เครือข่ายส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติที่แม่สอดเรียกร้องการจ้างงานเป็นธรรม

เนื่องในวันผู้อพยพย้ายถิ่นสากลซึ่งตรงกับวันที่ 18 ธันวาคมของทุกปี เครือข่ายส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกวดขันกับนายจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน และยกเลิกการยึดบัตรประจำตัวของแรงงาน รวมทั้งยุติสัญญาจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันแรงงานถูกละเมิดและถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

เอื้อเฟื้อภาพจากเครือข่ายส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MRPWG) 

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. เครือข่ายส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MRPWG) และเครือข่ายต่อต้านการค้ามนุษย์แม่สอด จัดกิจกรรมเนื่องในวันผู้อพยพย้ายถิ่นสากล โดยในช่วงเช้ามีการเดินรณรงค์เริ่มขบวนจากตลาดริมเมย มาที่สนามกีฬาโรงเรียนแม่ตาว อ.แม่สอด จ.ตาก เพื่อจัดกิจกรรมเสวนาในภาคเช้า และในช่วงบ่ายยังมีการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน และแข่งขันฟุตบอลคู่ชิงชนะเลิศด้วย

โดยในโอกาสวันผู้อพยพย้ายถิ่นสากลซึ่งตรงกับวันที่ 18 ธันวาคมของทุกปี ทางเครือข่ายฯ ยังมีการเผยแพร่แถลงการณ์ด้วย โดยเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกวดขันกับนายจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน และยกเลิกการปฏิบัติที่ไม่ชอบ เช่น การยึดเอกสารบัตรประจำตัวของแรงงานเอาไว้ และการใช้สัญญาจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม ป้องกันแรงงานอพยพถูกละเมิดและถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชน นายจ้าง และลูกจ้าง เคารพสิทธิตามหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงานตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดการจ้างงานอย่างเป็นธรรม ขณะที่เครือข่ายส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MRPWG) จะเดินหน้าทำงานเพื่อสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน สร้างความสมานฉันท์ให้แก่บุคคลในพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก เพื่อการพัฒนาวิถีชีวิตและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อไป โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ดังนี้

000

แถลงการณ์เครือข่ายส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ Migrant Rights Promotion Working Group – MRPWG เนื่องในวันวันผู้อพยพย้ายถิ่นสากล ปี 2560

เครือข่ายส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ หรือ Migrant Rights Promotion Working Group - MRPWG ได้ทำงานให้ความช่วยเหลือแรงงานผู้อพยพพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก และส่งเสริมผลักดันเชิงนโยบายเพื่อสิทธิแรงงาน สิทธิมนุษยชนของบุคคลเคลื่อนย้ายมาเป็นระยะเวลากว่า 12 ปี ขอแถลงสถานการณ์ภาพรวมของสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานของผู้อพยพในพื้นที่แม่สอด และนำเสนอประเด็นเร่งด่วนของพวกเรา เพื่อให้เกิดความตระหนักร่วมกัน ดังต่อไปนี้

สิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายของผู้อพยพ

ทางเครือข่ายฯ ได้เคยเสนอข้อเรียกร้องในหัวข้อนี้ไว้และอยากจะยกข้อเสนอขึ้นอีกครั้ง

‘ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการกวดขันกับนายจ้างให้ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน และยกเลิกการปฏิบัติที่ไม่ชอบ เช่น การยึดเอกสารบัตรประจาตัวของแรงงานเอาไว้ และการใช้สัญญาจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม’

ปัญหาแรงงานข้ามชาติในพื้นที่แม่สอด ไม่ได้ค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายมีมาเป็นระยะเวลายาวนาน ด้วยลักษณะชายแดนธรรมชาติของพื้นที่ และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้างที่ส่วนใหญ่มักไม่ได้มีการทำสัญญาตามกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้ยากจะแก้ไขหากขาดความร่วมมือของทุกภาคส่วนช่วยกันสอดส่องดูแลอย่างจริงจัง เราเชื่อว่าหากแรงงานฯ ในพื้นที่ได้รับการปฏิบัติเสมือนลูกจ้างทั่วไป ได้รับสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าแรง สิทธิวันลาหยุด สิทธิที่ได้รับค่าจ้างเพิ่มในการทำงานล่วงเวลา ผู้อพยพเหล่านี้ก็ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่อื่นเพื่อหาโอกาสที่ดีกว่า

มีหลายกรณีที่แรงงานข้ามชาติไม่ได้รับค่าแรงหลังจากที่ทำงานเป็นเดือน หรือถูกใช้เป็นแรงงานขัดหนี้ ซึ่งหนี้เหล่านั้นคือการที่พวกเขาเข้าใจว่าจ่ายไปกับการนำพวกเขาเข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย แต่แล้วแรงงานฯ เหล่านี้ ก็พบว่าตัวเองถูกหลอก ไม่มีเอกสาร ถูกส่งกลับประเทศต้นทาง ไม่ได้รับค่าจ้าง และผู้กระทำผิดตัวจริงกลับลอยนวล

เราขอสัญญาว่าจะทำงานอย่างสุดกำลังเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ แรงงานขัดหนี้ถือเป็นความผิดตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการฉ้อโกงอันเป็นความผิดทางอาญา จึงขอให้ทุกท่านตระหนักถึงกรณีที่แรงงานผู้อพยพที่ถูกฉ้อโกงกลายเป็นผู้กระทำความผิดที่ตัดสินโดยกฎหมายคนเข้าเมือง อันเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของหลักนิติธรรม (Rule of Law) และไม่สามารถแก้ไขปัญหาการละเมิดแรงงานได้อย่างแท้จริง

กรณีการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานผู้อพยพโดยมิชอบ

เมื่อต้นปี 2560 เครือข่ายฯ ได้มีการนำเสนอข้อเรียกร้องกรณีผู้อพยพถูกละเมิดและถูกแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ

‘…ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติทำการตรวจสอบและดำเนินการกับขบวนการแสวงหาประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติ เช่น กระบวนการนายหน้าในการจดทะเบียนแรงงานและขอให้มีการดำเนินการตรวจสอบการแสวงประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับท้องถิ่นในการเรียกเก็บเงินจากแรงงานโดยมิชอบ…’

ตลอดเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เครือข่ายฯ ได้รับแจ้งกรณี แรงงานฯไม่สามารถใช้บริการศูนย์ One Stop Service เพื่อจดทะเบียน CI หรือ Certificate of Identity ไม่ต่ำกว่า 5 คดีต่อเดือน บริเวณหน้าศูนย์ CI พื้นที่แม่สอด เป็นที่ตั้งของสำนักงานนายหน้า บ่อยครั้งแรงงานฯ ถูกทำให้เข้าใจผิดว่าไม่สามารถใช้บริการจดทะเบียนตามปกติได้ หากแรงงานฯ เหล่านั้นปฏิเสธที่จะใช้บริการบริษัทนายหน้า กลับไม่ได้รับความร่วมมือในการกรอกแบบฟอร์ม ถูกเรียกเงินเพิ่มโดยมิชอบ แสดงให้เห็นว่านโยบายจดทะเบียนแรงงานไม่สามารถใช้ได้ในทางปฏิบัติ กลับเป็นช่องทางแสวงหาผลประโยชน์ของบุคคลทุจริต

ในขณะที่พระราชกำหนดการบริหารการจัดการการทางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ยังไม่มีการสรุปข้อแก้ไขที่ชัดเจน เป็นความท้าทายของเครือข่ายฯ ที่จะลงพื้นที่อบรมแรงงานฯเพื่อให้ความรู้ เมื่อกฎหมายและนโยบายไม่คงที่ แรงงานผู้อพยพนอกจากมีความเสี่ยงทางสถานะและพบอุปสรรคในการจดทะเบียน เรายังได้รับแจ้งกรณีแรงงานฯ ถูกเรียกเงินเกินความจำเป็น โดยข้ออ้างว่าใช้เพื่อการจดทะเบียนแรงงาน ทาให้พวกเขาต้องทำงานใช้หนี้ เป็นการถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม ซ้าแล้วซ้าเล่า

เครือข่ายฯ อยากขอใช้โอกาสนี้ในการขอความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐในฐานะผู้ที่เห็นความสำคัญของแรงงานฯเศรษฐกิจในพื้นที่เช่นเดียวกัน ช่วยสอดส่องดูแลและร่วมกันวางแนวทางปฏิบัติเพื่อปกป้องสิทธิของบุคคลทุกคนโดยไม่เลือกในพื้นที่พิเศษแห่งนี้ เพื่อการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและชดเชยเยียวยาสาหรับบุคคลทุกคน

นอกจากนี้เรายังเสนอในประเด็นเรื่อง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของแรงงานผู้อพยพเสนอแนะให้หน่วยงานด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานระดับจังหวัด ดำเนินการ ตรวจสอบ ติดตาม และส่งเสริม มาตรฐานการทำงานที่ปลอดภัยในสถานประกอบการทุกแห่งในพื้นที่จังหวัดตาก ตามที่กฎหมายกาหนด

เพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีในการใช้แรงงานข้ามชาติในจังหวัดตาก จึงขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน นายจ้าง และลูกจ้าง เคารพสิทธิตามหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงานตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดการจ้างงานอย่างเป็นธรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีแรงงานผู้อพยพเป็นกาลังสาคัญอย่างยั่งยืน เครือข่ายส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ Migrant Rights Promotion Working Group – MRPWG จะเดินหน้าทางานเพื่อสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่ากัน สร้างความสมานฉันท์ให้แก่บุคคลในพื้นที่ชายแดนจังหวัดตาก เพื่อการพัฒนาวิถีชีวิตและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท