Skip to main content
sharethis

ปล่อยตัวแกนนำค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ 5 คน พร้อมประกาศยุติการชุมนุม หลังเจรจาข้ามคืน ตกลงให้ยกเลิกอีเอชไอเอโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และท่าเรือขนส่งถ่านหิน แต่ต้องรอความชัดเจนมติ ครม. วันอังคารนี้ ด้านชาวบ้านเดินหน้ารณรงค์ยกเลิกการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ทบทวนแผนพีดีพี เพิ่มสัดส่วนพลังงานทางเลือก ถ่านหินไม่ใช่แค่เรื่องของคนกระบี่

แกนนำแถลงข่าวที่อนุสรสถาน 14 ตุลา เมื่อช่วงบ่าย ภายหลังได้รับการปล่อยตัว

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แกนนำและชาวบ้านที่คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ได้เดินทางมาชุมนุมที่บริเวณทำเนียบรัฐบาลเพื่อรอฟังผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ว่าจะเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่หรือไม่

โดยเวลาประมาณเที่ยงของวันที่ 17 ภายหลังจากที่แกนนำและชาวบ้านรับรู้มติของ กพช. ว่าให้ดำเนินการก่อสร้างต่อ ประสิทธิ์ชัย หนูนวล หนึ่งในแกนนำชาวบ้านจึงได้ประกาศปักหลักชุมนุมข้ามคืนมาถึงเช้าของวันที่ 18 และเกิดเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่เข้ามาควบคุมตัวแกนนำการชุมนุมทั้ง 3 คน ได้แก่ ประสิทธิ์ชัย, อัครเดช ฉากจินดา และ ม.ล.รุ่งคุณ กิติยากร ตัวตามคำสั่งคสช.ที่ 3/2558 ไปยังมณฑลทหารบกที่ 11 ขณะที่ช่วงบ่ายของวันเดียวกัน แกนนำอีก 2 คนคือบรรจง นะแส และธัชพงศ์ แกดำ ก็ถูกควบคุมตัวตามไปเป็นชุดที่ 2

วันเดียวกัน เวลา 15.00 น. เจ้าหน้าที่ยังได้ควบคุมตัวชาวบ้านอีก 11 คนโดยไม่มีการแจ้งข้อหา แต่มีการอ้างอำนาจตามคำสั่ง คสช. ที่ 3/2558 ในภายหลังว่ามีการกระทำที่อาจกระทบต่อความมั่นคง ไปควบคุมตัวไว้ที่กองกำกับการสายตรวจ 191 กระทั่งเวลา 19.00 น. สุรชัย ตรงงาม จากมูลนิธิยุติธรรมสิ่งแวดล้อม  และประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เดินทางมายัง กองกำกับการสายตรวจ 191 เพื่อเจรจาให้ปล่อยตัวชาวบ้าน โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงจึงได้รับการปล่อยตัว สุรชัย กล่าวว่า ตอนแรกเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าต้องส่งกลับภูมิลำเนา แต่ต่อรองกันว่าให้ส่งกลับที่พักในกรุงเทพฯ โดยมีทนายความติดตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการแยกชาวบ้านขึ้นรถเป็น 4 สาย พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงคำสั่ง โดยให้ส่งชาวบ้านกลับภูมิลำเนาของตน แต่ยังคงมีทนายความติดตามไปเช่นเดิม

ในระหว่างนั้น แม้แกนนำยังถูกควบคุมตัวอยู่ การชุมนุมของชาวบ้านก็ยังดำเนินเรื่อยมาจนถึงช่วงเช้าของวันที่ 19 กุมภาพันธ์ แกนนำทั้ง 5 คนจึงได้รับการปล่อยตัว โดยประสิทธิ์ชัยได้ประกาศหลังได้รับการปล่อยตัวว่า ทางรัฐบาลรับฟังข้อเสนอของแกนนำ โดยให้ยกเลิกและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพหรืออีเอชไอเอ (EHIA) โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ รวมถึงยกเลิกและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ (EIA) ท่าเรือขนส่งถ่านหิน ทางแกนนำจึงประกาศยุติการชุมนุม

ประสิทธิ์ชัย กล่าวในการแถลงที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาว่า การให้รัฐบาลประกาศยกเลิกนั้น เป็นเพียงนโยบายที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่การยกเลิกอีเอชไอเอมีความแน่นอนกว่า เพราะเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่มีแน่นอนกว่า และเชื่อว่าเพียงพอที่จะทำให้ชาวกระบี่ได้รับความเป็นธรรมมากกว่ากระบวนการอีเอชไอเอที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูมติคณะรัฐมนตรีวันอังคารนี้ว่าจะมีความชัดเจนในการประกาศยกเลิกอีเอชไอเอของเดิมและเริ่มกระบวนการทำรายงานใหม่อย่างไร จะมีการกำหนดกติกาเหมือนที่ได้ตกลงกันหรือไม่ คือจะต้องมีคนกลางเข้ามาร่วมการทำการศึกษาด้วย ไม่ใช่แค่บริษัทที่ปรึกษาเพียงฝ่ายเดียว

ขณะเดียวกันจะมีการขับเคลื่อนสร้างความเข้าใจว่าประเด็นถ่านหินไม่ใช่แค่เรื่องของจังหวัดกระบี่เพียงที่เดียว แต่เป็นเรื่องระดับประเทศที่รัฐบาลควรทบทวนให้มีการยกเลิกการใช้ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งทั่วโลกเองก็กำลังลดเนื่องจากเห็นผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากถ่านหิน โดยจะรณรงค์ให้มีการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศหรือพีดีพ (Power Development Plan: PDP) และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือกอื่นๆ

 

คำแถลงต่อกรณีความขัดแย้งเรื่องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่
 
จากกรณีที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เห็นชอบการเดินหน้าการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใน จ.กระบี่ ซึ่งนำไปสู่การชุมนุมคัดค้านของเครือข่ายปกป้องอันดามัน และประชาชนจากจังหวัดกระบี่ รวมทั้งประชาชนจากพื้นที่ใกล้เคียงที่ต้องการปกป้องสิทธิชุมชนของตนเอง ที่ไม่เห็นด้วยกับมติดังกล่าวบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาลมาตั้งแต่วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์
เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ความขัดแย้งนำไปสู่การเผชิญหน้ารุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน และเพื่อเป็นการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งอย่างสันติวิธีที่จำเป็นยิ่งในห้วงเวลาของการเริ่มต้นกระบวนการปรองดองในสังคมไทยอย่างแท้จริงองค์กรและผู้ที่มีรายชื่อแนบท้ายคำแถลงฉบับนี้ มีข้อเรียกร้องเสนอแนะ และสื่อสารต่อรัฐบาล และประชาชนทั้งประเทศในฐานะที่เป็นผู้ใช้พลังงาน เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจกำหนดนโยบายในเรื่องดังกล่าว ดังนี้
 
๑. กรณีเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ รวมทั้งในพื้นที่อื่นๆเป็นกรณีรูปธรรมที่สะท้อนถึงปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยที่ยังคงดำรงอยู่ อันเนื่องมาจากเรื่องแนวคิดการพัฒนาประเทศ  เรื่องทิศทางการพัฒนาด้านพลังงาน เรื่องกระบวนการตัดสินใจนโยบายสาธารณะ เรื่องความแตกต่างของข้อมูลด้านพลังงาน เรื่องระบบการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องปฏิรูป เป็นประเด็นที่เกี่ยวโยงกับการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติระยะยาว และเป็นโจทย์ท้าทายต่อการสร้างความปรองดอง
 
รัฐบาลและสังคมไทยควรใช้เรื่องนี้เป็นกรณีตัวอย่างของการจัดการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ หาทางเลือกทางออกโดยใช้สันติวิธี ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นและผลลัพธ์รูปธรรมของการปฏิรูป การสร้างความสามัคคีปรองดองอย่างแท้จริง และการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ (ม.๖๕) และเป็นภารกิจหลักของ ป.ย.ป.
๒. รัฐบาลควรจัดเวทีสาธารณะที่เป็นกลางที่เป็นที่ยอมรับโดยทุกฝ่าย เพื่อให้ทั้งฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ รวมทั้งในพื้นที่อื่นๆ ได้ถกแถลงเหตุผลและข้อมูลของทั้งสองฝ่าย และเพื่อให้ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้ใช้พลังงานไฟฟ้าได้รับทราบข้อมูลอย่างรอบด้าน เป็นโอกาสของการสร้างการเรียนรู้เรื่องพลังงานแก่สังคมไทย ให้มีส่วนร่วมรับรู้ข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจ รับรู้ภาระและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจเลือกกำหนดนโยบายอย่างไร ทั้งนี้ อาจให้สถาบันอุดมศึกษาอย่างน้อยจำนวน ๓ สถาบัน ที่จัดการเรียนการสอนเรื่องพลังงานและเรื่องสิ่งแวดล้อม ร่วมกันเป็นองค์กรเจ้าภาพจัดเวทีและกระบวนการดังกล่าว และเป็นผู้จัดทำรายงานสรุปผลการจัดเวทีสาธารณะเสนอต่อรัฐบาลและเผยแพร่ต่อสาธารณะและให้รัฐบาลนำรายงานดังกล่าวเป็นฐานในการกำหนดตัดสินใจทางนโยบายต่อไป
 
๓. การจัดเวทีสาธารณะและการตัดสินใจทางนโยบายในกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ รวมทั้งในพื้นที่อื่นๆ ควรมีประเด็นที่ครอบคลุมอย่างน้อยใน ๔ เรื่องดังนี้
๓.๑ การพิจารณาถึงความสอดคล้องกับเป้าหมาย เป้าประสงค์ และตัวชี้วัดเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) ที่ประเทศไทยมีข้อผูกพันทางการเมืองในการมุ่งมั่นดำเนินการให้บรรลุผลตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ 
๓.๒ การพิจารณาถึงความสอดคล้องกับพันธะสัญญาภายใต้ความตกลงปารีส ที่ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ ๒๐- ๒๕ จากอัตราการปล่อยปกติให้ได้ภายในปี ๒๕๗๓ และต้องมีการทบทวนเป้าหมายดังกล่าวให้มีระดับก้าวหน้าขึ้นทุกๆ ๕ ปีนับตั้งแต่ปี ๒๕๖๓ เป็นต้นไป
๓.๓ การพิจารณาถึงเป้าหมายความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
๓.๔ การพิจารณาถึงทางเลือกของการจัดหาพลังงานอย่างรอบด้าน ทั้งที่เป็นพลังงานฟอสซิล พลังงานหมุนเวียน โดยมีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนโดยรวมของแต่ละทางเลือก ทั้งที่เป็นต้นทุนด้านเศรษฐกิจ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านสุขภาพ 
 
๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
 
รายนามผู้ลงนามสนับสนุน
รายชื่อองค์กร
 
๑. สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน
๒. มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
๓. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
๔. คณะทำงานความเป็นธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (TJ – Thailand)
๕. เครือข่ายผู้หญิงเพื่อความก้าวหน้า
๖. มูลนิธิผู้หญิง
๗. มูลนิธิส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
๘. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
๙. เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี
๑๐. เครือข่ายชาวเล อันดามัน
๑๑. เครือข่ายชนเผ่าฯ ภาคใต้
๑๒. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมืองจังหวัดพังงา
๑๓. เครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิ
๑๔. เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต
๑๕. เครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทยพลัดถิ่น จังหวัดระนองและประจวบคีรีขันธ์
๑๖. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)
๑๗. เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง จ.อุบลราชธานี
๑๘. เครือข่ายชุมชนจัดการภัยพิบัติ
๑๙. เครือข่ายภัยพิบัติตำบลท่าหิน จ.สงขลา
๒๐. เครือข่ายสิ่งแวดล้อมจังหวัดปทุมธานี
๒๑. เครือข่ายรักอ่าวไทยตอนบนอ่าว"ก"
๒๒. มูลนิธิสืบศักดิ์สิน แผ่นดินสี่แคว
๒๓. มูลนิธิเครือข่ายอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก
๒๔. มูลนิธิสถาบันปฎิปัณ
๒๕. มูลนิธิจัดการความรู้ และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา จ.นครสวรรค์
๒๖. องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR)
๒๗. มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน (CRC)
๒๘. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
๒๙. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
๓๐. สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย
๓๑. กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม
๓๒. กลุ่มใบไม้
๓๓. กลุ่มรักษ์เขาใหญ่
๓๔. เยาวชนต้นกล้า
๓๕. กลุ่มรักษ์เขาชะเมา
๓๖. ชมรมคนรักสัตว์ป่า
 
รายชื่อบุคคล
 
๓๗. ศ.สุริชัยหวันแก้ว ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๓๘. นพ. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๓๙. รศ.ดร. โคทม อารียา
๔๐. ดร. ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ นักวิชาการอิสระ
๔๑. นายสมชาย หอมลออ นักกฎหมายอดีตกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
๔๒. นายจอน อึ๊งภากรณ์
๔๓. นายชำนาญ จันทร์เรือง เครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง
๔๔. ดร.จุฑาทิพย์ มณีพงษ์ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย(TEI)
๔๕. นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข ผู้อำนวยการ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
๔๖. นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35
๔๗. รศ.ดร. ประภาส ปิ่นตบแต่ง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๔๘. ดร.สมนึก จงมีวศิน เครือข่ายเพื่อนตะวันออกวาระเปลี่ยนตะวันออก
๔๙. อ.ศศิน เฉลิมลาภ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
๕๐. ดร.กฤษฎา บุญชัย รองเลขาธิการสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI)
๕๑. ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (GSEI)
๕๒. อ.ไพสิฐ พาณิชย์กุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารงานทั่วไปและกฎหมาย/อาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๕๓. นางสมศรี หาญอนันทสุข กรรมการมูลนิธิองค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย
๕๔. ผศ.ดร. ภูมิ มูลศิลป์ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
๕๕. นางสาวศยามล ไกรยูรวงศ์ นักวิชาการอิสระ
๕๖. ดร. อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์ รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา
๕๗. นายประดิษฐ์ เรื่องดิษฐ์ อดีตนายกสมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๕๘. นายพลาย ภิรมย์ นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อม
๕๙. นางสาวกัญญารัตน์ วิภาตวัต นักวิชาการด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชน
๖๐. นายมนต์ชีพ ศิวะสินางกูร ศิลปิน
๖๑. นายวิชญ์ พิมพ์กาญจนพงศ์ นักออกแบบและศิลปิน
๖๒. นายชลัท ประเทืองรัตนา นักวิชาการด้านสันติวิธี
๖๓. ดร. อลงกต ชูแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและอนุรักษ์ช้างไทย
๖๔. นางสาวอาภาภรณ์ แสวงพรรค นักเศรษฐศาสตร์
๖๕. นางสาวโซไรดา ซาลวาลา มูลนิธิเพื่อนช้าง
๖๖. นายดิชฐ์พิเชษ สุวรรณโพธิ์ นายกสมาคมเครือข่ายกองทัพสีเขียวด้วยชีวิตพอเพียง
๖๗. ดร. ศักดิ์ ประสานดี มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่น
๖๘. อ.ชล บุนนาค อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๖๙. นายสุณัย ผาสุข ที่ปรึกษา Human Rights Watch ประเทศไทย
๗๐. นายสมภพ บุนนาค นักพัฒนาสังคมอิสระ
๗๑. ดร. นฤมล อรุโณทัย
๗๒. ศ.ดร. เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ นักวิชาการอิสระ
๗๓. นายอรรถเศรษฐ์ จริยธรรมานุกูล นักวิชาการอิสระ
๗๔. อ.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๗๕. นางสาวธนวดี ท่าจีน ประธานเครือข่ายสตรี 4 ภาคเพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิง
๗๖. ชุติมา แต่งเกลี้ยง นักกิจกรรม
๗๗. จารุวรรณ สาทลาลัย นักกิจกรรม
๗๘. ดร. ชวลิต วิทยานนท์ มูลนิธิสืบสืบนาคะเสถียร
๗๙. นางสาวณัติกาญจน์ สูติพันธ์วิหาร นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA-EIA)
๘๐. นางสาววรลักษณ์ ศรีใย นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม
๘๑. นายประพจน์ ศรีเทศนัก นักวิชาการอิสระ จังหวัดพิษณุโลก
๘๒. ดร.เชิญ ไกรนา นักวิชาการอิสระ
๘๓. ดร.ทรงกฤษณ์ ประภักดี นักวิชาการอิสระ
๘๔. น.ส.สุปราณี กำปงซัน IUCN
๘๕. รศ.ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๘๖. ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๘๗. นางสุนี ไชยรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรมวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
๘๘. สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม
๘๙. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
๙๐. สุจิตรา  แก้วทอง เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสา
๙๑. ธารา บัวคำศรี กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
๙๒. นางสาวบุษยาภา ศรีสมพงษ์ นักกฎหมาย
๙๓. ชุมาพร แต่งเกลี้ยง นักกิจกรรม
๙๔. จารุวรรณ สาทลาลัย นักกิจกรรม
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net