Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis


 

ปี 2016 เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโลกอย่างคาดไม่ถึง หลังจากที่เกิดปรากฏการณ์ Brexit ที่ สหราชอาณาจักรและชัยชนะของนายโดนัล ทรัมป์ในการเลือก ตั้งและกลายเป็นประธานาธิบดี สหรัฐคนปัจจุบัน โลกเสรีนิยมก็ดูเหมือนจะปั่นป่วนไปทั่วทั้งในทางการเมือง และโดยเฉพาะในทาง ความคิด กระแสการเมืองในโลกตะวันตกเรื่องการเหยียดผิว การต่อต้านผู้อพยพต่างชาติ และต้าน คนมุสลิมดูเหมือนจะแพร่หลายไปทั่วอย่างรวดเร็วด้วย ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือการแพร่แนวคิดการ ต่อต้านความร่วมมือระหว่างประเทศแบบพหุพาคี การต่อต้านการเปิดเสรีทางการค้า และการลง ทุนข้ามชาติ การปฏิเสธข้อตกลงในการค้า ในทางเศรษฐกิจและปฏิเสธการสร้างพันธมิตรทางการ ทหาร ในขณะเดียวกันก็เกิดความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารไปทั่วโลกอันเกิดจากนโยบาย ขวาจัดชาตินิยมของประธานาธิบดีสหรัฐ ข้อสังเกตในที่นี้ก็คือ “ทรัมป์ไม่สำคัญเท่ากับลัทธิทรัมป์” (Trumpism) และสิ่งที่น่ากลัวกว่าคือแนวคิด Populism ที่อยู่เบื้องหลัง

อันที่จริงสิ่งที่เกิดขึ้นมีพลังที่สำคัญอยู่ที่แนวคิด Populism ในโลกตะวันตก ปรากฏการณ์ดังกล่าวแม้ นักรัฐศาสตร์ในตะวันตกเองก็มีข้อถกเถึยงกันว่าอะไรเกิดขึ้น เกิดปัญหาอะไรในสัญญาประชาคมที่ เป็นแกนกลางสำคัญในทฤษฏีของเสรีประชาธิปไตย ทำไมชนชั้นกลางและผู้ใช้แรงงานในสังคม ตะวันตกหันหลังให้สถาบันประชาธิปไตยและเสรีนิยม เมื่อเร็วๆนี้นักรัฐศาสตร์อเมริกันสองคนคือ Jeff D. Colgan และ Robert O. Keohane ได้เขียนบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจในวารสาร Foreign Affairs บทวิเคราะห์ดังกล่าวใช้การวิเคราะห์ทางรัฐศาสตร์ต่อปรากฏการณ์ Populism อย่างเป็นระบบที่สุด เท่าที่จะมีในเวลานี้

บทความดังกล่าวชื่อว่า “ระเบียบโลกแบบเสรีถูกโกง: จะซ่อมมันเดี๋ยวนี้หรือจะดูมันสิ้นสลายไป” (The Liberal Order Is Rigged: Fix It Now or Watch It Wither) การวิเคราะห์ดังกล่าวน่าสนใจ สำหรับเหตุการณ์ปัจจุบันเพราะนักวิชาการทางรัฐศาสตร์อเมริกันเองเป็นผู้ที่สนับสนุนอย่างแข็งขัน ต่อระบบความร่วมมือแบบพหุภาคีและความเข้มแข็งของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหา ความขัดแย้ง สนับสนุนความเจริญทางเศรษฐกิจและการสร้างสันติภาพในโลกซึ่งจะย้อนกลับมา สร้างความสุขและความยั่งยืนของสถาบันประชาธิปไตยในประเทศ แต่ระบบสากลดังกล่าวตอน นี้กลับถูกประณามว่าโกงและฉ้อฉลจากชนชั้นล่างในประเทศตนเองและโดยนักการเมืองแนว Populism สิ่งที่จะวิเคราะห์ต่อไปในบทความนี้เป็นการสรุปความคิดจากการวิเคราะห์ของนัก รัฐศาสตร์ดังกล่าวโดยผู้เขียนเองเพิ่มเติมตัวอย่างการวิเคราะห์ในบางส่วนเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น

หมุดหมายที่สำคัญของคำว่า Populism ก็คือความเชื่อที่ว่าในทุกประเทศจะมีประชาชนดั้งเดิมที่แท้ จริงซึ่งเป็นเหยื่อจากการสมคบคิดกันระหว่างกองกำลังของต่างประเทศและชนชั้นนำในประเทศที่ เห็นแก่ผลประโยชน์ตนเอง ผู้นำที่เชื่อเรื่อง Populism นี้มักจะอ้างว่าตนเองเป็นตัวแทนประชาชนที่ แท้จริงเหล่านี้และเขาจะต้องพยายามบั่นทอนกำลังหรือทำลายสถาบันต่างๆเช่นรัฐสภา ศาลยุติธรรม และสื่อมวลชนและทำลายกรอบกฏเกณฑ์ต่างๆที่มาจากภายนอกประเทศเพื่อที่จะปกป้องอำนาจ อธิปไตยแห่งชาติ

Populism จะมีหลายสีสรรตามอุดมการณ์ทางการเมือง Populism ในปีกฝ่ายซ้ายจะสู้กับคนรวยด้วย ความเชื่อเรื่องความเสมอภาพ ฝ่ายขวาก็ต้องการจะขจัดอุปสรรคความมั่งคั่งด้วยการเน้นที่การเจริญ เติบโตในทางเศรษฐกิจ น่าแปลกที่ว่าถึงจุดหนึ่งฝ่ายขวาจัดและซ้ายจัดมากลับมามีความเห็นตรงกัน ในฝรั่งเศสผู้สมัครเลือกตั้งประธานาธิบดีฝ่ายขวาจัดและซ้ายจัดกลับสนับสนุนให้มีการแยกตัวออก จากอียูเหมือนกัน อย่างไรก็ดี จุดเด่นที่สำคัญของ Populism คือศรัทธาในตัวผู้นำที่เข้มแข็งและไม่ ชอบการไปจำกัดอำนาจอธิปไตยของชาติ ไม่ชอบสถาบันการเมืองต่างๆที่มีอำนาจ

สถาบันเหล่านั้นก็คือตัวแสดงบทบาทที่สำคัญในการจัดระเบียบของโลกเสรี ตัวอย่างเช่น องค์การ สหประชาชาติ (UN) ประชาคมทางเศรษฐกิจยุโรป (EU) องค์กรการค้าโลก (World Trade Organization-WTO) และกลุ่มพันธมิตรทางการทหารเช่น NATO ระเบียบโลกได้ถูกสร้างขึ้นโดย การนำของวอชิงตันโดยผ่านสถาบันเหล่านี้ทำให้เกิดกลุ่มความร่วมมือหลายฝ่ายในทางการเมือง ระหว่างประเทศในประเด็นที่สำคัญตั้งแต่เรื่องความมั่นคงไปจนถึงการค้าและการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ 

นักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเชื่อว่านับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมาระเบียบโลกแบบเสรีได้ ช่วยสร้างสันติภาพระหว่างมหาอำนาจ เสถียรภาพนี้ทำให้มีการกีดกันไม่ให้เยอรมันนี ญี่ปุ่น ซาอุดิ อารเบียและเกาหลีใต้ไม่ให้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์

นักรัฐศาสตร์ยังเชื่อว่าการสร้างสันติภาพของระเบียบโลกแบบเสรีนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่าง มาก ผลที่ตามมาก็คือระเบียบดังกล่าวช่วยทำให้โลกที่กำลังพัฒนามีความก้าวหน้าประชากรโลก จำนวนนับเป็นพันล้านคนก้าวพ้นความยากจนและเกิดชนชั้นกลางใหม่ขึ้นจำนวนมากมาย แต่ใน ขณะที่ระเบียบโลกแบบนี้ขยายตัวและประสบความสำเร็จ สถาบันในประเทศของตัวเองก็กลับหลุด ขาดการเชื่อมต่อกับประชาชนในประเทศซึ่งเป็นผู้สร้างระเบียบนี้ขึ้นมา

นับตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1980 ผลลัพธ์ของวาระนโยบายเศรษฐกิจแบบลัทธิเสรีนิยมใหม่ได้บั่นทอน สัญญาประชาคมซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาเคยเป็นหลักประกันและตัวสนับสนุนระเบียบเสรีอันนี้ ประชา ชนผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่เป็นชนชั้นคนงานและชนชั้นกลางในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และที่อื่นๆเริ่มจะเชื่อว่าระบบกำลังถูกโกงและฉ้อฉล--ด้วยข้ออ้างที่น่ารับฟังไม่น้อย

นักวิชาการที่วิเคราะห์เรื่องโลกาภิวัฒน์ ระเบียบโลกแบบเสรี และเชิดชูส่งเสริมระบบนี้ก็มีส่วนรับ ผิดชอบต่อการขยายตัวของ Populism ไปด้วย เพราะไม่ได้ให้ความสนใจต่อการที่ระบบทุนนิยมฉวย โอกาสจี้เอาโลกาภิวัฒน์เป็นตัวประกัน ชนชั้นนำทางเศรษฐกิจได้ออกแบบสถาบันระหว่างประเทศ เพื่อรับใช้ผลประโยชน์ตัวเองและสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างพวกเขาเองกับรัฐบาล แต่ ทว่าประชาชนที่เป็นคนธรรมดาสามัญกลับถูกทอดทิ้งและพากันโกรธเคืองกับระบบ 

ในปี 2016 รัฐสองรัฐที่เป็นตัวแสดงหลักในการสร้างระเบียบโลกแบบเสรีขึ้นมาคือ สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรกำลังจะหันหลังให้มัน นั่นก็คือชัยชนะของ Brexit และ Trump ปรากฏการณ์ ทั้งสองสะท้อนให้เห็น”การล่มสลายของสัญญาประชาคมที่จุดแกนกลางของเสรีประชาธิปไตย” กลุ่มคนที่ได้ดีในสังคมตลาดได้เคยสัญญาว่าผู้เสียเปรียบจากพลังของตลาดจะไม่ตกหล่นไปไกลจาก ตนเอง แต่ที่จริงพวกเขาตกไปอยู่ ไกลมาก ในระหว่างปี 1974 และ 2015 รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน อเมริกันที่ไม่จบชั้นมัธยมตกต่ำลงถึงร้อยละ 20 แม้แต่พวกที่จบมัธยมปลายแต่ไม่ได้เรียนจบระดับ มหาวิทยาลัยมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนตกลงมากถึงร้อยละ 24 แต่พวกที่จบมหาวิทยาลัยมีรายได้เฉลี่ย สูงขึ้น ในครัวเรือนอเมริกันทั้งหมดรายได้เฉลี่ยจะสูงขึ้นร้อยละ 17 ดังนั้นในภาพรวมคนที่จบการ ศึกษาระดับมหาวิทยาลัยจะมีรายได้สูงกว่า  

นักรัฐศาสตร์ชื่อโรเบิร์ต พัทนั่มและมากาเร็ต แวร์ พบว่าแนวโน้มดังกล่าวจะทำให้เกิดสภาพที่คน อเมริกันอยู่ในโลกที่แตกต่างกัน คนที่มีฐานะดีจะไม่มีที่อยู่อาศัยใกล้กับคนจน และไม่มีปฏิสัมพันธ์ กันในสถาบันสาธารณะอย่างที่เคยทำ การแยกกันอยู่ได้บั่นทอนความเป็นเอกภาพทางสังคม แต่ชน ชั้นนำที่มีความคิดสากลนิยมหลายคนคิดว่าความมีเอกภาพทางสังคมนั้นไม่สำคัญสำหรับประชาธิป ไตยที่ปฏิบัติหน้าที่ดีอยู่แล้ว

ชนชั้นนำได้ฉวยประโยชน์จากระเบียบโลกแบบเสรีทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจในหลายทศวรรษที่ผ่านมาโดยไม่ได้แบ่งรายได้และความมั่งคั่งให้คนชั้นกลางและคนชั้นล่าง คนอเมริกันที่ร่ำรวยและมีการ ศึกษาสูงพยายามผลักดันให้มีนโยบายภาษีอัตราถดถอย นโยบายสร้างข้อตกลงทางการค้าและการ ลงทุนที่ส่งเสริมการจัดจ้างคนภายนอกที่เป็นบริษัทต่างประเทศ และลดการให้งบประมาณแก่มหา วิทยาลัยของรัฐ (ทำให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับโดยลดงบประมาณลง) ผลของนโยบายดังกล่าวได้ ทำลายสิ่งที่เรียกว่าลัทธิเสรีนิยมที่ผูกพันกับสังคม (Embedded Liberalism) อันหมายความถึง ระเบียบโลกแบบเสรีที่สร้างด้วยสังคมแห่งตลาดเสรีได้แต่ก็ยังรักษารัฐสวัสดิการและนโยบายตลาด แรงงานเอาไว้ซึ่งจะฝึกอบรมให้การศึกษาใหม่แก่แรงงานที่มีทักษะแบบเก่า และชดเชยเยียวยาให้กับ ผู้ที่เสียงานให้กับการเปิดเสรีทางการค้าและยังให้การรับรองฐานะให้แก่พลเมืองทุกคนแม้กับผู้ที่ไม่ มีประสิทธิผลในทางเศรษฐกิจ

พวกชนชั้นนำก็ผลักดันและสนับสนุนมุมมองดังกล่าวแต่เพียงแค่ครึ่งเดียวคือตลาดเสรี การเปิดชาย แดนและการร่วมมือทางเศรษฐกิจหลายฝ่าย แต่ในช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 พวกเขาก็เริ่มละ ทิ้งส่วนประกอบอื่นๆของแนวคิดเสรีนิยมเพื่อสังคม ซึ่งก็คือการมีตาข่ายนิรภัยทางสังคมที่แข็งแรง สำหรับผู้ที่ดิ้นรนต่อสู้ชีวิต การไร้สมดุลดังกล่าวบ่อนทำลายการสนับสนุนจากภายในประเทศต่อ ตลาดเสรีในโลก การสร้างพันธมิตรทางการทหารและสิ่งอื่นๆอีกมากมาย  

การเช็คบิลเก่าต่อปัญหาการล่มสลายของสัญญาประชาคมตามมาถึงกำหนดชำระหนี้ในปี 2016 นี้ เองที่ทั้งสองฟากฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก กระนั้นก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็ยังไม่ให้ความ สำคัญต่อภัยคุกคามที่มาจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองซึ่งมีผลต่อระเบียบโลกแบบเสรีนี้ บางคน โต้แย้งว่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการบูรณาการในโลกมีมากจนล้นเกินไปกว่าที่รัฐบาลแห่ง ชาติจะหาทางย้อนกลับไปสู่ลัทธิเสรีนิยมไม่ว่าจะมีการเล่นโวหารในการรณรงค์หาเสียงหรือกระแสทัศนะของ Populism จะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่านักการเมืองก็มักจะสนองตอบต่อ แรงจูงใจในการเลือกตั้งมากกว่าแม้ในชั่วขณะที่แรงจูงใจนั้นแยกทางกันกับผลประโยชน์ในระยะยาวของประเทศตนเอง และในระยะหลายปีที่ผ่านมาผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจำนวนมากก็หันไปเห็น ด้วยกับกระแส Populism ที่ปฏิเสธโลกาภิวัฒน์และระเบียบโลกแบบเสรี

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้นำทางธุรกิจและตลาดหุ้นซึ่งน่าจะช่วยกันเหยียบเบรกกระแสคลั่ง Populism กลับไป ให้รางวัลตอบแทนด้วยข้อเสนอที่ให้ลดภาษีต่อนักธุรกิจอันไปเพื่มค่าใช้จ่ายในภาครัฐมากขึ้นอีกซึ่ง เป็นการกระทำที่สายตาสั้น การหยิบฉวยเอาผลประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์มากขึ้นในขณะที่ผลประ โยชน์ของชนชั้นกลางและชนชั้นคนงานเสียไปก็ยิ่งเป็นการทำลายการสนับสนุนทางการเมืองที่มี ต่อการสร้างบูรณาการของสายการผลิตเชิงอุปทานและแรงงานของผู้อพยพย้ายถิ่นอันเป็นสิ่งที่ เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาต้องพึ่งพาอยู่ จุดยืนเช่นนี้ทำให้นึกถึงวิธีการที่ชนชั้นสูงในฝรั่งเศสใน ศตวรรษที่สิบแปดทำโดยปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีในขณะที่เพลิดเพลินกับการผจญภัยทางการทหารใน ต่างประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง พวกเขาเอาตัวรอดไปได้หลายปีจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ชนชั้น นำในทุกวันนี้กำลังเสี่ยงกับความผิดพลาดในแบบเดียวกัน

ผู้เชี่ยวชาญก็ควรจะมีส่วนรับการตำหนิติเตียนด้วยจากการที่สนับสนุนให้ระเบียบโลกแบบเสรีเดิน ไปสู่ความผิดพลาด ผู้กำหนดนโยบายทำตามข้อเสนอทางวิชาการที่รวมถึงการสร้างสถาบันระหว่าง ประเทศเพื่อส่งเสริมความร่วมมือกัน แต่พวกเขาสร้างมันขึ้นมาด้วยอคติและนักวิชาการก็ประเมิน ค่าความเสี่ยงต่ำไป พวกบรรษัททางการเงินและบรรษัทธุรกิจใหญ่ๆทั้งหลายได้รับอภิสิทธิ์ภายใน สถาบันแห่งระเบียบโลกที่เสรีซึ่งให้ความสนใจต่อผลประโยชน์ของคนงานน้อยมาก กฎของ WTO เน้นที่การเปิดตลาดกว้างและไม่สนใจการส่งเสริมมาตรการที่เป็นเบาะรองรับผลเสียจากการเปิด ตลาดต่อผู้ที่ด้อยโอกาสโดยเฉพาะคนงานในโรงงานภาคการผลิตแบบเก่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว

ในขณะเดียวกัน สนธิสัญญาในการลงทุนซึ่งลงนามในช่วงทษวรรศที่ 1990 มีเงื่อนไขว่านักกฏหมาย ด้านธุรกิจสามารถตักตวงผลประโยชน์จากธุรกิจขนาดใหญ่ได้โดยละเลยประโยชน์ต่อผู้บริโภค และ เมื่อทางการจีนจัดการบิดเบือนการค้าและอัตราแลกเปลี่ยนทำให้คนงานในอเมริกาเสียประโยชน์ รัฐ บาลวอชิงตันตัดสินใจว่ามีเรื่องอื่นในความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับอเมริกาที่สำคัญมากกว่า จึงไม่มี การตอบโต้เรื่องนี้อย่างเต็มที่ 

คนอเมริกันที่เป็นผู้ใช้แรงงานไม่จำเป็นต้องเข้าใจรายละเอียดของการตกลงทางการค้าของโลก แต่ พวกเขามองเห็นชนชั้นนำอเมริกัน คนในจีนและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆพากันร่ำรวยขึ้นอย่างรวด เร็วในขณะที่รายได้ของพวกเขาตกต่ำลง จึงไม่น่าประหลาดใจที่พวกเขาจำนวนมากเห็นด้วยกับนาย ทรัมป์และผู้สมัครประธานาธิปดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครตอีกคนคือนายเบอร์นี่ แซนเดอร์ ทั้งสอง คนบอกว่า “เกมมันถูกโกงไปแล้ว”

เมื่อเป็นเช่นนี้ หมีกก็ถูกป้ายไปที่เรื่องภายในอื่นๆที่ทำให้เกิดการปฏิวัติของ Populism เช่นการ  เหยียดสีผิว ความรู้สึกไม่พอใจต่อผู้เชี่ยวชาญ นโยบายเศรษฐกิจที่ล้มเหลว แต่ไม่ค่อยมีคนให้ความ สนใจต่อปัจจัยสองประการที่เกิดจากระเบียบโลกโดยตรง ปัจจัยแรกคือความสูญเสียเอกภาพในชาติ ที่เกิดจากการที่สงครามเย็นยุติลง ในระหว่างความขัดแย้งของสงครามเย็น ความสำนึกต่อภัยคุกคาม จากสหภาพโซเวียตก่อให้เกิดสำนึกร่วมในความผูกพันต่อพันธมิตรของวอชิงตันและบรรดาสถาบันระหว่างประเทศ นักจิตวิทยาสังคมชี้ให้เห็นความสำคัญของการมอง “ฝ่ายอื่น” ในการก่อตัวของอัต ลักษณ์ทั้งของปัจเจกบุคคลและของชาติ ความรู้สึกที่ชัดเจนว่าใครไม่ใช่กลุ่มของเราทำให้เรารู้สึกไกล้ ชิดกันมากขึ้นกับคนที่เรามองว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน ความล่มสลายของสหภาพโซเวียตทำให้ไม่มีใคร เป็น “คนอื่น” ในจินตนาการทางการเมืองของอเมริกันและลดความผูกพันกันทางสังคมของสหรัฐ อเมริกา การที่สงครามเย็นยุติลงยังทำให้เกิดปัญหาในทางการเมืองต่อพรรครีพับลิกันซึ่งเคยเป็น ป้อมปราการหลักในการต่อต้านคอมมิวนิสต์มานาน เมื่อไม่มีโซเวียตก็ไม่มีนิทานเรื่องผีหลอกเด็กอีก จึงต้องหาเรื่องอื่นมาแทน ลัทธิทรัมป์แตกหน่อมาจากตรงนี้   
   
ในยุโรป จุดจบของสงครามเย็นมีผลกระทบหลายอย่าง ระหว่างสงครามเย็นนั้นผู้นำของยุโรปตะวัน ตกพยายามปกป้องอิทธิพลจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ภายหลังปี 1989 เมื่อไม่มีขีดจำกัดแล้ว รัฐบาลและ ผู้นำในบรัสเซลส์ก็ขยายอิทธิพลชองอียูแม้จะต้องเผชิญหน้ากับการลงประชามติในเรื่องอียูอย่างต่อ เนื่องซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นความไม่พอใจต่ออียูและสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสัญญานเตือนว่าชนชั้นคนงานกำลังไม่พอใจ ในยุโรปตะวันออกการต้านโซเวียตที่แรงในช่วงปีทศวรรษที่ 1980 และ 1990 แต่ กระแสนี้ตกลงเมื่อไม่มีสหภาพโซเวียต และกระแส Populism และการต่อต้านเสรีนิยมก็เข้ามาแทน ที่ ทั้งในยุโรปและอเมริกา การหายไปของสหภาพโซเวียตทำให้ความเป็นเอกภาพทางสังคมถูกบ่อน เซาะรวมทั้งการขาดสำนึกร่วมกันในเป้าหมาย      

พลังประการที่สองที่กระตุ้นความไม่พอใจต่อระเบียบโลกแบบเสรีอาจจะเรียกว่า “การสร้างความ สัมพันธ์พหุภาคีจนเลยเถิดไป” ความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นเงื่อนไขบังคับให้ประเทศต่างๆสร้างข้อ จำกัดความเป็นอิสระหรือลดอัตบัญญัติเพื่อให้สถาบันอย่างเช่น  UN และ World Bank สามารถที่จะ ประสานความร่วมมือและแก้ปัญหาระหว่างกันได้ แต่แนวโน้มตามธรรมชาติของสถาบันเหล่านี้ก็ คือ ผู้นำองค์กรและระบบราชการของสถาบันดังกล่าวก็จะพยายามขยายอำนาจตัวเอง ซึ่งก็ไปทำให้ เกิดการจำกัดอำนาจอธิปไตยของประเทศสมาชิกและประชาชนเกิดรู้สึกว่ากองกำลังต่างชาติดำลัง ควบคุมชีวิตของพวกเขา สถาบันแบบพหุภาคีเหล่านี้ไม่เป็นประชาธิปไตยและเหินห่างจากสังคม ทำให้มีความแปลกแยกกับสาธารณะ      
      
นักรัฐศาสตร์อเมริกันมองว่าการฉ้อฉลของระเบียบโลกแบบเสรีทำให้จำเป็นจะต้องให้ความสนใจ ต่อทั้งปัญหาเนื้อหาและความรู้สึกที่คนมีต่อมัน สหรัฐอเมริกาอ่อนแอเกินไปที่จะแก้ปัญหานี้ในการ ทำให้ระบบเป็นเสรีนิยมที่รับผิดชอบต่อสังคมแม้จะพยายามทำแล้วแต่ก็ไม่สำเร็จ ประเทศเยอรมันนี เดนมาร์คและสวีเดนทำได้ดีกว่าแม้ระบบจะยังมีความตึงเครียดอยู่ ประเทศฝรั่งเศสก็กำลังดิ้นรนเอา ตัวรอดอยู่ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในขณะนี้ วอชิงตันยังมีผลงานที่ไม่น่าประทับใจเลยเมื่อดูที่ ตัวระบบราชการซึ่งเข้ากับสังคมส่วนใหญ่ไม่ได้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูป แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ การปฏิรูปแบบข้างบนสู่ข้างล่างแบบประเทศด้อยพัฒนาบางประเทศ       

ดังนั้น เพื่อจะแก้ปัญหานี้ให้ได้ วอชิงตันควรต้องทำตามหลักสามประการคือ ประการแรก การสร้าง บูรณาการของโลกจะต้องผนวกกับนโยบายภายในประเทศที่ทำให้ชนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคมได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์ในลักษณะที่ทำให้ผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมองเห็นได้ชัด ประการที่สองคือ ความร่วมมือระหว่างประเทศต้องได้ดุลกับผลประโยชน์แห่งชาติเพื่อป้องกันการ ทำอะไรเลยเถิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการใช้กำลังทางทหาร ประการที่สามวอชิงตันต้องบ่มเพาะ ความเป็นอัตลักษณ์ทางสังคมแบบอเมริกันและวาทกรรมของความเป็นชาติ ซึ่งก็หมายความถึงการ กล่าวถึง”คนอื่น”ที่เป็นระบอบอำนาจนิยมและต่อต้านเสรีนิยม การต่อต้านระบอบเผด็จการไม่ได้ หมายความถึงการใช้กำลังบังคับจากภายนอก แต่จะต้องใช้การวิพากษ์วิจารณ์ในทางการฑูตเป็น ครั้งเป็นคราวต่อประเทศเช่นจีนและซาอุดิอารเบีย

ประธานาธิบดีต้องประกาศชัดว่าแม้สหรัฐฯมีความสนใจในการร่วมมือกับประเทศที่ไม่เป็นประชา ธิปไตย แต่สหรัฐฯก็สงวนสิทธิที่จะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศที่เป็นเสรีประชาธิปไคยเท่า นั้น การทำเช่นนั้นจะเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของอเมริกันและสร้างเอกภาพในชาติ ในบางครั้งอาจ จะต้องมีการจำกัดขอบเขตความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศที่ไม่เป๋นประชาธิปไตด้วย       
       
ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบ กระแสประชานิยมในระดับโลกหรือ Global Populism มีอุดมการณ์ที่ ชัดเจนและขายดีในตลาด ลักษณะก็คือ แข็งกร้าว ชาตินิยมและท้องถิ่นนิยม “อเมริกาเป็นอันดับ หนึ่ง” หรือ “ฝรั่งเศสเป็นอันดับหนึ่ง” เป็นสโลแกนที่มีพลัง การกล่าวตอบโต้ว่าเราต้องมีระเบียบ โลกแบบเสรีต้องมีสโลแกนชัดเจนเช่นกัน จึงต้องมีทางเลือกที่ดีและสนองปัญหาของชนชั้นคนงาน เช่น สำหรับพรรคเดโมแครทอาจจะใช้คำว่า “พรรคเพื่อการมีงานทำ” น่าจะดีกว่าใช้คำว่าพรรคนี้เรา ทำเพื่อเพื่มสวัสดิการโดยรวมในขณะที่จะลดความสูญเสียจากการค้าเสรีซึ่งอาจดูยึดยาดไป

ในอเมริกาถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันในแนวทางและการสื่อสาร พรรคการเมืองเก่าๆ ก็อาจจะสูญพันธุ์ไปในที่สุด เวลานี้คนนอกได้ยึดกุมพรรครีพับลิกันไปแล้ว เดโมแครตก็กำลังถูกต้อน เข้ามุม ในยุโรปพรรคแรงงานของอังกฤษก็แตกระเบิดจากภายใน พรรคเก่าๆในฝรั่งเศสก็กำลังหลุด ออกจากกัน การจะปรับตัวให้ได้นั้น มีคำแนะนำของนักจิตวิทยาสังคมคนหนึ่งที่บอกว่า “พวกฝ่าย หัวก้าวหน้าคงจะต้องเรียนรู้ที่จะพูดถึงคำว่า เกียรติยศศักดิ์ศรี ความซื่อสัตย์จงรักภักดี และความมี ระเบียบกันบ้าง …. นอกเหนือจากคำว่า ความเสมอภาคและสิทธิ” ถ้าไม่เช่นนั้นเสรีนิยมอาจจะสูญ หายไปจากโลกนี้ในที่สุด        



เกี่ยวกับผู้เขียน: ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี เป็นอาจารย์ผู้สอนประจำสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net