Skip to main content
sharethis

เรียกร้องทางการไทยยุติการปราบปราม คุกคามทุกรูปแบบต่อการชุมนุมอย่างสันติ ผอ.แอมเนสตี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุ รัฐบาลไม่ทำตามสัญญาที่จะเคารพสิทธิมนุษยชน และอนุญาตให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสงบ ประธานแอมเนสตีประจำประเทศไทย ขอให้ทุกภาคส่วนเคารพการทำงานของสื่อ ไม่ให้ถูกคุกคาม

<--break- />

กิจกรรม We Walk เป็นอีกกลุ่มที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนลระบุในแถลงการณ์

31 ม.ค. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล องค์กรรณรงค์และปกป้องสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์ชื่อ "แอมเนสตี้เรียกร้องหยุดคุกคามกลุ่ม We Walk และนักกิจกรรมทุกกลุ่ม" เพื่อเรียกร้องให้ทางการไทย ยุติการปราบปรามผู้เห็นต่างและผู้ที่ออกมาชุมนุมอย่างสงบ รวมถึงกลุ่ม We Walk และนักกิจกรรมคนอื่นๆ ที่ต่อต้านรัฐบาลทหาร

เรียก 39 คน รับข้อหาฝืน พ.ร.บ.ชุมนุม 2 ก.พ.นี้ อ้างร่วมเหยียบเบรค คสช. สืบทอดอำนาจ

'8 เดินมิตรภาพ' เข้ารับทราบพร้อมปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา หลังถูกฟ้องฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช.

เลื่อนพิพากษาอุทธรณ์ครั้งที่ 3 คดี ‘อภิชาต’ ชูป้ายค้านรัฐประหาร เหตุคดีซับซ้อน

สำนักเลขาธิการใหญ่ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร แถลงเรียกร้องทางการไทยให้ยุติการปราบปรามและคุกคามทุกรูปแบบต่อการชุมนุมอย่างสันติ หลังจากนักกิจกรรมแปดคนของกลุ่ม We Walk ที่ร่วมเดินขบวนอย่างสงบเพื่อสนับสนุนประเด็นทางสังคม เศรษฐกิจ และพลเมือง ถูกแจ้งความฐานฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ยังมีคดีของ อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ที่ถูกจับจากการชูป้ายไม่ยอมรับรัฐประหารหลังเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อปี 2557 เพียงหนึ่งวัน ซึ่งศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาในวันนี้ (31 มกราคม 2561) ซึ่งหากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง เขาอาจได้รับโทษจำคุกสูงสุดหกเดือนและถูกปรับ

ล่าสุด ทางการไทยยังได้ประกาศเตรียมดำเนินคดีต่อนักกิจกรรมอีกเจ็ดคนในข้อหายุยงปลุกปั่นจากการจัดชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2561 ที่ผ่านมาด้วย

ตลอดเวลาเกือบสี่ปีที่ผ่านมา คนไทยหลายร้อยคนถูกคุกคามหรือคุมขังจากการใช้เสรีภาพในการแสดงออกอย่างสันติ โดยเฉพาะการไม่ยอมรับรัฐบาลทหารหรือคัดค้านนโยบายบางอย่างของรัฐบาลทหาร

เจมส์ โกเมซ ผู้อำนวยการสำนักงานเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า "กองทัพไทยให้สัญญาครั้งแล้วครั้งเล่านับตั้งแต่ยึดอำนาจว่าจะเคารพสิทธิมนุษยชน และอนุญาตให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสงบ แต่ที่ผ่านมากลับไม่ได้ปฏิบัติตามคำสัญญาเลย"

แอมเนสตี้ทั่วโลกเรียกร้องให้ทางการไทยปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่จะยกเลิกกฎหมายหลายฉบับที่ขาดความชอบธรรม ซึ่งถูกบังคับใช้มาตั้งแต่รัฐประหารปี 2557 ตลอดจนเรียกร้องให้ประชาคมโลกแสดงความสนใจและร่วมกันเรียกร้องทางการไทยให้มากขึ้นด้วย

พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ประธานกรรมการแอมเนสตี้ประเทศไทย กล่าวว่าสื่อมวลชนเปรียบเสมือน “ครู” ผู้ทำหน้าที่ในการร่วมกันบ่มเพาะคนในสังคมให้ตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน และเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น จึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างกำลังใจให้กับสื่อมวลชนที่ทำงานอย่างหนักในการนำเสนอข่าวสารในแง่มุมที่คำนึงถึงการเคารพ ส่งเสริม และปกป้องสิทธิมนุษยชน

ในส่วนของแอมเนสตี้ประเทศไทยขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนเคารพการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่ต้องได้รับการคุ้มครองไม่ให้ถูกข่มขู่และคุกคาม

คณะกรรมการตัดสินผลงานรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2560 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสายสื่อมวลชนและสายสิทธิมนุษยชน จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ผลการตัดสินมีดังนี้

แอมเนสตี้ขอขอบคุณและชื่นชมผลงานทุกชิ้นที่ส่งเข้าประกวด และขอเป็นกำลังใจให้สื่อมวลชนผลิตผลงานที่มีคุณค่าเพื่อการพัฒนาสังคมที่โปร่งใส เป็นธรรม และยั่งยืนต่อไปในอนาคต เพราะเราเชื่อว่าคุณภาพของสื่อสะท้อนถึงคุณภาพของสังคม

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net