Skip to main content
sharethis

ปี 2560 คนไทยได้รับค่าจ้างรายอาชีพเฉลี่ย 10,430 บาท ทุกภาคมีค่าจ้างต่อเดือนต่ำสุดเท่ากันที่ 7,800 บาท ส่วนค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนสูงสุด อยู่ที่กรุงเทพฯ 12,227 บาท จังหวัดปริมณฑล 10,784 บาท ภาคกลาง 9,655 บาท ภาคใต้ 9,497 บาท ภาคเหนือ 9,231 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือน้อยที่สุด 9,226 บาท อาชีพผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการอาวุโส ผู้จัดการ ได้ค่าจ้างเฉลี่ยมากที่สุด

ที่มาภาพประกอบ: สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

อัตราค่าจ้างรายอาชีพคืออะไร?

ข้อมูลอัตราค่าจ้างรายอาชีพ เป็นข้อมูลตลาดแรงงานที่มีประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย อาทิ นายจ้างอาจใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดอัตราค่าจ้างของตำแหน่งงานต่าง ๆ ผู้สมัครงานอาจใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาสมัครงาน ครูอาจารย์สามารถใช้เป็นข้อมูลในการแนะแนวการศึกษา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของกรมการจัดหางานสามารถใช้เป็นข้อมูลในการแนะแนวอาชีพแก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่มาใช้บริการจัดหางาน

สำหรับประเทศไทย กองบริหารข้อมูลตลาดแรงงาน กรมการจัดหางาน ได้ทำการวิเคราะห์และจัดทำรายงานข้อมูลอัตราค่าจ้างแรกเข้ารายอาชีพ มาตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา โดยวิเคราะห์จากฐานข้อมูลการให้บริการจัดหางานในประเทศของกรมการจัดหางาน แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของข้อมูลอัตราค่าจ้างรายอาชีพในตลาดแรงงาน แต่ก็มีจำนวนที่มากและมีความหลากหลายพอสมควร ทั้งนี้การจัดทำข้อมูลอย่างต่อเนื่องจะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของอัตราค่าจ้างแรกเข้าในตลาดแรงงานได้อีกด้วย

อนึ่งข้อมูลค่าจ้างรายอาชีพ ปี 2560 ได้นำข้อมูลตำแหน่งงานว่างจากฐานข้อมูลการให้บริการจัดหางานในประเทศที่มีการรับแจ้งตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 2560 ซึ่งข้อมูลค่าจ้างมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ ค่าจ้างรายชั่วโมง รายวันและรายเดือน มาประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน สำหรับค่าจ้างรายชั่วโมง กำหนดให้ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง เดือนละ 26 วัน ส่วนค่าจ้างรายวัน กำหนดให้ทำงานเดือนละ 26 วัน

ปี 2558 คนไทยได้ค่าจ้างรายอาชีพเฉลี่ย 9,730 บาท เพิ่มขึ้น 32 บาท จากปี 2557
จัดหางานเผย ปี 59 คนไทยค่าจ้างเฉลี่ย 9,801 บ. เพิ่มจากปี 58 ส่วนใหญ่อยู่ภาคอุตฯ-บริการ

ปี 2560 ค่าจ้างรายอาชีพเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 10,430 บาท

ข้อมูลจาก รายงานค่าจ้างรายอาชีพ ปี 2560 พบว่าค่าจ้างเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ 10,430 บาท ค่าจ้างต่อเดือนสูงสุด 70,000 บาท ต่ำสุด 7,800 บาท ค่าจ้างต่อเดือนสูงสุดอยู่ในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ 70,000 บาท รองลงมาภาคเกษตรกรรม 35,000 บาท สำหรับค่าจ้างต่อเดือนต่ำสุด 7,800 บาท เป็นอัตราเดียวกันในทุกภาคการผลิต ส่วนค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนสูงสุด อยู่ในภาคบริการ 10,600 บาท รองลงมาภาคอุตสาหกรรม 10,144 บาท และภาคเกษตรกรรม 9,493 บาท

ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนสูงสุดอยู่ในหมวดอาชีพผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการอาวุโส ผู้จัดการ 18,353 บาท รองลงมาผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่าง ๆ 15,501 บาท ช่างเทคนิคและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง 11,392 บาท เสมียน เจ้าหน้าที่ 10,784 บาท ผู้ปฏิบัติงานโดยใช้ฝีมือในธุรกิจต่าง ๆ 9,791 บาท ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน ผู้ควบคุมเครื่องจักร และผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบ 9,621 บาท พนักงานบริการ พนักงานขายในร้านค้าและตลาด 9,492 บาท ผู้ปฏิบัติงานฝีมือด้านการเกษตรและการประมง 8,784 บาทและอาชีพงานพื้นฐาน 8,452 บาท

ส่วนอาชีพที่มีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุด 5 อันดับได้แก่ วิศวกรเคมีสิ่งทอ 35,000 บาท ตามมาด้วยผู้จัดการฝ่ายโฆษณา, ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมงานโฆษณา 31,250 บาท บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 30,000 บาท ผู้ช่วยด้านสื่อสารข้อมูล (นักบริหารข่ายงาน, นักวิเคราะห์ระบบข่ายงาน, ระบบ LAN) 30,000 บาท เจ้าหน้าที่สร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ 30,000 บาท แพทย์แผนโบราณ 30,000 บาท วิศวกรสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสารอื่น ๆ 29,000 บาท ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ 27,257 บาท

ส่วนกิจการที่มีค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ กิจกรรมการให้เงินทุนนอกเหนือจากการให้กู้ยืมเงิน 30,000 บาท การจัดการน้ำเสีย 27,267 บาท การผลิตหัวรถจักร และตู้ ส่าหรับขนส่งทางรถไฟหรือรถราง 25,528 บาท  การขนส่งทางระบบท่อล่าเลียง 21,093 บาท การผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ 20,500 บาท

คนทำงานในภาคอีสานได้ค่าจ้างเฉลี่ยต่ำสุด

ค่าจ้างต่อเดือนสูงสุด อยู่ในกรุงเทพมหานคร จังหวัดในปริมณฑลและภาคกลาง 70,000 บาท รองลงมาภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 65,000 บาท และภาคใต้ 55,000 บาท ค่าจ้างต่อเดือนต่ำสุดเท่ากันทุกภาค 7,800 บาท ค่าจ้างเฉลี่ยต่อเดือนสูงสุด อยู่ที่กรุงเทพมหานคร 12,227 บาท รองลงมาจังหวัด ในปริมณฑล 10,784 บาท ภาคกลาง 9,655 บาท ภาคใต้ 9,497 บาท ภาคเหนือ 9,231 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9,226 บาท

โดยอัตราค่าจ้างรายอาชีพสูงสุด ต่ำสุด และค่าเฉลี่ย ของแต่ละจังหวัดมีดังนี้

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net