฝั่งหนึ่งเห็นว่า เมื่อประชาชนเห็นชอบ ส.ว. ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ดังนั้น ควรให้ ส.ว. เสนอบัญชีชื่อนายกรัฐมนตรีได้เท่ากับ ส.ส. แต่ สนช. บางส่วนก็เห็นว่า หากตีความตามตัวบทของคำถามพ่วง อาจไปไม่ถึงขั้นที่จะให้ ส.ว. เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้

สมคิดกล่าวอีกว่า ไม่ขอแสดงคว­ามคิดเห็นในเรื่องนี้ และ­อยากให้รอฟังคำชี้แ­จงจากตัวแทน สนช­.­ ที่จะเข้าหารือกับกรรม­การร่างรัฐธรรมนูญ (­กรธ­.)­ ในวันพรุ่งนี้­ (­19ส.ค.­) ก่อนว่าจะมีการตีความเรื่องดังกล่าวอย่างไร  ซึ่งนอกจากนี้แล้วยังขึ้น อยู่กับวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญด้วย ว่าการปรับแก้นั้นสอดคล้องกับ­คำถามพ่วงประชามติหรือไม่ อย่างไรก็ตามอยากให้ ทั้ง สนช. และ กรธ. พิจารณาประเด็นปรับแก้อย่างรอบคอบ

“เท่าที่ผมทราบก็แตกเป็น ความเห็น 2 ฝ่าย ฝ่ายที่เห็นว่าควรแก้น้อย กับฝ่ายที่เห็นว่าควรแก้มาก จริง ๆ คำถามพ่วงเพียงคำถามเดียว ผมคิดว่าอาจจะต้องแก้หลายมาตรา แต่ว่าจะกินความไปถึงเรื่อง ส.ว. มีสิทธิเสนอชื่อนายกฯ ด้วยหรือไม่ ผมว่าต้องไปสอบถามความเห็นของหลายฝ่าย แต่ละฝ่ายมีความเห็นว่าอย่างไร ถ้าพิจารณาจากเฉพาะคำของคำถามพ่วง มันอาจจะไปไม่ถึง แต่ถ้าพิจารณาว่า คำถามพ่วงส่งผลกระทบต่อหลายอย่าง ก็อาจจะไปถึงได้นะครับ

ผมยกตัวอย่างเช่น ตอนที่ กรธ.เขียนรัฐธรรมนูญ กรธ.ก็เขียนบนพื้นฐานว่า ให้ ส.ส. เป็นคนเลือกนายกฯ ไม่ได้พูด ส.ว. เป็นคนเลือกนายกฯ เลย แต่ว่าคำถามพ่วงมาโยงว่า ให้ ส.ว. เลือกนายกฯ ด้วย ในการพิจารณา 5 ปีแรก เพราะฉะนั้น ก็จะไปกระทบหลายมาตรา ไม่กระทบมาตราใด มาตราหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้น การแก้ก็ต้องไปดูว่า แก้ได้กี่มาตรา อย่างไรบ้าง” สมคิดกล่าว

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวคำถามพ่วงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญระบุว่า “ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรกนับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควร ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”

เรียบเรียงจาก : springnews , เว็บข่าวรัฐสภา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net