Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ในยุคปัจจุบัน ที่สมาร์ทโฟนได้เข้ามาแทนที่เทคโนโลยีแบบเก่าหลายต่อหลายอย่าง

สมาร์ทโฟน แค่เครื่องเดียวสามารถทำงานแทนหรือเข้าถึงสินค้าและบริการทุกอย่างในโลก เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ บัตรเครดิต ธนาคาร และอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน

และในยุคที่ ซิมการ์ด=บัตรประชาชน

อีเมล์=ทะเบียนบ้าน และทั้งสองอย่างที่ว่ามาอยู่ในสมาร์ทโฟนทั้งคู่ อันตรายของการไม่รู้ว่าระบบมีช่องโหว่ ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วที่สังคมควรตระหนักและรับรู้ว่ายุค“Internet of Thing”(อินเตอร์เน็ตอยู่ในทุกสรรพสิ่ง)ใกล้เข้ามาถึงแล้ว และมันมีทั้งผลดีและผลเสีย เราควรรู้ทั้งสองด้านและหาทางป้องกันตัวเองก่อนที่จะรอให้คนอื่นหรือผู้ผลิตมาช่วยเหลือ

การเข้ารหัสในสมาร์ทโฟนเป็นเรื่องสำคัญ สมาร์ทโฟนใน iOS และ Android ยุคแรกๆ ใช้การเข้ารหัสแบบ Passcode 4 หลัก 0001-9999

ความน่าจะเป็นของรหัสผ่าน คือ 1 ใน10,000

ในสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆตอนนี้ สามารถใส่รหัสได้ถึง6หลัก = 1ใน1,000,000 หรือถ้ายังไม่แข็งแรงมากพอ ก็สามารถเข้ารหัสแบบ ตัวอักษร+ตัวเลข+สัญลักษณ์ ซึ่งเท่ากับไม่มีความเป็นไปได้เลยในการเดา

แต่ทั้งหมดที่ว่ามา นั้นเป็นเพียงแค่รหัสของประตูที่ 1 ของการเข้าไปหน้าโฮมของสมาร์ทโฟน

เปรียบว่าสมาร์ทโฟนของเราเหมือน บ้าน ที่มีประตูอยู่ 2 บาน

บานที่ 1ต้องใส่รหัสถึงจะเข้าได้

บานที่ 2 ต้องใช้ลายนิ้วของเจ้าของบ้านเท่านั้นถึงจะเข้า และความเป็นไปได้ที่ลายนิ้วมือมนุษย์จะตรงกันคือ 1/50,000

ตัดประตูบานที่1ไปได้เลย เพราะแทบมองไม่เห็นโอกาสที่จะเดารหัสผ่านได้เลย

บานที่ 2 ระบบTouch ID มองเผินๆเหมือนจะเป็นประตูแข็งแรง  แต่ถ้าเราเอาความน่าจะเป็นของการเข้ารหัสแบบPasscode มาเทียบกับ การเข้ารหัสแบบTouch ID เราจะเห็นจุดอ่อน

คือ ระบบจะพังพินาศทันทีที่จะเจ้าของเครื่องหลับหรือหมดสติ หรือเมา หรือถูกบังคับทางกายภาพ “ลืมฉากผู้ร้ายบังคับเอารหัสตู้เซฟของพระเอกในหนัง Action ไปได้เลย  เพราะในโลกยุคนี้ ผู้ร้ายแค่เอาสมาร์ทโฟนที่มีระบบTouch ID ไปทาบกับนิ้วมือของพระเอกที่บังคับจับไว้

ก็สามารถเข้าถึงทุกสิ่งทุกอย่างของพระเอก

เพราะมนุษย์มีแค่ 10 นิ้วมือ และอย่างน้อยหนึ่งในนั้นคือรหัสผ่าน เท่าเหลือความน่าจะเป็นของรหัส 1/10 จากโอกาส 5 ครั้ง ความน่าจะเป็นเหลือ 1/2 ซึ่งคนทั่วไปใช้นิ้วหัวแม่มือในการตั้งTouch ID และคนบนโลกส่วนใหญ่ ถนัดมือข้างขวา ผมยังไม่ได้บอกเลยด้วยซ้ำว่า สามารถใช้ได้ 5 นิ้วในการตั้ง Touch ID

เพราะจุดอ่อนของระบบคือการมีกุญแจอยู่ในร่างกายเจ้าของตลอดเวลาเพราะเป็นส่วนหนึ่งในร่างกาย กับสมาร์ทโฟนที่ในปัจจุบัน ก็เป็นส่วนหนึ่งในร่างกาย แต่อย่างที่ผมบอกในข้างต้น ว่าเปรียบสมาร์ทโฟนเป็นบ้านที่มีประตูทางเข้าสองบาน และวิธีแก้ไขจุดอ่อนของ Touch ID ก็ง่ายมาก แค่การมีการประกาศเตือน โดยให้รับรู้กันทั่วไปเหมือน โหมดเครื่องบิน ที่เวลาเราอยู่บนเครื่องบินหรือโรงพยาบาล เราก็แค่เปิดโหมดเครื่องบิน ในกรณีนี้ ผู้ผลิตก็แค่เพิ่มฟังก์ชั่นในโหมดสลีป หรือแยกโหมดต่างหากก็ได้ ที่คุณก็แค่เปิดโหมดที่หยุดการทำงานของ Touch ID ให้เหลือแต่ การเข้ารหัสแบบPasscode หรือไม่ต้องมีโหมดอะไรด้วยซ้ำแค่คุณรีสตาร์ท สมาร์ทโฟนของคุณ ในตอนก่อนนอน ก่อนเอาไปปาร์ตี้ที่เสี่ยงที่จะเมา ก่อนออกไปพบกับเพื่อนใหม่ทางTinder หรือไม่คุณก็แค่ปิด Touch ID ก่อนเวลาที่คุณต้องออกไปข้างนอกแค่นั้นเอง 

ผมลังเลอยู่นานว่าจะเขียนเรื่องนี้ดีไหม เพราะมันเหมือนเป็นดาบสองคม แต่ผมก็ตัดสินใจว่าขนาดตัวผมที่เป็นแค่คนธรรมดาที่ไม่ได้มีโปรไฟล์อะไรมากมาย ยังเห็นถึงช่องโหว่ของระบบ มันอาจจะมีคนที่รู้ก่อนผมและกำลังใช้ประโยชน์อย่างลับๆ กับเรื่องแบบนี้ก็ได้ และในปัจจุบัน มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ransonwere ก็แพร่กระจายไปทั่วโลก ผมจึงคิดว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่คนทั่วไปจะได้ตระหนักถึงอันตรายจากการไม่ระวังตัวในโลกยุคนี้ ที่ขนาดมีไวรัสเรียกค่าไถ่เป็นภาษาไทย   

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net