Skip to main content
sharethis

กรุงเทพโพลล์ เผยคนไทย 45.0 % ยังไม่เห็นการขับเคลื่อนเกี่ยวกับการเลือกตั้งของ กกต. แต่หากมีการเซ็ตซีโร่ กกต. ประชาชน 47.3% ไม่เห็นด้วย  โดย ส่วนใหญ่ 57.0 % ไม่ค่อยเชื่อมั่นว่าการเซ็ตซีโร่กกต. แล้วการเลือกตั้งจะโปร่งใส ไร้การซื้อเสียง และ 55.7% ไม่กังวลหากเซ็ตซีโร่ กกต. แล้ว การเลือกตั้งจะเลื่อนออกไป

 

8 มิ.ย. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง “เซ็ตซีโร่ กกต. การเลือกตั้งจะเป็นอย่างไร?” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,205 คน พบว่า

เมื่อถามความเห็นของประชาชนต่อการเตรียมการขับเคลื่อนการจัดการเลือกตั้งของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ตามโรดแมปกำหนดจัดการเลือกตั้งในต้นปี 2561 พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 45.0 ไม่เห็นการเตรียมการใดๆเลย ขณะที่ร้อยละ 30.6 เห็นการเตรียมการเลือกตั้งเป็นไปอย่างเชื่องช้าไม่เร่งรีบ ส่วนร้อยละ 18.8 เห็นการเตรียมการเลือกตั้งที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ที่เหลือร้อยละ 5.6 ไม่แน่ใจ

ทั้งนี้เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร กับการเซ็ตซีโร่ กกต. หรือให้ กกต. ชุดปัจจุบันทั้งหมดพ้นวาระ ตามเจตนารมณ์ของ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.) ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.3 ระบุว่า “ไม่เห็นด้วย”เพราะน่าจะผสมระหว่าง กกต. ชุดเก่า ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน กับ กกต. ชุดใหม่ เพื่อจะได้สานงานต่อได้เลย ขณะที่ร้อยละ 44.6 ระบุว่า “เห็นด้วย” เพราะจะได้เป็น กกต. ชุดเดียวกันมีที่มาเหมือนกันทั้งหมด ไม่ทำงานแบบปลาสองน้ำ ส่วนที่เหลือร้อยละ 8.1 ไม่แน่ใจ

ด้านความเชื่อมั่นต่อการเซ็ตซีโร่ กกต. แล้ว จะทำให้การเลือกตั้งโปร่งใส  ไร้การซื้อเสียง พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.0 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 35.3 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ส่วนที่เหลือร้อยละ 7.7 ไม่แน่ใจ

สุดท้ายเมื่อถามว่ากังวลมากน้อยเพียงใดว่าการเซ็ตซีโร่ กกต.  แล้วจะทำให้การเลือกตั้งตามโรดแมปถูกเลื่อนออกไป ส่วนใหญ่ร้อยละ 55.7 กังวลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 38.6 กังวลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ที่เหลือร้อยละ 5.7 ไม่แน่ใจ

 

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1. ความเห็นต่อการเตรียมการขับเคลื่อนการจัดการเลือกตั้งของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ตามโรดแมปกำหนดจัดการเลือกตั้งในต้นปี 2561

ไม่เห็นการเตรียมการใดๆเลย       

ร้อยละ

45.0

เห็นการเตรียมการเลือกตั้งเป็นไปอย่างเชื่องช้าไม่เร่งรีบ

ร้อยละ

30.6

เห็นการเตรียมการเลือกตั้งที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม

ร้อยละ

18.8

ไม่แน่ใจ

ร้อยละ

5.6


2. ข้อคำถาม “เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร กับการเซ็ตซีโร่ กกต. หรือให้ กกต. ชุดปัจจุบันทั้งหมดพ้นวาระ ตามเจตนารมณ์ของ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.)”

ไม่เห็นด้วย  เพราะน่าจะผสมระหว่าง กกต. ชุดเก่า ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน กับ    

                    กกต. ชุดใหม่ เพื่อจะได้สานงานต่อได้เลย

ร้อยละ

47.3

เห็นด้วย  เพราะจะได้เป็น กกต. ชุดเดียวกันมีที่มาเหมือนกันทั้งหมด

             ไม่ทำงานแบบ ปลาสองน้ำ

ร้อยละ

44.6

ไม่แน่ใจ

ร้อยละ

8.1


3. ความเชื่อมั่นต่อการเซ็ตซีโร่ กกต. แล้วจะทำให้การเลือกตั้งโปร่งใส  ไร้การซื้อเสียง

ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 26.5 และน้อยที่สุดร้อยละ 30.5)

ร้อยละ

57.0

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 28.4 และมากที่สุดร้อยละ 6.9)

ร้อยละ

35.3

ไม่แน่ใจ

ร้อยละ

7.7


4. ความกังวลต่อการเซ็ตซีโร่ กกต.  แล้วจะทำให้การเลือกตั้งตามโรดแมปถูกเลื่อนออกไป  

ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 26.4 และน้อยที่สุดร้อยละ 29.3)

ร้อยละ

55.7

ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างมากร้อยละ 28.6 และมากที่สุดร้อยละ 10.0)

ร้อยละ

38.6

ไม่แน่ใจ

ร้อยละ

5.7

 

รายละเอียดการสำรวจ

วัตถุประสงค์การสำรวจ

1)      เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการขับเคลื่อนการจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ตามโรดแมปกำหนดจัดการเลือกตั้งในต้นปี 2561

2)      เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการเซ็ตซีโร่ กกต. ตามเจตนารมของ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.)

3)      เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อการเซ็ตซีโร่ กกต. แล้ว การเลือกตั้งจะโปร่งใส  ไร้การซื้อเสียง

4)      เพื่อสะท้อนกังวลต่อการเซ็ตซีโร่ กกต.  แล้วจะทำให้การเลือกตั้งตามโรดแมปถูกเลื่อนออกไป

ประชากรที่สนใจศึกษา การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) การประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  ± 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

วิธีการรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล     :  6 –7 มิถุนายน 2560

วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ           :  8 มิถุนายน 2560

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net