ภาคประชาชนบอยคอตเวทีรับฟังความเห็นร่างกฎหมายคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุขฉบับใหม่

27 พ.ค.52 กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่อง "ร่าง พ.ร.บ." เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในระบบบริการสาธารณสุข" หรือร่างเดิมชื่อ "ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากบริการสาธารณสุข" ซึ่งทางกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนและเครือข่ายประชาชนหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ปฏิเสธการเข้าร่วม

 

น.ส.สา รี กล่าวว่า เครือข่ายภาคประชาชนเห็นว่า เป็นการจัดประชุมเพื่อรับฟังความเห็นที่ไม่เป็นธรรม ไม่มีสัดส่วนผู้เสียหาย ผู้ป่วย องค์กรผู้บริโภคเข้าชี้แจง ทั้งที่เป็นเวทีสุดท้ายก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา ภายหลังจากที่ผ่านความเห็นของคณะกรรมการกฎษฎีกาที่มีการปรับเปลี่ยนจากร่างฯ เดิมที่ทางเครือข่ายเสนอค่องข้างมาก โดยกำหนดเวลาในการรับฟังความคิดเห็นเพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้น ดังนั้นทางเครือข่ายผู้บริโภคและเครือข่ายผู้ป่วยจึงไม่อยากเป็นเพียงหุ่น ที่นั่งรับฟัง เพื่อสร้างความชอบธรรมในการออกกฎหมายฉบับนี้ให้กับกระทรวงเท่านั้น

         

"เครือ ข่ายผู้บริโภคและเครือข่ายผู้ป่วย ได้ทำหนังสือเพื่อส่งถึงนายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข เพื่อให้จัดเวทีในการรับฟังความคิดเห็นในร่างกฎหมายนี้ใหม่ โดยต้องเปิดให้ทุกฝ่ายได้แสดงความเห็นเช่นเดียวกับร่างพ.ร.บ.องค์กรอิสระ คุ้มครองผู้บริโภค ที่นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจนเป็นที่ยอมรับของ ทุกฝ่ายและผ่านไปได้ด้วยดี ไม่ใช่การจัดเวทีรับฟังความเห็นอย่างวันนี้ที่ทำอย่างรวบรัด" น.ส.สารีกล่าว

        

ด้าน นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า หากมีการเรียกร้องให้จัดเวทีเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นใหม่ก็ไม่ขัดข้อง แต่ยืนยันว่าการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้เป็นไปตามขั้นตอนซึ่งไม่ ได้ปิดกั้นและเปิดให้ทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็นได้ และการที่ร่างที่ผ่านความเห็นกฤษฎีกามีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาไปบ้างก็เป็น เรื่องปกติ และขั้นตอนการออกกฎหมายก็ยังไม่สิ้นสุดแค่นี้เพราะหลังจากนี้จะต้องรวบรวม ความคิดเห็นทั้งหมดที่รับฟังเพื่อนำเสนอกลับไปยังกฤษฎีกาอีกครั้ง

 

 

ทั้งนี้ ในหนังสือคัดค้านการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อกฎหมายฉบับดังกล่าวระบุว่า

 

“เครือข่ายประชาชนผู้สิทธิเข้าชื่อเสนอกฎหมาย (ร่าง) พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข พ.ศ.... ประกอบด้วย เครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ชมรมผู้ป่วยโรคไต เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ ซึ่งได้ร่วมกันผลักดันร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการ สาธารณสุข พ.ศ. โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อชดเชยผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ลดการฟ้องร้องระหว่างแพทย์และคนไข้ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานระบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย

โดยที่ รัฐบาลนี้ก็ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว และร่างพระราชบัญญัติของรัฐบาลได้ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่กฎหมายดังกล่าวได้ถูกปรับเปลี่ยนหลักการและสาระสำคัญหลายประการ อาทิ

1.1    เปลี่ยนแปลงชื่อกฎหมาย

จากร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ... ”  เป็น  ”ร่างพระราชบัญญัติสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...ซึ่ง เป็นการเปลี่ยนแปลงเจตนารมณ์และหลักการของร่างกฎหมายที่ผ่านการอนุมัติของ คณะรัฐมนตรีแล้ว จากเดิมที่มุ่งเน้นการชดเชยความเสียหายเพื่อเยียวยาความเดือดร้อนของผู้เสีย หาย เป็นมุ่งเน้นการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ โดยลดทอนความสำคัญของการชดเชยความเสียหายลงไป

1.2    เพิ่มขั้นตอนการไกล่เกลี่ย

หลัก การดำเนินการเดิมมุ่งเน้นการชดเชยความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขอย่าง รวดเร็วและเป็นธรรมโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด แต่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปรับเพิ่มกระบวนการไกล่เกลี่ย

1.3    ปรับให้สำนักงานอยู่ภายใต้กระทรวงสาธารณสุข

ตาม ร่างเดิมเสนอให้มีสำนักงานคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข แต่ได้มีการปรับแก้ในร่างใหม่ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขเป็นสำนักงานเลขานุการ

จาก ข้อเท็จจริงในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีฐานะเป็นผู้ให้บริการและเป็นผู้ก่อ ให้เกิดความเสียหายในหลายกรณี จึงไม่อยู่ในฐานะที่เป็นกลาง และไม่ได้รับการยอมรับจากเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ นอกจากนี้ กรมสนับสนุนบริการยังไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายตลอดจนขาดประสบการณ์และ บุคลากรที่มีความสามารถในการบริหารกองทุน หากจะยึดแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีควรกำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติเป็นสำนักงานเลขานุการไปพลางก่อน เนื่องจากมีประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการให้บริการใน ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตลอดจนมีฐานะเป็นผู้ซื้อบริการมิใช่ผู้ให้บริการ และสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องแก้ไขปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ หรือพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจหน้าที่ ดังเช่นที่ต้องดำเนินการกรณีกำหนดให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพเป็นสำนักงาน เลขานุการ

1.4    ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคณะกรรมการจ่ายเงินชดเชยความเสียหาย

ได้ ปรับแก้องค์ประกอบให้มีสัดส่วนของผู้ประกอบวิชาชีพเพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันพบว่า องค์ประกอบของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นอุปสรรคในการพิจารณาการชดเชยความเสียหายและทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับการ ช่วยเหลือเบื้องต้นที่เป็นธรรม

บทบาท ที่สำคัญของคณะกรรมการ คือการพิจารณาว่าความเสียหายเกิดจากการรับบริการสาธารณสุขจริงหรือไม่ เพื่อจ่ายเงินชดเชย โดยไม่ต้องพิจารณาว่ามีผู้ใดต้องรับผิดหรือไม่ เพื่อให้การชดเชยเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้กระบวนการพิสูจน์ความรับผิดซึ่งใช้ระยะเวลานาน และไม่เกี่ยวพันกับการสอบสวนหรือลงโทษโดยสภาวิชาชีพ ดังนั้นองค์ประกอบของคณะกรรมการจึงไม่จำเป็นต้องเป็นผู้แทนจากสมาคมวิชาชีพ หรือสภาวิชาชีพ แต่ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับจากสังคม และองค์ประกอบของคณะกรรมการควรมีผู้ที่มีผลงานด้านการคุ้มครองสิทธิผู้ บริโภคในสัดส่วนที่เหมาะสม

1.5    สิทธิกรณีผู้เสียหายฟ้องคดีต่อศาล

ตาม ร่างเดิมหากผู้เสียหายหรือทายาทฟ้องคดีต่อศาล ให้ยกเลิกการพิจารณาคำร้อง แต่ในร่างใหม่ปรับแก้เป็นให้ยุติการดำเนินการและตัดสิทธิที่จะยื่นคำขอตามพ ระราชบัญญัตินี้อีก และเพิ่มเติมในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ผู้ให้บริการสาธารณสุขชดใช้ค่า สินไหมทดแทน ให้พิจารณาว่าจะจ่ายเงินจากกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้แทนผู้ถูกฟ้องคดีหรือ ไม่

ดัง นั้นการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นในวันนี้ ควรจะได้มีโอกาสรับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนและหาข้อสรุปในสาระสำคัญของกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะร่างเดิมของทั้งกระทรวงสาธารณสุขและเครือข่ายประชาชนผู้มีสิทธิเสนอ กฎหมายไม่ได้แตกต่างกันในหลักการและสาระสำคัญ แต่การจัดสัมมนาในครั้งนี้ กลับดำเนินการตั้งประเด็นที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและสภาพปัญหาความขัด แย้งในปัจจุบัน รวมทั้งสะท้อนความไม่เป็นธรรมในกำหนดการจัดสัมมนาเป็นอย่างดี โอกาสในการพูดที่ไม่เท่าเทียม การแสดงความเห็นของกลุ่มที่ขัดแย้งเห็นได้จาก มีเวลาที่จำกัดในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพียง ๓๐ นาทีก่อนการปิดการประชุม

จึง ใคร่ขอเรียนให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่ประธานในการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วน เสียทุกกลุ่มอีกครั้ง  และกลุ่มองค์กรข้างต้น ยินดีเข้าร่วมสัมมนาการรับฟังความคิดเห็นเรื่องนี้ จึงเรียนมาเพื่อพิจารณา”

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท