Skip to main content
sharethis

หมายเหตุประเพทไทยสัปดาห์นี้ ชานันท์ ยอดหงษ์ และประภาภูมิ เอี่ยมสม มองละครและภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาคเหนือหรือดินแดนล้านนา ผ่านมุมมองแบบอาณานิคมภายใน โดยที่ผ่านมานับตั้งแต่สยามผนวกภาคเหนือตอนบนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสมัยใหม่ นอกจากการจัดระเบียบการปกครองและแบ่งเขตพรมแดนแล้ว ชนชั้นนำยังพยายามสร้างภาพจำเกี่ยวกับภาคเหนือทั้งในแง่มุมแบบถิ่นไทยงาม ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งภาพลักษณ์ของผู้หญิงภาคเหนือที่ใสซื่อบริสุทธิ์

โดยหนึ่งในการสร้างภาพลักษณ์นั้นก็คือบทละครร้อง "สาวเครือฟ้า" โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2452 ซึ่งละครร้องนี้ได้เค้าโครงมาจาก "มาดามบัตเตอร์ฟลาย" ของ Giacomo Puccini ทั้งนี้บทละครร้อง "สาวเครือฟ้า" ได้รับความนิยมอย่างมาก และมีการนำไปผลิตซ้ำเป็นภาพยนตร์อีกในปี พ.ศ. 2495 และ พ.ศ. 2508 ไม่เพียงเท่านั้นในช่วงทศวรรษ 2490 ก็มีกรณี "วังบัวบาน" ที่ถูกผลิตซ้ำเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2515 รูปแบบเช่นนี้ยังปรากฏในละครยุคต่อมาอย่าง "ดอกรักบานที่สันกำแพง" "แหวนทองเหลือง" "แม่อายสะอื้น" ฯลฯ

ภาพลักษณ์ของสาวเหนือในละคร ยังปรากฏในรูปแบบของผีและสิ่งเร้นลับ ที่อาลัยอาวรณ์คนรักในชาติภพอดีต หรือมาในรูปแบบของการหวง การทวงสมบัติ เช่น ผีอีแพง ในละครเรื่อง "บ่วง" หรือละครเรื่องอื่นๆ อย่าง "เจ้านาง" "สาปภูษา" "รอยไหม" ฯลฯ

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่
เฟสบุ๊ค 
https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net