สธ.จับมือแสนสิริ ยูนิเซฟ องค์การอนามัยโลก สร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็กในไซต์งานก่อสร้าง

กระทรวงสาธารณสุข องค์การยูนิเซฟ แสนสิริ จับมือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันเด็กในไซต์งานก่อสร้าง โดยมีองค์การอนามัยโลก เป็นสักขีพยาน ถือเป็นมิติใหม่ของความร่วมมือประชารัฐ เพิ่มการเข้าถึงวัคซีนและประสิทธิภาพในการป้องกันโรคของประเทศ และหวังให้เป็นพื้นฐานในการสร้างเสริมสุขภาพด้านอื่นๆ ต่อไป

 

ภาพจากซ้ายไปขวา พรประไพ กาญจนรินทร์ อธิบดีองค์การระหว่างประเทศโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทยโสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุขอภิชาติ จูตระกูล ประธานอำนวยการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)ริชาร์ด บราวน์ รักษาการผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และโอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ร่วมงานลงนามลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการดำเนินการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สำาหรับเด็กในที่พักคนงานก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างของ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)

6 ก.ย. 2559 รายงานข่าวจาก องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย แจ้งว่า โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข โธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และ อภิชาติ จูตระกูล ประธานอำนวยการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการดำเนินการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค สำหรับเด็กในที่พักคนงานก่อสร้าง ภายใต้โครงการก่อสร้างของ บริษัท แสนสิริ จากัด (มหาชน) โดยมีนายแพทย์ริชาร์ด บราวน์ เป็นสักขีพยาน ณ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข

โสภณ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยการให้วัคซีนอย่างเป็นระบบ เป็นกลวิธีที่สาคัญในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน โดยจัดบริการวัคซีนฟรี 10 ชนิด แก่เด็กไทยทุกคนตั้งแต่แรกเกิดและตามช่วงอายุ ผลการให้วัคซีนอยู่ในเกณฑ์ดี ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90 ทั้งนี้ เพื่อให้ระบบการป้องกันโรคของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้ให้กลุ่มบุตรแรงงานต่างด้าวซื้อบัตรสุขภาพเด็กราคา 365 บาทคุ้มครอง 1 ปี ซึ่งเด็กจะได้รับการดูแลรักษา ส่งเสริมป้องกันโรค และได้รับวัคซีนป้องกันโรคด้วยเช่นกัน ในปีงบประมาณ 2559 นี้ จำหน่ายบัตรสุขภาพเด็กแล้ว 33,166 คน มากที่สุดคือจังหวัดเชียงใหม่ 5,801 คน รองลงมาระยองคือ 3,369 คน และชลบุรี 2,312 คน

อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มเป้าหมายบางกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการวัคซีน โดยเฉพาะเด็กที่ติดตามผู้ปกครองที่เป็นแรงงานเคลื่อนย้ายเพื่อการประกอบอาชีพ เช่น เด็กในที่พักคนงานก่อสร้าง เด็กในที่พักคนงานรับจ้างเกษตรกรรม เด็กที่พักในโรงงาน เป็นต้น ความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นในการดูแลเด็กทั้งที่เป็นเด็กไทย และบุตรหลานแรงงานต่างด้าว เข้าถึงวัคซีน และจะได้ขยายความร่วมมือไปในไซต์งานอื่นๆ ต่อไป

“แม้ว่าคนงานก่อสร้างที่เป็นแรงงานต่างชาติส่วนใหญ่จะรู้ว่าวัคซีนเป็นสิ่งสาคัญ แต่ยังมีอุปสรรคมากมายที่ทำให้เด็กที่เป็นลูกหลานแรงงานเหล่านั้นเข้าไม่ถึงวัคซีน ตัวอย่างเช่น ปัญหาการสื่อสารกับบุคลากรสาธารณสุข ปัญหาการไม่รู้สิทธิในการได้รับวัคซีน หรือการที่ไม่สามารถหยุดงานในวันนัดฉีดวัคซีนได้ นอกจากนี้ หน่วยงานสาธารณสุขก็อาจไม่ทราบถึงจำนวนเด็กในอยู่ที่พักคนงานซึ่งจำเป็นต้องได้รับวัคซีน ดังนั้น ความร่วมมือกันของทุกฝ่ายในครั้งนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะลดอุปสรรคเหล่านั้น เพื่อให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงวัคซีนอย่างถ้วนหน้า” โธมัส กล่าว

โธมัส กล่าวต่อไปว่า ความร่วมมือครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ภาคธุรกิจสามารถมีส่วนร่วมในการนำเสนอแผนงาน และมีบทบาทร่วมกับภาครัฐและภาคประชาสังคมในการพัฒนาความเป็นอยู่ของเด็กที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมธุรกิจอย่างจริงจังและเป็นระบบได้ โดยภาคีทั้งสี่หวังที่จะเห็นความร่วมมือในลักษณะนี้ขยายไปยังภาคธุรกิจอื่นๆ ต่อไป

“กว่า 5 ปีที่ผ่านมา แสนสิริได้ทำงานร่วมกับยูนิเซฟในการเป็นองค์กรที่เป็นมิตรกับเด็ก เรามีการจัดพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กในไซต์ก่อสร้าง ซึ่งสามารถส่งต่อเด็กกว่า 40 คนให้เข้าสู่ระบบการศึกษาได้ จากนั้น เราเริ่มพาเด็กกว่า 150 คนที่อยู่ในที่พักคนงาน 12 แห่งเข้ารับการฉีดวัคซีน ถึงวันนี้ เราตั้งเป้าว่าจะเข้าถึงเด็กกว่า 400 คนในที่พักคนงาน 24 แห่ง ความร่วมมือของ 4 ภาคีในวันนี้เป็นก้าวสำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนาโมเดลที่ยั่งยืน เพราะเราต้องการเห็นเด็กทุกคนที่อาศัยอยู่ในที่พักคนงานทุกแห่ง ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้โครงการของแสนสิริหรือไม่ และไม่ว่าพวกเขาจะเป็นลูกหลานแรงงานต่างชาติหรือแรงงานไทย เด็กทุกคนควรมีโอกาสได้เข้าถึงวัคซีนเพื่อป้องกันโรคอย่างเท่าเทียมและถ้วนหน้า” อภิชาติ กล่าว

ริชาร์ด บราวน์ รักษาการผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า “กว่า 10 ปีที่องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยได้ทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติที่ประจำอยู่ในประเทศไทย รวมทั้งองค์การยูนิเซฟ และภาคประชาสังคมผ่านทางสถาบันการศึกษาและองค์กรเอกชน ในการส่งเสริมสุขภาวะของแรงงานย้ายถิ่นในประเทศไทย องค์การอนามัยโลกตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจที่มีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัยให้กับแรงงานร่วมกับภาครัฐและภาคประชาชน โดยเฉพาะในบริบทของแรงงานย้ายถิ่นและครอบครัวซึ่งเป็นบริบทที่มีความท้าทายและทับซ้อนในหลายมิติ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคถือเป็นงานสาคัญด้านหนึ่งของงานสาธารณสุขมูลฐานเพื่อร่วมสร้างสังคมที่ปลอดโรค องค์การอนามัยโลกตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการเข้ามาเป็นภาคีหลักของภาคธุรกิจ ซึ่งถือเป็นมิติใหม่ของความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเข้าถึงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึงและเป็นระบบ เราพร้อมสนับสนุนและทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม ทั้งในเชิงวิชาการและการพัฒนารูปแบบเพื่อการขยายผลในเชิงกว้างต่อไป”

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท