นักวิชาการสื่อชี้ คนหมู่มากชินชากับความรุนแรงเพราะสื่อชี้นำทำเพื่อรายได้

สังคมชินชากับความรุนแรงผ่านการเสพสื่อ  รับข้อมูลด้านเดียวทำเสียงส่วนใหญ่กลบเสียงส่วนน้อย แต่เสียงส่วนน้อยอาจส่งเสียงสะท้อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการเสพสื่อ ความนิยม ทุนนิยมทำสื่อ โซเชียลใส่สีตีไข่ สร้างดราม่า ฉากละครบนเหตุการณ์จริง

   ภาพบรรยากาศการเสวนา (ที่มา: สมาคมนักข่าว หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย)

เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2560 มีงานเสวนา “ข่าวเปรี้ยว ข่าวเปรี้ยง! สะท้อนความป่วยไข้ของสังคมไทย?” ที่ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา ได้แก่ ปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กนกพร ประสิทธิ์ผล นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ วรัชญ์ คุรจิต ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วริษฐ์ ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการเว็บผู้จัดการออนไลน์ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ความนิยม ทุนนิยมทำสื่อ โซเชียลใส่สีตีไข่ สร้างดราม่า ฉากละครบนเหตุการณ์จริง

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร ยังย้ำอีกว่า โรคนิยมความรุนแรงผ่านการนำเสนอของสื่อ ทำให้ผู้คนในสังคมเฉยชาจนมองเป็นเรื่องกึ่งบันเทิง พร้อมทั้งการเกาะกระแสตามสื่อจนไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา ทั้งนี้สื่อเป็นปัญหาเช่นกันในพฤติกรรมต่างๆ อาทิ ห่วงเรตติ้ง ทำให้ไม่กล้าเปิดประเด็นใหม่ๆที่แตกต่างออกไปจากเดิม พร้อมทั้งติดดราม่า โดยในการประกอบสร้างความจริงบนสื่อผ่านเรื่องเล่าและตัวละคร ซึ่งไม่สามารถแยกได้ว่าอันไหนเรื่องจริงหรือเรื่องแต่ง

ด้าน กนกพร ประสิทธิ์ผล กล่าวว่า การเข้าถึงออนไลน์ทำให้ครองสื่อได้ง่ายขึ้น พร้อมทั้งมีเรื่องธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งในสื่อโทรทัศน์ รายได้มาจากการนำโฆษณามาลงสื่อ หากเรตติ้งตก โฆษณาไม่เข้ารายก็จะลดลงไปด้วย จึงทำให้ดูกระแสตามสื่อสังคมออนไลน์ ยกกรณีศึกษา ThaiPBS ทำข่าวเปรี้ยว จะเซ็นเซอร์หน้าตาผู้ต้องหา ตามหลักจริยธรรม ขณะที่เพจบนโซเชียลกลับลงวิดีโอ ใช้คำดึงดูดเหมือนพาดหัวข่าวคลิกเบท ให้คนเข้ามาดู

ยิ่งไปกว่านั้น นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวอีกว่า อัลกอริทึมของเฟซบุ๊กจะจัดสรรการเลือกเสพให้เป็นไปตามที่เราเสพสื่อต่างๆ เช่น เราเข้าเพจนั้นบ่อยๆ ก็จะขึ้นมาในหน้านิวส์ ฟีดของเรา โดยผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร กล่าวว่า หลักการทำงานของสื่อสังคมออนไลน์ตรงกับทฤษฎีวงเกลียวแห่งความเงียบที่กล่าวว่า ถ้าไม่มีเสียงค้าน เสียงส่วนใหญ่จะครอบงำเสียงส่วนน้อย

ดร.วรัชญ์ คุรจิต  ทิ้งท้ายว่า “หากเสียงเล็กๆมีส่วนเปลี่ยนแปลง ไม่ยินยอมไปรับสิ่งที่ไม่ดี เหมือนกับการโยนก้อนหินลงไปในน้ำ ยิ่งมีมากขึ้น หินจะมีขนาดใหญ่ เสียงสะท้อนไปสู่การปรับตัวสื่อก็ยิ่งดังขึ้น”

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท