Skip to main content
sharethis


บรรยากาศการเปิดตัวโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (Pridi-Phoonsuk Banomyong E-Library) และเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์

 


ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ประธานคณะทำงาน Pridi-Phoonsuk E-Library

 


หน้าเว็บ www.pridi-phoonsuk.org

 

 

เมื่อเวลา 13.00 น. ของวันที่ 26 พ.ค. มีการเปิดตัวโครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (Pridi-Phoonsuk Banomyong E-Library) และเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoonsuk.org) ณ ห้องประชุม 101 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ประธานคณะทำงาน Pridi-Phoonsuk E-Library กรรมการอำนวยการจัดงาน 110 ปี รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ 2443- 2543 กล่าวว่า โครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (Pridi-Phoonsuk Banomyong E-Library) และเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoonsuk.org) เป็น ความพยายามหนึ่งในกระบวนการฟื้นฟู บูรณะ ปรีดี พนมยงค์ เพื่อจัดเก็บงานเขียนและโสตทัศนวัสดุของรัฐบุรุษอาวุโส ศาสตราจารย์ปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ตลอดจนงานเขียนที่เกี่ยวข้องในรูปอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มผลงาน เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษาและประชาชนที่สนใจ สามารถสืบค้นความรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้อีกโสตหนึ่ง

 

ในกระบวนการ ขุดแต่ง ฟื้นฟู บูรณะ ปรีดี พนมยงค์นั้น ถือว่าเป็นงานที่ไม่สิ้นสุด เช่นเดียวกับการต่อสู้ทางความคิดอื่นๆ ที่มีมาตลอดประวัติศาสตร์การเมือง โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของสยามประเทศ ที่มักกีดกันสามัญชนออกจากประวัติศาสตร์ โครงการห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ และเว็บไซต์ปรีดี-พูนศุข พนมยงค์ (www.pridi-phoonsuk.org) เป็นอีกหนึ่งความพยายามในการ ขุดแต่ง ฟื้นฟู บูรณะ ปรีดี พนมยงค์ กับประวัติศาสตร์สังคมของบ้านเมืองนี้ขึ้นมา

 

กล่าว สำหรับท่านรัฐบุรุษอาวุโส ศาสตราจารย์ปรีดี และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ท่านเป็นบุคคลตัวอย่างที่มีคุณูปการต่อสังคมและระบอบประชาธิปไตยของไทย มีผลงานที่เป็นงานเขียนของท่าน และงานเขียนที่เกี่ยวข้องกับท่านอยู่มาก สมควรเผยแพร่ผลงานเหล่านี้ให้แพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชน อักทั้งทางองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ยังได้ประกาศยกย่องท่้านให้ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลสำคัญของโลก ประจำปี ค.ศ.2000-2001” ดร.ชาญวิทย์กล่าว

 

เขา กล่าวว่า ในส่วนของเว็บไซต์ได้พยายามทำให้เป็นฐานข้อมูลที่สมบูรณ์แบบเท่าที่จะเป็นไป ได้ ทั้งผลงานเขียน ภาพถ่ายและคำบรรยาย ไฟล์เสียง ภาพเคลื่อนไหว บทวิเคราะห์และเอกสารสำคัญที่เกี่ยวเนื่องของท่านทั้งสอง และจะมีการพัฒนาฐานข้อมูลขึ้นมาเรื่อยๆ พร้อมๆ กันไป ก็จะมีการจัดทำเว็บไซต์บุคคลสำคัญที่อาจไม่ปรากฏในตำราเรียน ประวัติศาสตร์ทางราชการ อาทิ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นต้น

 

ด้าน นายธนาพล อิ๋วสกุล กล่าวแนะนำเว็บไซต์ว่า เนื้อหาในเว็บประกอบด้วย ประวัติ เอกสารผลงาน ภาพถ่ายต่างๆ ของ อ.ปรีดีและท่านผู้หญิงพูนศุข รวมถึงเนื้อหานิทรรศการ 100 ปีปรีดี พนมยงค์ ต้นฉบับเต็มวิทยานิพนธ์ของ อ.ปรีดี เนื้อหาหนังสือของท่านผู้หญิงพูนศุข ไฟล์เสียงที่ทั้งสองให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ อาทิ ไฟล์เสียงที่ อ.ปรีดี ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว BBC ตอนครบรอบ 50 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เทปบันทึกภาพการให้สัมภาษณ์์ของท่านผู้หญิงพูนศุข เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดสามารถดาวน์โหลดได้

 

นาย ธนาพล กล่าวต่อว่า ล่าสุด ยังได้รับอนุเคราะห์ไฟล์เสียง คำสารภาพของนายตี๋ ศรีสุวรรณ ผู้เคยให้การปรักปรำ อ.ปรีดี กรณีสวรรคตของรัชกาลที่ 8 ที่ได้กล่าวขอขมากับท่านปัญญานันทะภิกขุเมื่อปี 2522 ด้วย ซึ่งได้นำมาเผยแพร่ในเว็บไซต์แล้ว นอกจากนี้ ยังพบเอกสารของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งพูดกับทูตสหรัฐฯ กรณีสวรรคต เมื่อปี 2490 ซึ่งจะนำขึ้นเว็บในระยะใกล้นี้ ทั้งนี้ ในอนาคตจะรวบรวมงานเขียนกรณีสวรรคต ทั้งส่วนที่เป็นข้อมูลและวิวาทะต่างๆ ต่อไป

 

นาย ธนาพล กล่าวว่า ในยุคอินเทอร์เน็ต ปัญหาเรื่องความทรงจำทางการเมืองที่ถูกตัดขาดไปและการเข้าไม่ถึงข้อมูลน่าจะ ลดลงได้ระดับหนึ่ง แต่หากตัดปัญหาเหล่านี้ไปแล้ว จะมีปัจจัยอื่นที่มีผลให้ความทรงจำระหว่างอดีตและปัจจุบันขาดไปอีกหรือไม่ก็ เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน อย่างไรก็ตาม คณะทำงานจะทำให้ดีที่สุด เพื่อนำผลงานมาเผยแพร่ต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net