Skip to main content
sharethis

23 ก.ย. 2559 รายงานข่าวจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า จาตุรงค์ จันทรังษ์ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงรายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนกันยายน 2559 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจของสาธารณชนเกี่ยวกับแนวทางการด าเนินนโยบายการเงิน และการประเมินภาวะเศรษฐกิจของ กนง. สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

ทิศทางเศรษฐกิจ ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2559 มีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าที่เคยประเมินไว้เล็กน้อย จากการบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ที่สูงกว่าคาดซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลของปัจจัยชั่วคราว ขณะที่การขยายตัวของการส่งออกลดลงตามเศรษฐกิจคู่ค้าที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าคาด และภาคการท่องเที่ยวอาจได้รับผลกระทบระยะสั้นจากปัจจัยในประเทศ ทั้งนี้ พัฒนาการสำคัญที่ กนง. ได้น ามาพิจารณาเพื่อประเมินภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในระยะข้างหน้า ได้แก่ (1) เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้จากผลของการลงประชามติออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร (Brexit) ที่ทำให้เศรษฐกิจยุโรปชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศในภูมิภาคเอเชีย (2) จ านวนนักท่องเที่ยวต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้เนื่องจากได้รับผลกระทบระยะสั้นจากเหตุการณ์ระเบิดในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ในเดือนสิงหาคมและมาตรการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญ (3) ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้นช้ากว่าที่เคยประเมินไว้ และ(4) การใช้จ่ายภาครัฐในระยะต่อไปมีมากกว่าที่เคยประเมินไว้ท าให้โดยรวมเศรษฐกิจปี 2560 มีแนวโน้ม ขยายตัวใกล้เคียงเดิม สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานใกล้เคียงกับที่เคยประเมินไว้เช่นกัน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับลดลงตลอดช่วงประมาณการตามแนวโน้มราคาน้ำมันดิบ
 
ปริมาณการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้เดิมตามเศรษฐกิจคู่ค้าที่ฟื้นตัวช้า และยังเผชิญการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ดีราคาสินค้าส่งออกบางประเภท เช่น ราคาสินค้าเกษตรที่สูงกว่าคาดช่วยชดเชยปริมาณการส่งออกที่ต่ำกว่าคาด ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าไทย ในปี 2559 ใกล้เคียงเดิม สำหรับการบริโภคภาคเอกชนในระยะต่อไปมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมและภาคบริการที่ขยายตัว ขณะที่รายได้ในภาคการผลิต เพื่อส่งออกฟื้นตัวช้าตามการส่งออกสินค้าที่ซบเซา ทางด้านการใช้จ่ายภาครัฐในระยะต่อไปมีแนวโน้มเบิกจ่าย ได้มากกว่าที่เคยประเมินไว้เนื่องจากผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญช่วยให้รัฐบาลสามารถผลักดัน นโยบายได้ต่อเนื่อง ทำให้โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่เดิมมีความไม่แน่นอนมีความชัดเจนมากขึ้น สำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่ ากว่าที่เคยคาด ตามการส่งออกสินค้าที่ซบเซา ขณะที่การบริโภค และการส่งออกบริการที่ยังขยายตัว และนโยบายภาครัฐที่มีความต่อเนื่อง จะช่วยสนับสนุนการลงทุนบ้าง แต่เกิดขึ้นเฉพาะในบางภาคธุรกิจ
 
เศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้นเล็กน้อย ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ใกล้เคียงกับที่เคยประเมินไว้ ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านต้นทุนลดลงตามราคาน้ำมันดิบ

ประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ

กนง. ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2559 เล็กน้อยและคงประมาณการในปี 2560 พร้อมกับประเมินว่าความเสี่ยงด้านต่ำต่อประมาณการเศรษฐกิจมีมากขึ้น โดยปัจจัยลบมาจาก (1) Brexit ที่อาจบั่นทอนความเชื่อมั่นภาคเอกชนและส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก (2) ความเสี่ยงในภาคการเงินของจีน (3) ความสามารถของภาคเอกชนในการรองรับปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และ (4) ผลกระทบของการจัดระเบียบผู้ประกอบการตลาดทัวร์จีนต่อภาคการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดีมีปัจจัยบวกที่อาจทำให้ประมาณการเศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่ากรณีฐาน คือ การใช้จ่ายภาครัฐโดยเฉพาะโครงการลงทุนที่อาจทำได้เร็วและมากกว่าคาด รวมถึงผลของมาตรการภาครัฐต่อเศรษฐกิจที่อาจสูงกว่าที่คาด นอกจากนี้ กนง. คงประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2559 และ 2560 แต่ปรับลดประมาณการ
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2559 และ 2560 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ต่ำกว่าคาดไว้เดิม โดยประเมินให้ความเสี่ยงต่อประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั้งสองโน้มไปด้านต่ำมากขึ้น สอดคล้องกับความเสี่ยงต่อประมาณการเศรษฐกิจ

การดำเนินนโยบายการเงิน ในการประชุมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม และ 14 กันยายน 2559 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คง อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.50 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะโน้มกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงครึ่งหลังของปีขณะที่ภาวะการเงินโดยรวมอยู่ในระดับ ผ่อนคลายและยังเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จากอัตราดอกเบี้ยแท้จริงและอัตราผลตอบแทนพันธบัตร ที่อยู่ในระดับต่ำ และการระดมทุนโดยรวมของภาคธุรกิจและสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ยังขยายตัวได้ แม้ธุรกิจ บางกลุ่มยังมีข้อจ ากัดในการได้รับสินเชื่อ ทั้งนี้ กนง. มีความเห็นว่าเงินบาทที่โน้มแข็งค่าขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับ สกุลคู่ค้าคู่แข่งสำคัญ อาจไม่เป็นผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

กนง. เห็นว่าการรักษาขีดความสามารถในการด าเนินนโยบาย (policy space) ยังมีความสำคัญ เพราะในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยอาจต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ยังเปราะบาง และความไม่แน่นอนของทิศทางการด าเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ที่จะส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนมากขึ้น นอกจากนี้ กนง. เห็นว่ายังต้องติดตาม ความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการเงิน รวมทั้งพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า (search for yield) จาก การที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน ในระยะต่อไป กนง. เห็นว่านโยบายการเงินควรอยู่ในระดับผ่อนปรนต่อเนื่อง และพร้อมที่จะใช้ เครื่องมือเชิงนโยบายที่มีอยู่อย่างเหมาะสม เพื่อให้ภาวะการเงินโดยรวมเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจควบคู่กับ การรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net