รายงาน: 2551 ปีแห่ง "วิกฤต" ซ้อน "วิกฤต" (ตอนที่ 1) "วิกฤตราคาน้ำมัน" สู่ "วิกฤตราคาอาหาร"

ในสังคมที่ความต่อเนื่องของสถานการณ์อาจไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และเวลา ในสังคมที่ภาษาคนเริ่มที่จะอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ไม่ได้แล้ว .. เราไม่ได้เผชิญกับวิกฤตเดียวแล้วจบง่ายๆ อีกต่อไป ลองไปดูกันเมื่อปีที่ผ่านมาเราผ่านวิกฤตที่น่าปวดหัวอะไรมาบ้าง และผลกระทบของมันจะยังคงไหลลื่นเคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ โดยในตอนแรกนี้ขอนำเสนอ "วิกฤตราคาน้ำมัน" สู่ "วิกฤตราคาอาหาร"

 

ที่มาของภาพ: www.localtalk2004.com

วิกฤตราคาน้ำมัน

การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในช่วงปี 2548- 2550 นับว่ารุนแรงและได้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและภาคครัวเรือนเป็นอย่างมาก โดยภาครัฐได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือแก่ภาคธุรกิจและครัวเรือน เป็นระยะๆ และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปรับตัวในการใช้พลังงานอย่างประหยัดได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งมีส่วนทำให้ยอดการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในปี 2550 ลดลงจากปี 2547 ประมาณ 2,395 ล้านลิตร หรือลดลงเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ต่อปี อย่างไรก็ดีในปี 2551 ราคาน้ำมันได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยในเดือนมิถุนายนราคาน้ำมันดิบดูไบและโอมานทำ new high เหนือระดับราคา 136 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เทียบกับปี 2547 ที่มีระดับราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 35 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากมีปัจจัยหลายด้านที่ส่งผลกระทบให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก อาทิ เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าทำให้นักลงทุนหันเก็งกำไรในน้ำมันมากขึ้น ปัญหาของผู้ผลิต/ผู้ส่งออกน้ำมัน ความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติ และปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ [1]

แต่หลังจากเดือนกรกฎาเป็นต้นมา พบว่าราคาน้ำมันได้ลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ราคาน้ำมันที่จำหน่ายในประเทศไทย ก็ได้ทำสถิติ new high และ new low ในรอบ 4 ปี โดยจากผลของราคาน้ำมันตลาดโลกที่ปรับสูงเมื่อช่วงครึ่งปีแรกของปี 2551 ได้ทำให้น้ำมันขายปลีกในไทยทั้งเบนซินและดีเซลในไทยสูงกว่า 45 บาท/ลิตร เป็นราคาสูงสุดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน (new high) แต่ในเดือนธันวาคม คนไทยมีโอกาสได้ใช้ดีเซลที่ต่ำกว่า 20 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ต่ำกว่า 15 บาท/ลิตร ถือเป็นราคาต่ำสุด (new low) ในรอบ 4 ปี [2]

ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี 2548 สถานการณ์ในตลาดทุนมีความผันผวนค่อนข้างสูง อีกทั้งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็มีแนวโน้มอ่อนค่าลง บรรดานักลงทุนจึงได้ปรับเปลี่ยนการลงทุน จากการเก็งกำไรในตลาดทุน และการเก็งกำไรในอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯ หันมาเก็งกำไรในสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้ามากขึ้น ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 2550 ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีความสัมพันธ์กับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่สูงมาก โดยราคาน้ำมันดิบ NYMEX สัญญาล่วงหน้าหนึ่งเดือนเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2550 อยู่ที่ 54.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ที่ 1.3 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อหนึ่งยูโร ขณะที่ในเดือนกรกฎาคม 2551 ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบ NYMEX ปรับสูงขึ้นไปที่ 133.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็อ่อนค่าลงไปอยู่ที่ 1.58 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อหนึ่งยูโร ขณะที่ในเดือนกันยายน 2551 ที่ผ่านมา ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบ NYMEX ลดลงมาอยู่ที่ 103.76 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก็แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 1.43 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อหนึ่งยูโร และนับตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 2551 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เริ่มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญ เช่น ยูโร จึงเกิดการเทขายสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าออกมาบ้าง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง แต่ทว่าในเดือนตุลาคมราคาน้ำมันดิบกลับลดลงอย่างรวดเร็วถึงกว่า 37 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ซึ่งมากกว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่าขึ้นเพียงประมาณ 0.12 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อหนึ่งยูโร ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังคงมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว [3]

ในช่วงที่เราเผชิญกับวิกฤตราน้ำมัน (ช่วงครึ่งปีแรก) มันได้ส่งผลกระทบต่อคนธรรมดาสามัญอย่างเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจาก "น้ำมัน" นั้น แทบที่จะเป็นต้นทุนที่อยู่ในสินค้าและบริการเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม, เกษตร, ประมง, ขนส่ง และบริการ รวมถึงส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่สูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงกลางปี 2551

โดยสถานการณ์ในไตรมาสที่ 2 ของปีที่ผ่านมานั้น พบว่านอกเหนือจากแรงผลักดันจากภาคเกษตรที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 6.5 (จากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสที่ 1/2551) แล้ว การผลิตในภาคอื่นๆ ส่วนใหญ่ล้วนชะลอตัวลง ทั้งภาคอุตสาหกรรม การค้าส่งค้าปลีก และการบริการด้านอื่นๆ ขณะที่ภาคประมงและก่อสร้างหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ร้อยละ 3.0 และ 3.9 ตามลำดับ) ทั้งนี้การผลิตในภาคเกษตรที่ขยายตัวสูงจากแรงหนุนในด้านราคาและความต้องการสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก [4]

ช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดีเซลซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญของการขนส่งทางบกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงกลางปี 2551 ได้ทำสถิติแตะที่ระดับสูงกว่า 40 บาทต่อลิตร ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเกือบร้อยละ 60 ซึ่งหากพิจารณาเป็นรายไตรมาส พบว่า ไตรมาสที่ 1 ปี 2551 ราคาน้ำมันดีเซลโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 29.7 บาทต่อลิตร ขยายตัวประมาณ ร้อยละ 28.3 และคาดว่าจะสูงขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ย 36.4 บาทต่อลิตร ขยายตัวประมาณร้อยละ 36.8 ในไตรมาสที่ 2 ซึ่งขณะนี้ต้นทุนน้ำมันคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60-70 ของต้นทุนขนส่งทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงภาวะต้นทุนของภาคการขนส่งที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการก็ได้มีการปรับขึ้นค่าบริการขนส่งตามการปรับขึ้นของราคาน้ำมันไปด้วย [5]

ในส่วนของภาคสินอุปโภค-บริโภคก็พบว่ามีการขึ้นราคาสินค้าอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นข้าวแกงไปจนถึงสินค้าต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเหตุผลหลักของผู้ประกอบการก็คือการอ้างถึงการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน

สถิติราคาน้ำมันปี พ.. 2551 [6]






























































































PTT DATE OF CHANGES


ULG95


UGR91


95 E10


91 E10


95 E20


95 E85


HSD


HSD B5


Diesel Palm


NGV


01 Jan 2008 05:00


32.89


31.59


28.89


28.09


27.29


29.34


28.34


8.5


03 Jan 2008 05:00


33.29


31.99


29.29


28.49


27.29


29.74


28.74


8.5


08 Jan 2008 05:00


33.69


32.39


29.69


28.89


27.69


29.74


28.74


8.5


17 Jan 2008 05:00


33.29


31.99


29.29


28.49


27.29


29.34


28.34


8.5


22 Jan 2008 05:00


32.89


31.59


28.89


28.09


26.89


29.34


28.34


8.5


24 Jan 2008 05:00


32.49


31.19


28.49


27.69


26.49


28.94


27.94


8.5


30 Jan 2008 05:00


32.79


31.69


28.79


27.99


26.79


29.14


28.34


8.5


01 Feb 2008 05:00


32.79


31.69


28.79


27.99


26.79


29.14


28.64


8.5


15 Feb 2008 05:00


32.79


31.69


28.79


27.99


26.79


29.14


28.64


28.64


8.5


21 Feb 2008 05:00


33.19


32.09


29.19


28.39


27.19


29.54


29.04


29.04


8.5


28 Feb 2008 05:00


33.59


32.49


29.59


28.79


27.59


29.94


29.44


29.44


8.5


13 Mar 2008 05:00


34.09


32.99


30.09


29.29


28.09


29.94


29.44


29.44


8.5


15 Mar 2008 05:00


34.59


33.49


30.59


29.79


28.59


29.94


29.44


29.44


8.5


16 Mar 2008 05:00


34.59


33.49


30.59


29.79


28.59


30.44


29.94


29.94


8.5


18 Mar 2008 05:00


34.59


33.49


30.59


29.79


28.59


30.94


30.24


30.24


8.5


22 Mar 2008 05:00


34.09


32.99


30.09


29.29


28.09


30.94


30.24


30.24


8.5


01 Apr 2008 05:00


34.59


33.49


30.59


29.79


28.59


31.44


30.74


30.74


8.5


09 Apr 2008 05:00


35.09


33.99


31.09


30.29


29.09


31.44


30.74


30.74


8.5


11 Apr 2008 05:00


35.09


33.99


31.09


30.29


29.09


31.94


31.24


31.24


8.5


19 Apr 2008 05:00


35.59


34.49


31.59


30.79


29.59


32.44


31.74


31.74


8.5


23 Apr 2008 05:00


36.09


34.99


32.09


31.29


30.09


32.44


31.74


31.74


8.5


24 Apr 2008 05:00


36.09


34.99


32.09


31.29


30.09


32.94


32.24


32.24


8.5


30 Apr 2008 05:00


36.59


35.49


32.59


31.79


30.59


33.44


32.74


32.74


8.5


08 May 2008 05:00


37.09


35.99


33.09


32.29


31.09


33.94


33.24


33.24


8.5


12 May 2008 05:00


37.59


36.49


33.59


32.79


31.59


34.44


33.74


33.74


8.5


14 May 2008 05:00


38.09


36.99


34.09


33.29


32.09


34.44


33.74


33.74


8.5


17 May 2008 05:00


38.59


37.49


34.59


33.79


32.59


34.94


34.24


34.24


8.5


19 May 2008 05:00


38.59


37.49


34.59


33.79


32.59


35.44


34.74


34.74


8.5


21 May 2008 05:00


39.09


37.99


35.09


34.29


33.09


35.44


34.74


34.74


8.5


22 May 2008 05:00


39.09


37.99


35.09


34.29


33.09


35.94


35.24


35.24


8.5


24 May 2008 05:00


39.59


38.49


35.59


34.79


33.59


36.64


35.94


35.94


8.5


25 May 2008 05:00


39.59


38.49


35.59


34.79


33.59


37.64


36.94


36.94


8.5


28 May 2008 05:00


40.09


38.99


36.09


35.29


34.09


38.34


37.64


37.64


8.5


29 May 2008 05:00


40.09


38.99


36.09


35.29


34.09


39.04


38.34


38.34


8.5


31 May 2008 05:00


40.09


38.99


35.39


34.59


33.39


39.04


38.34


38.34


8.5


09 Jun 2008 05:00


40.79


39.69


36.09


35.29


34.09


39.74


39.04


39.04


8.5


11 Jun 2008 05:00


41.59


40.49


36.89


36.09


34.89


40.54


39.84


39.84


8.5


13 Jun 2008 05:00


41.59


40.49


36.89


36.09


35.59


41.34


40.64


40.64


8.5


15 Jun 2008 05:00


42.09


40.99


37.39


36.59


36.09


41.84


41.14


41.14


8.5


30 Jun 2008 05:00


42.89


41.79


38.19


37.39


36.89


42.64


41.94


41.94


8.5


03 Jul 2008 05:00


43.29


42.19


38.59


37.79


37.29


43.44


42.74


42.74


8.5


07 Jul 2008 05:00


43.89


42.79


39.19


38.39


37.89


44.24


43.54


43.54


8.5


10 Jul 2008 05:00


42.19


38.59


37.79


37.29


44.24


43.54


43.54


8.5


11 Jul 2008 05:00


41.79


38.19


37.39


36.89


44.24


43.54


43.54


8.5


18 Jul 2008 05:00


41.19


37.59


36.79


36.29


43.64


42.94


42.94


8.5


20 Jul 2008 05:00


40.39


36.79


35.99


35.49


43.04


42.34


42.34


8.5


22 Jul 2008 05:00


39.39


35.79


34.99


34.49


42.24


41.54


41.54


8.5


25 Jul 2008 12:01


38.59


31.09


30.29


29.79


38.74


38.24


38.24


8.5


29 Jul 2008 05:00


38.59


31.09


30.29


29.79


37.94


37.44


37.44


8.5


30 Jul 2008 05:00


37.99


30.49


29.69


29.19


37.94


37.44


37.44


8.5


01 Aug 2008 05:00


37.99


30.49


29.69


29.19


37.44


36.94


36.94


8.5


02 Aug 2008 05:00


37.99


30.49


29.69


29.19


37.44


36.74


36.74


8.5


05 Aug 2008 05:00


37.99


30.49


29.69


29.19


36.84


36.14


36.14


8.5


06 Aug 2008 05:00


37.49


29.99


29.19


28.69


35.84


35.14


35.14


8.5


09 Aug 2008 05:00


37.49


29.99


29.19


28.69


35.04


34.34


34.34


8.5


12 Aug 2008 05:00


36.89


29.39


28.59


28.09


34.24


33.54


33.54


8.5


14 Aug 2008 05:00


36.29


28.79


27.99


27.49


33.64


32.94


32.94


8.5


19 Aug 2008 05:00


36.29


28.79


27.99


27.49


33.04


32.34


32.34


8.5


29 Aug 2008 05:00


36.29


28.79


27.99


27.49


20.19


33.04


32.34


32.34


8.5


04 Sep 2008 05:00


36.29


28.79


27.99


27.49


20.19


32.44


31.74


31.74


8.5


12 Sep 2008 05:00


36.29


28.79


27.99


27.49


20.19


31.84


31.14


31.14


8.5


17 Sep 2008 05:00


35.79


28.29


27.49


26.99


19.69


31.34


30.64


30.64


8.5


19 Sep 2008 05:00


35.19


27.69


26.89


26.39


19.09


30.74


30.04


30.04


8.5


01 Oct 2008 05:00


34.59


27.09


26.29


25.79


18.49


30.14


29.44


29.44


8.5


05 Oct 2008 05:00


34.19


27.09


26.29


25.79


18.49


29.54


28.84


28.84


8.5


07 Oct 2008 05:00


33.79


26.89


26.09


25.59


18.29


28.74


28.04


28.04


8.5


09 Oct 2008 05:00


33.79


26.89


26.09


25.59


18.29


28.14


27.44


27.44


8.5


11 Oct 2008 05:00


33.39


26.49


25.69


25.19


18.29


27.54


26.84


26.84


8.5


14 Oct 2008 05:00


32.99


26.49


25.69


25.19


18.29


26.74


26.04


26.04


8.5


15 Oct 2008 05:00


31.99


25.49


24.69


24.69


18.29


25.74


25.04


25.04


8.5


18 Oct 2008 05:00


30.99


24.49


23.69


23.69


18.29


24.74


24.04


24.04


8.5


21 Oct 2008 05:00


30.39


23.89


23.09


23.09


18.29


23.94


23.24


23.24


8.5


25 Oct 2008 05:00


29.39


23.89


23.09


22.59


18.29


23.44


22.44


22.44


8.5


29 Oct 2008 05:00


28.59


23.29


22.49


21.99


18.29


23.44


22.44


22.44


8.5


30 Oct 2008 05:00


28.59


23.29


22.49


21.99


18.29


22.84


21.84


21.84


8.5


05 Nov 2008 05:00


27.79


22.69


21.89


21.39


18.29


22.84


21.84


21.84


8.5


08 Nov 2008 05:00


26.99


21.89


21.09


20.59


18.29


22.84


21.84


21.84


8.5


11 Nov 2008 05:00


26.19


21.09


20.29


19.79


18.29


22.84


21.84


21.84


8.5


15 Nov 2008 05:00


25.39


20.29


19.49


18.99


18.29


22.24


21.24


21.24


8.5


19 Nov 2008 05:00


24.59


19.89


19.09


18.59


18.29


22.24


20.74


20.74


8.5


22 Nov 2008 05:00


23.79


19.09


18.29


17.79


18.29


21.64


20.14


20.14


8.5


25 Nov 2008 05:00


22.99


18.29


17.49


16.99


18.29


21.04


19.54


19.54


8.5


02 Dec 2008 05:00


22.59


17.89


17.09


16.59


18.29


21.04


19.54


19.54


8.5


05 Dec 2008 05:00


22.19


17.49


16.69


16.19


18.29


20.44


18.94


18.94


8.5


09 Dec 2008 05:00


21.39


16.89


16.09


15.59


18.29


19.84


18.34


18.34


8.5


16 Dec 2008 05:00


21.39


16.89


16.09


15.59


18.29


19.34


17.84


17.84


8.5


26 Dec 2008 05:00


20.79


16.29


15.49


14.99


18.29


18.74


17.24


17.24


8.5


PTT DATE OF CHANGES


ULG95


UGR91


95 E10


91 E10


95 E20


95 E85


HSD


HSD B5


Diesel Palm


NGV

 

สู่ "วิกฤตราคาอาหาร"

ในปี 2551 ที่ผ่านมา ราคาธัญพืชได้พุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ นอกจากปัจจัยทางด้านอุปสงค์และอุปทานอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลกแล้ว ก็ยังมีสาเหตุที่เกิดจากผลกระทบของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้เกิดการตื่นตัวในการผลิตพลังงานทางเลือก โดยเฉพาะพลังงานทางเลือกจากสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตพืชผลทางการเกษตรมีปริมาณลดลง และราคาเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้หลายประเทศต้องประสบกับวิกฤตอาหาร

จากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) เมื่อเดือนสิงหาคม พบว่าประเทศยากจนและประเทศกำลังพัฒนา 37 ประเทศ กำลังประสบกับวิกฤตอาหารและต้องการความช่วยเหลือจากภายนอกอย่างเร่งด่วน โดยในจำนวนนี้มีประเทศในแอฟริกา 21 ประเทศ เช่น โซมาเลีย สวาซิแลนด์ ซิมบับเว คองโก กาน่า เคนย่า และในเอเชีย 10 ประเทศ เช่น อัฟกานิสถาน ศรีลังกา เกาหลีเหนือ บังกลาเทศ เนปาล รวมทั้งประเทศ ในลาตินอเมริกา 5 ประเทศ และยุโรป 1 ประเทศ [7]

ทั้งนี้จากข้อมูลของสหประชาชาติ พบว่าราคาอาหารโดยเฉพาะข้าวเจ้า, ข้าวสาลี และอาหารหลักอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้งบประมาณฉุกเฉินที่ได้รับเพิ่มเติมจากประเทศร่ำรวย ไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดย โครงการช่วยเหลือด้านอาหารให้กับเด็กยากไร้ในกัมพูชา, เคนยา, คาซัคสถาน และประเทศยากจนอื่นๆ ได้รับผลกระทบอย่างหนัก และคาดว่าจะมีเด็กในประเทศยากจนทั่วโลกประสบปัญหาขาดแคลนอาหารกว่า 20 ล้านคน ซึ่งโครงการอาหารโลกสามารถระดมทุนช่วยเหลือได้เพียง 300 ล้านดอลลาร์ จากความต้องการทั้งหมด 500 ล้านดอลลาร์ ส่วนมาตรการในระยะยาว ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในแอฟริกาจะต้องสนับสนุนงบประมาณในด้านการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตด้านอาหารให้มากขึ้น [8]

จากภาวิกฤตอาหารแพงนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อสังคม สถาบันทางสังคม ในภูมิภาคต่างๆ อย่างกว้างขวาง ในหลายประเทศมีการประท้วงจนถึงขั้นก่อจลาจล และในหลายประเทศวิกฤตนี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศ (ดู: ประมวลสถานการณ์ ภาวะวิกฤตอาหารประจำสัปดาห์ (4 - 10 พ.ค.2551) และข่าว-บทความ-รายงาน ประชาไท: วิฤตอาหาร ในท้ายข่าว)

ทั้งนี้ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยเฉพาะการตื่นตัวของเกษตรกรในการเพาะปลูกวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก โดยในประเทศไทยวัตถุดิบจากเกษตรกรรมเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจากการศึกษาวัตถุดิบจากภาคเกษตรที่เหมาะสมกับใช้ชื้อเพลิงมีตั้งแต่ แกลบ ซังข้าวโพด ชานอ้อยเหง้ามันสำปะหลัง เปลือกมันสำปะหลัง กากมันสำปะหลัง กะลามะพร้าว ทางปาล์ม ไม้กระถินยักษ์ ไม้ยูคาลิปตัส และเปลือกไม้ยูคาลิปตัส น่าจับตามองบ้านเราคือการที่บรรษัทยักษ์ใหญ่นำวิธีการคอนแทร็ก ฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) มาให้ชาวบ้านปลูกพืชพลังงาน มีการให้ราคาสูงจนชาวบ้านต้องปลูกพืชชนิดนั้นเป็นหลัก และขายกลับไปเพื่อทำพลังงานทางเลือก ซึ่งความต้องการของพลังงานทางเลือกมันมีสูงทำให้ราคาของวัตถุดิบแพงไปด้วย ทำให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกัน คือ อุตสาหกรรมอาหาร

การที่พืชพลังงานมีราคาสูงนี้ การขยายพื้นที่เพาะปลูกจึงเกิด แต่ด้วยพื้นที่ทางเกษตรกรรมของไทยมันแทบที่จะขยายเพิ่มไม่ได้แล้ว ดังนั้นจึงต้องมีการเสียสละพื้นที่เกษตรชนิดหนึ่งไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับเกษตรอีกชนิดหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในจังหวัด นครราชสีมา ขอนแก่น บุรีรัมย์ ชัยภูมิ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และยโสธร รัฐและเอกชนกำลังไปส่งเสริมให้มีการปลูกมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น เพื่อผลิตเอธานอล โดยในปี พ.. 2551-2552 มีพื้นที่เป้าหมายกว่า 500,000 ไร่ ซึ่งมันทำให้เราวิตกไปถึงว่ามันอาจจะส่งผลต่อปริมาณข้าวอาจจะเกิดวิกฤตขาดแคลนหรือราคาแพงขึ้น เพราะพื้นที่ปลูกข้าวนาปีที่สำคัญ อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ด้วย -- นอกจากนี้ยังได้ส่งผลกระทบให้มีการขยายพื้นที่ทำกินที่ผิดกฎหมายเพิ่มขึ้นในแหล่งต้นน้ำต่างๆ อีกด้วยในเขตภาคเหนือ

 

การเร่งผลิตไบโอดีเซล ทำให้ราคาปาล์มในตลาดโลกสูงไปถึงตันละ 900 ดอลลาร์ ส่งผลให้บางประเทศต้องชะลอการพัฒนาไบโอดีเซลลงไป ซึ่งในเมืองไทยก็เช่นกัน รวมถึงผลกระทบต่อค่าครองชีพ ที่เห็นได้ชัดในกรณีของบ้านเราก็คือการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันพืชที่พุ่งขึ้นสูงขึ้นตามราคาปาล์มและถั่วเหลือง โดยเฉพาะปาล์มนั้นเรียกได้ว่าปริมาณผลิตในประเทศแทบที่จะไม่พอกับความตั้งการ ตั้งแต่มีการนำมาทำไบโอดีเซล [9]

 

ถึงแม้ว่าผลกระทบจากภาวะวิกฤตอาหารในประเทศไทยจะไม่รุนแรงดังนานาประเทศ แต่ทั้งนี้คาดหมายกันว่า การตื่นตัวของเกษตรกรในการเพาะปลูกพืชที่เป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก จะส่งผลกระทบพืชอาหารในไม่ช้านี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพื้นที่เพาะปลูก หรือกลไกตลาดที่จะดันให้ราคาอาหารกับราคาพลังงานสูงขึ้นไปพร้อมกัน

 

………………..

[1] วิกฤตน้ำมันปี 2551 (ธนาคารกรุงไทย, 10-07-2008)

[2] นโยบายพลังงานยวบ บทเรียนรับมือออยล์ช็อก (เว็บไซต์ข่าวสด, 31-12-2008)

[3] ราคาน้ำมันโลกดิ่งลงอย่างรวดเร็ว : ผลกระทบต่อธุรกิจ...ไทยเตรียมรับมือ (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 31-10-2008)

[4] GDP ไตรมาสที่ 2/2551 ขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่ำกว่าคาด ... แนวโน้มครึ่งหลังยังคงชะลอตัว (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 25-08-2008)

[5] ปัญหาต้นทุนขนส่งรถบรรทุก ... น้ำมันราคาถูกช่วยบรรเทาได้ระยะหนึ่งแต่ต้องควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาระยาว (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 23-06-2008)

[6] ที่มา: http://www.eppo.go.th/retail_changes.html

[7] 3 องค์กรเศรษฐกิจเผยตัวเลขส่งออกอาหารเลี้ยงโลกปีนี้เป้า 750,000 ล้านบาท (พิมพ์ไทย, 14-08-2008)

[8] เงินทุนฉุกเฉินจากชาติร่ำรวยไม่พอแก้วิกฤติอาหารแพงของโลก (Money Channel, 23-05-2008)

[9] วิทยากร บุญเรือง: วิกฤตพลังงานและผลกระทบต่อคนจน (ประชาไท, 14-02-2551)]

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท