Skip to main content
sharethis

ทำความเข้าใจระบบมูลนายสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ที่เป็นระบบความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงระหว่างรัฐและคนที่อยู่ภายใต้รัฐ ทั้งนี้กฎหมายตราสามดวงกำหนดไพร่ต้องสังกัดมูลนาย ทั้งที่เป็นขุนนางหรือเจ้านาย และต้องเข้าเวรรับใช้มูลนายตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่เข้าเวรรับใช้มูลนายก็ต้องส่งส่วยให้รัฐ รวมไปถึงข้าพระหรือเลกวัดที่เป็นไพร่ซึ่งถูกอุทิศให้เป็นข้ารับใช้ของวัด นอกจากนี้ยังมีทาสประเภทต่างๆ ด้วย

ทั้งนี้มีไพร่หนีจากระบบมูลนายอยู่เนืองๆ รวมถึงการไปบวชเป็นพระ จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการปฏิรูประบบราชการและใช้การเกณฑ์ทหาร แทนที่ระบบไพร่ รวมทั้งมีการเลิกทาสด้วยในเวลาต่อมา ทั้งหมดนี้ติดตามได้ในรายการหมายเหตุประเพทไทย ตอน ระบบมูลนายสมัยรัตนโกสินทร์ พบกับ คำ ผกา และศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ

ติดตามรายการหมายเหตุประเพทไทยย้อนหลังที่
เฟสบุ๊ค 
https://www.facebook.com/maihetpraphetthai
หรือลงทะเบียนรับชมที่ https://youtube.com/prachatai

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net