ลำดับเวลาการตายจากการสลายชุมนุมเสื้อแดง พ.ค.53 และความ(ไม่)คืบหน้าของคดี

ประมวลลำดับเวลาการเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมเสื้อแดง ช่วง 13-19 พ.ค.53 พร้อมอัพเดทความคืบหน้าคดี

เนื่องวันครบรอบ 8 ปี เหตุการณ์สลายการชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ส่งผลให้มีประชาชนและเจ้าหน้าที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากนั้น

ประชาไทจึงขอรวบรวมลำดับเวลาการเสียชีวิตตั้งแต่ 13 พ.ค.-19 พ.ค.2553 และความคืบหน้าทางคดี ที่นำเสนอผ่านเฟสบุ๊คแฟนเพจประชาไทไว้เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดังนี้

13 พ.ค. : เสธ.แดง  ทางขึ้นลงรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ฝั่งสวนลุมพินี 

13 พ.ค. :  ชาติชาย วิถีกระสุนปืนมาจากแนวด่านทหาร

14 พ.ค. : ถนนพระราม 4 - ลานพระบรมรูป ร.6 สวนลุมพินี บุญมี เริ่มสุข เสน่ห์ นิลเหลือง และ สมศักดิ์ ศิลารักษ์

14 พ.ค. : จากสามเหลี่ยมดินแดง ถ.ราชปรารภ ถึงแยกจตุรทิศ

ทิพเนตร เจียมพล ชัยยันต์ วรรณจักร ธันวา วงศ์ศิริ กิตติพันธ์ ขันทอง บุญทิ้ง ปานศิลา มนูญ ท่าลาด สัญธะนา สรรพศรี สรไกร ศรีเมืองปุน และเหิน อ่อนสา

หลังเที่ยงคืนของคืนวันที่ 14 พ.ค. : แอร์พอร์ตลิงค์ราชปรารภ

คุณากร ศรีสุวรรณ และพัน คำกอง ทั้งคู่ศาลสั่งเสียชีวิตจากกระสุนปืนของเจ้าหน้าที่ทหารที่กำลังปฏิบัติหน้าที่

ช่วงสาย 15 พ.ค. :  ถ.ราชปรารภ สมาพันธ์ ศรีเทพ สุภชีพ จุลทัศน์ และอำพล ชื่นสี

บ่าย 15 พ.ค. : ความตายของ 4 คนหนุ่มและอาสามนุษยธรรม ที่ บ่อนไก่- ปากซอยงามดูพลี พระราม 4

วารินทร์ อาสาสมัครศูนย์นเรนทร มานะ อาสาสมัครป่อเต็กตึ๊ง พรสวรรค์ พนักงานโรงแรม และเกรียงไกร คนขับแท็กซี่

บ่าย 15 พ.ค. : ชาญณรงค์ พลศรีลา อุทัย อรอินทร์ และ ธนากร ปิยะผลดิเรก 

ช่วงสาย 16 พ.ค. : บ่อนไก่ ถ.พระราม 4 ความตายของ สมชาย พระสุพรรณ และ สุพรรณ์ ทุมทอง

บ่าย-เย็น 16 พ.ค. : บ่อนไก่ ถ.พระราม 4

เฉลียว ดีรื่นรัมย์ วุฒิชัย วราห์คัม ประจวบ ประจวบสุข เกียรติคุณ ฉัตร์วีระสกุล และสมัย ทัดแก้ว

17 -18 พ.ค. : ถนนสีลม-ราชปรารภ- สามเหลี่ยมดินแดง ตั้งแต่ทหารอากาศโยธิน ถึงชาวพม่า

ช่วงสาย 19 พ.ค. :  ศาลาแดง ราชดำริ- สามเหลี่ยมดินแดง  4 คน แล้วที่ศาลสั่งแล้วว่ากระสุนมาจากฝั่งเจ้าหน้าที่ทหาร

ช่วงสาย 19 พ.ค. :  ความตายนอกกรุงเทพฯ 

ที่ 'อุดร-ขอนแก่น' เพิน วงศ์มา อภิชาติ ระชีวะ และ ทรงศักดิ์ ศรีหนองบัว

ช่วงเย็น-ค่ำวันที่ 19 พ.ค. กับ 6 ศพวัดปทุมที่ศาลสั่งว่ากระสุนสังหารมาจากทหาร

และความตายอีก 3 ศพช่วงเวลานั้น

สำหรับความคืบหน้าคดีนั้น เมื่อเดือนเมษาที่ผ่านมา จากที่ประชาไทสัมภาษณ์ โชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมไว้ ภาพรวมของคดีสลายการชุมนุม ทนายโชคชัย สรุป เป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่ม 1 คือกลุ่มผู้สั่งการ ที่ผู้ต้องหาประกอบด้วย สุเทพ เทือกสุบรรณ และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้น คดีอยู่กับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขณะที่ กลุ่มที่ 2 ในส่วนผู้กระทำการนั้น คดีอยู่กับอัยการสูงสุดซึ่งเป็นคดีที่ตนเองไปติดตามกับอัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา

รายละเอียดเพิ่มเติม 2 กลุ่มดังกล่าว โชคชัยกล่าวว่า กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มผู้สั่งการ คดีที่มีการไต่สวนการตาย เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในท้องที่ที่พบศพ หลังจากเกิดเหตุมีการไต่สวนไปหลายคดีมากแล้ว กลุ่ม 10 เม.ย.นั้น มีคำสั่งศาลมาแล้วว่าผู้ตายถูกกระสุนจากฝั่งทหาร เช่น เกรียงไกร คำน้อย หรือ จรูญ ฉายแม้น เป็นต้น  ส่วน พ.ค.53 นั้นมีหลายศพที่ศาลมีคำสั่งว่าผู้ตายถูกกระสุนมาจากฝั่งเจ้าหน้าที่เช่นกัน หรือในส่วนของ 6 วัดปทุมฯ ก็ชัดแล้วว่าศาลสั่งว่าถูกกระสุนจากฝั่งเจ้าหน้าที่ทหาร โดยกระบวนการในสำนวนการไต่สวนหลังจากที่ศาลมีคำสั่งแล้ว ก็จะกลับไปที่เจ้าหน้าที่ในท้องที่ และเจ้าหน้าที่ตำรวจในแต่ละท้องที่จะส่งมาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพราะคดีเหล่านี้เป็นคดีพิเศษทั้งหมด ซึ่ง DSI ก็มีการสรุปสำนวนสั่งฟ้องผู้สั่งการ คือ สุเทพ และอภิสิทธิ์ ในการตายทั้งหมดของผู้เสียชีวิตตั้งแต่ 10 เม.ย.-19 พ.ค.2553 รวมฟ้องเดียวกัน เมื่อสั่งแล้วก็ส่งให้อัยการสูงสุด และอัยการสูงสุดก็มีคำสั่งฟ้อง ทั้งสุเทพและอภิสิทธิ์ ในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา

ซึ่งสุดท้ายมีการสู้คดีกันศาลฎีกาฯ ตัดสินมาว่า สุเทพและอภิสิทธิ์ เป็นนักการเมือง ทาง DSI ไม่มีอำนาจสอบสวนในข้อหาดังกล่าว แต่ ป.ป.ช.มีอำนาจสอบ เมื่อศาลฎีกาตัดสินแล้ว เราก็มีการยื่นขอความเป็นธรรมเพื่อให้อัยการส่งเรื่องไปที่ ป.ป.ช. เพื่อให้มีการไต่สวนในข้อหานี้ใหม่ เพราะว่า ป.ป.ช. ไม่ได้ไต่วนในข้อหาฆ่าคนตายเลย ปัจจุบันทราบว่าสำนวนนี้อัยการส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. แล้ว และเราก็ไปตามความคืบหน้าเหมือนกันว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว แต่ก็ยังเงียบอยู่ ซึ่งเราก็จะเห็นว่ามีข่าวการเรียกหาพยานหลักฐานหม่ของ ป.ป.ช. จึงสงสัยว่าจะต้องมีหลักฐานใหม่อะไรบ้าง เพราะเราก็ยืนยันว่าหลักฐานใหม่ก็คือคำพิพากษาศาลฎีกาฯ ที่บอกว่า ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนเรื่องนี้ และสำนวนทั้งหมดที่ DSI สอบสวนไว้ และที่อัยการสั่งฟ้อง เป็นสำนวนใหม่ที่ ป.ป.ช.ต้องไปพิจารณา เพราะว่าพยานหลักฐานที่ DSI สอบสวนไว้และสั่งฟ้องสุเทพ อภิสิทธิ์ มันชัดเจนอยู่แล้ว ในเรื่องข้อหาฆ่าคนตาย แต่เรื่องนี้ ป.ป.ช.ก็ยังเงียบอยู่ จึงมีแผนที่ต้องไปติดตามความคืบหน้าต่อไปอีกก่อนวันที่ 19 พ.ค.นี้ จะไปติดตามความคืบหน้าอีกครั้ง
 
กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มผู้กระทำการ คดีกลุ่มนี้ก็จะไปติดตามความคืบหน้าที่ อัยการสูงสุด อีกเช่นกัน ว่าได้ดำเนินการอย่างไรบ้าง เนื่องจากที่ตนทราบมาว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษส่งสำนวนไปให้อัยการเหมือนไม่มีตัวผู้ต้องหา ยังหาตัวผู้กระทความผิดไม่ได้ ทั้งที่ไม่ควรเป็นเช่นนั้น เพราะมันมีกรณีที่ชัดเจนอย่าง 6 ศพวัดปทุม ที่มีตัวคนยิงอย่างชัดเจนบนรางรถไฟฟ้านั้นก็ชัดอยู่ ในคดีของผู้กระทำการไม่เหมือนคดีของผู้สั่งการ ของผู้สั่งการนั้นทาง DSI รวมทั้งหมดเพราะคำสั่งมันต่อเนื่องจาก 10 เม.ย.-19 พ.ค.53 แต่ผู้กระทำการนั้นเป็นการกระทำการเฉพาะเรื่อง เฉพาะรายในต่างวันต่างเวลากัน จึงต้องแยกคดีออกมาให้ชัดเจน
 
โชคชัย กล่าวถึงคดีอื่นๆ ว่ายังมีคดีไต่สวนการตายอีกหลายศพที่ยังไม่ได้ทำเลย ยังนิ่งอยู่ ตรงนี้ก็ต้องรื้อมาให้ทำ ซึ่งมีอายุความคดี 20 ปี 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท