เอ็นจีโอสิทธิฯ เรียกร้อง "อักขราทร" ทบทวนควบเก้าอี้ ปธ.ศาลสูง-กฤษฎีกา ชี้ทำศาล ปค.ไม่น่าเชื่อถือ

เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.) ศูนย์ข้อมูลสิทธิมนุษยชนและสันติภาพอีสาน(ศสส.)ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม(Enlaw) มูลนิธิผสานวัฒนธรรมได้ทำจดหมายเปิดผนึกลงวันที่ 24 พฤศจิกายนถึงนายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุดเรียกร้องขอให้พิจารณาทบทวนการดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครองสูงสุดหรือกรรมการกฤษฎีกาเนื่องจากในการแต่งตั้งกรรมการชุดล่าสุดตามประกาศส านักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งกรรมการกฤษฎีกา วันที่ 14 ตุลาคม 2552  ซึ่งมีรายชื่อนายอักขราทร  เป็นหนึ่งในกรรมการกฤษฎีกาด้วยนั้น

องค์กรสิทธิมนุษยชนข้างต้นมีข้อเสนอแนะและเหตุผลต่อกรณีดังกล่าว คือ ในรัฐที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยนั้น มีการแบ่งแยกการใช้อ านาจอธิปไตยออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เพื่อให้องค์กรผู้ใช้อำนาจทั้งสามตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ไม่ให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งใช้อำนาจเกินขอบเขตหรือใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เพื่อเป็นหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจขององค์กรต่าง ๆ

ดังนั้นการทำงานตามอ านาจหน้าที่ต่างๆจึงต้องเป็นอิสระต่อกัน โดยเฉพาะองค์กรตุลาการเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำ คัญในการตีความกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน คณะตุลาการจึงต้องดำรงความเป็นอิสระโดยแท้จริงจากฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติ และเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่งที่ตุลาการจะยอมตนเข้าไปปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมการกฤษฎีกาซึ่งอยู่ภายใต้ฝ่ายบริหาร ย่อมทำให้ฝ่ายตุลาการไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารบรรลุผลได้อย่างเป็นอิสระ อันจะส่งผลให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่มีหลักประกันอีกต่อไป

เมื่อพิจารณาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกฤษฎีกาตาม พ.ร.บ.คณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 คณะกรรมการกฤษฎีกามีอ ำนาจหน้าที่จัดท าร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศตามค าสั่งของนายกรัฐมนตรีหรือมติของคณะรัฐมนตรี รับปรึกษาให้ความเห็นทางกฎหมายแก่หน่วยงานของรัฐหรือตามค าสั่งของนายกรัฐมนตรี หรือมติของคณะรัฐมนตรี เสนอความเห็นและข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการให้มีกฎหมาย หรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมาย

อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา คือ หน่วยงานที่ปรึกษาทางกฎหมายของรัฐบาล ในขณะที่ศาลปกครองเป็นองค์กรตุลาการที่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการกระทำทางปกครองของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยตรง

การที่ประธานศาลปกครองสูงสุดเข้ามารับตำแหน่งกรรมการกฤษฎีกา ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบกับการพิจารณาคดีปกครองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น กรณีที่เป็นปัญหาในขณะนี้ คือ การตีความตามมาตรา 67 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ของคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งมีความเห็นว่า หน่วยงานราชการสามารถปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ไปพลางก่อนได้ ในขณะที่ศาลปกครองมีค าสั่งระงับ 76 โครงการในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เนื่องจากยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 67 รัฐธรรมนูญ  กรณีดังกล่าวย่อมชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจตามกฎหมายซึ่งกัน

ดังนั้นการที่ตุลาการศาลปกครองซึ่งมีบทบาทในการตรวจสอบการใช้อำนาจทางปกครอง มาปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่ปรึกษาทางกฎหมายของรัฐบาล ซึ่งอยู่ภายใต้ฝ่ายบริหาร การตรวจสอบอำนาจทางปกครองโดยศาลปกครองย่อมมีปัญหาความน่าเชื่อถืออย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้และอาจนำไปสู่การไม่ยอมรับคำพิพากษาศาลปกครองของประชาชนได้

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นองค์กรสิทธิมนุษยชน ขอเรียกร้องให้ประธานศาลปกครองสูงสูด ลาออกจากต าแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเพื่อแสดงจุดยืนในการทำงาน ให้เป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ และสอดคล้องกับหลักนิติรัฐของประเทศซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย และเพื่อความสง่างามในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นกรรมการกฤษฎีกา หรือประธานศาลปกครองสูงสุดก็ตาม

ที่มา: มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1259069566&grpid=01&catid=
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท