Skip to main content
sharethis

 

 

นายจรูญฤทธิ์ ขำปัญญา ผู้จัดการใหญ่ (ซีอีโอ) บริษัท ทรานส์ไทย มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ทีทีเอ็ม (TTM) ชี้แจงกรณีกลิ่นเหม็นที่เกิดจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย มาเลเซียด้วยว่า ตนจะเข้าไปตรวจสอบว่าเกิดจากอะไร โดยอาจเกิดจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ซึ่งขณะนี้กำลังปรับจูนเครื่องจักรควบคุมให้มีการปล่อยก๊าซดังกล่าว รวมทั้งก๊าซอื่นๆ ที่มีการปล่อยออกจากปล่องโรงแยกก๊าซธรรมชาติให้ได้ไม่เกินค่ามาตรฐานที่ กำหนดใน EIA ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควร

 

นายจรูญฤทธิ์ กล่าวว่า สำหรับค่ามาตรฐานของการปล่อยก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) คือ ไม่เกิน 7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) หากมีการปล่อยถึงประมาณ 20 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรจำทำให้เกิดกลิ่นขึ้นมา

 

นาย จรูญฤทธิ์ กล่าวว่า การตรวจวัดค่ามาตรฐานการปล่อยก๊าซต่างๆ ออกจากปล่องมีการตรวจวันเป็นประจำทุกวัน ซึ่งผลที่ได้ออกมาก็จะส่งไปที่สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม(สผ.) ส่วนการตรวจวัดของหน่วยงานกลางที่มีการตรวจวัดปีละ 2 ครั้งนั้น เป็นการสุ่มตรวจแล้วสงไปให้ สผ.เพื่อเป็นการเปรียบเทียบกับผลการตรวจของโรงแยกก๊าซ เพื่อให้เห็นว่าผลการตรวจวัดดังกล่าวสอดคล้องกันอย่างไร โดยการตรวจวัดดังกล่าว TTM เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด

 

ใน กระบวนการผลิตไม่มีการปล่อยสารใดๆ ออกมาทางปล่อง เพราะมีการควบคุมให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ที่สุด ถ้ามีการตรวจวัดแล้วพบว่า มีสารหรือสิ่งผิดปกติก็จะเร่งแก้ไข ปรับปรุง ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับปรุงแก้ไขพอสมควรและไม่สามารถบอกได้ว่ามากน้อยแค่ ไหน ทั้งในเรื่องของอุปกรณ์ ต้องมีการพัฒนาปรับปรุง ให้สารที่ออกมาลดลง ถ้ายังมีกลิ่นอีกก็ต้องทำให้ดีมากขึ้น และต้องหาสาเหตุที่แท้จริงให้เจอ นายจรูญฤทธิ์ กล่าว

 

นายจรูญฤทธิ์ ยังได้ชี้แจงกรณีการขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ NGL ทางรถยนต์ ที่ทีทีเอ็มได้ดำเนินการขนส่งทางรถยนต์จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย มาเลเซีย อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ไปเก็บที่คลังน้ำมันของบริษัท อากิ แบม ออยส์ จำกัด ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลาว่า ไม่จำเป็นต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ (EIA) เพราะว่ามีกฎหมายอื่นๆ ควบคุมอยู่แล้ว เช่น พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พระราชบัญญัติจราจร เป็นต้น เพียงแต่ให้ศึกษาว่ามีผลกระทบต่อการจราจรอย่างไรบ้าง ซึ่งผลการศึกษาบอกว่าไม่มีผลกระทบ

 

นายจรูญฤทธิ์ กล่าวว่า การขนส่ง NGL มีมาตั้งแต่ปี 2547 และที่ผ่านมาการขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตเลียมทางรถยนต์โดยไม่จำเป็นต้องทำ EIA นั้น ซึ่งเป็นที่รู้อยู่แล้วว่ารถที่ใช้ในการขนส่งต้องมีลักษะอย่างไร คนขับควรปฏิบัติอย่างไร ต้องการมีตรวจสอบตัวถังว่ามีความคงทนมากน้อยแค่ไหน รถที่ใช้บรรทุกต้องมีมาตรฐานและความปลอดภัย ก๊าซ NGL ก็เปรียบเหมือนน้ำมันเบนซิลซึ่งไม่มีผลอะไร

 

นายจรูญฤทธิ์ กล่าวว่า เดิมทีมีการทำ EIA ไว้ให้มีการขนส่งทางเรือเพราะคาดว่า จะทำโรงแยกก๊าซธรรมชาติ 2 โรง จึงมีปริมาณก๊าซ NGL จำนวนมาก แต่ขณะนี้ได้สร้างโรงแยกก๊าซเพียงโรงเดียว ปริมาณก๊าซ NGL จึงมีไม่มากพอที่จะขนส่งทางเรือเพราะไม่คุ้มทุน และได้ทำหนังสือไปยัง สผ.แล้ว ซึ่งก็ไม่ว่าอะไร จึงหันมาขนส่ง NGL ทางรถยนต์แทน แต่ยังคงการขนส่งทางเรือเอาไว้เพราะในอนาคตอาจจำเป็นต้องใช้

 

นายจรูญฤทธิ์ เปิดเผยว่า สำหรับการขนส่งก๊าซ NGL ดังกล่าว มีการขนส่งวันละ 11 เที่ยว

 

เรา มีหน้าที่รับผิดชอบในการผลิตผลิตภัณฑ์ ความรับผิดชอบของเราหมดลงตั้งแต่จุดซื้อขายแล้ว ส่วนที่เหลือคือการขนส่ง เป็นเรื่องของลูกค้า คือบริษัท เปโตรนาส ของมาเลเซีย แต่หากรถออกจากโรงแยกก๊าซแล้วก็เป็นเรื่องของลูกค้าที่ต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุทาง TTM ก็จะให้ความช่วยเหลือโดยการส่งเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล เพราะเรารู้วิธีในการแก้ปัญหาดีที่สุด นายจรูญฤทธิ์กล่าว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net