Skip to main content
sharethis

 

 

 

เมื่อวันที่ 28 .. 52 เวลา 9.00 . สมัชชา องค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ร่วมกับคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช) และเครือข่ายสิ่งแวดล้อมไทย พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านจากมาบตาพุด ตัวแทนชาวบ้านคัดค้านโรงเหล็กแม่รำพึง บางสะพาน ตัวแทนคัดค้านเหมืองทองคำ พิจิตร และตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงจากสนามบินสุวรรณภูมิ ได้ร่วมเสวนาเพื่อผลักดันการเสนอร่างกฎหมายองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพ และการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อม 2535 ณ ห้องประชุมสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

 

นาย ศรีสุวรรณ จรรยา ผู้อำนวยการสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ แจงว่า ภายหลังรัฐธรรมนูญ 2550 ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2550 เป็นต้น ก็เป็นความหวังขององค์กรภาคประชาชนทั้งหลายว่าจะได้มีองค์การอิสระด้านสิ่ง แวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพขึ้นมา เพื่อเข้ามาช่วยให้ความเห็นก่อนมีการดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อ ให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 67 วรรค 2 แต่ปรากฏว่าจนถึงปัจจุบัน ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ เกิดขึ้น แม้รัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกาลมาตรา 303 จะระบุไว้ชัดว่ารัฐบาลจะต้องจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้แล้วเสร็จ ภายในหนึ่งปีนับแต่คณะรัฐมนตรีชุดแรกที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกหลัง รัฐธรรมนูญประกาศใช้ต้องดำเนินการ

 

นายศรีสุวรรณ กล่าวต่อไปว่า เรื่องดังกล่าวนายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เคยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาและยกร่างกฎหมายว่าด้วยองค์การอิสระ และสิ่งแวดล้อม มาตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2551 และคณะกรรมการได้ยกร่างกฎหมายดังกล่าวขึ้นมาจนแล้วเสร็จ พร้อมกับเดินสายรับฟังความคิดเห็นทั่วประเทศทุกภูมิภาคแล้ว และจัดส่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2551 เป็นต้นมา แต่จนถึงบัดนี้เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มีการผลักดันเข้าสู่คณะรัฐมนตรีและ รัฐสภาเลย

 

เรื่อง ดังกล่าวสมัชชาฯ กำลังพิจารณาบทบาทหน้าที่ของปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ว่าจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ เพราะพฤติการณ์ที่ปลัดเพิกเฉยแช่แข็งร่างกฎหมายองค์การอิสระและสุขภาพไว้ที่ ตนเอง โดยไม่ยอมจัดส่งให้คณะรัฐมนตรี และรัฐสภาได้พิจารณาออกมาเป็นกฎหมายบังคับใช้ นั้นอาจเข้าข่ายเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งสมัชชาฯ กำลังรวบรวมเอกสาร ข้อมูล เพื่อพิจารณายื่นฟ้องปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต่อศาลยุติธรรมต่อไปนายศรีสุวรรณกล่าว

 

นาง เรวดี ประเสริฐเจริญสุข ประธานสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมาโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่ดำเนินการโดยภาครัฐหรือเอกชน ต่างสร้างปัญหาความขัดแย้ง และกระทบสิทธิกับชาวบ้านเป็นจำนวนมาก

 

ทั้ง ปัญหามลพิษที่มาบตาพุด ปัญหาความเจ็บป่วยที่แม่เมาะ ปัญหาการแพร่กระจายสารหนูและไซยาไนต์ที่เหมืองทองคำพิจิตร และเหมืองทองคำจังหวัดเลย ปัญหาแคดเมียมแพร่กระจายที่แม่สอด ปัญหาโรงเหล็กที่บางสะพาน ปัญหาโรงเหล็กที่เขาย้อยเพชรบุรี ปัญหาเสียงดังจากสนามบินสุวรรณภูมิ ปัญหาสารตะกั่วแพร่กระจายในลำห้วยคลิตี้ กาญจนบุรี ปัญหาการขยายนิคมอุตสาหกรรมไปที่ภาคใต้ ปัญหาการผุดขึ้นของโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ทั่วประเทศ ปัญหาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

 

ทุก ปัญหาเหล่านี้สร้างปัญหาทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ของประชาชนแทบทั้งสิ้น ซึ่งชี้ชัดว่าโครงสร้างการแก้ไขปัญหาปัจจุบันตามกฎหมายส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไม่สามารถจัดการป้องกันและแก้ไขได้ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ ไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาของชาวบ้านได้ แต่กลับเป็นตัวการในการสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นกระจายไปทั่ว จนเกิดปัญหาคดีฟ้องร้องกันทั่วไปหมด เพราะอีไอเอ มีการจัดทำขึ้นมาโดยขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง แต่กลับเป็นว่าอีไอเอกลายเป็นตรายางที่บริษัทที่ละเมิดสิ่งแวดล้อม มักเอามาเป็นข้ออ้างว่าผ่านความเห็นและการอนุญาตจากหน่วยงานราชการแล้ว

 

ดัง นั้นสมัชชาฯ จึงเห็นว่าทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้ก็คือ การปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อม ปี 2535 เพื่อแก้ไขกระบวนการจัดทำอีไอเอให้สอดคล้องกับการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่ง แวดล้อมในเชิงยุทธศาสตร์ (SEA) ที่ต้องมองภาพกว้างของปัญหาและพื้นที่มากกว่าจะมัวมานั่งดูรายละเอียดแต่ละโครงการว่าเป็นเช่นไร

 

นอกจาก นั้นจำเป็นต้องมีองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เป็นกลาง ขึ้นมาช่วยศึกษา จัดกระบวนการการมีส่วนร่วมภาคประชาชนและให้ความเห็นประกอบต่อหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอนุญาตได้ใช้ประกอบเพื่อพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตโครงการหรือ กิจกรรมที่อาจมีปัญหาในอนาคตต่อไป

 

ภาค ประชาชนรอหน่วยงานรัฐในการจัดตั้งองค์การอิสระฯ มากว่า 2 ปีแล้ว แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ ภาคประชาชนจึงหันมาจับมือกันเพื่อเสนอกฎหมายกันเองตามสิทธิที่ปรากฏใน รัฐธรรมนูญ ดังนั้นนับแต่วันนี้เป็นต้นไปภาคประชาชนทั่วทุกภูมิภาคจะร่วมกันล่ารายชื่อ เครือข่ายและแนวร่วมภาคประชาชนและผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอันเนื่องมาจาก โครงการพัฒนาต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ได้รายชื่อมากกว่า 10,000 รายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาและการปรับปรุง แก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อมปี 2535 ต่อไปโดยไม่รอหน่วยงานภาครัฐแล้ว แต่ทั้งนี้จะไม่เพิกเฉยต่อการเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องที่เพิกเฉย หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ต่อกรณีดังกล่าวแน่นอนประธานสมัชชาฯกล่าวในที่สุด

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net