Skip to main content
sharethis

ประมวลความเคลื่อนไหวของเฟสบุ๊คจาก blognone.com ตั้งแต่ ออกกฎใหม่ แอดมินเพจขนาดใหญ่ต้องยืนยันตัวตนก่อนถึงจะโพสต์ได้ หรือเริ่มปิดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชันไม่ให้แอพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ 

8 เม.ย.2561 ความเคลื่อนไหวของเฟสบุ๊คในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีหลายประเด็นมา โดย blognone.com ได้รายงานไว้ ตั้งแต่ ออกกฎใหม่ แอดมินเพจขนาดใหญ่ต้องยืนยันตัวตนก่อนถึงจะโพสต์ได้ หรือเริ่มปิดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชันไม่ให้แอพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ 

โดยมีรายละเอียดในรอบสัปดาห์ ที่ blognone.com รวบรวมไว้ดังนี้

แม้ยังแก้ปัญหาคลิปไลฟ์รุนแรงไม่ได้มาก แต่ Facebook Live ยังเติบโตสูง

7 เม.ย.2561 เฟสบุ๊ค เผย Facebook Live เติบโตก้าวกระโดด ขณะนี้มีคนดูไลฟ์ไปแล้วเกือบ 2 พันล้านราย และคลิปไลฟ์ที่ไลฟ์โดยเพจที่ได้รับการรับรองก็มีจำนวนมากขึ้น 50% ในปี 2017 อย่างไรก็ตาม เฟสบุ๊ค  รับรู้ว่า Facebook Live มีปัญหามาก เช่น ไลฟ์ฆ่าตัวตาย ฆาตกรรม ซึ่งเฟสบุ๊คยังไม่สามารถจัดการป้องกันการเผยแพร่ความรุนแรงได้อย่างทันท่วงที
 
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ blognone.com)

ออกกฎใหม่ แอดมินเพจขนาดใหญ่ต้องยืนยันตัวตนก่อนถึงจะโพสต์ได้

ประกาศนโยบายใหม่ว่า แอดมินของเพจ "ที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก" จะต้องยืนยันตัวตนกับ เฟสบุ๊คด้วย มิฉะนั้นจะไม่สามารถโพสต์ข้อมูลลงเพจได้
 
เป้าหมายของ เฟสบุ๊ค คือป้องกันปัญหาข่าวปลอมแพร่ระบาด ที่ก่อนหน้านี้มีกลุ่มผู้ใช้จากรัสเซียเผยแพร่ข่าวปลอมผ่านการสร้างเพจหรือกรุ๊ป ทำให้ เฟสบุ๊คต้องออกมาตรการตรวจสอบว่าแอดมินของเพจเป็นใคร
 
อย่างไรก็ตามเฟสบุ๊คไม่ได้ระบุชัดเจนว่า เพจที่เข้าข่ายต้องมีผู้ติดตามเท่าไร (ใช้คำว่า "Pages with large numbers of followers") และยังไม่เปิดเผยว่าจะตรวจสอบตัวตนอย่างไรด้วย
 
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ blognone.com)
 

เคยขอข้อมูลการรักษาของผู้ใช้งานจากโรงพยาบาล เพื่อทำวิจัย แต่หยุดโครงการไปแล้ว

สำนักข่าว CNBC เผยเฟสบุ๊ค ทำโครงการวิจัยโดยใช้ข้อมูลบนเฟสบุ๊ค กับข้อมูลการแพทย์ เป้าหมายคือเพื่อพัฒนาด้านการรักษาและการดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามโครงการวิจัยได้หยุดไปเมื่อเดือนที่แล้ว หรือช่วงที่ปัญหาข้อมูลระหว่างเฟสบุ๊คและ Cambridge Analytica ปะทุขึ้น
 
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ blognone.com)

รับมีการสแกนข้อความใน Messenger เหตุผลเรื่องความปลอดภัย

จากที่ Mark Zuckerberg ซีอีโอเฟสบุ๊ค ได้ให้สัมภาษณ์สื่อหลายแห่ง ก็มีประเด็นน่าสนใจจากการให้สัมภาษณ์กับ Vox โดยเขายอมรับว่า Facebook Messenger มีการตรวจสอบข้อความในการสนทนาจริง
 
แต่ก่อนจะตกใจกันไป Zuckerberg บอกว่าการตรวจสอบข้อความนั้นทำเพื่อป้องกันไม่ให้มีข้อความที่ไม่เหมาะสมและเพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะเนื้อหาที่ผิดกฎการใช้งานของ เฟสบุ๊ค ตัวอย่างเช่น ภาพอนาจารเด็ก หรือลิงก์ที่มีไวรัส และการตรวจสอบข้อความนั้นไม่ได้ทำเพื่อการโฆษณาแต่อย่างใด
 
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ blognone.com)
 

เริ่มปิด API ทำให้คนล็อกอินแอพ Tinder ไม่ได้

จาก เฟสบุ๊คเริ่มปิด API (Application Program Interface หรือ การติดต่อสื่อสารระหว่างแอปพลิเคชัน) ไม่ให้แอพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ ส่งผลให้แอพที่ต้องการข้อมูลมากเป็นพิเศษต้องได้รับอนุญาตจาก Facebook ก่อนเสมอ เริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นอื่นแล้ว Tinder ออกมาประกาศว่า จากการปรับ API ของ เฟสบุ๊คทำให้มีผู้ใช้จำนวนมากไม่สามารถล็อกอินเข้าแอพได้
 
ผู้ใช้ Tinder จำนวนมากติดอยู่กับขั้นตอนล็อกอินเข้าแอพ ในขณะที่ผู้ใช้บางคนที่เข้าแอพได้ แต่ข้อมูลแชท ข้อมูล match กับคนที่ถูกใจหายหมด สร้างความเจ็บปวดให้ผู้ใช้จำนวนมาก
 
การล็อกอินเข้าแอพพลิเคชั่นต่างๆ ผ่านเฟสบุ๊คเป็นทางเลือกที่สะดวก และจากการปรับนโยบายเพียงนิดเดียวก็ทำให้ไม่สามารถเข้าใช้งานได้เลยทีเดียว โดย Tinder ระบุว่ากำลังเร่งแก้ปัญหา และยังไม่พบว่ามีแอพอื่นที่เจอปัญหาเหมือน Tinder
 
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ blognone.com)
 

ฟีเจอร์สู้ข่าวปลอม กดปุ่มตรวจสอบแหล่งข่าวเปิดใช้งานแล้วในสหรัฐฯ

ปีที่แล้วเฟสบุ๊คทดสอบฟีเจอร์ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวได้จากหน้า News Feed โดยไม่ต้องออกจากหน้าเฟสบุ๊คเป็นฟีเจอร์ที่คาดกันว่าจะเป็นไม้ตายสู้ข่าวปลอมที่เป็นปัญหาคาราคาซังอยู่ในขณะนี้ ล่าสุด เฟสบุ๊คเปิดให้ใช้ฟีเจอร์นี้ในสหรัฐฯแล้ว
 
ฟีเจอร์ใหม่นี้ผู้ใช้จะเห็นปุ่มตัว i หรือ information หรือ about this article ปรากฏใต้ลิงก์ข่าว เมื่อกดเข้าไปผู้ใช้จะพบรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ผู้เผยแพร่เนื้อหา ทั้งจากเว็บไซต์เองและวิกิพีเดียด้วยว่าเป็นสำนักข่าวใด ก่อตั้งเมื่อไร รวมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นๆ จากเว็บไซต์อื่นว่าเขารายงานข่าวไปในทิศทางใดบ้าง เลื่อนลงมาด้านล้างจะเห็นอีกว่าข่าวนี้ได้รับการแชร์ในพื้นที่ใดบนโลก มีเพื่อนคนไหนแชร์บ้าง
 
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ blognone.com)
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net